งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การแก้ปัญหา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การแก้ปัญหา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การแก้ปัญหา

2 ปัญหาในชีวิตประจำวัน
1. ขยะในโรงเรียน 2. มาโรงเรียนสาย 3. ความล่าช้าในการซื้อของที่สหกรณ์โรงเรียน 4. พวงกุญแจห้อยกระเป๋าหาย ระบุรายละเอียดปัญหา:……………………………………………. สาเหตุ:………………………………………………………….. วิธีแก้ปัญหา: …………………………………………………….

3 ขั้นตอนการแก้ปัญหา การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
การวางแผนการแก้ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบและประเมินผล

4 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
ทำความเข้าใจรายละเอียด เงื่อนไข ข้อกำหนดของปัญหา โดยระบุ ข้อมูลเข้า ข้อมูลออกหรือสิ่งที่ต้องการ วิธีตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์

5 การวางแผนการแก้ปัญหา
รหัสลำลอง ถ่ายทอดความคิดโดยอธิบายเป็นขั้นตอน ผังงาน

6 การดำเนินการแก้ปัญหา
ดำเนินการตามที่วางแผนไว้ หรืออาจพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหา โดยใช้โปรแกรมภาษา เช่น C Java Python Scratch Logo Alice

7 การตรวจสอบและประเมินผล
เป็นขั้นตอนที่ทำพร้อมกันกับการดำเนินการแก้ปัญหา เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ หากไม่ถูกต้องให้ย้อนไปแก้ไข ตั้งแต่ขั้นตอนแรก

8 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
ตัวอย่าง การหาพื้นที่สามเหลี่ยม การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ข้อมูลเข้าคือ ข้อมูลออกคือ วิธีตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ความกว้าง 4 ความยาวฐาน 5 ,พื้นที่สามเหลี่ยม = 10 ความกว้าง 5 ความยาวฐาน 10 ,พื้นที่สามเหลี่ยม = 25 ความกว้าง 3 ความยาวฐาน 4 ,พื้นที่สามเหลี่ยม = 6 ความกว้าง ความยาวฐาน พื้นที่สามเหลี่ยม

9 2. การวางแผนการแก้ปัญหา
ตัวอย่าง การหาพื้นที่สามเหลี่ยม 2. การวางแผนการแก้ปัญหา 1. รับค่าความยาวฐาน 2. รับค่าความสูง 3. คำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม จากสูตร พื้นที่ Δ คือ ½  x ความยาวฐาน x ความสูง 4. แสดงผลลัพธ์พื้นที่ Δ

10 3. การดำเนินการแก้ปัญหา
ดำเนินการตามที่วางแผนไว้ คือ ทดลองดำเนินการตามขั้นตอนการวางแผนการปัญหาไว้ โดยอาจใช้วิธีเขียนโปรแกรม เป็นเครื่องมือ หรือทดลองดำเนินการด้วยตนเอง ซึ่งอาจดำเนินการไปพร้อมกับการตรวจสอบและปรับปรุง

11 3. การดำเนินการแก้ปัญหา (ต่อ)
4 ความยาวฐาน 6 ความสูง 1. รับค่าความยาวฐาน 2. รับค่าความสูง พื้นที่ Δ = ½  x 4 x 6 = 12 3. คำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม พื้นที่ Δ คือ ½  x ความยาวฐาน x ความสูง 4. แสดงผลลัพธ์พื้นที่ Δ 12

12 4.การตรวสอบและประเมินผล
พิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการ ว่าผลลัพธ์ถูกต้องไม่ และทดสอบโดยใส่ค่าที่ได้คิดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ว่าได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่คิดไว้ก่อนหรือไม่ จากตัวอย่าง ลองนำข้อมูลเข้าและข้อมูลออกที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 มาดำเนินการในขั้นตอนที่ 3 แล้วดูผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้กลับไปพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ใหม่ ทำอย่างนี้ไปจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

13 4. ดำเนินการตรวจสอบและปรับปรุง
ความยาวฐาน 6 ความสูง 1. รับค่าความยาวฐาน 2. รับค่าความสูง พื้นที่ Δ = ½  x 4 x 6 = 12 3. คำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม พื้นที่ Δ คือ ½  x ความยาวฐาน x ความสูง 4. แสดงผลลัพธ์พื้นที่ Δ 12

