งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สวัสดิการ พนักงานส่วนท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สวัสดิการ พนักงานส่วนท้องถิ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สวัสดิการ พนักงานส่วนท้องถิ่น
นายประมูล เบญจพันธ์ หัวหน้าฝ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส่วนส่งเสริมการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์

3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ พระมหากษัตริย์ทรงพระโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน แก่ ผู้กระทำความดีความชอบแก่ราชการหรือสาธารณะ การเสนอขอของ รัฐบาล ถือว่าเป็นบำเหน็จความชอบและเป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน

4 เกิดขึ้นครั้งแรก คริสตศักราช 1095 สมัยสงครามครูเสด
ประวัติความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เกิดขึ้นครั้งแรก คริสตศักราช 1095 สมัยสงครามครูเสด สันตะปาปา ประมุขของคริสตศาสนา ขอร้องให้ให้อัศวินซึ่งแต่ละคนที่มีเครื่องหมายต่าง ๆ กัน ให้ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกันคือ “กางเขน” อันมีความหมายทางศาสนาและแสดงว่าเป็นฝ่ายคริสต์

5 เครื่องหมายประจำตำแหน่งต่าง ๆ ของอัศวิน
แต่เดิมเป็นกางเขน ภายหลังประดิษฐ์ตกแต่งให้งดงามตามชั้นยศ พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นประมุข มอบให้ เป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่ง หรือ - บำเหน็จความชอบ เพราะได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน เครื่องหมายเหล่านี้กลายมาเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์

6 ใช้รูปช้างเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประเทศเดนมาร์ก ใช้รูปช้างเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประเทศเดนมาร์ก มีเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดชั้นเดียว ชื่อ “The Ofder of the Elephan” ซึ่งสร้างจำนวนจำกัด ปัจจุบันยังคงนับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินและพระบรม วงศานุวงศ์ ทรงใช้ประดับในวโรกาสเสด็จออกพระราชพิธีและรัฐพิธีที่สำคัญของประเทศ

7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในภาคพื้นเอเชีย
ประเทศญี่ปุ่นสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลแรกขึ้นชื่อว่า “The Order of the Rising Sun” เมื่อค.ศ.1875 หรือ พ.ศ.2418 ประเทศจีนได้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชื่อ “The Order of Double Dragon” เมื่อ ค.ศ.1881 หรือ พ.ศ.2424 ประเทศไทยได้สถาปนา เครื่องราชเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ หรือ ค.ศ.1857

8 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แบ่งได้ 4 ประเทศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แบ่งได้ 4 ประเทศ 1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ คือ เครื่องราช อิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่ง ราชมิตราภรณ์ 2.เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดินมี 8 ชนิด 3.เครื่องราชอิสริยา ภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์ 4. เหรียญอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ มี 4 ชนิด

9 มีลักษณะเป็นแผ่นทองคำสลักรูปช้าง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่อยู่ (รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมื่อปี 2400 มีลักษณะเป็นแผ่นทองคำสลักรูปช้าง สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการที่ออกไปเป็นทูตต่างประเทศ และ

10 กำหนดระยะเวลาการเสนอขอพระราชทานขอเครื่องราชฯ
- การเสนอขอพระราชทานเครื่องราช ฯ จะเสนอขอปีติดกันไม่ได้ กำหนดระยะเวลาการเสนอขอพระราชทานขอเครื่องราชฯ 1. ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา หรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ต้องมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 120 วัน 2. ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา หรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองหลายตำแหน่งหรือหลายครั้ง ต้องมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งรวมกันไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ 3. ข้าราชการต้องรับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ 4. ลูกจ้างประจำ ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์ 5. ดะโต๊ะยุติธรรม หรือผู้พิพากษาสมทบต้องดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี 6. พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์กรของรัฐ ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์ หรือ 5 ปีแล้วแต่กรณี

