ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
2
ด.ช. จิรวัฒน์ สิทธินามสุวรรณ ม.๒๐๑ เลขที่ ๒๖ เสนอ
จัดทำโดย ด.ช. จิรวัฒน์ สิทธินามสุวรรณ ม.๒๐๑ เลขที่ ๒๖ เสนอ คุณครูผุสสดี ธุวังควัฒน์ รายงานวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ๒ (ท๓๒๑๐๑) ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
3
ประวัติและความเป็นมาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
สรุปเนื้อเรื่องในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง การศึกษาธรรมชาติผ่านศิลปะการประพันธ์ คุณค่าและข้อคิดในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
4
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาทำรายงานวิชาการชิ้นนี้ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และคุณค่าต่างๆที่พบในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง โดยจะทำการศึกษาในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ประวัติและความเป็นมาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง สรุปเนื้อเรื่องในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง การศึกษาธรรมชาติผ่านศิลปะการประพันธ์ของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง และคุณค่ากับข้อคิดต่างๆที่กวีต้องการจะสั่งสอนผู้อ่าน ทางคณะผู้จัดทำได้คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่ได้อ่านรายงานวิชาการนี้ จะสามารถอ่านวรรณคดีทุกเรื่องได้อย่างได้อรรถรส สามารถพบคุณค่าที่แท้จริงของวรรณคดีเรื่องต่างๆได้ และสามารถนำคุณค่าและข้อคิดเหล่านั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
5
ประวัติและความเป็นมาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
ประวัติผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ไชยเชษฐสุริยวงศ์ มีพระนามที่ถูกเรียกอย่างเป็นสามัญว่า “เจ้าฟ้ากุ้ง” เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และสมเด็จพระพันวัสสาใหญ่ ซึ่งโปรดให้สถาปนาเป็น กรมหลวงอภัยนุชิต เมื่อสมเด็จพระราชบิดาได้ขึ้นครองราชย์แล้ว จึงพระราชทานพระอิสริยยศเจ้าฟ้าธรรมธิเบศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามว่า เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเสนาพิทักษ์ ในปี พ.ศ. ๒๒๗๖ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ทรงเป็นกวีเอกองค์หนึ่งของไทย พระองค์ทรงนิพนธ์บทร้อยกรองไว้หลายเรื่อง เช่น บทเห่เรือ บทเห่เรื่องกากี กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง เป็นต้น
6
บทเห่เรือ
7
บทเห่สังวาสและเห่ครวญ
8
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
9
ความเป็นมา เจ้าฟ้าธรรมธิเบศทรงนิพนธ์ขึ้นขณะที่เจ้าพระองค์ท่าน ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท จากท่าเจ้าสนุก ผ่านตำบลธารทองแดง ซึ่งมีธารน้ำสายหนึ่ง ชื่อว่า “ธารทองแดง” โดยมีเนื้อหาของว่าด้วย การชมธรรมชาติต่างๆ ชมสัตว์ ชมนก ชมสัตว์น้ำ และมีการพรรณนาถึงบรรดาพืชพรรณและสรรพสัตว์ต่างๆที่พบในบริเวณธารทองแดง (ปัจจุบันธารทองแดงอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี) ประพันธ์เป็นโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๑๓ บท และกาพย์ยานี ๑๑ อีก ๑๐๘ บท รวมเป็น ๒๒๑ บท
10
กลับหน้าหลัก จุดประสงค์
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประพันธ์ขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการพรรณนาถึงลักษณะต่างๆของธรรมชาติ ทำให้บ่งบอกถึงลักษณะของธรรมชาติในบริเวณธารทองแดง ความสวยงาม ความสงบ สามารถเป็นบทเรียนให้กับผู้คนในยุคต่อๆมาได้เป็นอย่างดี และเพื่อเป็นการสอนคนในทั้งในสมัยก่อนและปัจจุบันให้รู้จักการอนุรักษ์ธรรมชาติ สอนให้คนรู้จักรักสิ่งมีชีวิต การใช้สอยเงินทองและทรัพยากรอย่างประหยัด กล่าวคือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านได้คิดไตร่ตรองพิจารณาและนำหลักคำสอนที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน กลับหน้าหลัก
