งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทิศทางการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญของกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทิศทางการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญของกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทิศทางการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญของกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน 1 ตุลาคม 2559

2 การขับเคลื่อนนโยบายและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เมื่อพิจารณาตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (ปี ) ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่ามีประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นงานตามภารกิจในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทานฯ พ.ศ ที่กำหนดให้กรมชลประทานมีภารกิจในการพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เพียงพอ และจัดสรรน้ำให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท เพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้รับน้ำอย่างทั่วถึง รวมทั้งดำเนินการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ กรมชลประทานจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์กรมชลประทานขึ้น เพื่อใช้เป็น ทิศทางการพัฒนางานเพื่อขับเคลื่อนงานตามหน้าที่ขององค์กร รวมทั้งงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยได้มีการปรับปรุงยุทธศาสตร์ฯ ล่าสุดในปี 2559 เพื่อใช้เป็นทิศทางการดำเนินงานในปี พ.ศ – 2564 โดยสรุปสาระสำคัญตามประเด็นยุทธศาสตร์ได้ดังนี้

3 การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ
1. งานตามภารกิจ ภารกิจ ตามกฎกระทรวง พัฒนาแหล่งน้ำ การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ การจัดรูปที่ดิน บริหารจัดการน้ำ ขับเคลื่อนโดย แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี เป้าหมาย 12 ปี เพิ่มพื้นที่ชลประทาน ไม่น้อยกว่า 350,000 ไร่ต่อปี เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก 4,800 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 8.7 ล้านไร่ โครงการชลประทานขนาดใหญ่ กลาง เล็ก 7,350,000 ไร่ พัฒนาแหล่งน้ำ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 30,220,000 31,570,000 31,950,000 36,820,000 38,920,000 เพิ่มขึ้น 1,350,000 380,000 4,870,000 2,100,000 ก่อน พ.ค. 57 ปี 57-59 ปี 60 ปี 61-64 ปี 65-69 พื้นที่ชลประทาน (ไร่) 79,656.88 80,412.88 80,832.88 83,252.88 84,457.88 เพิ่มขึ้น 756 เพิ่มขึ้น 420 เพิ่มขึ้น 2,420 เพิ่มขึ้น 1,205 ปริมาณน้ำเก็บกัก (ล้าน ลบ.ม.) การพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลุ่มน้ำ กรมชลประทานได้นำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาเป็นกรอบแนวทางในการวางแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้ 8.7 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้ได้ 4,800 ล้าน ลบ.ม. ภายในปี 2569 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2579 โดยสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปลายปี 2557 – 2559 คือ มีการเพิ่มพื้นที่ชลประทานไปแล้ว 1.35 ล้านไร่ และเพิ่มความจุเก็บกักน้ำได้ 756 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในปี 2560 กรมชลประทานได้กำหนดเป้าหมายที่จะก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดใหญ่ให้แล้วเสร็จ 1 โครงการ ขนาดกลาง 31 โครงการ และขนาดเล็ก 137 โครงการ เพื่อเพิ่มความจุเก็บกักน้ำประมาณ 420 ล้าน ลบ.ม. และเพิ่มพื้นที่ชลประทานอีก 380,000 ไร่ รวมทั้งยังมีเป้าหมายการพัฒนาระบบชลประทานในแปลงเกษตรกรรม (ซึ่งได้แก่ งานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม และงานจัดรูปที่ดิน) จำนวน 97,580 ไร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทานอีกด้วย การจัดรูปที่ดิน 4,045 ล้าน ลบ.ม. 12,671,520 13,019,980 13,117,560 13,797,560 14,477,560 เพิ่มขึ้น 348,460 97,580 680,000 เพิ่มขึ้น 680,000 งานจัดรูปที่ดิน (ไร่) 1,457,580 ไร่

