ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดการไฟล์ File Management
2
การจัดการไฟล์ (File Management)
การทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจำเป็นต้องมีการเก็บและนำ ข้อมูลไปใช้งาน ขณะที่โปรเซสกำลังทำงานข้อมูลจะเก็บไว้ในหน่วยความจำ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ดับไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตามข้อมูลทั้งหมดจะสูญหายไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้งานต่อไป จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดชื่อเพื่อแทนกลุ่มข้อมูล ซึ่งเราเรียกว่าไฟล์ข้อมูล
3
การจัดการไฟล์ (File Management)
นอกจากนี้ถ้าเราจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระเบียบจะทำให้การค้นหาไฟล์ข้อมูลที่ต้องการได้ยากหรือช้า ดังนั้นถ้าเราจัดหมวดหมู่ให้กับไฟล์ข้อมูลก็จะทำให้การค้นหาไฟล์ทำได้สะดวกหรือรวดเร็วขึ้น การจัดให้ไฟล์เป็นหมวดหมู่ก็คือการจัดเก็บในไดเร็กทอรี่ (Directory) หรือโฟลเดอร์ (Folder)
4
ไฟล์ข้อมูล (File) หมายถึงสิ่งที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงโปรแกรมหรือข้อมูลที่เราต้องการเก็บไว้ด้วยกัน เมื่อเราต้องการค้นหาไฟล์ เราอ้างอิงด้วยชื่อไฟล์โดยไม่จำเป็นต้องทราบว่าไฟล์นั้นถูกเก็บไว้ในส่วนใดในดิสก์ OS จะมีโปรแกรมย่อยที่ชื่อ System Call ทำหน้าที่จัดการงานที่เกี่ยวข้องกับไฟล์ เช่น การสร้างไฟล์ การลบไฟล์ การอ่าน/เขียนทับไฟล์
5
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการไฟล์
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บน แผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิสก์ TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูล จากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง REN (RENAME) เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างใน แฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม)
6
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการไฟล์ … ต่อ
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแผ่นดิสก์ MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้อง ย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการ เปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้อง ย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD
7
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการไฟล์ … ต่อ
TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่ กำหนด SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการ เปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ DISKCOPY (COPY DISKETTE) เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ
8
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการไฟล์ … ต่อ
