ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ธนรัตน์ ทั่งทอง
2
ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา (มาตรา 28)
1. ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล 2. พนักงานอัยการ 3. ผู้เสียหาย กรณีคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน แม้ผู้เสียหายคนหนึ่งได้ฟ้องผู้กระทำความผิดไปแล้ว ผู้เสียหายคนอื่นก็ยังมีสิทธิฟ้องผู้กระทำความผิดได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ดูฎีกาที่ 769/2535,3619/2543 (แต่เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีใดคดีหนึ่งแล้ว ถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายย่อมระงับ ต้องจำหน่ายคดี (ฎีกาที่ 1132/2522 ดูในมาตรา 39 (4))
3
ฎีกาที่ 769/2535 ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน แม้จะมีผู้เสียหาย คนหนึ่งฟ้องผู้กระทำความผิดก่อนแล้วก็ตาม ผู้เสียหายคนอื่นก็มีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้อีก เพราะ ป.วิ.อ.ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก และแม้ ป.วิ.อ.มาตรา 15 จะให้นำ ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) มาใช้บังคับ ในคดีอาญา แต่มาตรา 173 วรรคสอง (1) ก็ห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้น มิให้ฟ้องจำเลยซ้ำในเรื่องเดียวกัน ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อน และการที่ ม.ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับคดีนี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาที่ ม. ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ดังกล่าว
4
ผู้เสียหายฟ้องคดีแล้วตายลง (มาตรา 29)
เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้ (มาตรา 29 วรรคสอง) ข้อสังเกต ตามมาตรา 29 เป็นกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเอง และน่าจะรวมถึงกรณีที่ผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการแล้วตายลงด้วย การเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 นี้ ผู้เสียหายต้องได้ยื่นฟ้องแล้วตายลงเท่านั้น ไม่รวมถึงการแจ้งความร้องทุกข์โดยยังไม่ได้ฟ้องคดีด้วย ดังนี้การที่ผู้เสียหายเพียงแต่แจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้วถึงแก่ความตาย บุคคลตามมาตรา 29 ไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนต่อไปได้ ฎีกาที่ 5162/2547
5
ผู้เสียหายที่ฟ้องคดีแล้วตายตามมาตรา 29 นี้ หมายถึงตัวผู้เสียหาย ที่แท้จริงเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทนด้วย ถ้าผู้จัดการแทนถึงแก่ ความตาย ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาของผู้จัดการแทนจะดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 ไม่ได้ ดูฎีกาที่ 8537/2553 , 1303/2551 , 5884/ /2521 , 578/2535 ฎีกาที่ 8537/2553 โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มิใช่ผู้เสียหาย ที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดี ต่างโจทก์ ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าว ฎีกาที่ 1303/2551 ,5884/2550 ,2331/2521 ,578/2535 ,1187/ /2551 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน
6
อย่างไรก็ตาม ถือว่าการฟ้องคดีและการดำเนินคดีของผู้จัดการแทนผู้เสียหายเป็นการกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อมีการสืบพยานหลักฐานไปแล้วศาลก็มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาจากพยานหลักฐาน ที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วได้ ดีฎีกาที่ 8537/2553 ฎีกาที่ 8537/2553 นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตาย เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. จึงเป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย และโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 3(2) และมาตรา 5(2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลงระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปเพราะความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นการกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วจึงชอบแล้ว
7