11
สรุปเนื้อเรื่องในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีเนื้อเรื่องโดยสังเขปว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศเสด็จตามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท พระองค์ทรงหยุดพักเพื่อเสวยพระกระยาหาร เมื่อพระองค์เสวยพระกระยาหารจนอิ่มเอิบสบายพระทัยแล้ว จึงเสด็จออกนอกเส้นทางด้วยความลืมตัว เนื่องจากหลงใหลในความสวยงาม และความสงบของธรรมชาติ บรรดานางสนมได้ห้ามไว้ไม่ให้พระองค์เสด็จออกนอกเส้นทาง แต่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศทรงยืนกรานที่จะไปให้ได้ บรรดานางสนมจึงจำต้องยอมให้พระองค์เสด็จตามเส้นทางของพระองค์พร้อมกับทหารบริวารตามอารักขา
12
หลังจากที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศเสด็จออกนอกเส้นทางมาจนถึงชายป่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นบรรดาสัตว์ป่าที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ล่ากันเป็นอาหารบ้าง ช่วยกันหาอาหารบ้าง และสภาพความเป็นอยู่ต่างๆ พระองค์ท่านจึงทรงนิพนธ์ “บทชมสัตว์ป่า” ขึ้น โดยเนื้อหามีใจความถึงบรรดาสรรพสัตว์ที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นด้วยพระองค์เอง ซึ่งจะบรรยายถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ พฤติกรรมต่างๆ ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
13
เมื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศเสด็จประพาสชายป่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระองค์ทรงพบนกยูง และเมื่อพระองค์เสด็จต่อไปอีกสักพัก จึงได้พบกับบรรดาสัตว์ปีกอื่นๆ พระองค์ทรงสังเกตสัตว์ปีกเช่นเดียวกับสังเกตสัตว์ป่า เมื่อพระองค์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ปีกเหล่านี้ พระองค์ท่านจึงทรงนิพนธ์ “บทชมนก” ขึ้น โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสังเกตเห็นมา
14
ในขณะที่พระองค์กำลังชมสัตว์ปีกเหล่านี้อยู่ พระองค์ได้ทรงสังเกตเห็นพืชพรรณซึ่งผลิดอกออกผลอย่างสวยงาม พระองค์จึงทรงเสด็จไปยังดงพืชเพื่อที่จะได้ทอดพระเนตรบรรดาพืชผักต่างๆ ซึ่งในช่วงแรกๆที่พระองค์เสด็จไป พืชพรรณต่างๆล้วนเป็นพืชที่กำลังจะเจริญเติบโตพร้อมที่จะให้ผลในอีกไม่ช้า ต่อมาพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพืชพรรณผลไม้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น กล้วยไม้ ตาล น้อยหน่า มังคุด เป็นต้น เมื่อพระองค์เสด็จไปได้อีกสักพัก พระองค์จึงทรงเด็ดผลไม้ที่สุกแล้วมาเสวย ซึ่งขณะที่พระองค์กำลังเสด็จประพาสดงพืชพรรณแห่งนี้ พระองค์ทรงสังเกต รูปร่างของพืชพรรณ ลักษณะทางกายภาพ เช่น สีกลิ่น รส ผิว เป็นต้น รวมถึงแม้กระทั่งรสชาติของผลไม้ที่พระองค์ทรงเด็ดมาเสวยระหว่างทาง เมื่อพระองค์ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพืชผักผลไม้เหล่านี้เป็นที่แน่ชัดแล้ว พระองค์ท่านจึงทรงนิพนธ์ “บทชมไม้ดอก ไม้ผล” ขึ้น โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสังเกตเห็นมา
15
เมื่อพระองค์เสด็จออกจากดงพืชพรรณเหล่านี้แล้ว พระองค์ได้เสด็จมาถึงแม่น้ำแห่งหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ธารทองแดง” พระองค์ได้เสด็จเลียบไปตามธารทองแดงนี้และได้ทอดพระเนตรเห็นบรรดาสัตว์น้ำสัตว์บกในบริเวณนั้นๆรวมถึงพืชน้ำด้วย พระองค์ทรงสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างๆของสิ่งมีชีวิตในบริเวณธารทองแดง เมื่อพระองค์ทรงสังเกตเห็นบรรดาสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเรียบร้อยแล้วจึงทรงนิพนธ์ “บทชมสัตว์น้ำ หรือบทชมปลา” ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสังเกตเห็นมา
16