$ ls [-altCF] [directory …] เป็นการแสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ใน ไดเรกทอรี่ที่ระบุ $ pwd คือคำสั่งที่ใช้เช็คว่าไดเรกทอรี่ปัจจุบันอยู่ที่ตำแหน่งใด $ cd [ชื่อพาท] เป็นการเปลี่ยนไดเรกทอรี่ไป เป็นไดเรกทอรี่ ที่ต้องการ $ mkdir [ชื่อไดเรกทอรี่] คือคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเรกทอรี่ ใหม่ขึ้น
9
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการไฟล์ … ต่อ
$ rmdir [ชื่อไดเรกทอรี่] คือการลบไดเรกทอรี่ที่มีอยู่ $ rm [ชื่อไฟล์] คือการลบไฟล์ที่อ้างถึง cat [ชื่อไฟล์] เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ที่เป็นเท็กซ์ ไฟล์ (Text Files : ไฟล์ตัวอักษร) แสดงบนจอภาพ $ mv [ชื่อไฟล์ต้นทาง] [ชื่อไฟล์ปลายทาง] คือการย้ายไฟล์ (move) จากพาทใดๆที่อ้างอิงถึงไปยังพาทปลายทาง
10
คำสั่งที่ใช้ในการจัดการไฟล์ … ต่อ
$ more เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ทีละหน้าจอแล้วหยุด รอจนกว่าผู้ใช้จะกดคีย์ช่องว่าง (space bar) จึงจะแสดง ข้อมูลหน้า ถัดไปหรือกด Enter เพื่อแสดงข้อมูลบรรทัด ถัดไปทีละบรรทัด $ cp [ชื่อไฟล์ต้นฉบับ] [ชื่อไฟล์สำเนา] เป็นคำสั่งคัดลอก (copy) ข้อมูลจากไฟล์หนึ่ง ไปยังปลายทางที่ต้องการ
11
การตั้งชื่อไฟล์ข้อมูล
ในการกำหนดชื่อไฟล์ในแต่ละ OS นั้นมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยหลักการจะคล้ายคลึงกันคือ ชื่อไฟล์จะประกอบ 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนที่เป็นชื่อหลัก และส่วนที่เป็นนามสกุล (File extension) ทั้งสองส่วนนี้จะถูกคั่นด้วยจุด (Period) เช่น readme.txt , document.doc เป็นต้น ตัวอย่างข้อกำหนดที่แตกต่างกันในแต่ละ OS ระบบ MS-DOS ส่วนที่เป็นชื่อหลักจะประกอบด้วยตัวอักษรไม่เกิน 8 ตัวอักษร และตามด้วยนามสกุลไม่เกิน 3 ตัวอักษร ระบบ UNIX ถือว่าการตั้งชื่อด้วยอักษรตัวใหญ่ตัวเล็กไม่เหมือนกัน (Case sensitive) เช่น Readme.txt , readme.txt หรือ README.TXT ถือว่าเป็นคนละไฟล์
12
ตัวอย่างชนิดของไฟล์ข้อมูล
13
โครงสร้างไฟล์ข้อมูล การจัดโครงสร้างไฟล์ข้อมูลที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีอยู่ 3 แบบ แบบไบต์เรียงต่อกันไป เช่น UNIX และ Windows เวลาอ่าน/เขียนก็จะทำงานทีละไบต์ แบบเรกคอร์ด (Record) โดยมีขนาดของเรกคอร์ดคงที่ เช่น CP/M เวลาอ่าน/เขียนก็จะทำงานทีละเรกคอร์ด สำหรับเรกคอร์ดสุดท้ายอาจจะไม่เต็มเรกคอร์ดก็ได้ แบบต้นไม้ (Tree) จะจัดเก็บเป็นบล็อก ในแต่ละบล็อกจะประกอบด้วยเรกคอร์ด โดยขนาดของแต่ละเรกคอร์ดอาจไม่เท่ากัน เช่น OS ในระบบ Mainframe เวลาอ่าน/เขียนก็จะทำงานโดยค้นไปตามการเชื่อมโยงของต้นไม้ a b c a1 a2 b1 b2 แบบที่ 3 แบบที่ 1 แบบที่ 2
14
ไดเร็กทอรี (Directory)
ไดเร็กทอรี เป็นไฟล์ประเภทหนึ่งซึ่งมีอยู่ 2 ระบบ ระบบไดเร็กทอรีเดี่ยว (Single-Level Directory Systems) ระบบไดเร็กทอรี 2 ระดับ (Two-Level Directory System) ระบบไดเร็กทอรีหลายระดับ (Hierarchical Directory Systems)
15
ระบบไดเร็กทอรีเดี่ยว (Single-Level Directory Systems)
