งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา วิธีการคุ้มครองจำเลย มาตรา 253

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา วิธีการคุ้มครองจำเลย มาตรา 253"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา วิธีการคุ้มครองจำเลย มาตรา 253
กฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง 2

2 วิธีการคุ้มครองจำเลย
มาตรา 253 ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำ การงานอยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจ ถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อ ได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชา ธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาล ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมี เหตุเป็นที่เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้น แต่จำเลยจะขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือมีการ อุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

3 วิธีการคุ้มครองจำเลย
มาตรา 253 ทวิ ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือ ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา ถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตาม มาตรา 253 วรรคหนึ่ง จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณีไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อน พิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาล หรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความไป ยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คำร้องตามวรรคหนึ่งให้ ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวน แล้วส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปให้ศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง ให้นำความในมาตรา 253 วรรคสองและวรรค สาม มาใช้บังคับแก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และ ฎีกาโดยอนุโลม 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

4 เหตุที่ต้องให้การคุ้มครอง
เนื่องจากหากโจทก์แพ้คดี ศาลอาจ พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม แก่จำเลย และโจทก์อาจหลีกเลี่ยงไม่ ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทำให้ จำเลยไม่สามารถบังคับคดีตามคำ พิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวได้ จึงสร้าง หลักการนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันมิให้โจทก์ หลีกเลี่ยงการบังคับคดีในส่วนของค่า ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะต้อง ชำระให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาหรือ คำสั่งของศาล 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

5 บุคคลที่จะขอการคุ้มครอง
1. จำเลย 2. ผู้คัดค้านในคดีไม่มีข้อพิพาท ยกเว้น คดีที่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่ง (ม.188(4)) 2.1) ให้คำอนุญาตที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ได้ปฏิเสธเสีย หรือ 2.2) ถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ผู้ ไร้ความสามารถนั้น 3. โจทก์เดิมในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 4. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีร้องขัดทรัพย์ จำเลยเท่านั้นที่จะขอคุ้มครองได้ และขอได้ ทุกคดี แม้จะเป็นคดีมโนสาเร่ก็สามารถขอได้ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

6 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2504
ในกรณีที่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาใช้สิทธิบังคับคดีขอยึดทรัพย์ของ จำเลยลูกหนี้ ผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้อง กล่าวอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของ ตนนั้นผู้ร้องขัดทรัพย์มีฐานะเสมือนเป็น โจทก์ ส่วนโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามี ฐานะเสมือนเป็นจำเลย ฉะนั้นผู้ร้องขัด ทรัพย์จะร้องขอให้โจทก์เจ้าหนี้วางเงิน ประกันค่าฤชาธรรมเนียมฯลฯ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 ไม่ได้ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

7 ข้อสังเกต มาตรา 253 และ มาตรา 253 ทวิ ให้สิทธิแก่จำเลยขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าใช้จ่ายได้ ส่วนโจทก์ไม่มีสิทธิ แต่ ถ้าจำเลยฟ้องแย้งโจทก์ก็ใช้สิทธิตาม มาตรานี้ได้ คดีร้องขัดทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องขัด ทรัพย์มีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ โจทก์ใน คดีเดิมมีฐานะเสมือนเป็นจำเลย ดังนั้น ผู้ร้องขัดทรัพย์จะขอให้โจทก์เดิมวางเงิน ประกันตามมาตรา 253 ไม่ได้ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

8 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2525
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ มิได้มีภูมิลำเนาใน ประเทศไทยฟ้องว่าจำเลยทำละเมิด จำเลยจึงขอให้ ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใด จะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดีเพราะศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้ คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 100,269,743 บาท ซึ่งหาก โจทก์แพ้คดี และศาลชั้นต้นให้โจทก์ชดใช้ค่าทนายความ เพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กฎหมายกำหนดคือร้อยละ 2 ครึ่ง โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็จะเป็นเงินค่าทนายความ ถึง 2,500,000 บาทเศษที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกัน ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 750,000 บาท จึงมิใช่ จำนวนที่สูงเกินสมควร 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