4 ประชาสัมพันธ์ชี้แจงกับประชาชน
1. งานตามภารกิจ หลัก 3 ถ. “ถูกที่ ถูกเวลา ถูกปริมาณ” บริหารจัดการน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ บริหารจัดการตามลำดับความสำคัญการจัดสรรน้ำ (1) การบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2559 เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัย ปี 2559 และให้มีน้ำต้นทุนสำหรับฤดูแล้งปี 2559/2560 (2) การบริหารจัดการน้ำสำหรับฤดูแล้งปี 2559/2560 (3) การบริหารจัดการน้ำสำหรับฤดูฝนปี 2560 ลำดับ 1 จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง ลำดับ 2 จัดสรรน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศในช่วงฤดูแล้ง ลำดับ 3 สำรองน้ำไว้สำหรับการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝน ลำดับ 4 จัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรกรรม ลำดับ 5 จัดสรรน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ 1. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงกับประชาชน หน่วยเฉพาะกิจชลประทาน เพื่อประชาชน หน่วยเฉพาะกิจ ชลประทาน เพื่อประชาชน 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ กรมชลประทานจะใช้หลัก 3 ถ. มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ คือ “ถูกที่ ถูกเวลา ถูกปริมาณ” โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ (1) การบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2559 เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยปี 2559 และเพื่อให้มีน้ำต้นทุนสำหรับฤดูแล้ง 2559/2560 - มีการวางแผนการระบายน้ำให้เหมาะสมตามช่วงเวลาการเกิดอุทกภัย และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ท้ายน้ำ และไม่ให้เกิดความเสี่ยงกับตัวเขื่อน - มีการผันน้ำเข้าระบบโครงข่ายชลประทาน พื้นที่ลุ่มต่ำและแก้มลิงต่างๆ - ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีการแจ้งเตือน ประชาสัมพันธ์ (2) การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2559/2560 กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำโดยเน้นการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน (ไม่ใช่ตามความต้องการของเกษตรกร) และสำรองน้ำสำหรับต้นฤดูฝนปี 2560 โดยกำหนดลำดับความสำคัญของการจัดสรรน้ำตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ ดังนี้ 1) เพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง 2) เพื่อรักษาระบบนิเวศ 3) สำรองน้ำไว้สำหรับการใช้ในช่วงต้นฤดูฝน 4) จัดสรรน้ำเพื่อเกษตรกรรม 5) จัดสรรน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม (3) การบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2560 กรมชลประทานวางเป้าหมายว่า จะต้องมีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ชลประทานได้อย่างน้อย 1 รอบการเพาะปลูก ส่วนการจัดสรรน้ำเพื่อกิจกรรมอื่นๆ กรมชลประทานจะได้พิจารณาจัดสรรตามปริมาณน้ำต้นทุนที่มีในพื้นที่นั้นๆ การป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ กรมชลประทานได้วางแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในช่วงน้ำหลากและภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ - ประชาสัมพันธ์ ชี้แจง และประสานงานกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งประชาชน เกษตรกร และหน่วยงานราชการ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเรื่องน้ำ เพื่อให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และลดความขัดแย้ง - มี “หน่วยเฉพาะกิจชลประทานเพื่อประชาชน” เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก หรือภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ เช่น การเสริมกระสอบทราย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ให้บริการรถน้ำเคลื่อนที่ - กำจัดวัชพืช และสิ่งกีดขวางทางน้ำ - เตรียมอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งาน 3. กำจัดวัชพืช และสิ่งกีดขวางทางน้ำ 4. เตรียมอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งาน