14 4. ดำเนินการตรวจสอบและปรับปรุง
ความยาวฐาน 6 ความสูง 1. รับค่าความยาวฐาน 2. รับค่าความสูง พื้นที่ Δ = ½  x 4 x 6 = 12 3. คำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม พื้นที่ Δ คือ ½  x ความยาวฐาน x ความสูง 4. แสดงผลลัพธ์พื้นที่ Δ 12

15 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาในหนังสือเรียน เรื่อง ขั้นตอนการแก้ปัญหา และตัวอย่างที่ 2.1 หน้าที่ 24-27
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบกิจกรรมที่ 3.1 ปัญหานานาประการ

16 ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
สถานการณ์ที่ 1 ปีหน้านักเรียนต้องการไปแข่งตอบปัญหาวันเด็ก ซึ่งผู้ที่จะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันต้องมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ ปีที่ผ่านมา และปีนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ซึ่งปีที่ผ่านมานักเรียนได้คะแนน 3.5 นักเรียนจะตรวจสอบอย่างไรว่า สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ข้อมูลเข้า คือ คะแนนคณิตศาสตร์ปีนี้ ข้อมูลออก  คือ  ผลการตรวจสิทธิ์ในการเข้าร่วมแข่งขัน วิธีการตรวจสอบข้อมูล เช่น คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ปีนี้ คือ 4        ข้อมูลออก คือ มีสิทธิเข้าร่วมแข่งขัน คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ปีนี้ คือ ข้อมูลออก คือ มีสิทธิเข้าร่วมแข่งขัน คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ปีนี้ คือ ข้อมูลออก คือ ไม่มีสิทธิเข้าร่วมแข่งขัน

17 แนวคำตอบ ก ข ค (ก ข สลับที่กันได้)
สถานการณ์ที่ 1 (ต่อ) ปีหน้านักเรียนต้องการไปแข่งตอบปัญหาวันเด็ก ซึ่งผู้ที่จะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันต้องมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ ปีที่ผ่านมา และปีนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ซึ่งปีที่ผ่านมานักเรียนได้คะแนน 3.5 นักเรียนจะตรวจสอบอย่างไรว่า สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนเพื่อแก้ปัญหา    โดยให้นักเรียนเลือกคำตอบข้อ ก – จ แล้วนำมาเรียงลำดับตามขั้นตอนที่ใช้ในการหาคำตอบ ก. รับค่าคะแนนคณิตศาสตร์ปีนี้ ข. กำหนดคะแนนคณิตศาสตร์ปีที่ผ่านมา ค. คำนวณผลการตรวจสอบสิทธ์ โดยนำ (คะแนนคณิตศาสตร์ปีนี้ ) แล้วหารด้วย 2 ง. คำนวณผลการตรวจสอบสิทธิ์ โดยนำ (คะแนนคณิตศาสตร์ปีนี้ + 2) หารด้วยคะแนนคณิตศาสตร์ปีที่ผ่านมา จ. คำนวณผลการตรวจสอบสิทธ์ โดยนำ คะแนนคณิศาสตร์ปีนี้ + คะแนนคณิตศาสตร์ปีที่ผ่านมา แนวคำตอบ ก ข ค (ก ข สลับที่กันได้)

18 สถานการณ์ที่ 2 พ่อค้าขายขนมที่ตลาด โดยราคาของขนมตาล 2 บาท ขนมสอดไส้ 3 บาท และขนมกล้วย 4 บาท ช่วยพ่อค้าคิดราคาขนม เมื่อมีผู้ซื้อสั่งซื้อแต่ละครั้ง ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ข้อมูลเข้า คือ   จำนวนชิ้นในการสั่งซื้อขนมแต่ละชนิด ข้อมูลออก คือ ราคาขนมรวมในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง วิธีการตรวจสอบข้อมูล เช่น จำนวนสั่งซื้อขนม เป็น ชนมตาล 4 ชิ้น ขนมสอดไส้ 3 ชิ้น และขนมกล้วย 4 ชิ้น ราคารวมคือ 33 บาท จำนวนสั่งซื้อขนม เป็น ชนมตาล 2 ชิ้น ขนมสอดไส้ 2 ชิ้น และขนมกล้วย 2 ชิ้น ราคารวมคือ 16 บาท จำนวนสั่งซื้อขนม เป็น ชนมตาล ชิ้น ขนมสอดไส้ ชิ้น และขนมกล้วย .3.. ชิ้น ราคารวมคือ บาท จำนวนสั่งซื้อขนม เป็น ชนมตาล ชิ้น ขนมสอดไส้ ชิ้น และขนมกล้วย ชิ้น ราคารวมคือ บาท

