งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ

2 นโยบาย แบบแผนความคิดที่ใช้เป็นหลักยึดในการปฏิบัติ หรือการตัดสินใจ, มักใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหาร

3 บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ
มี 4 ด้าน โดยแบ่งได้ดังนี้ 1. ด้านการเมืองการปกครอง 1) ความมั่นคงของรัฐ : รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐต้องพิทักษ์ไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตยและอำนาจของรัฐ(โดยต้องจัดเตรียมกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีให้พร้อมและเพียงพอเพื่อพิทักษ์รักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่งคง) 2) การให้สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคแก่ประชาชน : ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน เช่น 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ 1 เสียง) การให้เสรีภาพแก่ประชาชนต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่จะไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และรัฐต้องให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเอกชนสามารถตัดสินใจในการผลิตได้เอง

4 3) การกระจายอำนาจการปกครองให้กับท้องถิ่นและชุมชน : รัฐธรรมนูญสนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถบริหารและตัดสินใจในการดำเนินกิจการของท้องถิ่นได้เอง ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถแก้ปัญหาได้มีความเหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ ได้จริง และรัฐต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านการวางแผนพัฒนา

5 2. ด้านสังคม 1) เสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559) ให้รัฐดำเนินกิจกรรมที่มุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

6 3. ด้านเศรษฐกิจ 1.เพื่อให้รายได้ประชาชาติของประเทศเพิ่มขึ้น โดยใช้มาตรการและนโยบายต่างๆ ส่งเสริมการออม การลงทุน การผลิต ซึ่งแสดงถึง สภาพความเป็นอยู่และฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศที่ดีขึ้น 2. สร้างและรักษาเสถียรภาพระดับราคาสินค้าในประเทศ หมายถึง การควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากประชากรที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โอกาสที่จะเกิดเงินเฟ้อภายในประเทศสูง รัฐบาลจึงต้องหาวิธีควบคุมภาวะเงินเฟ้อโดยใช้นโยบายการเงินและการคลัง

7 3. กระจายรายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเจริญเติบโตเต็มที่แต่ผลของการพัฒนาไม่กระจายสู่คนหมู่มากถือว่าเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมบูรณ์ ต้องมีการกระจายรายได้ กระจายความมั่งคั่งสู่ประชาชนภายในประเทศให้เท่าเทียมกันเพื่อให้ช่องว่างของรายได้น้อยลง หรืออาจกล่าวได้ย่อๆดังนี้ 1.พัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้ 2.ส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ 3.ส่งเสริมการวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านต่าง 4.ปรับกลยุทธ์ในการพัฒนา

8 4. ด้านการศึกษา หลักการของพัฒนาก็เพื่อพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ “การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า สามารถเข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลก จำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการศึกษาของประเทศให้มีมาตรฐานทั้งในระดับประเทศ และสามารถเทียบเคียงสมรรถนะได้กับมาตรฐานนานาชาติ การประกันคุณภาพจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งกิจกรรมหนึ่งที่สถานศึกษาต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการบริหารสถานศึกษา เพราะการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เป็นการดำเนินการของสถานศึกษา เพื่อให้หลักประกันกับภาคประชาสังคมว่าผลผลิตที่เกิดขึ้น คือ คุณภาพของผู้เรียนจะมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร มาตรฐานการศึกษาของชาติ และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ”

9 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
การดำเนินบทบาทและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลมีเป้าหมายคือ เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการมากที่สุดโดยที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ การกระจายรายได้ การรักษาเสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลมีบทบาทและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้ 1. การผลิตสินค้าและบริการ 2. การเก็บภาษี 3. การแทรกแซงและควบคุมราคาสินค้า

10 การผลิตสินค้าและบริการ
1. การจัดสรรทรัพยากรของสังคม (ผลิตสินค้าสาธารณะ และกึ่งสาธารณะ) - สินค้าสาธารณะ เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา การเก็บขยะมูลฝอย - สินค้ากึ่งสาธารณะ เช่น การบริการ โรงแรม การขนส่ง 2. การผลิตสินค้าและบริการสาธารณะที่เอกชน ไม่ดำเนินการ เนื่องจากต้องใช้เงินในการลงทุนสูง เช่น ถนน โทรศัพท์ ประปา 3. การผลิตสินค้าที่เป็นคุณประโยชน์ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย

11 การเก็บภาษีของรัฐในระดับประเทศ
- ภาษีทางตรง - ภาษีทางอ้อม ภาษีทางตรง: เก็บจากผู้มีรายได้โดยตรง ได้แก่ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: เรียกเก็บม.ค.-มี.ค. ของปีถัดไป 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เรียกเก็บจากบริษัท ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล 3. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม: เรียกเก็บจากน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ 4. ภาษีทรัพย์สิน: เรียกเก็บจากทรัพย์สิน เช่น อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ 5. ภาษีมรดก: เรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สิน 6. ภาษีหลักทรัพย์: เรียกเก็บตราสาร/หลักฐานจากทรัพย์สิน เช่น หุ้น ตั๋วเงิน

12 ภาษีทางอ้อม: ภาษีที่ผู้เสียภาษีผลักภาระให้ผู้อื่นต่อได้ ได้แก่
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม: เรียกเก็บจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในขั้นตอนการผลิต/บริการ 2. ภาษีศุลกากร: “กำแพงภาษี“ 3. ภาษีสรรพสามิต: เรียกเก็บจากสินค้าและบริการฟุ่มเฟือย 4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ: เรียกเก็บจากการประกอบการเฉพาะอย่าง 5. ภาษีอากรแสตมป์: ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง

13 การแทรกแซงและควบคุมราคาสินค้า
จากการที่ประเทศใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่ค่อนข้างไปทางทุนนิยม ทำให้เอกชนสามารถมีบทบาทในการกำหนดราคาในตลาดได้มาก แต่หากระดับราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพนั้น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนบางกลุ่มรัฐจะเข้ามาแทรกแทรงกลไกราคา เพื่อช่วยเหลือและสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจได้ การแทรกแซงราคาของรัฐบาล รัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงกลไกราคาในกรณีที่ กลไกราคาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที รัฐบาลมักจะเข้าแทรกแซงราคาโดยใช้มาตรการควบคุมราคา ความจำเป็นในการแทรกแซงราคา กลไกราคาจะทำงานอย่างเสรีเฉพาะในตลาดแข่งขันสมบูรณ์เท่านั้น ตลาดแข่งขันสมบูรณ์หมายถึง ราคาหรือบริการใดๆที่ปราศจากการแทรกแซง ในโลกแห่งความเป็นจริง ตลาดที่พบในปัจจุบันเป็นตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ซึ่งผู้ขายอาจมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา หรือในบางกรณีเป็นตลาดของผู้ซื้อซึ่งอาจจะเกิดกับผู้ผลิตที่อาจไม่มีการต่อรองกลไกราคาไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีซึ่งนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมโดยรวม รัฐบาลจึงทำเป็นต้องแทรกแซงราคา

14 นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
ให้นักเรียนแบ่ง สรุปหัวข้อดังกล่าว ใส่กระดาษรายงานจำนวน 2 หน้า 1.นโยบายการผลิต 2.นโยบายการเงิน 3.นโยบายการคลัง 4.นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ปัญหาและอุปสรรค 1.ปัญหาเงินเฟ้อ-ปัญหาเงินฝืด 2.ปัญหาการว่างงาน


ดาวน์โหลด ppt บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google