5 2.1 โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ประชารัฐ
กรมชลประทานได้พิจารณาข้อมูลด้านน้ำของพื้นที่แปลงใหญ่ระยะแรก จำนวน 268 แปลง ซึ่งประกอบด้วยแปลงใหญ่ประชารัฐต้นแบบ 76 แปลง และแปลงใหญ่ทั่วไป 192 แปลง ดังนี้ แปลงใหญ่ประชารัฐต้นแบบ จำนวน 76 แปลง - ต้องการให้ ชป. ดำเนินการจัดหาน้ำให้ 56 แปลง - ชป. ไม่ต้องดำเนินการจัดหาน้ำให้ 20 แปลง เนื่องจากมีแหล่งน้ำอื่นสนับสนุนพื้นที่อยู่แล้ว - ปี 2559 ชป. ได้ดำเนินการสนับสนุนการจัดหาน้ำไปแล้ว 36 แปลง - ปี 2560 ชป. วางแผนงานที่จะสนับสนุนการจัดหาน้ำอีก 20 แปลง เพื่อให้ครบทั้ง 56 แปลง ตั้งงบปกติปี 60 รองรับไว้แล้ว 3 แปลง วงเงิน ล้านบาท ใช้เงินเหลือจ่ายในปี 60 มาดำเนินการอีก 17 แปลง วงเงิน ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณที่จะใช้ในปี 60 ทั้งสิ้น ล้านบาท แปลงใหญ่ทั่วไป จำนวน 192 แปลง - ต้องการให้ ชป. ดำเนินการจัดหาน้ำให้ 91 แปลง - ชป. ไม่ต้องดำเนินการจัดหาน้ำให้ 101 แปลง เนื่องจากมีแหล่งน้ำอื่นสนับสนุนพื้นที่อยู่แล้ว 88 แปลง และยกเลิก 13 แปลง - ปี 2559 ชป. ได้ดำเนินการสนับสนุนการจัดหาน้ำไปแล้ว 54 แปลง - ปี 2560 ชป. ได้ตั้งงบปกติรองรับการจัดหาน้ำสนับสนุนแปลงใหญ่ทั่วไปอีก 5 แปลง เป็นเงิน ล้านบาท ส่วนที่คงเหลืออีก 32 แปลง จะเสนอขอตั้งงบปี 2561 มาดำเนินการต่อไป ส่วนการสนับสนุนแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ที่เพิ่มเติมตามนโยบาย รมว.กษ. ที่จะขยายพื้นที่ให้ครบ 1,000 แปลงทั่วประเทศ กรมชลประทานจะได้ประสานกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อพิจารณาข้อมูลของพื้นที่เป้าหมาย และสนับสนุนการจัดหาน้ำให้ตามความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆ ต่อไป โดยจะนำข้อมูลพื้นที่ตาม Agri-Map มาใช้ในการออกแบบระบบชลประทานให้สอดคล้องกับกิจกรรมในแปลงนั้นๆ ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำได้ 2.2 ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 882 ศูนย์ กรมชลประทานได้มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมของ ศพก. โดยการถ่ายทอดความรู้ด้านการชลประทานให้แก่เกษตรกร เพื่อนำไปสู่การใช้น้ำอย่างประหยัด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ เช่น นำผลงานวิจัยที่เหมาะสมแต่ละท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร รวมทั้งบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ในปี 2560 กรมชลประทานได้ตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการทำงานของ ศพก. ทั้ง 882 ศูนย์ เป็นเงินทั้งสิ้น 8,820,000 บาท 2.3 การจัดหาน้ำสนับสนุนในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ที่ยึดคืนตามมาตรา 44) ในปี 2559 กรมชลประทานได้จัดหาน้ำสนับสนุนพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ยึดคืนตามมาตรา 44 แล้ว จำนวน 1 แห่ง คือ โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านกอก (ตอนบน) เพื่อจัดหาน้ำให้แก่พื้นที่การเกษตรในเขต ส.ป.ก. ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 1,027 ไร่ ใช้งบประมาณวงเงิน ล้านบาท ในปี 2560 จะดำเนินการอีก 2 แห่ง ได้แก่ - สนับสนุนแหล่งน้ำให้แก่พื้นที่ ส.ป.ก. ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี พื้นที่ 1,263 ไร่ โดยการก่อสร้างฝายพร้อมระบบส่งน้ำ คาดว่าจะใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท - สนับสนุนแหล่งน้ำให้แก่พื้นที่ ส.ป.ก. ต.ไทรทอง อ.ไชยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี พื้นที่ 1,000 ไร่ โดยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ คาดว่าใช้งบประมาณ 25 ล้านบาท ส่วนพื้นที่ที่ ส.ป.ก. มีแผนจะยึดคืนอีก 27 จังหวัด รวมพื้นที่ประมาณ 150,000 ไร่ กรมชลประทานจะได้ประสานกับ ส.ป.ก. เพื่อสำรวจพื้นที่และพิจารณาให้การสนับสนุนตามความเหมาะสมของพื้นที่ต่อไป 2.4 การจ้างแรงงานเกษตรกรในพื้นที่ชลประทาน กรมชลประทานจะจ้างแรงงานเกษตรกรที่ว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว จำนวน 8,000,00 คน-วัน เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในปี 2560 โดยจะจ้างมาเพื่อดำเนินงานปรับปรุง/บำรุงรักษาโครงการชลประทานต่างๆ คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,400 ล้านบาท