หลังจากที่พระองค์เสด็จประพาสธารทองแดงเป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท โดยทรงนิพนธ์โคลงในตอนท้ายของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเกี่ยวกับตัวของพระองค์ท่านเองซึ่งเป็นผู้แต่ง รวมทั้งเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเสนาพิทักษ์ เจ้าฟ้าต่างกรม (ลูกพี่ลูกน้อง) ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ได้ชื่นชมและยกย่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงที่พระองค์ท่านทรงนิพนธ์ขึ้น รวมทั้งฝากคำสอนถึงผู้อ่านคนอื่นๆว่า “วรรณคดีของพระองค์ท่าน ได้เรียบเรียงด้วยคำที่ไพเราะ ผู้อ่านใดที่รู้วิธีการอ่านวรรณคดี จะสามารถเข้าถึงข้อคิดและจุดประสงค์ที่แท้จริงของวรรณคดีเรื่องนี้ได้ แต่หากใครไม่รู้วิธีการอ่านวรรณคดี หรืออ่านเพียงแค่ใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง จะไม่มีวันเข้าถึงหลักคำสอนที่แท้จริงของวรรณคดีเรื่องนี้ได้ มีแต่จะสร้างความเสียหายเสื่อมเสียให้กับวรรณคดีเรื่องนี้เท่านั้น” กลับหน้าหลัก
17
วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
เอกลักษณ์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงสามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของมันได้โดยชื่อของมัน หมายถึง วรรณคดีเรื่องนี้ใช้ลักษณะการประพันธ์เป็นกาพย์ห่อโคลง(๑) นอกจากนั้น กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงในการประพันธ์แต่ละบท ไม่เคร่งครัดเรื่องคำเอก-โท หรือสัมผัสมาก แต่นิยมแต่ง “ล้อความ” กัน หมายถึงทั้งกาพย์และโคลงในบทหนึ่งๆ จะสื่อความหมายตรงกัน และใช้คำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในการประพันธ์ เช่น
18
ลมั่งพรั่งดงกว้าง เขาสองข้างกางโจงโครง
ลมั่งพรั่งดงกว้าง เขาสองข้างกางโจงโครง รูปร่างกวางโอ่โถง ฝีเท้าวิ่งยิ่งกว่ากวาง ฯ ๑๘ ลมั่งเขาคู่ตั้ง กางโกง สองข้างเคียงโจงโครง แตกต้น รูปร่างกวางโอ่โถง ดีกว่า ฝีเท้าวิ่งยิ่งพัน แล่นล้ำเลยกวาง ฯ นอกจากจะมีการแต่งคำประพันธ์ในลักษณะ “ล้อความ” กันแล้ว กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงจะเป็นวรรณคดีที่มี “โคลงกระทู้” เป็นโคลงก่อนส่งท้าย ๓ บท และต่อด้วยโคลงสี่สุภาพส่งท้ายอีก ๒ บท ได้แก่
19
เจ้าฟ้า หนุ่มน้อยราช กุมาร ธรรม์ ธำรงกลอนการ ยั่วแย้ม
๑๐๙ เจ้าฟ้า หนุ่มน้อยราช กุมาร ธรรม์ ธำรงกลอนการ ยั่วแย้ม ธิเบศร์ วราสถาน ไชยเชษฐ สุริยวงศ์ ทรงโคลงแต้ม แต่งไว้วานสงวน ฯ เจ้าฟ้า เลิศล้ำโพธิ์ สมภาร กรมขุน หลวงพญากราน กราบเกล้า เสนา นราบาน ใจชื่น ชมนา พิทักษ์ รักษาเช้า ค่ำด้วยใจเกษม ฯ จบ จนจอมโลกย์เจ้า คืนวัง บ พิตรสถิตบัลลังก์ เลิศหล้า ริ ร่างกาพย์โคลงหวัง ชนโลก อ่านนา บูรณ์ พระโคลงเจ้าฟ้า ธิเบศร์เข้าจงสงวน ฯ
20
การเล่นเสียง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีการเล่นเสียงทั้ง พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เช่น การเล่นเสียงพยัญชนะ หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กะไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง ฯ หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้ ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม ลิงโลกฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง ฯ
21
การเล่นเสียงสระ ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู ฯ ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู หนูสู้รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปทู้มูทู ฯ
22
การเล่นเสียงวรรณยุกต์
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง การเล่นเสียงวรรณยุกต์จะพบได้ในกาพย์ห่อโคลงแต่ละบทเพียงเล็กน้อย แต่จะมีสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีเรื่องนี้มากมาย เช่น นกเขาเข้าเคียงคู้ ก่งตอคูคู่ขานขัน กระทาทักปักกรอกัน บ้างขันไขว่ไล่ลามชน ฯ นกเขาขันคู่คู้ เคียงขยัน คอก่งคูขานขัน คื่นหน้า กระทาทักปักกรอกัน เสียงเฉื่อย ลามไล่ไขว่ขันจ้า แปลกขู้ชนแทง ฯ
23
การเล่นคำ การเล่นคำซ้ำ หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง
หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กะไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง ฯ หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้ ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม ลิงโลกฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง ฯ
