งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารระบบเครือข่าย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารระบบเครือข่าย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารระบบเครือข่าย

2 ผู้บริหารระบบเครือข่าย (Network Manager)
การบริหารจัดการอุปกรณ์ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์การสื่อสาร เป็นผู้รับผิดชอบในการเลือกอุปกรณ์ จัดสร้างระบบเครือข่าย ทดสอบอุปกรณ์ ขยายความสามารถของระบบเครือข่าย การรักษาความปลอดภัย ควบคุมการปฏิบัติงานประจำวัน และการบำรุงรักษาทั่วไป สนับสนุนการสื่อสารของผู้ใช้ การทำงานจะแตกต่างกันตามลักษณะของระบบเครือข่ายที่ใช้งาน จะต้องให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้ใช้และจะต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนด

3 วัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย
ความพึงพอใจของผู้ใช้ ประสิทธิผลในด้านค่าใช้จ่าย

4 กลุ่มของความต้องการของผู้ใช้
การตอบสนองอย่างรวดเร็ว การรักษาให้อัตราการเกิดความผิดพลาดอยู่ในระดับต่ำ การใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ให้ง่ายต่อการทำงาน

5 ความพึงพอใจของผู้ใช้
ประสิทธิภาพ ความสามารถในการใช้การได้ ความเชื่อถือได้ การสำรองข้อมูล ช่วงเวลาที่สามารถใช้ระบบเครือข่ายได้ การจัดเตรียมข้อมูลให้แก่ผู้ใช้

6 ประสิทธิภาพ ระยะเวลาในการตอบสนอง (Response time)
หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ผู้ใช้กดปุ่มทำงาน จนกระทั่งข้อมูลของคำสั่งที่เลือกนั้นปรากฏบนหน้าจอครบทุกส่วน งานที่มีการโต้ตอบบ่อยครั้งควรมีระยะเวลาในการตอบสนองไม่เกิน 2 วินาที การตอบสนองควรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมกับลักษณะของโปรแกรมประยุกต์

7 ระยะเวลาตอบสนองมีผลกระทบมาจาก
จำนวนผู้ใช้ (Clients) จำนวนโหนด (Node) ชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ โปรแกรมประยุกต์ที่เลือกใช้ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในวงจรสื่อสาร

8 ความสามารถในการใช้งานได้ของระบบเครือข่าย (Network Availability)
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจะต้องสามารถใช้งานได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของระบบเครือข่าย การซ่อมบำรุงเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์บางส่วนไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้บางเวลา ซึ่งอาจเกิดจากการสำรองข้อมูลหรือปรับปรุงโครงสร้างการเก็บข้อมูล การบำรุงรักษา การปรับปรุงหรือขยายขีดความสามารถ การลดผลกระทบทำได้โดยการวางแผนการทำงานให้เหมาะสม

9 MTBF (Mean Time Between Failures) คือ ช่วงระยะเวลาที่คาดหวังว่าอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งจะสามารถทำงานได้โดยไม่มีปัญหา MTTR (Mean Time To Repair) คือ ช่วงระยะเวลาโดยประมาณที่จะสามารถใช้อุปกรณ์ที่ผ่านการซ่อมครั้งหนึ่งไปจนถึงการซ่อมอุปกรณ์นั้นในครั้งต่อไป Availability = MTBF / (MTBF + MTTR)

10 ความเชื่อถือได้ของระบบ (Reliability)
ความน่าจะเป็นที่ระบบเครือข่ายจะสามารถทำงานเป็นปกติได้อย่างต่อเนื่องภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความเชื่อถือได้ของระบบเครือข่ายขึ้นอยู่กับ ปริมาณข้อมูลผิดพลาดที่คาดเดาว่าจะเกิดขึ้น ความเสถียรของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีใช้งาน คนส่วนใหญ่จะเห็นว่าการที่ไม่สามารถทำงานได้มีสาเหตุมาจากระบบเกิดความผิดพลาด

11 การทำระบบสำรอง (Backup)
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ การทำระบบสำรองสำหรับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การทำสำรองสำหรับซอฟต์แวร์ Disk Mirroring Disk Duplexing การทำสำรองสำหรับฮาร์ดแวร์ ควรมีการออกแบบวงจรการสื่อสารสำรอง การจัดเตรียมอุปกรณ์สำรอง การทำระบบสำรองควรพิจารณาถึงงบประมาณที่ต้องจ่ายด้วย

12 ช่วงเวลาที่สามารถใช้งานระบบเครือข่ายได้ (Network Uptime)
หลักปฏิบัติในการแก้ปัญหาระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถทำงานได้ การกลบเกลื่อนปัญหา การจัดหาอุปกรณ์ทดแทน การซ่อมแซม

13 การกลบเกลื่อนปัญหา คือ การปกปิดส่วนที่เสียหายเอาไว้ด้วยวิธีการต่างๆ
การจัดเส้นทางเดินข้อมูลอ้อมส่วนที่เสียหาย ยกเลิกการให้บริการส่วนที่เสีย การให้บริการอื่นทดแทน การตัดสายสัญญาณที่เสียออกจากวงจร การถอดอุปกรณ์ที่เสียออก

14 จัดหาอุปกรณ์ทดแทน เป็นวิธีการที่นิยมนำมาใช้
อุปกรณ์ตัวใหม่ที่นำมาทดแทนอาจเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกันหรืออาจจะดีกว่า เหมาะกับอุปกรณ์ราคาถูก

15 การซ่อมแซมอุปกรณ์ เป็นวิธีการสุดท้ายในการแก้ปัญหา
จะต้องจัดเตรียมแผนฉุกเฉินสำหรับการซ่อมแซมอุปกรณ์