6 3. งานริเริ่มใหม่ Design by Agri-Map ศูนย์พันธมิตร
/ออกแบบระบบชลประทาน นวัตกรรมในการกำจัดผักตบชวา เพื่อสนับสนุนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำบรรลุให้ได้เร็วขึ้น และจะส่งผลให้เกษตรแปลงใหญ่ และ Zoning ประสบผลสำเร็จแบบยั่งยืนอีกด้วย ปี 60 จะใช้ Agri-Map ในการออกแบบโครงการชลประทานขนาดเล็ก - มีระบบติดตามผักตบชวา - เพิ่มความถี่ในการจัดเก็บ และเปลี่ยนวิธีการกำจัด จากรอบเวร เป็นงานประจำ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (Intelligence Water Operation Center: IWOC) ติดตาม รวบรวม วิเคราะห์ คาดการณ์สถานการณ์น้ำอย่างเป็นระบบ ระบบบริหารจัดการน้ำและการแจ้งเตือน ศูนย์บัญชาการ การบริหารจัดการน้ำ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน และประเมินผล ศูนย์พันธมิตร ใช้สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทาน 9 แห่ง เป็น “ศูนย์พันธมิตร” เพื่อให้ความรู้ในการใช้น้ำชลประทาน ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ 3.1 Design by Agri-Map กรมชลประทานจะนำ Agri-Map มาเป็นเกณฑ์ในการดำเนินการตามกระบวนงานหลักของกรม ทั้งด้านศึกษา สำรวจ และออกแบบโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อให้ระบบชลประทานมีความเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูกตาม Agri-Map โดยในปี 2560 จะเริ่มนำ Agri-Map ไปใช้ในการออกแบบโครงการชลประทานขนาดเล็ก ซึ่งการ Design by Agri-Map จะมีผลให้ - สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้มากขึ้น โดยใช้ปริมาณน้ำเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้ 8.7 ล้านไร่ ภายในปี 2569 บรรลุได้เร็วขึ้น - ทำไห้เกิดการ Zoning พื้นที่การเกษตรโดยปริยาย เนื่องจากเกษตรกรจะเลือกเพาะปลูกพืชที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ตาม Agri-Map ซึ่งจะสามารถนำไปขยายผลสู่การเป็นพื้นที่แปลงใหญ่ในอนาคต - ทำให้ประหยัดน้ำได้มากขึ้น เนื่องจากการออกแบบระบบชลประทานโดยใช้ Agri-Map จะเป็นไปตามชนิดของพืชที่ปลูกจริงตามความเหมาะสมของชนิดดิน สภาพอากาศ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประโยชน์ในอย่างสูงสุด นอกจากนี้ กรมชลประทานยังจะสนับสนุนการพัฒนา Agri-Map โดยการพัฒนาฐานข้อมูลสำคัญสำหรับการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานต่างๆ ทั่วประเทศ หรือที่เรียกว่า Irrigation-Map เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลพื้นฐานด้านน้ำให้ Agri-Map ต่อไป รวมทั้งจะปรับปรุงฐานข้อมูล Agri-Map ด้านงานชลประทานที่มีอยู่เดิม ให้มีความสมบูรณ์ทั่วทั้งประเทศ 3.2 ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (Intelligence Water Operation Center : IWOC) - ติดตาม รวบรวม จัดเก็บข้อมูล และพัฒนาระบบฐานข้อมูล รวมทั้งระบบการบริหารข้อมูลด้านการบริหารจัดการน้ำและการชลประทานอย่างเป็นมาตรฐาน เป็นระบบ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสืบค้นและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ โดยใช้ข้อมูลจากระบบโทรมาตรและข้อมูลอุทกวิทยาในส่วนกลางร่วมกับส่วนภูมิภาค เช่น สำนักงานชลประทาน และศูนย์อุทกวิทยา ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 25 ลุ่มน้ำของประเทศ - จำลองสถานการณ์น้ำและคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า - วิเคราะห์สถานการณ์น้ำทั้งในฤดูแล้ง ฤดูน้ำหลาก และช่วงวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการน้ำและการแจ้งเตือนภัยไปยังหน่วยงานต่างๆ ได้ทันต่อเหตุการณ์ - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์น้ำและการแจ้งเตือนภัย เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำอย่างเป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เช่น Web Service และ Application WMSC - ประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากน้ำ 3.3 ศูนย์พันธมิตร กรมชลประทานจะใช้สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทาน จำนวน 9 แห่ง เป็นศูนย์พันธมิตร กับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำชลประทานอย่างรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้แก่เกษตรกร 3.4 นวัตกรรมในการกำจัดผักตบชวา ในปี 2560 กรมชลประทานได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้มีผักตบชวา หรือวัชพืชลอยน้ำคงค้างในทางน้ำสายต่างๆ ไว้ดังนี้ - มีระบบติดตามผักตบชวาที่ต้นน้ำของทางน้ำชลประทาน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำและการส่งน้ำ เช่น มีเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อม มีเครื่องมือเครื่องจักรประจำอยู่ตามจุดเสี่ยงต่างๆ - เพิ่มความถี่ในการจัดเก็บ โดยปรับเปลี่ยนจากงานรอบเวรเป็นงานประจำ - พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเรือกำจัดวัชพืช จากเดิมขนาดเล็กสามารถเก็บน้ำ 9 ตัน/วัน/ลำ เป็นขนาดกลาง ซึ่งจะสามารถเก็บได้ 30 ตัน/วัน/ลำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขาหินซ้อน ห้วยทราย อ่าวคุ้งกระเบน ภูพาน ห้วยฮ่องไคร้ พิกุลทอง ศูนย์พันธมิตร สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทาน

