งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง นกอพยพ ชื่อผู้จัดทำ นางสาววิริยา ลีลา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง นกอพยพ ชื่อผู้จัดทำ นางสาววิริยา ลีลา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง นกอพยพ ชื่อผู้จัดทำ นางสาววิริยา ลีลา
ชื่อผู้จัดทำ นางสาววิริยา ลีลา โรงเรียน เพิ่มพูนพณิชยการเทคโนโลยี- กาฬสินธุ์ อำเภอ ยางตลาด จังหวัด กาฬสินธุ์

2 สาระสำคัญ นกมีการปรับตัว ทั้งโครงสร้างร่างกาย และ สภาพทางกายภาพ ให้เหมาะ กับการดำรงชีวิตในอากาศ ทั้งขนปีก หาง กระดูก ปอด และ โพรงอากาศในเนื้อเยื่อ รวมทั้งระบบเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน เพื่อการดำรงชีพอย่างน่าประหลาด การปรับตัวนี้เอง ทำให้นกสามารถแสวงหาสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่ การดำรงชีพ ของมันในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละฤดูกาล ในแต่ละปี ด้วยคุณสมบัติ ดังกล่าว ทำให้เกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ เราเรียกกันว่า การอพยพ ย้ายถิ่น ของนกที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี สม่ำเสมอ ในแต่ละฤดูกาลที่ผันเปลี่ยนไป การอพยพเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากพื้นที่แห่งหนึ่งไปยังพื้นที่อีกแห่งหนึ่ง แล้วเวียนกลับไปมาเช่นนี้ ชั่วนาตาปี

3 สารบัญ สาระสำคัญ ก นกอพยพ 1 นกยางโทนน้อย 2 นกยางโทนใหญ่ 7 นกยางเปีย 12 นกยางควาย 17 นกเป็ดแดง 23 หนังสืออ้างอิง 27 ประวัติผู้จัดทำ 28

4 1 นกอพยพ นกอพยพ จะเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ นกยางโทนน้อย นกยางโทนใหญ่ นกยางควาย นกยางเปีย นกเป็ดแดง เป็นต้น เมื่อถึงฤดูร้อนจะอพยพกลับถิ่น

5 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret)
2 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret) ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Egretta intermedia ลักษณะทั่วไป      นกยางโทนน้อยมีรูปร่างคล้ายนกยางเปียและนกยางโทนใหญ่ เมื่อเทียบกันแล้วจะมีขนาดใหญ่กว่านกยางเปีย แต่เล็กกว่านกยางโทนใหญ่ ขนาดลำตัวประมาณ 70 เซนติเมตร ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกยางโทนน้อยจะมีขนสร้อยที่หน้าอก ซึ่งนกยางโทนใหญ่ไม่มี ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ขนตามลำตัวสีขาว คอยาว ปากยาวแหลมสีเหลือง ขาและนิ้วเท้าดำ

6 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret)
3 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret) ถิ่นอาศัย, อาหาร      พบในแอฟริกา อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย พม่า ไทยลาว เขมร เวียดนาม สำหรับประเทศไทยพบเกือบทุกภาค เป็นนกอพยพมาในฤดูหนาว      อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา กบ สัตว์เลื้อยคลาน หอย แมลง

7 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret)
4 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret) พฤติกรรม      ชอบหากินอยู่ตามทุ่งนา คลอง หนอง บึง ตามป่าโกงกางริมทะเล ซึ่งในเวลาน้ำขึ้นจะเห็นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ อยู่ในน้ำตื้น บางทีหากินรวมกับฝูงควาย ชอบหากินรวมอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่เดินท่อม ๆ ก้าวขาช้า ๆ มองหาเหยื่อสอดส่ายไปมา เมื่อพบเหยื่อจะยืดคอใช้ปากจิกเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว ตอนเย็นบินกลับรังเป็นกลุ่ม ๆ ลักษณะบินเหมือนนกยางทั่วไป     

8 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret)
5 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret) การสืบพันธุ์      นกยางโทนน้อยเริ่มผสมพันธุ์ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน วางไข่ ครั้งละ 3-5 ฟอง แต่ยังไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย

9 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret)
6 นกยางโทนน้อย Intermediate Egret(Plumed Egret) สถานภาพปัจจุบัน      เป็นนกอพยพที่เข้ามาในประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

10 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret)
7 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret) ชื่อทางวิทยาศาสตร์:  Egretta alba ลักษณะทั่วไป           นกยางโทนใหญ่เป็นนกขนาดใหญ่มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 90 เซนติเมตร สีขาวตลอดตัว คอยาว ปากยาวแหลมสีเหลือง ตาเหลือง ไม่มีเปีย ขาและนิ้วเท้าดำ ในฤดูผสมพันธุ์มีขนประดับเป็นเส้นยาว ๆ อยู่บนหลังและยาวเลยหางออกไปเล็กน้อย นกยางโทนทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ในฤดูผสมพันธ์ปากจะมีสีดำ

