งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (Data Processing)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (Data Processing)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (Data Processing)
บทที่ 2 การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (Data Processing)

2 เนื้อหา 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล 2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล 3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล 4. วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

3 จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลได้ 2. อธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลได้ 3. บอกประเภทของการประมวลผลข้อมูลได้ 4. อธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลได้ 5. อธิบายวิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ได้

4 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
ความหมายของข้อมูล (Data) ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง เรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูล เป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ เสียง และมัลติมีเดีย ที่สําคัญจะต้องมีความเป็นจริง ตัวอย่างของข้อมูลนักศึกษา เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา เพศ อายุ ที่อยู่ คะแนนสอบ

5 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี 1) ความถูกต้อง (Accurate) เพราะข้อมูลที่ได้ต้องนำไปใช้ในการตัดสินใจ หากข้อมูลไม่มีความ ถูกต้องแล้วก็จะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมา 2) ความรวดเร็ว เป็นปัจจุบันและทันเวลา (Timeliness) การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน 3) ความสมบูรณ์ (Complete) ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ คือ ข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้ ซึ่งจะขึ้นกับวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการประมวลผล ดังนั้นในการ การรวบรวมข้อมูลต้องสำรวจและสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์

6 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี 4) ความกระชับและชัดเจน การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่มาก จึงจำเป็นต้องออกแบบ โครงสร้างข้อมูลให้กระชับและสื่อความหมายได้ อาจมีการใช้รหัสแทน ข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ 5) ความสอดคล้อง (Relevance) ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความ ต้องการของหน่วยงานและองค์กร ดูสภาพการใช้ข้อมูล และขอบเขตของ ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

7 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
ประเภทของข้อมูล (แบ่งตามที่มา) 1.ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary Data) คือข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่ผู้เก็บข้อมูลลงมือเก็บด้วยตนเองได้มา จาก แหล่งกำเนิดที่แท้จริง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบหรือการวัดจากกลุ่มตัวอย่างโดยตรง 2.ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดที่ผู้อื่นรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ สามารถ นำมาเป็นข้อมูล โดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น ข้อมูลจากระเบียน สะสม รายงานประจำปี สารานุกรม เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น

8 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
ประเภทของข้อมูล (แบ่งตามลักษณะของข้อมูล) 1.ข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative Data) คือข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่าง ๆ ความถนัดด้านต่าง ๆ ที่วัดออกมาเป็นคะแนน คุณลักษณะด้านจิตพิสัย เช่น ความสนใจ ความวิตกกังวล คุณลักษณะทางกายเช่น ส่วนสูง ความเร็วในการ วิ่ง 2.ข้อมูลเชิงคุณลักษณะหรือเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลขแต่จะแสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น เช่น เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ ศาสนา สถานภาพสมรส อาชีพ ข้อความที่เป็น ความคิดเห็น ผลการสังเกตที่เขียนในรูปบรรยาย

9 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
ประเภทของข้อมูล (แบ่งตามสภาพของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง) 1.ข้อมูลส่วนบุคคล ( Personal Data) คือข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ชื่อสกุล อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา เป็นต้น 2.ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ( Environmental Data) คือข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ลักษณะท้องถิ่นที่ กลุ่มตัวอย่างอาศัย 3.ข้อมูลพฤติกรรม ( Behavioral Data) คือข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น คุณลักษณะด้าน ความสามารถสมอง ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ หรือการเรียน เช่น ความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ ความถนัด สติปัญญา ความสนใจ ความวิตกกังวล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโน ภาพเกี่ยวกับตนเอง การปฏิบัติ การกระทำสิ่งต่าง ๆ

10 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล
ประเภทของข้อมูล (แบ่งตามการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์) 1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลข สามารถ นำไปคำนวณได้ เช่น จำนวนเงินเดือน ราคาสินค้า 2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่ 3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด 4. ข้อมูลภาพ (Images Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง ๆเมื่อนำมาเรียงต่อกันแล้ว เกิดรูปภาพขึ้น เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น เป็นต้น 5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทำจากโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น

11 2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล
ความหมายของการประมวลผลข้อมูล (Data Processing) การประมวลผลข้อมูล คือ การกระทำหรือการจัดการต่อข้อมูล อาจ เป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ได้จากเอกสาร ต้นฉบับ เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่ผ่าน การประมวลผลมาแล้วเรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อดำเนินขั้นตอนในการประมวลผลในลักษณะต่างๆ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การตรวจสอบเงื่อนไข เพื่อทำให้ ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ตาม ต้องการ

12 2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล
ประเภทของการประมวลผลข้อมูล 1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) หมายถึง การใช้ แรงงานคนเป็นหลักในการประมวลผล โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประมวลผล เช่น ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด กระดาษ ลูกคิด เครื่องคิดเลข วิธีการประมวลผลด้วยมือเหมาะกับ งาน ที่มีปริมาณไม่มากนักและอยู่ในภาวะที่แรงงานยังมีการจ้างงานที่ไม่สูงนัก 2. การประมวลผลด้วยมือกับเครื่องจักรกล (Manual With Machine Assistance Data Processing) หรือการประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล การ ประมวลผลแบบนี้จะเหมาะกับงานระดับกลางที่มีปริมาณไม่มากนัก และต้องการความเร็วใน การทำงานในระดับพอสมควร การทำงานจะอาศัยแรงงานคน ร่วมกับเครื่องจักรกล เช่น เครื่อง ทำบัญชี หรือเครื่องประมวลผลกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ 3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) หรือ การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกย่อๆ ว่า EDP คือ การประมวลผลด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์

