ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBenjamin Lars Kruse ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
มาตรฐานการทำงานเพื่อความเป็นเลิศในงานโลจิสติกส์ Logistics Standard Best Practice
เอกสารประกอบการปาฐกถาพิเศษ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, กระทรวงพาณิชย์ โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท V-SERVE Group อดีตรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วันที่ 13 มีนาคม 2562 1 / 10
2
ความสำคัญของการมีมาตรฐานสากลในงานโลจิสติกส์
เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นทั้งโอกาสและหายนะของธุรกิจ เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อตอบสนองรูปแบบความต้องการและธุรกรรมการค้าที่แตกต่างไปจากเดิม ความจำเป็นของการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ การมีสถาปนาระบบมาตรฐานการทำงานและคู่มือการทำงานซึ่งเป็นที่ยอมรับจะเสริมสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ผู้ให้บริการโลจิสติกส์เป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหวต่อความเปลี่ยนแปลง เนื่องจากกิจกรรมเกี่ยวข้องช่วงรอยต่อของโซ่อุปทานการผลิต เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่างๆและผู้ให้บริการจำนวนมากที่อยู่ในโซ่อุปทานซึ่งต่างมีมาตรฐานการทำงานและรูปแบบการเชื่อมโยงธุรกรรมที่แตกต่างกัน กุญแจแห่งความสำเร็จ จะต้องมีมาตรฐานซึ่งมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของธุรกิจต่างๆ ที่อยู่ในโซ่อุปทานที่เป็นเอกภาพและจะต้องมีการยกระดับไปสู่การปฏิบัติการเป็นเลิศหรือ “Best Practice” ความท้าทายของการก้าวผ่านของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีความอ่อนแอขาดความเป็นมืออาชีพในการทำงานระดับนานาชาติ จำเป็นที่จะต้องยกเครื่องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่ใช้ นวตกรรมและเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน 2 / 10
3
ขั้นตอนการสตาร์ทอัพระบบมาตรฐานในองค์กร
เริ่มจากผู้ประกอบการ-ผู้บริหาร จะต้องมีวิสัยทัศน์เห็นโอกาสและภัยคุกคามที่จะมาจากกับการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งรูปแบบความต้องการและเชื่อมโยงทางธุรกรรมการค้าที่ซับซ้อนภายใต้ข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ทางการค้าที่อิงกับราคา จำเป็นที่จะต้องมีระบบมาตรฐานเป็นที่ยอมรับด้วย นโยบายมาตรฐานคุณภาพในองค์กรเป็นสิ่งที่จำเป็น ด้วยการสถาปนาระบบการทำงานมาตรฐานที่เป็นสากลสำหรับงานโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ ซึ่งแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจหรือลูกค้าหลัก ความท้าทายของการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของคนในองค์กร เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชักจูงให้ทีมงานและพนักงานมีความเข้าใจถึงการมีมาตรฐานสากลและคู่มือการทำงานที่จะต้องมีในองค์กรเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ กระบวนการถ่ายทอดทักษะเพื่อความยั่งยืน ของพนักงานในองค์กรจากรุ่นไปสู่อีกรุ่น คนในองค์กรมีการเข้าออกจึงจำเป็นที่จะต้องมีความต่อเนื่องของการถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบด้วยการใช้ “Mentor & Coach” เป็นเครื่องมือ 3 / 10
4
ขั้นตอนการสตาร์ทอัพระบบมาตรฐานในองค์กร
การแปลงมาตรฐานให้เป็นระบบปฏิบัติการเป็นเลิศ ด้วยการปฏิบัติงานจริงและทำซ้ำจนเกิดความเคยชินกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็น “Best Practice” ความยั่งยืนคือจะทำให้คนในองค์กรยอมรับและกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร มาตรฐานต้องเหนือกว่าคู่แข่ง ระบบมาตรฐานการทำงานที่องค์กรมีอยู่ต้องเหนือกว่าคู่แข่งขันอย่างน้อยหนึ่งก้าวเสมอ เพราะหากเท่ากับคู่แข่งมาตรฐานดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดีกว่า มาตรฐานสากลสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางด้านการตลาดและความน่าเชื่อถือขององค์กร 4 / 10
5
การเชื่อมโยงมาตรฐานในงานบริการโลจิสติกส์ Manufacturing Standard
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และอุตสาหกรรม Products & Manufacturing Standard - มาตรฐานคุณภาพและการรับประกัน (ISO Standard DIN/ JIS/ EU/ BS) (Incoterms Standard) (Working Standard Connectivity) 5 / 10