19 สถานการณ์ที่ 2 (ต่อ) พ่อค้าขายขนมที่ตลาด โดยราคาของขนมตาล 2 บาท ขนมสอดไส้ 3 บาท และขนมกล้วย 4 บาท ช่วยพ่อค้าคิดราคาขนม เมื่อมีผู้ซื้อสั่งซื้อแต่ละครั้ง ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา โดยให้นักเรียนเลือกคำตอบข้อ ก – จ แล้วนำมาเรียงลำดับตามขั้นตอนที่ใช้ในการหาคำตอบ ก. กำหนดราคาขนมตาล 2 บาท ขนมสอดไส้ 3 บาท และขนมกล้วย 4 บาท ข. คำนวณราคาราคาขนมสอดไส้ โดยการนำ จำนวนชิ้นขนมสอดไส้ x ราคาขนมสอดไส้ ค. รับจำนวนชิ้นของขนมตาล ขนมสอดไส้ และขนมกล้วย ง. คำนวณราคาขนมทั้งหมด โดการนำ ราคาขนมตาล + ราคาขนมสอดไส้ + ราคาขนมกล้วย จ. คำนวณราคาราคาขนมกล้วย โดยการนำ จำนวนชิ้นขนมกล้วย x ราคาขนมกล้วย ฉ. แสดงราคาขนมทั้งหมด ช. คำนวณราคาราคาขนมตาล โดยการนำ จำนวนชิ้นขนมตาล x ราคาขนมตาล คำตอบคือ  ก ค ข จ ช ง ฉ  ( ก และ ค สลับที่กันได้ และ ข จ ช สลับที่กันได้ )

20 สถานการณ์ที่ 3 การคำนวณปริมาณยาพาราเซตามอล
สถานการณ์ที่ 3 การคำนวณปริมาณยาพาราเซตามอล ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ข้อมูลเข้า   คือ น้ำหนักของผู้ป่วย 35 กิโลกรัม ข้อมูลออก คือ ปริมาณการให้ยาพาราเซตามอลกับผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนัก 35 กิโลกรัม วิธีตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ข้อมูลเข้าเป็นผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก 35 กิโลกรัม ปริมาณยาที่ต้องรับประทาน คือ   1 เม็ด ไม่เกิน 5-6 ครั้งต่อวัน   

21 ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา 1. ผู้ป่วยน้ำหนัก 35 กิโลกรัม 2
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา 1. ผู้ป่วยน้ำหนัก 35 กิโลกรัม 2. ตรวจสอบน้ำหนักผู้ป่วยว่าตรงกับเงื่อนไขใด ต่อไปนี้ 2.1 ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนัก กิโลกรัม ให้ทานยาพาราเซตามอลเพียง 1 เม็ด ไม่เกิน 5-6 ครั้งต่อวัน 2.2 ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนัก กิโลกรัม ให้ทานยาพาราเซตามอล 1 เม็ดครึ่ง ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน 2.3 ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนัก 75 กิโลกรัมขึ้นไป ให้ทานยาพาราเซตามอล 2 เม็ด ไม่เกิน 3-4 ครั้งต่อวัน 3. แสดงผลลัพธ์ว่าผู้ป่วยต้องได้รับยาพาราเซตามอลในปริมาณเท่าใด ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการแก้ปัญหา 1. ตรวจสอบว่าผู้ป่วยน้ำหนักเท่าไร โดยในโจทย์กำหนดน้ำหนักผู้ป่วยเท่ากับ 35 กิโลกรัม 2. เปรียบเทียบน้ำหนักของผู้ป่วยกับเงื่อนไขที่กำหนดให้ พบว่า ผู้ที่มีน้ำหนัก 35 กิโลกรัม ตรงกับเงื่อนไขผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก กิโลกรัม จึงต้องทานยาพาราเซตามอลเพียง 1 เม็ด ไม่เกิน 5-6 ครั้งต่อวัน