24
การใช้ภาพพจน์ การเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีลักษณะการพรรณนาและบรรยาย ถึงลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิต ซึ่งกวีอาจได้คาดการณ์ไว้ว่า หากมีผู้คนที่มาจากต่างแดน หรือลูกหลานที่ไม่รู้ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดใด กวีจึงต้องมีการอุปมาในเชิง “ดึงลักษณะเด่นที่เหมือนกัน” เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น กระจายสยายซร้องนาง ผ้าสไบบางนางสีดา ห่อห้อยย้อยลงมา แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม ฯ กระจายสยายคลี่ซร้อง นงพงา สไบบางนางสีดา ห่อห้อย ยื่นเลื้อยเฟื้อยลงมา โบยโบก แต่ค่าไม้ใหญ่น้อย แกว่งเยื้องไปมา ฯ
25
กลับหน้าหลัก การเลียนเสียงธรรมชาติ
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง จะมีการบรรยายและพรรณนาถึงธรรมชาติมากมาย ดังนั้น ในการประพันธ์วรรณคดีเรื่องนี้ การเลียนเสียงธรรมชาติเป็นศิลปะการประพันธ์ชนิดหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้สำหรับงานเขียนประเภทวรรณคดีเกี่ยวกับธรรมชาติ สำหรับกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้ใช้ศิลปะการประพันธ์ประเภทเลียนเสียงธรรมชาติ นับว่าเป็นส่วนมากในแต่ละบท เช่น ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู ฯ ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู หนูสู้รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปทู้มูทู ฯ กลับหน้าหลัก
26
การศึกษาธรรมชาติผ่านศิลปะการประพันธ์
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๑๓ บท และกาพย์ยานี ๑๑ อีก ๑๐๘ บท ในแต่ละบทนั้น กวีจะพรรณนาและบรรยายถึงลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิต พฤติกรรมการล่าเหยื่อ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ฯลฯ เช่น
39
กลับหน้าหลัก
40
คุณค่าและข้อคิดในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
คุณค่าด้านอารมณ์ ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีเนื้อหาที่ว่าด้วยการชมธรรมชาติ ชมสัตว์ต่างๆ ชมพืชพรรณต่างๆ กวีได้ใช้บรรยายโวหารและพรรณนาโวหารเพื่อใช้สื่อคุณค่าด้านอารมณ์ของวรรณคดีเรื่องนี้ รวมถึงการเลือกสรรในการเลือกใช้คำต่างๆในการสื่อความหมาย ส่งผลให้วรรณคดีเรื่องนี้สามารถสื่อคุณค่าด้านอารมณ์ได้มากขึ้นพร้อมกับสื่อความหมายไปได้ในเวลาเดียวกัน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบการเขียนในเชิงของ “นิราศ” คุณค่าด้านอารมณ์ของวรรณคดีเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่กวีได้เห็นและประพันธ์ขึ้น ซึ่งกวีได้พรรณนาและอุปมาถึงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ผู้อ่านจะได้รู้จักพืชและสัตว์นานาชนิด ในขณะเดียวกันผู้อ่านสามารถศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำเพื่อการสื่อความหมายและวิธีการเล่นเสียงให้ไพเราะของกวี ทำให้ภาพที่สื่อความออกมานั้นมีชีวิตชีวา รวมถึงแสดงให้เห็นว่า วรรณคดีไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ เข้าใจยาก และยังส่งผลให้ผู้อ่านติดตามวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไป
41
คุณค่าด้านคุณธรรมและข้อคิด
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้กล่าวถึงลักษณะต่างๆของธรรมชาติ บอกให้ผู้อ่านทราบถึงธรรมชาติอันงดงามที่มีในประเทศไทย กล่าวคือ กวีต้องการที่จะให้ผู้อ่านรู้คุณค่าของธรรมชาติและรู้ที่จะอนุรักษ์มันเอาไว้ ทั้งพืช สัตว์ ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น หากมนุษย์ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ โดยไม่คิดที่จะดูแลความสมดุลและคงสภาพเดิมไว้ มนุษย์จะไม่เหลือทรัพยากรไว้ใช้อีกต่อไป นอกจากมีคุณค่าคุณธรรมเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว ยังมีคุณค่าในการอ่านวรรณคดีอีกด้วย ซึ่งกวีได้กล่าวไว้ในโคลงส่งท้าย ซึ่งกล่าวไว้ว่า