11 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536(รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะปฏิรูปฯ (ฉบับที่ 33) พ.ศ.2549 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 “ข้าราชการการเมือง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นหรือถือว่าเป็นข้าราชการการเมืองตาม กม.ว่าด้วยข้าราชการการเมืองหรือกม. อื่น “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ ฯลฯ และพนักงานส่วนท้องถิ่นตาม กม. เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น - การเสนอขอพระราชทานเครื่องราช ฯ ให้เริ่มจากมงกุฎไทยและช้างเผือกสลับกันจากชั้นล่างสุดจนถึงชั้นสูงสุด - บุคคลที่พึงได้รับการพิจารณาขอพระราชทานเครื่องราชฯ 1.สัญชาติไทย 2.ประพฤติดีและปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ 3.ไม่เคยถูกเรียกคืนเครื่องราชฯหรือต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เครื่องราชอิสริยาภรณ์

12 7. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตาม กม
7. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตาม กม. เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือได้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งมาแล้ว รวมกันไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้เสนอขอพระราชทานขอเครื่องราชฯ 1.นายกรัฐมนตรี สำหรับรัฐมนตรี 2.ประธานสภาผู้แทนราษฎร สำหรับส.ส. และข้าราชการรัฐสภา ฯลฯ 7.ปลัดมท.สำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกม.เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น

13 ข้อ 7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้กระทำความดี ความเป็นชอบ เป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน ข้อ 8 ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่บุคคลใดให้พิจารณาโดยรอบคอบว่า บุคคลนั้นได้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชนจนถึงขนาดควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมิใช่พิจารณาแต่เพียงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ หรือครบกำหนดระยะเวลาที่จะขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับพระราชทานรู้สึกภาคภูมิใจในเครื่องราช อิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานอย่างแท้จริง และเพื่อให้เครื่องราชอิสริยา ภรณ์เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงด้วย การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ใด ชั้นตราใด แก่บุคคลใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้

14 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาประจำปีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลจะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้บุคคลต่างๆ ที่ถือสัญชาติไทยที่ได้ประกอบคุณงามความดีเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เพื่อเป็นเกียรติและส่งเสริมการกระทำความดีความชอบให้เป็นตัวอย่างที่ดีสืบไป ชนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เสนอขอพระราชทานประจำปี ประกอบด้วย ๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ๒. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ๓. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ๔. เหรียญจักรพรรดิมาลา ๕. เหรียญจักรมาลา

15 หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ
ลำ ดับ ตำแหน่ง ชั้นเครื่องราชฯ เงื่อนไขและระยะเวลา หมายเหตุ เริ่มขอ เลื่อนถึง ระดับ ๑ ร.ง.ม. ร.ง.ช. - ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษ ๑. ต้องรับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มรับราชการ จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ๒. ลำดับ ๒ - ๕ ซึ่งกำหนดเวลาเลื่อนชั้นตรา ๕ ปี หมายถึงต้องดำรงตำแหน่งในระดับนั้นๆ รวมเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ระดับ ๒ บ.ม. บ.ช. ๑. เริ่มขอ บ.ม. ๒. ระดับ ๒ ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช. ระดับ ๓ จ.ม. จ.ช. ๑. ระดับ ๓ หรือ ๔ เริ่มขอ จ.ม. ๒. ระดับ ๓ หรือ ๔ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี บริบูรณ์ขอ จ.ช. ระดับ ๔ ระดับ ๕ ต.ม. ต.ช. ๑. ระดับ ๕ หรือ ๖ เริ่มขอ ต.ม. ๒. ระดับ ๕ หรือ ๖ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี บริบูรณ์ขอ ต.ช. ระดับ ๖ ระดับ ๗ ท.ม. ท.ช. ๑. ระดับ ๗ หรือ ๘ เริ่มขอ ท.ม. ๒. ระดับ ๗ หรือ ๘ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี บริบูรณ์ขอ ท.ช. ระดับ ๘

16 หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ
ลำ ดับ ตำแหน่ง ชั้นเครื่องราชฯ เงื่อนไขและระยะเวลา หมายเหตุ เริ่มขอ เลื่อนถึง ระดับ ๘ - ป.ม. ๑. ได้รับเงินเดือนเต็มขั้นของระดับ ๘ ๒. ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา ๓. ได้ ท.ช. ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ม. ๔. ให้ขอได้ปีก่อนปีที่จะเกษียณอายุราชการ หรือในปีที่เกษียณอายุราชการ เท่านั้น - ลำดับ ๗ - ๙ การขอกรณีปีที่เกษียณอายุ ราชการ ตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ แล้วแต่กรณี ให้ขอปีติดกันได้ ระดับ ๙ ม.ว.ม. ๑. ได้ ท.ช. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ม. ๒. ได้ ป.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ช. ๓. ได้ ป.ช. ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ว.ม. ๔. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก ๑ ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. ยกเว้นกรณีลาออก