9 วิธีการที่จะนำมาใช้ 1) ให้โจทก์วางเงินเพื่อการชำระค่า ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะต้อง รับผิดแทนจำเลยต่อศาล หรือ 2) ให้โจทก์หาประกันเพื่อการชำระ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่ จะต้องรับผิดแทนจำเลยต่อศาล 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

10 ข้อสังเกต 1. ไม่นำวิธีการคุ้มครองจำเลยไปใช้กับคู่ความ ที่ร้องสอดเข้ามาแทนที่โจทก์ตามมาตรา 57 (2) เนื่องจากคู่ความเดิมนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำ พิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้ มีการเข้าแทนที่กันเลย 2. ไม่นำวิธีการคุ้มครองจำเลยไปใช้กับโจทก์ ร่วมที่เป็นเจ้าหนี้ร่วมแล้วโจทก์บางคนมีเหตุที่ จำเลยจะขอคุ้มครองชั่วคราว (ม.162) 3. นำวิธีการคุ้มครองจำเลยไปใช้กับโจทก์ร่วม ที่ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมแต่โจทก์บางคนมีเหตุที่ จำเลยจะขอคุ้มครองชั่วคราว (ม.162) 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

11 เงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาต
1) ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น 1.1) โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการ งานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจ ถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ 1.2) ถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้ว จะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เหตุในข้อ 1.1 และเหตุในข้อ 1.2 นั้นเป็นคน ละเหตุกัน คือ ถ้าเข้าเหตุใดเหตุหนึ่งเพียงเหตุ เดียว จำเลยก็สามารถขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรม เนียมและค่าใช้จ่ายได้ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

12 คำพิพากษาฎีกาที่ 439/2559 การที่ ป.วิ.พ. มาตรา 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้อง ขอให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายนั้นก็เพื่อ คุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับเอาได้ในที่สุดหากโจทก์ เป็นฝ่ายแพ้คดี เมื่อคดีนี้โจทก์เป็นคนเชื้อชาติและสัญชาติอังกฤษ มี ภูมิลำเนาอยู่สหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือประเทศอังกฤษ และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีทรัพย์สินที่อาจถูก บังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร การที่โจทก์อยู่ในราชอาณาจักร โดยมีเพียงเช่าบ้านอยู่และใบอนุญาตทำงานเป็นการชั่วคราว ซึ่งใน ที่สุดหากเป็นฝ่ายโจทก์แพ้คดีแล้ว โจทก์เดินทางออกไปนอก ราชอาณาจักร จำเลยทั้งเก้าก็ไม่มีทางที่จะบังคับเอาค่าฤชาธรรม เนียมและค่าใช้จ่ายจากโจทก์ได้เลย บ้านเช่าและการมีใบอนุญาต ทำงานชั่วคราวของโจทก์ซึ่งมิใช่คนสัญชาติและเชื้อชาติไทยไม่อาจ ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานตามความมุ่งหมายของ มาตรา 253 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าใช้จ่ายจำนวน 3,000,000 บาท นั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องซึ่งสูงถึง 1,364,839,015 บาทจึงชอบ และเหมาะสมแล้ว 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

13 คำพิพากษาฎีกาที่ 178/2551 แม้โจทก์จะมีทรัพย์สินคือ รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ใน สำนักงาน และเงินสดเพียงเล็กน้อย แต่โจทก์ยังคงประกอบ ธุรกิจ ทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าวน่าจะเพียงพอชำระค่าฤชา ธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแทนจำเลยหรือแก่จำเลยในคดี ส่วนที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งจะมีจำนวนไม่มาก โดยไม่รวมถึงค่าฤชา ธรรมเนียมที่จำเลยฟ้องแย้งที่ถือว่าจำเลยเป็นโจทก์ ส่วนการ ที่โจทก์ไม่ชำระค่าภาษีอากรแก่รัฐบาลตามที่จำเลยอ้างใน อุทธรณ์ก็เพราะโจทก์ประกอบกิจการขาดทุน หาใช่เพราะ หลีกเลี่ยงภาษี และการไม่ชำระภาษีก็ไม่เป็นเหตุที่จะแสดงให้ เชื่อว่าโจทก์จะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือ ค่าใช้จ่าย นอกจากนี้การที่บริษัทโจทก์มีกรรมการผู้จัดการที่ บริหารงานเพียงผู้เดียวก็เป็นเรื่องปกติในการบริหารจัดการ บริษัท และที่กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่มีภูมิลำเนาใน ประเทศไทย ไม่มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย ก็ไม่เกี่ยวข้อง กับกิจการหรือทรัพย์สินของบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยก ต่างหากจากกรรมการผู้จัดการ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