เป็นระบบที่มีโครงสร้างง่ายที่สุด ภายในระบบจะมีอยู่เพียงไดเร็กทอรีเดียว รวบรวมไฟล์ทุกไฟล์ไว้ที่เดียวกัน และทุกไฟล์จะอยู่ในระดับเดียวกัน การจัดเก็บในลักษณะนี้ทำให้เกิดปัญหาดังนี้ ไฟล์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในไดเร็กทอรีไม่สามารถแยกเจ้าของไฟล์ได้ ไฟล์หลากหลายชนิดต้องอยู่ปะปนกันทำให้ไม่สะดวกในการค้นหา ในกรณีที่ต้องการสร้างไฟล์ให้มีชื่อเหมือนที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่สามารถทำได้ ซึ่งถ้าสร้างไฟล์ให้มีชื่อเดียวกับที่มีอยู่ก่อนนั้น จะทำให้ไฟล์เก่าถูกเขียนทับลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ข้อมูลสูญหายได้
16
ระบบไดเร็กทอรี 2 ระดับ (Two-Level Directory System)
แก้ปัญหาแบบแรกได้แต่ไม่เต็มร้อย จะกำหนดให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถสร้างไดเร็กทอรีย่อยของตนได้เรียกว่า Sub-Directory หรือไดเร็กทอรีย่อย ในแต่ละสับไดเร็กทอรีจะอยู่ภายใต้ไดเร็กทอรีรากเดียวกัน (Root directory) ภายในสับไดเร็กทอรีผู้ใช้สามารถกำหนดชื่อไฟล์ได้ตามใจโดยไม่ต้องไปกังวลว่าจะไปซ้ำกับชื่อใคร แต่ปัญหาก็คือกรณีที่ผู้ใช้มีไฟล์หลายประเภทจะไม่สามาถแยกประเภทของไฟล์ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
17
ระบบไดเร็กทอรีหลายระดับ Hierarchical Directory Systems
เพื่อแก้ปัญหาระบบไดเร็กทอรีเดี่ยว OS จึงยอมให้มีการสร้างโครงสร้างไดเร็กทอรีแบบหลายระดับขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถสร้างไดเร็กทอรีย่อย (Sub-directory) ได้โดยไม่จำกัด ระบบไฟล์ในปัจจุบันใช้โครงสร้างไดเร็กทอรีแบบนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบไดเร็กทอรีแบบโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure)
18
ระบบไดเร็กทอรีเดี่ยว (Single-Level Directory Systems)
root root A B C ระบบไดเร็กทอรีเดี่ยว (Single-Level Directory Systems) root ระบบไดเร็กทอรี 2ระดับ Two-Level Directory System A B C B1 B2 C1 C2 ระบบไดเร็กทอรีหลายระดับ Hierarchical Directory Systems
19
ชื่อพาธ (Path name) การอ้างอิงถึงไฟล์ใด ๆ ก็ตามจำเป็นต้องระบุที่อยู่ของไฟล์นั้น ๆ ให้ถูกต้องว่าอยู่ในไดเร็กทอรีใด หรือสับไดเร็กทอรีใด ในการกำหนดที่อยู่หรือเส้นทางที่จะเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ เรียกว่า พาธ (Path) ดังนั้นถ้าต้องการอ้างถึงไฟล์ใด ๆ ในดิสก์จำเป็นต้องระบุพาธให้ถูกต้องพร้อมชื่อไฟล์ วิธีการอ้างถึงชื่อไฟล์นั้นมี 2 วิธี การอ้างชื่อไฟล์แบบสัมบูรณ์ (Absolute path name) การอ้างชื่อแบบสัมพัทธ์ (Relative path name)
20
การอ้างชื่อไฟล์แบบสัมบูรณ์ (Absolute path name)
เป็นการอ้างถึงไฟล์โดยเริ่มจากราก (Root) เสมอตามด้วยชื่อสับไดเร็กทอรีย่อยไล่ลงมาตามลำดับชั้นของไดเร็กทอรีจนกระทั่งถึงไดเร็กทอรีที่บรรจุไฟล์อยู่ และจบลงด้วยชื่อไฟล์นั้น ๆ ตัวอย่างการอ้างถึงไฟล์ชื่อ Readme.doc ที่อยู่ภายใต้พาธ (Root user lib) Windows หรือ MS-DOS \user\lib\readme.doc UNIX หรือ Linux /user/lib/readme.doc