แต่ถ้าบุคคลที่ขอเข้ามาดำเนินคดีคนหลัง เป็นบุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงตามมาตรา 5 ด้วยผู้หนึ่ง ศาลฎีกาถือว่าเป็นการเข้ามาโดยอาศัยสิทธิตาม มาตรา 5 จึงอนุญาตให้เข้ามาดำเนินคดีต่อไปได้ ดู คร.ท.1592/2556 คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท.1592/2556 โจทก์ร่วมที่ 1 บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ท ผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมที่ 1 และเป็นมารดาของ ท.ผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดี ถือว่าผู้ร้องประสงค์ขอใช้สิทธิของตนที่มีอยู่เดิมตั้งแต่แรกในฐานะผู้มี อำนาจัดการแทน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) เพื่อสืบสิทธิดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วม ที่ 1 ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ร่วมที่ 1 แทนโจทก์ร่วมได้ กับให้รับคำแก้ฎีกาไว้พิจารณา
8
ข้อสังเกต ต้องถือว่า คร. ท
ข้อสังเกต ต้องถือว่า คร. ท.1592/2556 นี้กลับแนววินิจฉัยเดิมที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยใน คร. ท.132/2553 ที่ว่าผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ กรณีไม่ใช่เรื่องผู้เสียหายโดยตรงยื่นฟ้องแล้วตายลงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ.มาตรา 29 ที่จะมีการเข้ามาดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมได้ แม้ผู้ร้องเป็นภริยาของโจทก์ร่วมและอยู่ในฐานะผู้บุพการีของผู้เสียหายเช่นเดียวกันกับโจทก์ร่วมก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติใดของ ป.วิ.อ.ที่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะเข้ามาสืบสิทธิดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมได้ ทั้งไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 42, 43 มาใช้บังคับโดยอนุโลมให้ยกคำร้อง ตามมาตรา 29 นี้ เป็นกรณีผู้เสียหายตายหลังจากฟ้องคดีแล้ว ถ้าผู้เสียหายตายก่อนฟ้องคดี ไม่เข้ากรณีมาตรา 29 นี้ ทั้งสิทธิในการฟ้องคดีอาญาไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ดูฎีกาที่ 10096/2557,3395/2525,2219/2521
9
คำถามเนติบัณฑิต สมัยที่ 63 ปีการศึกษาที่ 2553
ข้อ 1 คำถาม พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนท้ายรถจักรยานยนต์ของนางตรี เป็นเหตุให้นางตรีผู้ขับถึงแก่ความตายและนายเอกซึ่งนั่งซ้อนท้ายได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300 นายเอกสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางตรียื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาทั้งสองดังกล่าว ศาลชั้นต้นอนุญาต ระหว่างสืบพยานโจทก์ นายเอกถึงแก่ความตาย นายจัตวาบุตรนายเอกกับนางตรียื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตาย ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้นายจัตวาเข้าดำเนินคดีต่างนายเอกผู้ตายได้หรือไม่
10
ธงคำตอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้” นั้น หมายความรวมถึงกรณีผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ยื่นฟ้องด้วยตนเอง แต่เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 5884/2550) ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้นายเอกได้รับอันตรายสาหัส นายเอกเป็นผู้เสียหายโดยตรง การที่นายเอกซึ่งเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการตายลง นายจัตวาผู้สืบสันดานของนายเอกจึงยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
11
ส่วนความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้นางตรีถึงแก่ความตายนั้น นายเอกเป็นเพียงผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงมิใช่กรณีที่ผู้เสียหายที่แท้จริงยื่นฟ้องแล้วตายลงตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้นายจัตวาจะเป็นผู้สืบสันดานของนายเอกกับนางตรีก็ตาม นายจัตวาก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างนายเอกซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 8537/2553) ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้นายจัตวาเข้าดำเนินคดีต่างนายเอกผู้ตายได้เฉพาะข้อหาประมาทเป็นเหตุให้นายเอกได้รับอันตรายสาหัส หมายเหตุ ปัจจุบันมีคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท.1592/2556 วินิจฉัยยกลับคำพิพากษาฎีกาที่ 8537/2553 แล้ว
12
คำถามเนติบัณฑิต สมัยที่ 67 ปีการศึกษาที่ 2557
คำถาม พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายเอก กระสุนปืนถูกนายเอกที่ศีรษะเป็นเหตุให้นายเอกถึงแก่ความตายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นายโทบิดาของนายเอกและนางตรีภริยาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสของนายเอกต่างยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ระหว่างสืบพยานโจทก์นายโทถึงแก่ความตาย นางจัตวาภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโทและเป็นมารดาของนายเอกยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างนายโทผู้ตาย ให้วินิจฉัยว่า ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นางตรีเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการชอบหรือไม่ และนางจัตวาจะเข้าดำเนินคดีต่างนายโทผู้ตายได้หรือไม่