6
ตัวอย่าง : ระบบมาตรฐานของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์
ISO 9001 : เป็นมาตรฐานสากลการทำงานคุณภาพในงานโลจิสติกส์ เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนด้านต่างๆ ISO (2007) มาตรฐานความปลอดภัยของโซ่อุปทาน Q-Mark Transport เป็นมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกเป็นการประเมินตนเองตามข้อกำหนด AEO (Authorized Economic Operator) เป็นมาตรฐานขององค์กรศุลากรโลก (WCO) กำหนดให้ผู้นำเข้า-ส่งออก ธุรกิจตัวแทนออกของและผู้ให้บริการโลจิสติกส์จะต้องมีมาตราฐานความปลอดภัยของกิจกรรมต่างๆในโซ่อุปทาน BCM (Business Continuity Management) มาตรฐานการมีระบบและคู่มือปฏิบัติงานภายใต้ความต่อเนื่องทางธุรกิจกำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO : 2012 BSCI (Business Social Compliance Initiative) ระบบตรวจสอบมาตรฐานทางสังคมของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน HRCI : Standards Of Competence เป็นมาตรฐานอาชีพระดับสากลซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานและการสอบเทียบเพื่อให้ได้รับมาตรฐานระดับสมรรถนะของบุคคลที่ทำงานในแต่ละอาชีพ 6 / 10
7
ตัวอย่าง : มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานขนส่ง (Logistics Service Standard)
การส่งมอบตรงเวลาเข้าไลน์การผลิตซึ่งความผิดพลาดต้องเป็นศูนย์ (Lean Automation) การขนส่งสินค้าเคมี-สารไวไฟ และสินค้าอันตรายประเภทต่างๆ การขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิพิเศษ และสินค้าเน่าเสียง่ายหรือสินค้ามีชีวิต การขนส่งสินค้าอ่อนไหวเสียหายง่ายหรือมีเครื่องวัดการสั่นสะเทือน (Sensitive & Vibration Meter) การขนส่งสินค้าที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการขนถ่ายขึ้น-ลง การขนส่งสินค้าฮาลาล (Halal Logistics) การขนส่งสินค้าขนาดใหญ่พิเศษที่ต้องใช้พาหนะพิเศษรวมถึงสำรวจเส้นทางก่อนปฏิบัติงาน การขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน (Transit & Cross border Transport) การปฏิบัติการขนส่งลดมลพิษและโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้านขนส่ง (Safety Standard Transport) มาตรฐานและเทคโนโลยีติดตามสถานะขนส่งทั้งระหว่างการส่งมอบและข้อมูลย้อนหลัง 7 / 10
8
ตัวอย่าง : มาตรฐานระดับนานาชาติ (International Standard)
มาตรฐานภาพลักษณ์ขององค์กร (Corporate Image) เป็นภาพลักษณ์ของสินค้าและองค์กรธุรกิจ (Consumers Image) มาตรฐานความต่อเนื่องธุรกิจและบริหารความเสี่ยง (BCP & Risk Management) มาตรฐานและสุขอนามัย (FDA / HACCP / Organic / GAP) มาตรฐานด้านศาสนา (Halal) มาตรฐานบังคับ/ กรมประมง/ กระทรวงพาณิชย์/ สมอ./ กระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น IUU Fishing / WEEE : Waste From Electronic / Carbon Footprint มาตรฐานด้านการค้ามนุษย์ / Human Trafficking (TIER 3) มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน (Human Right & ILO) มาตรฐานป้องกันการก่อการร้าย (C-TPAT:Customer and Trade Partnership Against Terrorism) มาตรฐานด้านทรัพย์สินทางปัญญา / Intellectual Right มาตรฐานที่ไม่ใช่ภาษีระหว่างประเทศ (NTMs) 8 / 10
9
กุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล
การเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และรูปแบบธุรกิจใหม่ของยุค 4.0 รูปแบบธุรกรรมขององค์กรต้องสามารถเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์ในโซ่อุปทานแบบไร้รอยต่อ การปฏิบัติการเป็นเลิศ (Logistic Best Practice) เป็นจุดแข็งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การมีมาตรฐานเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและธุรกิจ ที่ยั่งยืน มีการถ่ายทอดที่ต่อเนื่องจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร 9 / 10
10
จบการนำเสนอ สามารถสแกนด้วยมือถือ
PDF : มาตรฐานการทำงานเพื่อความเป็นเลิศในงานโลจิสติกส์ POWERPOINT : มาตรฐานการทำงานเพื่อความเป็นเลิศในงาน โลจิสติกส์ สามารถติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่ช่องทาง Tanit Sorat tanitvsl 10 / 10
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.