21
การอ้างชื่อไฟล์แบบสัมบูรณ์ (Absolute path name) … ต่อ
bin etc lib usr tmp don Readme.doc รูปแบบไดเร็กทอรีของ UNIX หรือ Linux
22
การอ้างชื่อไฟล์แบบสัมพัทธ์ (Relative path name)
เป็นการอ้างถึงไฟล์โดยที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจในเรื่องระบบไดเร็กทอรีปัจจุบัน (Current directory) เนื่องจากการอ้างถึงชื่อไฟล์จะเริ่มต้นจากไดเร็กทอรีปัจจุบันแล้วไล่ไปตามลำดับชั้นของไดเร็กทอรีที่ไฟล์นั้นอยู่และจบลงด้วยชื่อไฟล์นั้น ตัวอย่างการอ้างถึงไฟล์ชื่อ Readme.doc ที่อยู่ภายใต้พาธ (Root user lib) โดยที่ไดเร็กทอรีปัจจุบันอยู่ที่ user Windows หรือ MS-DOS \lib\readme.doc UNIX หรือ Linux /lib/readme.doc
23
การทำงานของระบบไฟล์ (File system Implementation)
โครงสร้างของระบบไฟล์ (File system layout) ภายในดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นพาร์ติชัน (Partition) ในการเก็บข้อมูล และแต่ละพาร์ติชั่นมีความเป็นอิสระต่อกัน ทั้งยังสามารถกำหนดให้แต่ละพาร์ติชั่นมี OS ที่ต่างกันได้ ภายในดิสก์จะถูกแบ่งออกเป็นเซกเตอร์ (Sector) เริ่มต้นจาก เซกเตอร์ 0 ซึ่งถือว่าเป็น Master boot record (MBR) ที่เก็บค่าเริ่มต้นของ OS สำหรับการบูตเครื่องเมื่อเริ่มใช้งาน ตอนท้ายของเซกเตอร์นี้จะเก็บตารางพาร์ติชั่นซึ่งระบุว่าในแต่ละพาร์ติชั่นมีแอดเดรสเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใด
24
วิธีจัดเก็บข้อมูลของไฟล์ (Implementation File)
วิธีการจัดเก็บข้อมูลลงบนสื่อจัดเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 แบบ การจัดเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Contiguous allocation) การจัดเก็บข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์ (Link List allocation) ไอโหนด (I-nodes หรือ Index nodes)
25
การจัดเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Contiguous allocation)
เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลของไฟล์แบบง่ายที่สุด แต่ละไฟล์จะถูกแบ่งออกเป็นบล็อค แต่ละบล็อกมีขนาดเท่ากัน และจะถูกเก็บลงบนดิสก์อย่างต่อเนื่องทั้งไฟล์
26
ข้อดีในจัดเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่อง
ง่ายและสะดวกในการจัดเก็บ เนื่องจากการจัดเก็บจะจัดเก็บเรียงต่อกันไปจึงไม่ต้องกังวลว่าบล็อกต่อไปจะเก็บตรงไหน OS จะบันทึกเฉพาะแอดเดรสบล็อกแรกและแอดเดรสบล็อกสุดท้ายของแต่ละไฟล์ก็เพียงพอสำหรับการค้นหาข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในไฟล์ สามารถสร้างประสิทธิภาพได้สูงสุดในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากการจัดเก็บบล็อกข้อมูลเรียงต่อเนื่องจึงไม่เสียเวลาในการค้นหาบล็อกทุก ๆ บล็อก เพียงแต่หาบล็อกแรกพบก็สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้งไฟล์ เหมาะสำหรับสื่อที่มีการจัดเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว (Read Only Memory) เช่น CD-Rom เป็นต้น