17 หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ
ลำ ดับ ตำแหน่ง ชั้นเครื่องราชฯ เงื่อนไขและระยะเวลา หมายเหตุ เริ่มขอ เลื่อนถึง ระดับ ๑๐ - ม.ป.ช. ๑. ให้เลื่อนชั้นตราได้ตามลำดับทุกปีจนถึง ป.ม. ๒. ได้ ป.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ช. ๓. ได้ ป.ช. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ.ม.ว.ม. ๔. ได้ ม.ว.ม. ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ป.ช. ๕. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก ๑ ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. ยกเว้นกรณีลาออก ระดับ ๑๑ ๑. ได้ ป.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ช. ๒. ได้ ป.ช. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ว.ม. ๓. ได้ ม.ว.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ป.ช. ๔. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก ๑ ชั้นตรา ยกเว้นกรณีลาออก

18 บัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี……
เทศบาล……………………. จังหวัด……………….. ชั้น……………….. เป็นข้าราชการ ตำแหน่ง ลำดับเครื่องราช อิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานแล้ว วัน เดือน ปี ขอครั้งนี้ หมายเหตุ ลำดับที่ (1) ชื่อตัว-ชื่อสกุล (2) ระดับ (3) วัน เดือน ปี (4) เงินเดือน (5) (ปัจจุบันและอดีตเฉพาะปีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์(6) (7) 5 ธ.ค.... (8) (9) เริ่มรับราชการ (10) เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ (11) ขอรับรองว่ารายละเอียดข้างต้นถูกต้องและเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ข้อ ๘,๑๐,๑๙(๓),๒๑,๒๒ ลงชื่อ ลงชื่อ……………………………… ( ) (…………………………) เจ้าของประวัติ ตำแหน่ง…………………………… ผู้เสนอขอพระราชทาน

19 (1) ลำดับที่ (2) ชื่อตัว – ชื่อสกุล เรียงลำดับ แต่ละชั้นตรา
เช่น มีชั้น ท.ช. อยู่ 10 ก็เรียงลำดับ ชายก่อน แล้วต่อด้วยหญิง (2) ชื่อตัว – ชื่อสกุล - ต้องมีคำนำหน้านาม - ต่อด้วยชื่อตัว - และชื่อสกุล นายประมูล เบญจพันธ์

20 (3) ระดับ หมายถึงระดับที่เราดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน เช่น
ระดับ 8 (ซี 8) ระดับ 6 (ซี 6) ระดับ 4 (ซี 4) (4) วัน เดือน ปี หมายถึง วัน เดือน ปี ที่ได้เลื่อนเป็นระดับ 8 ระดับ 6 หรือระดับ 4 เช่น 31 มกราคม 2554

21 (5) เงินเดือน เงินเดือนปัจจุบัน (6) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
หมายถึง รับราชการเป็นข้าราชการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอะไร รับราชการเป็นลูกจ้างประจำ ดำรงตำแหน่งอะไร (7) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เคยได้ (8) วัน เดือน ปี ที่เคยได้ คือ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี แล้วแต่ว่าเราจะได้ปี พ.ศ.ใด

22 (9) ขอครั้งนี้ หมายถึงในการขอเครื่องราชปีนี้จะขอชั้นอะไร ท.ช.หรือ ท.ม. ต.ช.หรือต.ม.. ช่องสุดท้าย ช่องหมายเหตุ จะแบ่งออกเป็น 2 ช่อง (10)ช่องแรก วันบรรจุแต่งตั้ง หมายถึงวันที่รับราชการครั้งแรก (11) ช่องหลังบอกว่า เป็นระดับ 7 ระดับ 5 หรือ 3 เมื่อใด ถ้าปัจจุบันเป็นระดับ 8 ต้องบอกว่าเป็นระดับ 7 เมื่อใด ถ้าปัจจุบันเป็นระดับ 6 ต้องบอกว่าเป็นระดับ 5 เมื่อใด ถ้าปัจจุบันเป็นระดับ 4 ต้องบอกว่าเป็นระดับ 3 เมื่อใด