14 เงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาต ตาม 253 ทวิ
2) ในระหว่างพิจารณาของศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกา 2.1) โจทก์ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา คัดค้านคำพิพากษา (โจทก์แพ้คดี) และ 2.2) มีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 253 วรรค 1 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

15 ข้อสังเกต 1. คำว่า โจทก์ หมายถึง โจทก์ที่ยื่น คำฟ้อง มิใช่โจทก์อุทธรณ์หรือโจทก์ ฎีกา 2. แม้คู่ความทั้งสองฝ่ายอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยในศาลชั้นต้นย่อมมีสิทธิขอให้ศาล อุทธรณ์หรือฎีกามีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือ หาประกัน เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายที่โจทก์จะต้องรับผิดแทนจำเลย ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาล 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

16 หลักเกณฑ์การร้องขอ 1) ร้องขอได้แม้จะเป็นคดีมโนสาเร่ แตกต่างจาก วิธีการคุ้มครองโจทก์ในมาตรา 254 2) ต้องยื่นเป็นคำร้องต่อศาล โดยในคำร้องจะต้องมี คำขอและระบุจำนวนเงินที่ขอให้ศาลสั่งให้โจทก์วางเงิน หรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าใช้จ่ายด้วย 3) ต้องยื่นก่อนศาลในแต่ละชั้นมีคำพิพากษา ข้อสังเกต แม้จำเลยจะเคยขอมาในศาลชั้นต้น แล้ว ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะอนุญาตหรือยกคำร้อง ของจำเลยก็ตาม หากโจทก์อุทธรณ์หรือฎีกาคำ พิพากษา จำเลยสามารถร้องขอให้โจทก์วางเงิน หรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าใช้จ่ายในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้อีกตามมาตรา ทวิ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

17 ศาลที่ทำการไต่สวนและพิจารณาสั่ง
1) ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาล ชั้นต้นเป็นผู้ทำการไต่สวนและเป็นผู้มีอำนาจ พิจารณาสั่ง 2) ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาล ฎีกา 2.1) ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งสำนวนความ ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา 1. ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น 2. ศาลชั้นต้นเป็นผู้ทำการไต่สวน 3. ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมด้วย สำนวนความไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็น ผู้พิจารณาสั่ง ในแต่ละชั้นศาล 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

18 ศาลที่ทำการไต่สวนและพิจารณาสั่ง
2.2) ศาลชั้นต้นส่งสำนวนความไปยังศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว 1. ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ในทางปฏิบัติจะยื่นคำร้องต่อศาล ชั้นต้น 2. เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องแล้ว ก็จะ ส่งสำนวนคำร้องให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์มี โอกาสคัดค้านก่อน 3. ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นผู้ พิจารณาสั่งในแต่ละชั้นศาล โดยศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาอาจส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำ การไต่สวนก่อนพิจารณาสั่งก็ได้ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

19 ข้อสังเกต 1. ต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ที่ยื่นคำ ฟ้องได้มีโอกาสคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่ง (ม.21 (2)) 2. ศาลต้องไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงตาม เงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตก่อนมีคำสั่ง เว้นแต่ โจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวตามมาตรา 84 (3) หรือตามคำร้องไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะ อนุญาต ศาลยกคำร้องของจำเลยได้โดยไม่ ต้องไต่สวน (ม.21 (4)) 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