22 ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบและประเมินผล ตรวจสอบว่าปริมาณยาพาราเซตามอนที่คำนวนได้ ในขั้นตอนที่ 3 ว่าตรงกับข้อมูลที่คิดไว้ในการวิธีตรวจสอบผลลัพธ์ ขั้นตอนที่ 1 ว่า เหมือนกันหรือไม่ และลองทดสอบโดยกำหนดค่าอายุอื่น ว่าได้ปริมาณยาพาราเซตามอน ตรงตามที่เงื่อนไขกำหนดหรือไม่ หากเงื่อนไขกำหนดไว้ครอบคลุม คำตอบที่ได้จะถูกต้อง หากผลลัพธ์ไม่ถูกต้องให้ย้อนกลับพิจารณาใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1

23 สถานการณ์ที่ 4 หาผลรวมน้ำหนักเพื่อนในห้อง
สถานการณ์ที่ 4 หาผลรวมน้ำหนักเพื่อนในห้อง ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ข้อมูลเข้า คือ     น้ำหนักของเพื่อนในห้อง  และจำนวนของเพื่อนในห้อง ข้อมูลออก คือ       ผลรวมน้ำหนักของเพื่อนในห้องทุกคน วิธีตรวจสอบความถูกต้อง เช่น น้ำหนักของเพื่อน เป็น ผลรวมคือ 200 ก. ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา กำหนดผลรวมน้ำหนักของเพื่อนในห้องเริ่มต้น = 0 บวกสะสมน้ำหนักของเพื่อนในห้องให้ครบทุกคน  โดย ผลรวมของน้ำหนักของเพื่อน =  ผลรวมของน้ำหนักของเพื่อน + น้ำหนักของนักเรียนของแต่ละคน ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการแก้ปัญหา กำหนดผลรวม = 0 ดำเนินการบวกน้ำหนักเพื่อนคนที่ 1  กับน้ำหนักรวม เก็บไว้ในผลรวม นำผลรวม บวก น้ำหนักเพื่อนคนถัดไป ทำข้อ 3 จนครบตามจำนวนเพื่อนในห้อง

24 ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบและประเมินผล
ตรวจสอบผลที่ได้จากขั้นตอนการดำเนินการ ว่าตรงกับวิธีตรวจสอบความถูกต้องในขั้นที่ 1 หรือไม่ แล้วลองทดสอบโดยกำหนดน้ำหนักของเพื่อนค่าอื่นด้วยว่าได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งอาจจะดำเนินบวกเอง แล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ ว่าเหมือนกันหรือไม่ หากผลลัพธ์ไม่ถูกต้องให้ย้อนกลับพิจารณาใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1

25 สถานการณ์ที่ 5 พาของสามสิ่งข้ามฝั่ง
สถานการณ์ที่ 5 พาของสามสิ่งข้ามฝั่ง ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ข้อมูลเข้า คือ  ของสามสิ่งที่ต้องข้ามฝั่งแม่น้ำ มีผักกาด แกะและหมาป่า โดยมีเรือพาย 1 ลำ และคนพายเรือ 1 คน ข้อมูลออก คือ ผักกาด แกะ และ หมาป่า ข้ามฝั่งได้ วิธีตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจโดยจำลองสถานการณ์ ตามประเด็นต่อไปนี้ ของสามสิ่งข้ามฝั่งแม่น้ำไปอีกฝั่งครบแล้ว คนพายเรือนำของลงเรือข้ามฝั่งได้ครั้งละ 1 อย่าง เงื่อนไขของของบนฝั่ง แกะจะต้องไม่อยู่บนฝั่งกับผักกาด หมาป่าจะต้องไม่อยู่บนฝั่งกับแกะ

26 ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา
1. เริ่มต้นพิจารณาฝั่งซ้าย เงื่อนไข คือ แกะจะต้องไม่อยู่บนฝั่งกับผักกาด หมาป่าจะต้องไม่อยู่บนฝั่งกับแกะ 2. เรือว่างหรือไม่ 2.1 ให้เลือกนำของที่ละเมิดเงื่อนไขบนฝั่ง หรือ อะไรก็ได้ ลงเรือไปฝั่งตรงข้าม (เรือว่าง) ไม่เช่นนั้น (เรือไม่ว่าง) 2.2 ให้สลับของที่ “กิน” กันตามเงื่อนไขในเรือกับบนฝั่ง หรือ ส่งของขึ้นฝั่งถ้าฝั่งว่าง หรือ ถ้าไม่ละเมิดเงื่อนไข แล้วไปฝั่งตรงข้าม 3. กลับไปทำข้อ 2 จนกว่าจะมีของบนฝั่งขวาครบ 3 สิ่ง