27
ข้อเสียในจัดเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่อง
กรณีมีการแก้ไขข้อมูลเดิม แล้วการแก้ไขทำให้ขนาดของไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงจำเป็นต้องย้ายไฟล์ไปยังพื้นที่ใหม่ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุไฟล์ที่แก้ไขแล้ว ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ต้องเสียเวลาเพิ่มขึ้นในการหาพื้นที่ใหม่ ถ้าเกิดเหตุการณ์ในข้อแรกบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดเนื้อที่ว่างมากมายระหว่างไฟล์ข้อมูลบนดิสก์ เมื่อมีการเก็บข้อมูลจนเต็มดิสก์จะทำให้เกิดปัญหาสำหรับไฟล์ขนาดใหญ่ไม่สามารถหาเนื้อที่ว่างในการเก็บข้อมูลได้ แม้จะมีเนื้อที่ว่างมากพอ แต่ไม่สามารถเรียกใช้ได้เพราะเนื้อที่เหล่านั้นกระจัดกระจายกันทั่วทั้งดิสก์
28
การจัดเก็บข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์ (Link List allocation)
วิธีนี้มีการแบ่งไฟล์ออกเป็นบล็อก ๆ เช่นเดียวกัน แต่การจัดเก็บเนื้อที่ของแต่ละบล็อกจะไม่ต่อเนื่องกัน แต่ละบล็อกจะถูกเชื่อมโยงกันด้วยพอยต์เตอร์ ตั้งแต่บล็อกแรกจนถึงบล็อกสุดท้ายของไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ วิธีการจัดเก็บแบบนี้ทำให้ไม่เสียเนื้อที่ว่างภายในดิสก์ แต่ยังมีเนื้อที่ว่างภายในบล็อกสำหรับบล็อกสุดท้ายของไฟล์ข้อมูล ข้อเสียของวิธีการนี้คือ เสียเวลาในการค้นหาข้อมูลของไฟล์มากกว่าแบบต่อเนื่อง เนื่องจากแต่ละบล็อกอยู่กระจัดกระจายไปทั่วดิสก์ เสียเนื้อที่ไปกับพอยต์เตอร์ที่ทำหน้าที่ชี้ไปยังบล็อกต่าง ๆ
29
ไอโหนด (I-nodes หรือ Index nodes)
เป็นวิธีการที่ใช้กันใน UNIX โดยจะมีการสร้างตารางเล็กที่เรียกว่า I-nodeให้กับแต่ละไฟล์ I-node จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฟล์ไว้ นอกจากนั้นยังมีหมายเลขบล็อกแบบลิงค์ลิสต์ 4 แบบดังนี้ Direct Block ขนาด 10 หมายเลข เก็บจำนวนบล็อกไว้ได้ 10 หมายเลข Single indirect ขนาด 1 หมายเลข เก็บจำนวนบล็อกไว้ได้ 256 หมายเลข Double indirect ขนาด 1 หมายเลข เก็บจำนวนบล็อกไว้ได้ 256*256 หมายเลข Triple indirect ขนาด 1 หมายเลขเก็บจำนวนบล็อกไว้ได้ 256*256*256 หมายเลข
30
โครงสร้างไดเร็กทอรี่ (Directory Structure) ใน DOS
ไดเร็กทอรี่เป็นที่เก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ผู้ใช้ที่ต้องการจะเข้าถึงไฟล์ข้อมูลใด ๆ ก็จำเป็นต้องต้องทราบว่าไฟล์นั้น ๆ อยู่ในไดเร็กทอรี่ใด และจะเข้าถึงได้จากเส้นทาง (Path) ใด ดังนั้นไดเร็กทอรี่จำเป็นต้องมีตารางบันทึกไฟล์ต่าง ๆ ไว้ โครงสร้างไดเร็กทอรี่ที่ใช้ใน DOS ภายในตารางจะมีองค์ประกอบดังนี้ ชื่อไฟล์ มีขนาด 8 Byte ส่วนขยาย มีขนาด 3 Byte คุณสมบัติของไฟล์ (File Attribute) มีขนาด 1 Byte
31
โครงสร้างไดเร็กทอรี่ (Directory Structure) ใน DOS … ต่อ
กั้นไว้ มีขนาด 10 Byte วัน-เวลาที่บันทึก มีขนาด 4 Byte หมายเลขบล็อกแรกของไฟล์ มีขนาด 2 Byte ขนาดของไฟล์ มีขนาด 4 Byte ชื่อไฟล์ ส่วนขยาย คุณสมบัติ กั้น เวลา วัน หมายเลขบล็อกแรกของไฟล์ ขนาด 8 3 1 10 2 4