23 เทศบาล……………………. จังหวัด………………..
บัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี…… เทศบาล……………………. จังหวัด……………….. ชั้น……………….. เป็นข้าราชการ ตำแหน่ง หมายเหตุ ลำดับที่ ชื่อตัว-ชื่อสกุล ระดับ วัน เดือน ปี เงินเดือน (ปัจจุบันและอดีตเฉพาะปีที่ได้รับพระ ราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์) ลำดับเครื่องราช อิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราช ทานแล้ว ขอครั้งนี้ เริ่มรับราชการ เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ นายประมูล เบญจพันธ์ 6 2 ต.ค.47 14,810 ปลัด อบต. ต.ม. 5 ธ.ค.47 ต.ช. 2 ก.ย.39 ระดับ 5 เมื่อ 1 ต.ค.45 ขอรับรองว่ารายละเอียดข้างต้นถูกต้องและเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ข้อ ๘,๑๐,๑๙(๓),๒๑,๒๒ ลงชื่อ ลงชื่อ……………………………… (นายประมูล เบญจพันธ์) (…………………………) เจ้าของประวัติ ตำแหน่ง…………………………… ผู้เสนอขอพระราชทาน

24 เทศบาล……………………. จังหวัด………………..
บัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี…… เทศบาล……………………. จังหวัด……………….. ชั้น……………….. เป็นข้าราชการ ตำแหน่ง หมายเหตุ ลำดับที่ ชื่อตัว-ชื่อสกุล ระดับ วัน เดือน ปี เงินเดือน (ปัจจุบันและอดีตเฉพาะปีที่ได้รับพระ ราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์) ลำดับเครื่องราชสริยาภรณ์ ที่ได้รับพระราชทานแล้ว ขอครั้งนี้ เริ่มรับราชการ เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ นายประมูล เบญจพันธ์ 6 2 ต.ค.47 11,810 ปลัด อบต. ต.ม. 5 ธ.ค.47 ต.ช. 2 ก.ย.39 ระดับ 6 เมื่อ 2 ต.ค.47 ขอรับรองว่ารายละเอียดข้างต้นถูกต้องและเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ข้อ ๘,๑๐,๑๙(๓),๒๑,๒๒ ลงชื่อ ลงชื่อ……………………………… (นายประมูล เบญจพันธ์) (…………………………) เจ้าของประวัติ ตำแหน่ง…………………………… ผู้เสนอขอพระราชทาน

25 (ลงชื่อ)……………..เจ้าของประวัติ
บัญชีรายการประวัติ ประวัติ นาย นาง นางสาว…………………………………………. ตำแหน่ง………………… เทศบาล…………... จังหวัด………………. สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เกิดวันที่…..เดือน…..……พ.ศ…...ได้รับราชการครบ ๒๕ ปี เมื่อวันที่……เดือน…………พ.ศ.…….สมควรได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ.๒๔๘๕ โดยมีประวัติรับราชการดังต่อไปนี้ วัน เดือน ปี ที่รับราชการประจำ ตำแหน่ง กรม กระทรวง อายุ เงินเดือน หมายเหตุ ว/ด/ป ที่เริ่มรับราชการ ว/ด/ป ที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของทุกปี (1 ต.ค. และ 1 เม.ย.ของทุกปีตั้งแต่เริ่มรับราชการ) …………………..... ..... ..… ..…… ยังรับราชการจนถึงปัจจุบัน (ลงชื่อ)……………..เจ้าของประวัติ หมายเหตุ วัน เดือน ปีที่รับราชการให้เรียงลำดับต่อเนื่องกัน ห้ามเว้นข้าม วัน เดือน ปี ขั้นเงินแดือน ให้ลงตามปีงบประมาณ กรณีลงรายการไม่ครบจะถือว่าขาดคุณสมบัติในการขอพระราชทาน

26 บัญชี 41 การขอพระราชทานเครื่องราชให้แก่ข้าราชการตามระบบจำแนกประเภทตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552
ลำดับ ระดับตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอฯ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง 1 ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน บ.ม จ.ช. 2 ระดับชำนาญงาน ต.ม ต.ช. 3 4 ระดับอาวุโส ระดับทักษะพิเศษ ท.ม ท.ช ม.ว.ม.