11 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret)
8 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret) ถิ่นอาศัย, อาหาร     นกยางโทนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะ อันดามัน ซุนดา ฟิลิปปินส์ ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยมีทุกภาค ตามหนองคลองบึงที่น้ำท่วมถึง และตามท้องนาในฤดูฝน เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยและมีบางส่วนเป็นนกอพยพเข้ามาในช่วงฤดูหนาว      นกยางโทนใหญ่กินปลา ปู กุ้ง หอย กบ เขียด แมลง และสัตว์เล็ก ๆ อื่น ๆ เช่น ลูกงู

12 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret)
9 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret) พฤติกรรม     นกยางโทนชอบหากินตามที่ราบบริเวณท้องนาที่น้ำท่วมถึง หนองบึง ทะเลสาบ และตามป่าโกงกาง บางครั้งหากินปะปนกับนกยางขาวชนิดอื่นเหมือนกัน มักเดินหากินไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยอยู่นิ่ง หาอาหารตอนเช้าตรู่และพลบค่ำ เวลาหาเหยื่อจะยืนนิ่งอยู่ริมน้ำ คอหด หรืออาจลุยน้ำทำหัวโยกขึ้นลงเป็นจังหวะ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้จะยืดคอจ้องไปที่เหยื่อ เมื่อได้จังหวะก็จิกทันที เวลาบินขยับปีกช้า ๆ เป็นจังหวะ คอหดเข้ามา และขาเหยียดตรงไปข้างหลัง

13 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret)
10 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret) การสืบพันธุ์      นกยางโทนใหญ่ผสมพันธุ์ในฤดูฝนและอยู่เป็นฝูงชอบทำรังรวมกันอยู่บนต้นไม้ต้นเดียวกันกับนกยางชนิดอื่น รังทำด้วยกิ่งไม้แห้งๆ เล็กๆ ขัดสานกัน มีแอ่งตรงกลางสำหรับ วางไข่ มักทำรังตามยอดไผ่ริมไร่หรือใกล้สวน บางครั้งทำรังบนต้นลำภูชายทะเล ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรัง กกไข่ เลี้ยงลูก วางไข่คราวละ 3-4 ฟอง ระยะฟักไข่ วัน

14 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret)
11 นกยางโทนใหญ่ Great Egret(Large Egret) สถานภาพปัจจุบัน      เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

15 นกยางเปีย little Egret
12 นกยางเปีย little Egret ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :  Egretta garzetta ลักษณะทั่วไป           เป็นนกขนาดกลาง ความยาวลำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน สีขาวตลอดตัวตาดำ ปากดำ ขาดำ นิ้วเท้าเหลือง แต่เล็บดำ ตัวเล็กกว่านกยางโทนมาก ในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนยาวห้อยจากท้ายทอยคล้ายหางเปีย 2 เส้น ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร จึงได้ชื่อว่า นกยางเปีย

16 นกยางเปีย little Egret
13 นกยางเปีย little Egret ถิ่นอาศัย, อาหาร     พบในอินเดีย หมู่เกาะอันดามัน เกาะนิโคบาร์ จีน ไหหลำ ไต้หวัน ซุนดาส์ กัมพูชา ลาว เวียดนาม ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทยพบว่าเป็นนกประจำถิ่นภาคกลางและจะอพยพไปทั่วทุกภาค      นกยางเปียกินปลา กบ เขียด กุ้ง หอย แมลงต่าง ๆ สัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ

17 นกยางเปีย little Egret
14 นกยางเปีย little Egret พฤติกรรม     ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า ชายเลน บริเวณที่น้ำท่วมถึง ตามบริเวณริมหนองบึง สามารถเกาะกิ่งไม้ได้ และบินได้ดี ขณะบินขาเหยียดตรงไปข้างหลัง คองอพับเป็นรูปตัว S มักหากินรวมกันเป็นฝูงรวมกับนกชนิดอื่นๆ เวลาหากินในน้ำจะยืนนิ่งในน้ำที่ลึกไม่เกินแข้ง เมื่อพบเหยื่อก็จะใช้ปากงับเหยื่ออย่างรวดเร็ว หรืออาจใช้วิธีเดินตามหรือเกาะหลังวัว ควาย เมื่อแมลงบินขึ้นมาก็จะใช้ปากจิกกิน