32
โครงสร้างไดเร็กทอรี่ในระบบ Windows (Directory Structure of Windows)
ตารางไดเร็กทอรี่ในระบบ DOS มีชื่อเรียกว่า FAT-32 เนื่องจากในระบบ DOS การตั้งชื่อไฟล์ไม่สามารถตั้งชื่อได้เกิน 8 ตัวอักษร เนื่องจากข้อจำกัดในโครงสร้างของไดเร็กทอรี่ การทำให้ระบบสามารถกำหนดชื่อไฟล์ได้มากกว่า 8 ตัวอักษรเราเรียกไฟล์ที่มีชื่อยาวกว่า 8 ตัวอักษรว่า “Long File Name” บริษัทไมโครซอฟต์จึงได้พิจารณาหาทางออกให้สามารถตั้งชื่อไฟล์ที่มีขนาดเกิน 8 ตัวอักษร โดยมีวิธีการดังนี้
33
โครงสร้างไดเร็กทอรี่ในระบบ Windows (Directory Structure of Windows)
ปรับรูปแบบของตารางไดเร็กทอรี่ดังรูป Sequence คุณสมบัติ Checksum 2 Characters 1 10 12 2 4 5 Characters 6 Characters
34
โครงสร้างไดเร็กทอรี่ในระบบ Windows (Directory Structure of Windows)
ในแต่ละฟิลด์ของตารางประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ Sequence มีขนาด 1 Byte แต่ใช้เพียง 6 บิต สามารถแสดงลำดับที่ได้ 64 (26) ตำแหน่ง ดังนั้นสามารถเก็บชื่อไฟล์ได้เท่ากับ 64*13=832 ตัวอักษร 5 Characters of file name มีขนาด 10 Byte ใช้เก็บตัวอักษร 5 ตัวสลับกับช่องว่าง คุณสมบัติของไฟล์ มีขนาด 1 Byte 6 Characters of file name มีขนาด 12 Byte ใช้เก็บตัวอักษร 6 ตัวสลับกับช่องว่าง 2 Characters of file name มีขนาด 4 Byte ใช้เก็บตัวอักษร 2 ตัวสลับกับช่องว่าง นอกจากนั้นทุกไฟล์จะมีตารางแบบ DOS รวมอยู่ด้วยขนาด 32 Byte ต่อ 1 ไฟล์
35
โครงสร้างไดเร็กทอรี่ในระบบ Windows (Directory Structure of Windows)
ตัวอย่าง Long file name ที่ชื่อ “My Document No1.Doc” My Doc~1 1 My d o A C cument N 01.do ขนาด หมายเลขบล็อกแรกของไฟล์ เวลา วัน c
36
การใช้ไฟล์ร่วมกัน (Share files)
/ A B C C2 B1 C1 ระบบที่มีการใช้ไฟล์ร่วม
37
การจัดการเนื้อที่ว่างภายในดีสก์ (Disk space management)
มีอยู่ 2 วิธีในการจัดเก็บ เก็บเป็นไบต์ติดต่อกันไป เก็บเป็นบล็อค
38
ความน่าเชื่อถือของระบบไฟล์ (File system reliability)
ข้อมูลมีความสำคัญมาก จำเป็นต้องเชื่อถือได้ว่าจะไม่เสียหาย มีระบบกู้คืนข้อมูลได้ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ไฟดับ อาจทำให้การเก็บข้อมูลสูญหายได้ การแก้ปัญหา ในระบบ windows จะมีการ scan disk ทุกครั้งที่ไม่มีการ shut down เครื่อง ในระบบ Linux, Unix จะมีการตรวจสอบไฟล์ที่เป็น i-node ตอนที่เปิดเครื่อง เช่นเดียวกันกับ windows Linux จะมีระบบไฟล์ที่เรียกว่า Ext3 ซึ่งจะป้องกันปัญหานี้ได้ดี
39
การทำสำรองข้อมูล (Backups)
สำรองทั้งหมดทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง สำรองเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลง
40
ประสิทธิภาพของระบบไฟล์ (File System Performance)
การใช้แคช (Caching) การอ่านบล็อกข้อมูลไว้ล่วงหน้า (Block Read Ahead) การลดการเคลื่อนที่ของหัวอ่าน (Reducing Disk Arm Motion) Log-Structure file System