20 คำพิพากษาฎีกา 1107/2530 การไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 วรรคสองนั้นหมายถึงการไต่สวนถึงเหตุที่ทำให้ มีการร้องขอให้โจทก์วางเงินซึ่งมีอยู่ 2 เหตุ คือโจทก์ไม่ใช่ ผู้อยู่ในอำนาจศาลเหตุหนึ่ง หรือถ้ามีเหตุอันเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอีกเหตุหนึ่ง เมื่อจำเลยร้องขอให้โจทก์ วางเงินประกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในประเทศ อังกฤษ ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล และโจทก์ยอมรับในคำ แถลงคัดค้านแล้วว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศ อังกฤษ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่ สวนอีก จำนวนเงินที่ศาลจะสั่งให้โจทก์วางประกันนั้น ตาม มาตรา253วรรคสองดังกล่าว บัญญัติให้ศาลกำหนดจำนวน เงินที่จะให้โจทก์วางประกันรวมตลอดทั้งระยะเวลาและ เงื่อนไขตามที่เห็นสมควรจึงไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนอีก เช่นกัน ศาลชอบที่จะกำหนดจำนวนเงินประกันไปตามที่ เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และ อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

21 จำนวนเงินที่ศาลจะสั่งให้โจทก์วางหรือหาประกัน
กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลยพินิจ โดย ศาลจะคำนึงถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ตาม มาตรา 149 ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการ บังคับคดี ตามมาตรา 153, 154 ตลอดจนค่า ทนายความตามที่บัญญัติไว้ท้ายประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาเป็นข้อพิจารณาว่าจะกำหนดให้ โจทก์วางเงินหรือหาประกันจำนวนเท่าไหร่ ภายใน กำหนดเวลาเท่าใด และสมควรกำหนดเงื่อนไข หรือไม่ เมื่อศาลมีคำสั่งแล้ว หากคดีไปสู่ศาลสูง ศาลสูงมีอำนาจกำหนดให้โจทก์วางเงินเพิ่มได้ การขอคุ้มครองตามมาตรา 253 และมาตรา ทวิ เป็นการคุ้มครองในแต่ละชั้นศาล ดังนั้น เงิน หรือหลักประกันที่สั่งให้โจทก์นำมาวางจึงน่าจะกำหนด เฉพาะที่จะเกิดขึ้นในแต่ละชั้นศาล 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

22 ผลของคำสั่งศาล 1) ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของ จำเลย 1.1) มีเหตุอันสมควร หรือมีเหตุเป็นที่เชื่อ ได้ แล้วแต่กรณี 1.2) ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อ ศาล หรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและภายใน ระยะเวลาที่กำหนด โดยจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ 2) ศาลมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย 2.1) คำร้องของจำเลยไม่เข้าเงื่อนไข 2.2) ศาลไต่สวนแล้วไม่มีเหตุที่ศาลจะ อนุญาตตามคำร้องของจำเลย 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

23 ข้อสังเกต 1. จำนวนเงินที่ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางหรือหา ประกัน ให้คำนวณเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละชั้นศาล เท่านั้น ไม่ใช่ต้องคำนวณให้พอตลอดทั้งสามศาล 2. หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินหรือ หลักประกันที่ศาลกำหนด จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าวได้ ถึงแม้อำนาจสั่งจะ เป็นไปตามแต่ละชั้นศาลก็ตาม รวมถึงโจทก์ด้วย 3. ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามมาตรา นี้ไม่รวมถึง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใน ส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งด้วย 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

24 ข้อสังเกต 4. ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามมาตรา นี้ไม่รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร ค่า เดินทางและค่าที่พักในการไปดำเนินคดี 5. คำสั่งศาลฎีกาที่ให้โจทก์วางเงินค่า ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายมีผลจนกว่า คดีหลักจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้โจทก์จะ ชนะคดีในศาลล่างก็ตาม โจทก์จะไม่วางเงิน หรือหาประกันตามที่ศาลฎีกามีคำสั่ง อนุญาตไม่ได้ หรือโจทก์จะขอเงินหรือ หลักประกันที่วางไว้ตามคำสั่งศาลฎีกาคืน ได้ ต่อเมื่อต้องรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อน 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