13 3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1. การนำข้อมูลเข้า (Input) เป็นการนำเข้าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมที่จะทำการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ 2. การประมวลผลข้อมูล (Process) ข้อมูลที่ผู้ใช้นำเข้ามาจะส่งไปเก็บในหน่วยความจำหลัก (RAM) จากนั้น Control Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลจาก RAM ไปยัง ALU เพื่อให้ทำงานตามคำสั่ง 3. การแสดงผลข้อมูล (Output) หลังการประมวลผล Control Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่าน เพื่อส่งมอบข้อมูลจาก CPU ไปยังหน่วยความจำ จากนั้นส่งข้อมูลออกไปแสดงผลที่ Output device ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (Data) เรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information)

14 3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
Input (Data) Process Output (Information) ภาพขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล

15 3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
วัฏจักรของการประมวลผลข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้งาน จะถูกแยกออกมาได้อีกส่วน เรียกว่า การเก็บข้อมูล (Storage)

16 3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
ตัวอย่างขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล

17 3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
ตัวอย่างขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล

18 4. วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการในการประมวลผลข้อมูล 1. จัดหมวดหมู่ (Classify) เป็นการแยกหมวดหมู่หรือจัดกลุ่มข้อมูลที่ได้รับมา เพื่อให้อยู่ตามลักษณะ ของงาน หรือความต้องการที่จะนำข้อมูลไปใช้ 2. เรียงลำดับ (Sort) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการเรียงลำดับ 3. คำนวณ (Calculate) เป็นการข้อมูลมาทำการคำนวณตามวิธีการทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ตรงตามความต้อง

19 4. วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการในการประมวลผลข้อมูล (ต่อ) 4. สรุป (Summarize) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมด มาทำการรวบรวมให้อยู่ในรูปที่สั้น กะทัดรัด ทำให้เราสามารถเข้าใจง่ายขึ้น และนำไปใช้ในการตัดสินใจ ได้รวดเร็ว 5. เปรียบเทียบ (Compare) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมแล้วทำการ สรุปผลที่ได้ดีกว่าหรือไม่ดีกว่าอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ งาน

20 4. วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการในการประมวลผลข้อมูล (ต่อ) 4. สรุป (Summarize) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมด มาทำการรวบรวมให้อยู่ในรูปที่สั้น กะทัดรัด ทำให้เราสามารถเข้าใจง่ายขึ้น และนำไปใช้ในการตัดสินใจ ได้รวดเร็ว 5. เปรียบเทียบ (Compare) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมแล้วทำการ สรุปผลที่ได้ดีกว่าหรือไม่ดีกว่าอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ งาน

21 4. วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการในการประมวลผลข้อมูล (ต่อ) 6. สื่อสารข้อมูล (Communicate) เป็นการส่งข้อมูลไปยังที่ห่างไกล โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารเช่น โทรศัพท์ เคเบิ้ล ใต้น้ำ ดาวเทียม เป็นต้น 7. เก็บรักษาข้อมูล (Store) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในสื่อกลางหรือ อุปกรณ์การเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อสะดวกในการดึงข้อมูลไปใช้งานในอนาคต 8. นำข้อมูลไปใช้งาน (Retrieve) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการนำข้อมูลที่มีการเก็บรักษาไว้ไปใช้งาน

22 4. วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการในการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP) 1. การประมวลผลแบบแบทช์ (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยการรวบข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้า เครื่องเพื่อประมวลผลในคราวเดียวกัน เช่น การทำบัญชีจ่ายเงินเดือนพนักงาน ทุกสิ้นเดือน ระบบการคิดดอกเบี้ยธนาคาร ซึ่งต้องใช้เวลาสะสม 3 เดือน 6 เดือน หรือระบบการเรียน การบันทึกเกรดของนักเรียน ในแต่ละเทอมจนเทอมสุดท้าย จึงพิมพ์ใบรับรองเกรด ฉะนั้น การประมวลผลข้อมูลโดยใช้เวลาในการสะสม ข้อมูลอยู่ระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงนำมาประมวลผลพร้อมกันและในการทำงานจะ ไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ใช้ในการประมวลผลแบบนี้เรียกว่า ระบบ ออฟไลน์ (Off-Line System)

23 4. วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการในการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP) 2. การประมวลผลแบบอินเทอแอคทีฟ (Interactive Processing) หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่าการประมวลผลแบบออนไลน์ (On-Line Processing) หรือ หรือ การประมวลผลแบบเวลาจริง (Real-time Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงทันทีโดย ไม่ต้องรอรวมหรือสะสมข้อมูล ข้อมูลแต่ละรายการจะถูกนำไปประมวลผลและ ได้ผลลัพธ์ทันที โดยจะมีการติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยตรง เช่น การฝากหรือถอนเงินธนาคารโดยใช้บัตร ATM ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ใน การประมวลผลแบบนี้เรียกกว่า ระบบออนไลน์ (On-Line Processing)


ดาวน์โหลด ppt การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (Data Processing)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google