7 4. การบูรณาการเชื่อมโยงในระหว่างหน่วยงาน
“ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา” นโยบายแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) มอบหมายให้ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัด เป็นตัวแทนของกรมชลประทานใน Single Command เพื่อประสานสนับสนุนงานด้านการชลประทานในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวง เพิ่มเครือข่ายในการ บริหารจัดการน้ำ ใช้คณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) ขับเคลื่อนงานบูรณาการ ปัจจุบันมีจำนวน 226 กลุ่ม (JMC: Joint Management Committee for Irrigation) อปท. ในพื้นที่ ในการบูรณาการร่วมกันภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากจะมี 4.1 คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) ซึ่งกรมชลประทานได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดเป็นผู้แทนกรม ในการผสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและหน่วยงานอื่น รวมทั้งภาคเอกชน ภาคประชาชน ให้ดำเนินการขับเคลื่อนงานระดับจังหวัดให้เป็นเอกภาพในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา” แล้ว กรมชลประทานยังมีการบูรณาการร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ อีก คือ 4.2 เครือข่ายในการบริหารจัดการน้ำ ในรูปแบบคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC : Joint Management Committee for Irrigation) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก คือ ส่วนราชการระดับจังหวัด หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ กลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนจากภาคเอกชน เป็นกรรมการร่วม เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยที่หน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาร่วมใน JMC จะร่วมกันกำหนดและวางแผนในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจัดให้มีรอบเวรการส่งน้ำ เพื่อให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และร่วมกันตัดสินใจแก้ไขปัญหา ส่งเสริมการเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทาน ซึ่งจะสามารถลดความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับภาครัฐ มีการใช้น้ำอย่างประหยัด ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบันมี JMC แล้ว 226 กลุ่ม และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นในปี 2560 อีก 24 กลุ่ม