16 การจัดเตรียมข้อมูลให้แก่ผู้ใช้
ต้องจัดเตรียมระบบให้มีข่าวสารที่จำเป็นแก่ผู้ใช้ตลอดเวลา ต้องเปิดช่องทางการสื่อสารไว้ให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับผู้บริหารระบบเครือข่ายได้ ควรมีการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ การแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือ (Help desk)

17 ประสิทธิผลในด้านค่าใช้จ่าย
การจัดการแก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในด้านค่าใช้จ่าย (Cost-Effectiveness) วิธีการพิจารณา การวางแผนล่วงหน้า การปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์ การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม การย้ายตำแหน่งอุปกรณ์

18 การวางแผนล่วงหน้า ความสามารถในการทำงานของระบบ การเลือกซื้ออุปกรณ์
ต้องสอดคล้องกับปริมาณและชนิดของข้อมูลที่มีการส่งผ่านระบบ การรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต การเลือกซื้ออุปกรณ์ สนับสนุนเฉพาะการทำงานในปัจจุบัน ออกแบบเผื่อไว้สำหรับปริมาณงานในอนาคต

19 การปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์
ควบคุมค่าใช้จ่ายโดยการขยายขีดความสามารถเฉพาะส่วน (Modular Expansion) ตัวอย่าง เช่น การเพิ่มหรือเปลี่ยนส่วนประกอบบางชิ้น แล้วทำให้ขยายขีดความสามารถให้สูงขึ้น

20 การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
ในเริ่มต้นจะมีเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งาน แล้วติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพิ่มเติมเมื่อปริมาณงานเพิ่มขึ้น ข้อเสีย คือการเพิ่มอุปกรณ์ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบลดลง โดย อุปกรณ์ชุดใหม่กับชุดเดิมไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ความแตกต่างในด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้ไม่เท่ากัน

21 การย้ายตำแหน่งอุปกรณ์
การนำของที่ยังคงมีสภาพดีมาใช้งานต่อไป การถ่ายโอนเครื่องเก่าไปให้พนักงานที่ไม่มีเครื่องใช้

22 การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
คณะทำงาน การวิเคราะห์ระบบเครือข่าย

23 คณะทำงาน ควรให้ความสำคัญกับการจัดตั้งทีม ซึ่งประกอบด้วย
ผู้ชำนาญด้านเทคนิค เจ้าหน้าที่ที่คอยให้คำปรึกษา ผู้ควบคุมระบบเครือข่าย ความสามารถที่คณะทำงานควรจะต้องมี การออกแบบและการปรับรูปแบบ การตรวจหาจุดบกพร่องและจัดการแก้ไขให้ได้ การติดตามการใช้งานระบบเครือข่ายและการสื่อสารกับผู้ใช้ การเขียนรายงาน

24 การวิเคราะห์ระบบเครือข่าย
วัตถุประสงค์ เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือ บำรุงรักษาให้ระบบสามารถใช้งานได้ตามปกติ องค์ประกอบ ค่าสถิติเกี่ยวกับการใช้งาน การปรับปรุงระบบเครือข่าย

25 ค่าสถิติเกี่ยวกับการใช้งาน
ข้อมูลสถิติจะถูกเก็บรวบรวมทางอุปกรณ์ตรวจสอบประสิทธิภาพ (Performance Monitor) ซึ่งจะใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างรายงานสรุปผลและภาพกราฟิกของระบบในขณะที่ทำงาน ประเภทซอฟต์แวร์ สำหรับวิเคราะห์ค่าสถิติ (Statistical Analysis System) จำลองระบบ (Simulation Models) สร้างงานจำลอง (Workload Generator) บันทึกเหตุการณ์ (Log files)

26 การปรับปรุงระบบเครือข่าย
การปรับแต่ง (tuning) เพื่อให้สามารถทำงานได้ผลดีที่สุด การเปลี่ยนโครงสร้างระบบ แต่ควรเป็นทางเลือกสุดท้ายเพราะเสียค่าใช้จ่ายสูง

27 การบริหารระบบเครือข่ายไร้สายและ e-Commerce
ปริมาณข้อมูลในระบบเครือข่าย เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต

28 ระบบเครือข่ายไร้สาย ผู้บริหารต้องติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) FHSS (Frequency Hopping Spread Spectrum) การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ และ PDA (Personal Data Assistant) การให้บริการต้องพิจารณาถึงความกว้างของช่องสื่อสารที่เหลือ การรักษาความปลอดภัย การออกแบบให้เหมาะสม

29 ปริมาณข้อมูลในระบบเครือข่าย
ปริมาณผู้ใช้บนระบบเครือข่ายจะเพิ่มขึ้นสูงมาก ปัญหาที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ ระยะเวลาการตอบสนอง ผู้บริหารจะต้องตรวจสอบการทำงานของระบบตลอดเวลา เพื่อจะได้แก้ไขจุดบกพร่องเล็ก ๆ ที่อาจจะลุกลามได้ในภายหลัง

30 เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่าย
การตรวจสอบการทำงาน (Transaction monitoring) การตรวจหาจุดคอขวด (Bottlenecks) การตรวจสอบผู้ใช้ขณะใช้งาน (Live Visitor Monitoring)

31 เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่าย
ประเภท ซอฟต์แวร์บริหารอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์บริหารองค์การ ซอฟต์แวร์บริหารโปรแกรมประยุกต์ โปรโตคอล SNMP (Simple Network Management Protocol) CMIP (Common Management Interface Protocol)

32 คำถาม ?


ดาวน์โหลด ppt การบริหารระบบเครือข่าย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google