27 ลำดับ ระดับตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอฯ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง 5 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ต.ม 6 ระดับชำนาญงาน ต.ช ท.ช. 7 8 ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ท.ช ป.ม ม.ว.ม.

28 ลำดับ ระดับตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอฯ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง 9 ระดับทรงคุณวุฒ ม.ป.ช. 10 ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 15,600 บาท ท.ช ป.ม. 11 12 ประเภทอำนวยการระดับต้น ระดับสูง ท.ช ป.ม ม.ว.ม.

29 ลำดับ ระดับตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ขอฯ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง 13 ประเภทบริหาร ระดับต้น ม.ว.ม. 14 ระดับสูงที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท ม.ป.ช. 15 ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ม.ป.ช.

30 การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ.๒๕๓๖ - ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้นสายสะพาย แม้มีชื่อประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ยังไม่สามารถประดับเครื่องราชฯ ได้ จนกว่าจะได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานในวันพิธีที่กำหนด ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าเฝ้าฯ สามารถประดับได้เมื่อพ้นวันพิธีพระราชทานเครื่องราชฯ ดังกล่าว - เครื่องราชฯ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย สามารถประดับได้เมื่อได้รับ ประกาศนามในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

31 การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชั้นสายสะพาย บุรุษ - ม.ป.ช. และ ม.ว.ม. สวมสะพายบ่าซ้ายเฉียงขวา - ป.ช. และ ป.ม สวมสะพายบ่าขวาเฉียงซ้าย สตรี - สวมเหมือนบุรุษ ชั้นต่ำว่าสายสะพาย บุรุษ - ท.ช. ท.ม. ต.ช. ต.ม. ประดับโดยสวมแถบแพรคล้องคอ โดยให้ ดวงตราห้อยออกมานอกเสื้อ (ท.ช. ท.ม. จะมีดาราประดับที่อกเสื้อ ด้านซ้ายใต้ชายปกกระเป๋า) สตรี - ประดับด้านบ่าซ้ายทั้งหมด

32 ม.ป.ช.ประดับคู่กับ ม.ว.ม.

33 ม.ป.ช.แต่งร่วมกับ ม.ว.ม. (ครึ่งยศ)

34 สายสะพายชั้น ม.ว.ม.แต่งคู่กับ ป.ช.(เต็มยศ)

35 ม.ว.ม.แต่งคู่กับ ป.ช. (ครึ่งยศ)

36 สายสะพายชั้น ป.ช.แต่งคู่กับ ป.ม.(เต็มยศ)

37 ป.ช.แต่งคู่กับ ป.ม. (ครึ่งยศ)

38 ป.ม.แต่งคู่กับ ท.ช. (เต็มยศ)

39 ป.ม.แต่งคู่กับ ท.ช. (ครึ่งยศ)

40 ต่ำกว่าสายสะพาย เต็มยศ ครึ่งยศ เหมือนกัน

41

42 จ..ช.ประดับร่วมกับ จ..ม.และเหรียญราชอิสริยาภรณ์

43 เครื่องหมายแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

44 หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำ
คุณสมบัติของผู้ที่พึงได้รับพระราชทาน - ต้องเป็นลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นลูกจ้างโดยตรง - หมวดฝีมือ หรือ - ลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะเหมือนข้าราชการ - ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปี

45 หมวดฝีมือของลูกจ้างประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1. พนักงานขับรถยนต์ 2. พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา 3. พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง 4. หัวหน้าหมวดรถยนต์ 5. พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก 6. ผู้ชำนาญงานด้าน ลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเหมือนข้าราชการ อบจ.