8 2. 1. 3. 5. การบริหารทรัพยากร แผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน ปี 2560-2564
การเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้จ่ายภาครัฐ 2.1 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ วงเงินงบประมาณ 47, ล้านบาท เป้าหมายเบิกจ่ายไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 96 (46, ล้านบาท) ให้กันเงินไม่เกินร้อยละ 4 (1, ล้านบาท) แผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน ปี ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน เพื่อไปสนับสนุนนโยบายกระทรวง 2.2 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง โปร่งใส ตรวจสอบได้ 3. พัฒนา Smart Officer กรมชลประทานขอเรียนย้ำว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกิดประสิทธิภาพสูงสุด กรมฯ จึงได้กำหนดแนวทางการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ โดยการ 5.1 นำแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน ปี มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวง และปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมให้สำเร็จลุล่วง ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน การบริหารจัดการน้ำ และการป้องกันภัยอันเกิดจากน้ำ 5.2 กำชับให้หน่วยงานในสังกัดปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐอย่างเคร่งครัด โดยการ (1) ตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2560 ไว้ไม่น้อยกว่า 96% ตามนโยบายรัฐบาล (หรือคิดเป็นเงินประมาณ 46,000 ล้านบาท) โดยมีการติดตามผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณผ่านระบบการติดตามแบบ online ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของกรมเป็นประจำทุกเดือน (2) กำกับดูแลให้การจัดซื้อจัดจ้าง (E-bidding & E-market) ในลักษณะเดียวกับที่เคยดำเนินการในปี ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณได้เพิ่มขึ้น โดยยึดหลัก “โปร่งใส ตรวจสอบได้” (โดยในปี สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 13,900 ล้านบาท) ทั้งนี้ กรมชลประทานจะนำงบประมาณ ทั้งในส่วนที่ประหยัดได้และส่วนที่เป็นงบเหลือจ่ายมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนงานเร่งด่วนต่างๆ โดยจะให้ความสำคัญกับงานตามนโยบายเป็นลำดับแรก ส่วนงานตามภารกิจและงานอื่นๆ กรมชลประทานจะได้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป 5.3 พัฒนาบุคลากรให้เป็น Smart Officer โดยจะพัฒนาให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 600 คน (ซึ่งได้แก่ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา จำนวน 573 คน และหัวหน้าฝ่ายก่อสร้าง จำนวน 116 คน รวม 689 คน) เป็น Smart Officer เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการชลประทานให้แก่เกษตรกร ผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำ พัฒนาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับหัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา และหัวหน้าฝ่ายก่อสร้าง ไม่น้อยกว่า 600 คน ให้เป็น Smart Officer เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการชลประทานให้แก่เกษตรกร ผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำ 3.