42
อักษรเรียงร้อยถ้อย คำเพราะ
ผู้รู้อ่านเสนาะ เรื่อยหรี้ บรู้อ่านไม่เหมาะ ตรงเทิ่ง ไปนา ทำให้โคลงทั้งนี้ ชั่วช้าเสียไป ฯ อักษรสรรค์สร้างช่าง ชุบจาน โคลงก็เพราะเสนาะสาร แต่งไว้ ผู้รู้อ่านกลอนกานท์ พาชื่น ใจนา ผู้บ่รู้อ่านให้ ขัดข้องเสียโคลง ฯ
43
จากบทร้อยกรองข้างต้นนี้ ถอดคำประพันธ์ได้ว่า กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประพันธ์ด้วยคำที่ไพเราะ ผู้ที่อ่านวรรณคดีเป็นจะทำให้วรรณคดีนี้ได้อรรถรสและเกิดความไพเราะเสนาะหู แต่ผู้ที่ไม่รู้จักวิธีการอ่านวรรณคดีที่แท้จริง จะทำให้วรรณคดีเรื่องนั้นเสียความไพเราะและเสื่อมเสียในที่สุด สรุปความได้ว่า กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นวรรณคดีประเภทนิราศ มีเนื้อหาที่ว่าด้วยธรรมชาติต่างๆ โดยกวีได้ถ้อยใช้คำที่ไพเราะเพื่อสื่อความหมายและเพื่อสื่อคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้ รวมถึงฝากคำสอนต่างๆถึงผู้อ่านให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
44
Thank you กลับหน้าหลัก
จากหนังสือ วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ซึ่งเขียนโดยกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวไว้ว่า “วรรณคดีจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่กล่อมเกลามนุษย์ ให้รู้จักความงาม ความดี และความเป็นจริงของชีวิต” เป็นข้อความที่ช่วยอธิบายขยายความวัตถุประสงค์ของวรรณคดีที่แท้จริง ทำให้ผู้อ่านวรรณคดีรู้จักวิธีการอ่านวรรณคดีว่า การอ่านวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ มิใช่อ่านเพียงแต่จับใจความสำคัญของเรื่องเท่านั้น แต่ต้องอ่านทุกตัวอักษรและอ่านอย่างให้ได้อรรถรส คล้อยตามสถานการณ์และคิดตามไปเรื่อยๆแล้วจะพบกับคุณค่าที่แท้จริงของวรรณคดี เพื่อรักษาความดีความงามของวรรณคดีสืบไว้ให้อนุชนรุ่นหลังคอยติดตามสืบไป Thank you กลับหน้าหลัก
45
บรรณานุกรม หนังสือ ธรรมธิเบศ , เจ้าฟ้า. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม , ๒๔๙๘. ๔๕ หน้า. ปราณี พานโพธิ์ทอง. วรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น. รายงานวิชาประวัติศาสตร์ไทย ; เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะอักษรศาสตร์, ๒๕๑๔. ๑๑๓ หน้า. ศิลปากร , กรม. เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ : พระราชประวัติและบทร้อยกรองบางเรื่อง. กรุงเทพฯ : กรม ศิลปากร, ๒๕๒๙. ศิลปากร , กรม. วรรณกรรมสมัยอยุธยา. ๓ เล่ม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กองวรรณคดีและ ประวัติศาสตร์, ๒๕๒๙. ศิลปากร , กรม. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. ๓ เล่ม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กองวรรณคดี และประวัติศาสตร์, ๒๕๓๑. ศึกษาธิการ , กรม. วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. ๖ เล่ม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๕๐.
46
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณัฐณิชา หอมหวล. “เนื้อเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง”. T5surat. ไม่ปรากฏวันเดือน ปีที่เผยแพร่. โรงเรียนเทศบาล ๕ เมืองสุราษฎ์ธานี. ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒. < เพลินพิศ สุพพัตกุล. “กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง”. Sahavicha. ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒. < วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “กาพย์ห่อโคลง”. วิกิพีเดีย. ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒. มูลนิธิวิกิพีเดีย. ๒๘ ตุลาคม๒๕๕๒. < อุไร อรุณฉาย. “กาพย์ห่อโคลงนิราศทองแดง”. Snr. ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒. โรงเรียนสตรีสุริโยทัย. ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒. < thai/index_1.htm>.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2021 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.