41
ระบบฐานข้อมูล (Database System)
หมายถึงกลุ่มของข้อมูลที่ถูกรวบรวมไว้ เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ภายหลัง ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS (database Management System) ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ
42
ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS (database Management System)
ฝ่ายลงทะเบียน » ข้อมูลนักศึกษา (ชื่อ เลขทะเบียน ที่อยู่) » ข้อมูลการลงทะเบียน » ข้อมูลการเงิน » ข้อมูลการยืม-คืนหนังสือ ฝ่ายการเงิน DBMS ฝ่ายห้องสมุด
43
ข้อได้เปรียบของระบบฐานข้อมูล
ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน รักษาความถูกต้องของข้อมูล แบ่งปันกันใช้ได้ การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้สะดวก ความเป็นอิสระของข้อมูล
44
ภาษาของระบบฐานข้อมูล
ภาษากำหนดข้อมูลหรือ DDL (Data Definition Language) เป็นภาษาที่ผู้ใช้ได้กำหนดโครงสร้างหรือแบบแผนในการเก็บข้อมูล เช่น Create ภาษาจัดการข้อมูลหรือ DML (Data Manipulation Language) เป็นภาษาที่ผู้ใช้ใช้จัดการกับข้อมูลของผู้ใช้เอง เช่น Select, Delete
45
ผู้บริหารฐานข้อมูล ผู้บริหารฐานข้อมูล (DBA: Database Administrator) มีหน้าที่ กำหนดโครงสร้างหรือรูปแบบของฐานข้อมูล กำหนดโครงสร้างของอุปกรณ์เก็บข้อมูลและวิธีเข้าถึง มอบหมายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการเข้าถึงของผู้ใช้
46
ความสัมพันธ์ของข้อมูล (Relationship)
ความสัมพันธ์แบบวันทูวัน นักศึกษา บัตรประจำตัวนักศึกษา ความสัมพันธ์แบบ one to many ชื่อลูกค้า บัญชีธนาคาร ความสัมพันธ์แบบ many to many วิชาระบบสารสนเทศ วิชาการจัดการ วิชาเศรษฐศาสตร์ สมชาย สมปอง สมศักดิ์ สมทรง สมทรง
47
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database Model) ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database Model) ฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์ (Relational Database Model)
48
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
พนักงาน ค่าตอบแทน การมอบหมายงาน สวัสดิการ First child อัตราผลตอบแทน ประวัติงาน บำเหน็จบำนาญ ประกันชีวิต สุขภาพ Second child
49
ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย
โครงการ A โครงการ B หน่วยงาน A หน่วยงาน B หน่วยงาน C หน่วยงาน D
50
ฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์
51
ระบบฐานข้อมูลและ OS DBMS จะทำงานซ้อนอยู่บนระบบไฟล์
52
ระบบฐานข้อมูลและ OS … ต่อ
ผู้ใช้โปรแกรมทั่วไป ผู้ใช้ฐานข้อมูล OS ระบบไฟล์และ DBMS ไฟล์ทั่วไป ฐานข้อมูล
53
แบบฝึกหัด 1. FAT และ NTFS คืออะไร
(Dos Windows Unix Linux) 3. จงบอกส่วนขยายนามสกุลของไฟล์มาอย่างน้อย 20 ไฟล์แล้วบอกว่าเป็นไฟล์อะไร 4. จงบอกข้อกำหนดในการตั้งชื่อไฟล์ ในระบบปฏิบัติการต่อไปนี้ (Dos Windows Unix Linux)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.