18 นกยางเปีย little Egret
15 นกยางเปีย little Egret การสืบพันธุ์      นกยางเปียเริ่มผสมพันธุ์ประมาณต้นฝน ก่อนสร้างรังจะเกี้ยวพาราสีกัน แล้วนกตัวผู้จะนำวัสดุพวกกิ่งไม้มาส่งให้ตัวเมียแล้วช่วยกันสร้างรังบนกิ่งไม้รวมกับนกอีกหลายชนิด วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง ไข่มีสีเขียวน้ำทะเล ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักประมาณ วัน

19 นกยางเปีย little Egret
16 นกยางเปีย little Egret สถานภาพปัจจุบัน      เป็นนกประจำถิ่น และมีบางส่วนเป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและมีทั่วทุกภาค จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

20 นกยางควาย Cattle Egret
17 นกยางควาย Cattle Egret ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :  Bubulcus ibis ลักษณะทั่วไป           ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนทั่วตัวสีขาว แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนประดับเป็นเส้นยาว ๆ ที่หัว คอ และหลังเป็นสีเหลืองส้ม พ้นฤดูผสมพันธุ์ขนประดับดังกล่าวจะผลัดออกหมด นัยน์ตาและปากเป็นสีเหลือง แต่รอบตาสีออกเขียวอ่อน เท้าสีดำ

21 นกยางควาย Cattle Egret
18 นกยางควาย Cattle Egret ถิ่นอาศัย, อาหาร     พบในแอฟริกา เอเซีย สำหรับประเทศไทยพบทั่วไปทุกภาค      อาหารได้แก่ ตั๊กแตน แมลงต่าง ๆ ปลา รวมทั้งกบ

22 นกยางควาย Cattle Egret
19 นกยางควาย Cattle Egret พฤติกรรม     ชอบอยู่ตามริมห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามพื้นที่น้ำท่วมถึง ซึ่งมีหญ้าอุดมสมบูรณ์และวัวควายชอบมากิน ชอบอยู่เป็นฝูงหากินใกล้ๆ กับวัวควายที่กำลังเล็มหญ้า

23 นกยางควาย Cattle Egret
20 นกยางควาย Cattle Egret การสืบพันธุ์      เป็นนกอพยพเข้ามาในช่วงนอกฤดูผสมพันธ์ นกยางควายเริ่มผสมพันธุ์ในเดือนเมษายน-กรกฎาคม วางไข่ ครั้งละ 4-5 ฟอง

24 นกยางควาย Cattle Egret
21 นกยางควาย Cattle Egret สถานภาพปัจจุบัน      เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

25 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck
22 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :  Dendrocygna javanica ลักษณะทั่วไป           เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวยาวประมาณ เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ขนตามตัวและปีกมีสีน้ำตาลแดง บนกระหม่อมมีสีเข้มกว่าส่วนอื่น ขนตรงปลายปีกมีสีดำ ปากแบนกว้างสีเทาดำ คอยาว ปีกยาวปลายปีกแหลม

26 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck
23 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck ถิ่นอาศัย, อาหาร      พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ไต้หวัน อินเดีย และในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค      อาหารได้แก่ พืชน้ำ สัตว์น้ำจำพวก ปลา กบ ไส้เดือน

27 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck
24 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck พฤติกรรม      ตามปกติชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามแหล่งน้ำ เช่น บ่อ หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ บางทีเป็นฝูงมากกว่า 1,000 ตัว ปกติหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะว่ายน้ำ หรือพักผ่อนนอนหลับ ตามต้นไม้ชายน้ำ

28 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck
25 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck การสืบพันธุ์      ในฤดูผสมพันธุ์เป็ดแดงมักอยู่เป็นคู่ ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ทำรักตามกอกก ต้นอ้อ หรือหญ้าใกล้แหล่งน้ำ รังเป็นแบบง่ายๆ โดยใช้ใบพืชสร้างรัง แล้วใช้ขนท้องตัวเองรองกลางรัง วางไข่คราวละ ฟอง ไข่สีขาวไม่มีลาย ใช้เวลาฟัก วัน

29 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck
26 นกเป็ดแดง Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck สถานภาพปัจจุบัน      เป็ดแดงเป็นทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

30 27 เอกสารอ้างอิง ข้อมูลจาก : : สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว : rmutraining.ning.com : : : :

31 ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางสาววิริยา ลีลา ตำแหน่ง ครูผู้สอน
28 ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางสาววิริยา ลีลา ตำแหน่ง ครูผู้สอน หน่วยงาน โรงเรียนเพิ่มพูนพณิชยการเทคโนโลยีกาฬสินธุ์ โทรศัพท์

32


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง นกอพยพ ชื่อผู้จัดทำ นางสาววิริยา ลีลา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google