46 หมวดฝีมือของลูกจ้างประจำเทศบาล
1. พนักงานวิทยุ 2. ผู้ช่วยช่างทุกประเภท 3. พนักงานขับรถยนต์ 4. พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา 5. พนักงานขับเรือขุด 6. พนักงานเทศกิจ 7. ครูดูแลเด็กอนุบาลปฐมวัย 8 ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

47 9. พนักงานขับเรือยนต์หรือนายท้ายเรือ
10.ลูกมือช่างแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน 11.เจ้าหน้าที่ทะเบียนทรัพย์สิน 12.เจ้าหน้าที่สำรวจข้อมูล 13.พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง 14.หัวหน้าหมวดรถยนต์ 15.พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก 17.ผู้ชำนาญงานด้าน... 18.ลูกจ้างประจำที่มีชื่อลักษณะงานเหมือนพนักงานเทศบาล

48 หมวดฝีมือลูกจ้างประจำองค์การบริหารส่วนตำบล
1. พนักงานขับรถยนต์ 2. พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา 3. พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง 4. พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก 5. ครูดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย 6. ผู้ชำนาญงานด้าน..... 7. ลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเมหือนพนักงานส่วนตำบล

49 การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ การขอพระราชทานเพลิงศพ และหีบศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานน้ำหลวง เพลิงหลวง และหีบเพลิง ต้องมีตำแหน่งและชั้นยศ ดังต่อไปนี้ (4) ข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป (6) ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์”(บ.ภ.) และ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ขึ้นไป (9) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง

50 หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ (4) ผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ นักกิฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาจังหวัด หรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล (5) ผู้ทำคุณประโยชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศลคิดเป็นมูลค่า ไม่น้อยกว่า 300,000 บาท บริจาคร่างกาย หรืออวัยวะ (6) บิดา มารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ 6 ขึ้นไป หรือเทียบเท่าขึ้นไป (7) บิดา มารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตริตาภรณ์ช้างเผือก” (ต.ช.) ขึ้นไป

51 การจัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชฯ
การจัดห้องพิธี ตั้งพระพุทธรูปบนโต๊ะหมู่บูชา ตั้งแท่นธงชาติด้านขวาของโต๊ะหมู่บูชา ด้านซ้ายประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนเก้าอี้ประธานในพิธีให้ตั้งเยื้องไปอีกทางหนึ่งของห้อง ไม่ให้บังพระพุทธรูป ธงชาติ และ พระบรมฉายาลักษณ์ ผู้ที่เข้ารับฯ ยืนเข้าแถวตามลำดับ การแต่งกาย ผู้เป็นประธาน และผู้ที่เข้ารับฯ แต่งเครื่องแบบปกติขาว วิธีเข้ารับ ๓.๑ ทุกคนในห้องยืนตรงเมื่อประธานในพิธีมาถึง(ยังไม่ต้องแสดงความเคารพ) ประธานจุดธูปเทียน คำนับธงชาติ และถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ แล้วจึงเดินไปยืนตรงหน้าที่นั่ง ทุกคนทำความเคารพด้วยการก้มศรีษะลงคำนับ ประธานเคารพตอบจึงนั่งลงได้ และประธานจะยืนมอบ ๓.๒ ผู้รับให้เดินไปหยุดหน้าโต๊ะหมู่บูชา ก้มศรีษะทำความเคารพ 1 ครั้ง แล้วเดินไปเคารพประธาน การรับให้ยืนรับและไม่ต้องเอางาน ๓.๓ ได้รับแล้วก้มศรีษะทำความเคารพประธานก้าวถอยหลังออกมา หยุดยืนหันหน้าไปทางที่บูชา ก้มศรีษะทำความเคารพ 1 ครั้ง แล้วจึงเดินกลับไปที่เดิมโดยถือเครื่องราชฯไว้สูงระดับเอวตลอดเวลา จนเสร็จพิธี

52 เขามีส่วน. เลวบ้าง. ช่างหัวเขา จงเลือกเอา
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง พุทธทาส ภิกขุ

53 พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรจะให้เบ็ดตกปลา และ สอนให้รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า เพราะการช่วยเหลือตนเอง แทนการรอรับความช่วยเหลือ จะทำให้รู้จักประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ก่อให้เกิดความพอมีพอกินและรู้จักคำว่า พอเพียง

54 มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้น้อย มีเหลือไว้เก็บและใช้หนี้ แล้วท่านไม่มีวันจน หนี้ย่อมระงับด้วยการใช้หนี้ ด้วยความปรารถนาดี จากส่วนส่งเสริมการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น โทร

55 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt สวัสดิการ พนักงานส่วนท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google