9 ขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ
นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ลดต้นทุน และสร้างโอกาสการแข่งขันภาคเกษตร” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบบ แปลงใหญ่ประชารัฐ สนับสนุนน้ำในพื้นที่ ส.ป.ก. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) การประยุกต์ Agri Map การบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ Smart Officers แผนงานสำคัญ พัฒนาผู้ปฏิบัติงานส่งน้ำในพื้นที่ 689 คน สนับสนุนแหล่งน้ำในพื้นที่เป้าหมาย ถ่ายทอดความรู้ด้านการชลประทาน 882 ศูนย์ ประยุกต์ใช้เพื่อ วางโครงการ ออกแบบระบบ วางแผนการปลูกพืช เบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายรัฐบาล พัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สนับสนุนแหล่งน้ำในพื้นที่ 3+ จังหวัด เป้าหมายการดำเนินงาน รองอธิบดี บำรุง รักษา บำรุงรักษา บริหาร ก่อสร้าง วิชาการ วิชาการ สพญ. กพก. สบก. สสธ. สอส. สบอ. และ สชป. 1 – 17 กผง. / ทุกหน่วยงาน สบค./สบอ./สชป.1-17 สชป.1-17 สบอ. สบก./สสธ./สอส. สบอ./สชป สำนัก/กอง กรมชลประทาน นอกจากนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม กรมชลประทานจึงได้มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานในแต่ละด้านอย่างชัดเจน ทั้งงานตามนโยบาย งานตามภารกิจ และงานริเริ่มใหม่ โดยมอบหมายตั้งแต่ระดับบริหาร (รองอธิบดี) เพื่อกำกับดูแลงานในแต่ละด้าน และกำชับให้หน่วยงานระดับพื้นที่และระดับจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน และให้รายงานผลการปฏิบัติงานตามสายงานอย่างสม่ำเสมอ โครงการชลประทานจังหวัด 76 จังหวัด และ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา 93 โครงการ สนง.ก่อสร้างฯขนาดใหญ่และขนาดกลาง โครงการก่อสร้าง 1-17/76 คป./ 93 คบ. หน่วยงานในพื้นที่ Single Command/องค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน/ คณะกรรมการจัดการชลประทาน/ อาสาสมัครชลประทาน เกษตรกร การบูรณาการในพื้นที่

10 นโยบายการทำงานของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
1. ต้องไม่มีคอรัปชั่น โปร่งใสทั้งการทำงานและ การให้ข้อมูล 2. ยึดถือนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี การทำงานต้อง ทำก่อน ทำทันที โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ เร่งด่วน ต่อเนื่อง ยั่งยืน 3. เป้าหมายการทำงาน คือ เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง 4. การทำงานทุกระดับต้องมีเป้าหมายและมี ผู้รับผิดชอบชัดเจน 5. ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ การปฏิบัติ

11 เรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ
1) เร่งรัดการเบิกจ่าย งบประมาณปี พ.ศ งบกันเหลื่อมปี และงบกลาง ให้เรียบร้อยตามแผนที่วางไว้ 2) จัดทำแผนเสนอ แนวทางการทำงานเชิงรุกและ การจัดงบประมาณดำเนินงานตามนโยบายท่าน รมว.กษ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 3) ปรับปรุงโครงสร้าง ของหน่วยงาน ภายในเดือนตุลาคม 2559 4) ปรับปรุงกฎหมายหลักและกฎหมายรอง ให้แล้วเสร็จภายใน เดือนตุลาคม 2559 5) เตรียมแผนประชาสัมพันธ์ผลงานในรอบปีทีผ่านมาและเตรียมแผนงานเชิงรุกการประชาสัมพันธ์ ในระยะต่อไป 6) แต่งตั้งข้าราชการแทน ตำแหน่งเกษียณ และย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งตามความเหมาะสม ให้แล้วภายในกลางเดือนพฤศจิกายน 2559

12 เรื่องที่อยากให้พวกเราช่วยกัน
การถ่ายโอนภารกิจให้ อปท (ทำป้ายระบุให้ชัดเจน) 3 1 กรมชลประทาน 4.0 (RID 4.0) จะปรับปรุงองค์กรอย่างไร สนับสนุนการพัฒนาระบบ IT สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติงาน และชีวิตประจำวัน 4 การเตรียมการเพื่อรองรับ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... 2 ช่วยกันรณรงค์ปลูกฝังให้บุคลากร ปฏิบัติตนตามค่านิยมและวัฒนธรรม กรมชลประทาน 5

13 ข้อพึงระวังในการปฏิบัติงาน
การจ้างแรงงาน/จัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงบประมาณ การคำนวณราคากลาง การนำทรัพย์สินทางราชการไปใช้ในประโยชน์ส่วนตน ความรักความสามัคคีในการปฏิบัติงาน


ดาวน์โหลด ppt ทิศทางการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญของกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google