27 การดำเนินการแก้ปัญหา และตรวจสอบและปรับปรุง

28 นักเรียนศึกษาเนื้อหา หัวข้อ 2.2 และ 2.3 จากหนังสือเรียน

29 ร่วมกันสรุป รหัสลำลอง ผังงาน ตัวแปร

30 รหัสลำลอง รหัสลำลองเป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนวิธีอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหาหรือการทำงานของโปรแกรม รูปแบบการเขียน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความถนัดของผู้เขียน เขียนเป็นภาษาพูด ง่าย ไม่ต้องกังวลรูปแบบ เขียนในรูปแบบที่คล้ายกับภาษาโปรแกรม สามารถนำไปดัดแปลงเป็นโปรแกรมได้ง่าย   

31 ผังงาน

32 เริ่มต้น รับค่าความยาวฐาน รับค่าความสูง จบ
ตัวอย่าง รหัสลำลองและผังงานการคำนวณหาพื้นที่สามเหลี่ยม เริ่มต้น เริ่มต้น 1. รับค่าความยาวฐาน 2. รับค่าความสูง 3. คำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม จากสูตร ½ x ความยาวฐาน x ความสูง 4. แสดงผลลัพธ์ พื้นที่สามเหลี่ยม จบ รับค่าความยาวฐาน รับค่าความสูง พื้นที่สามเหลี่ยม = ½ x ความกว้าง x ความยาว แสดงผลลัพธ์พื้นที่สามเหลี่ยม จบ

33 ตัวอย่าง รหัสลำลองและผังงานทีมีการทำงานแบบวนซ้ำ

34 การกำหนดค่าให้ตัวแปรในรหัสลำลองและผังงาน
ทำไมต้องกำหนดค่าให้ตัวแปร ชื่อข้อมูลมีความยาวมากหรือมีการอ้างถึงชื่อข้อมูลซ้ำกันหลายครั้ง ทำให้เกิดความสับสนและเมื่อมีการอ้างอิงหลายครั้งอาจมีความผิดพลาดและยุ่งยากในการแก้ไข ดังนั้นจึงใช้ตัวแปรแทนชื่อข้อมูล ให้สามารถนำไปใช้งานได้ง่ายและกระชับ โดยอาจใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่สื่อความหมาย และอาจประกอบกับตัวเลขได้ในบางกรณี การกำหนหนดชื่อตัวแปร เช่น อายุนักเรียน  age พื้นที่สามเหลี่ยม area ความยาวฐาน  base คะแนนเฉลี่ย  avg

35 การกำหนดค่าให้ตัวแปร
สัญลักษณ์ที่นิยมใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับตัวแปร คือ ← , <- ใช้เพื่อนำค่าทางขวาของ ← ไปกำหนดให้กับตัวแปรทางด้านซ้ายของ ← รับค่าจากภายนอก x ← รับข้อมูอายุจากผู้ใช้ กำหนดค่าจากค่าคงที่หรือตัวแปรอื่น x ← 2 กำหนดค่าจากการคำนวณ x ← x + 1 a ← b x c

36 การเก็บค่าของให้ตัวแปร
ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ตัวแปรจะมีค่าได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น ตัวแปรสามารถเปลี่ยนค่าได้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินการกับตัวแปรนั้น ๆ X x X  5 20 22 5 ? 9 X  20 X  x + 2 y y y  X x 2 44 ? x  9 ไม่มีผลกับค่า y แล้ว

37 ตัวอย่าง การนำตัวแปรไปใช้ในรหัสลำลองและผังงาน
เริ่มต้น เริ่มต้น 1. width <- รับค่าความกว้าง 2. height <- รับค่าความยาว 3. squareArea = width x height 4. แสดงผลลัพธ์ squareArea จบ Width <- รับค่าความกว้าง Height <- รับค่าความยาว squareArea = width x height แสดงผลลัพธ์ squareArea จบ

38 กิจกรรม ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำภารกิจด่านที่ 1 - 4 ในใบกิจกรรมที่ 3.2
ด่าน 1 เรียงรหัสลำลอง ด่าน 2 เรียงผังงาน ด่าน 3 เขียนรหัสลำลอง ด่าน 4 เขียนผังงาน

39 ผู้เรียนทำกิจกรรมท้ายบทจากหนังสือเรียน
ร่วมกันสรุปแนวคิดเกี่ยวการแก้ปัญหา นำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

40 ผู้เรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบ
กิจกรรมที่ 3 ปัญหาของฉัน


ดาวน์โหลด ppt การแก้ปัญหา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google