25 ข้อสังเกต 6. ถ้าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่อนุญาต 6.1 ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ศาล จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ยกเว้น (1) จำเลยขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป ถือ ว่าจำเลยสละสิทธิในการขอคุ้มครองตามที่จำเลยขอ (2) โจทก์อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาลดังกล่าว ไม่ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่ง ต้องรอฟังคำสั่งของศาลสูงก่อน จึงจะจำหน่ายคดี ไม่ได้ 6.2 ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาล ฎีกา ให้ศาลจำหน่ายอุทธรณ์หรือฎีกาของโจทก์ออก จากสารบบความ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

26 ข้อสังเกต 7. คำสั่งของศาลที่อนุญาตหรือยก คำร้อง ไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่าง พิจารณา คู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันมี คำสั่งเป็นต้นไป ตามมาตรา 228(2) 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

27 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2540
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253และมาตรา 253 ทวิ ในกรณีที่จำเลยยื่นคำร้อง ขอให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการ ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกานั้น จำนวนเงินที่ จะให้วางหรือหาประกันมาคงคำนวณเฉพาะ ค่าฤชาธรรม เนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละชั้นศาล เท่านั้น หาใช่ต้องคำนวณให้พอตลอดทั้งสามศาล โดยไม่ จำต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดี เพราะ ศาลมีอำนาจ ที่จะพิพากษาให้ฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรม เนียมทั้งปวงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีทุนทรัพย์ 18,378,312 บาท ศาลชั้นต้นสั่ง ให้โจทก์วางเงินประกัน จำนวน 60,000 บาท จึงเป็นการเพียงพอแล้ว 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

28 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2530
คำสั่งศาลให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชา ธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 253 เป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความใน ระหว่างการพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228(2) ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่จำต้อง โต้แย้งคำสั่งไว้ก่อน คดีมีทุนทรัพย์ 18,739, บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่า ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 30,000 บาท ตามป.วิ.พ.มาตรา 253 ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อ คำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีนี้แล้วเป็นจำนวนต่ำ ไป จึงให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 50,000บาท 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

29 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินนั้น ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลจะสั่ง คำร้องต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) การที่ศาล ชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องขอขยายเวลาวางเงินของโจทก์จึงไม่เป็นการ ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำ ร้องฉบับลงวันที่20 ตุลาคม 2540 ของโจทก์ในรายงานกระบวน พิจารณาวันเดียวกันก็เพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของ โจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ อันเป็นเงื่อนไขที่ศาลจะสั่ง อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินให้แก่โจทก์นั่นเอง และเมื่อศาลชั้นต้นสั่ง ยกคำร้องก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงิน ประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาตรา 253 วรรคสาม โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอีกว่าโจทก์มี เจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ตามคำสั่งศาลหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องและคำสั่งให้ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ ผิดระเบียบ 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

30 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2529
การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้องขอให้ โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ก็เพื่อคุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับเอาได้ หากโจทก์แพ้คดีในที่สุด เนื่องจากโจทก์เป็นบุคคลอยู่ นอกเขตอำนาจศาลซึ่งจำเลยไม่อาจบังคับเอาได้ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรม เนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยร้องขอแล้ว คำสั่ง นั้นย่อมมีผลอยู่จนคดีถึงที่สุด เมื่อศาลฎีกาพิพากษา ให้โจทก์วางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ตามที่จำเลยร้องขอ โดยให้ศาลชั้นต้นกำหนด จำนวนเงินและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร คดีนี้ยังไม่ ถึงที่สุดโจทก์ต้องวางเงินตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลชั้นต้นกำหนดนี้เป็นการกระทำตามคำ พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งสั่งตามคำร้องขอของจำเลยที่ ร้องขอก่อนศาลชั้นต้นพิพากษานั้นเอง ศาลอุทธรณ์ พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น 21/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer


ดาวน์โหลด ppt วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา วิธีการคุ้มครองจำเลย มาตรา 253

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google