13
ธงคำตอบ นางตรีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายเอกผู้ตาย ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30 คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้นางตรีเข้าร่วมเป็นโจทก์จึงไม่ชอบ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2681/2557)
14
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง” นั้น หมายความรวมถึง กรณีผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแล้วตายลงด้วย นางจัตวาเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโทและเป็นผู้บุพการีของนายเอกซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย จึงอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับนายโท ตามมาตรา 5 (2) เมื่อนายโทถึงแก่ความตาย การที่นางจัตวามายื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีนี้ย่อมถือได้ว่านางจัตวาประสงค์ขอใช้สิทธิของตนที่มีอยู่เดิมตั้งแต่แรกในฐานะผู้มีอำนาจจัดการแทนด้วยอีกคนหนึ่งเช่นเดียวกับนายโท เพื่อสืบสิทธิดำเนินคดีแทนนายโท ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้นางจัตวาเข้าดำเนินคดีในฐานะโจทก์ร่วมแทนนายโทได้ตามขอ (คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท.1592/2556)
15
ฎีกาที่ 10096/2557 ป. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2544 แต่เหตุรับของโจรโฉนดที่ดินเลขที่ และฐานใช้เอกสารปลอมเกิดขึ้นวันที่ 13 ธันวาคม 2539 ขณะที่ ป. ยังมีชีวิตอยู่ ป.จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 28 (2) สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว ส่วนโจทก์ผู้สืบสันดานจะมีสิทธิฟ้องแทน ป.ได้ ต่อเมื่อ ป.ได้ฟ้อง แล้วตายลงตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แต่ปรากฏว่าขณะ ป. มีชีวิต ป.ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย โฉนดที่ดินโฉนดเลขที่ ตกทอดแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 นั้น เป็นกรณีทรัพย์มรดกของ ป. ตกทอดแก่ทายาทเป็นสิทธิในทางแพ่งเท่านั้น แม้หากโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของ ป.ก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในทางอาญาดังกล่าว ผู้บุพการีและผู้สืบสันดานที่จะมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตาย ตามมาตรา 29 หมายถึง ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง ดังนี้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหายก็มิสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ถ้าบุตรยังเป็นผู้เยาว์ มารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็มีสิทธิดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ ฎีกาที่ 5119/2530
16
ข้อสังเกต ศาลฎีกาตีความคำว่า ผู้บุพการีและผู้สืบสันดาน ถือตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับผู้บุพการีและผู้สืบสันดานตามมาตรา 5(2) (ฎีกาที่ 1384/2516,2664/2527) สำหรับกรณีสามีหรือภริยาของผู้เสียหายตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง น่าจะหมายถึงสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (เทียบตามนัยฎีกาที่ 1056/2503 ในมาตรา 5(2)) ดังนั้น ตามฎีกานี้ ภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหาย (มารดาของผู้เยาว์) จึงไม่อาจเข้าดำเนินคดีต่างผู้เสียหาย ในฐานะภริยาของผู้เสียหายได้ แต่ที่เข้ามาในคดีได้ก็เนื่องจากเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหาย ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 ผู้ที่มีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 มีเฉพาะบุพการี ผู้สืบสันดาน สามีและภริยาเท่านั้น ดังนี้ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายแม้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตาย ฎีกาที่ 2242/2533 , คำสั่งคำร้องที่ ท.212/2557
17
เปรียบเทียบมาตรา 29 วรรคหนึ่งกับวรรคสอง
วรรคแรก เป็นเรื่องผู้เสียหายที่แท้จริงเป็นผู้ฟ้องคดีเองแล้วตายลง วรรคสอง เป็นเรื่องผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้แทนเฉพาะคดีเป็นผู้ยื่นฟ้องแทนผู้เสียหายไว้แล้วผู้เสียหายตายลง ผู้ฟ้องคดีแทนจะว่าคดีต่อไปก็ได้เฉพาะกรณีผู้แทนเฉพาะคดีจะดำเนินคดีต่อไปได้ตามมาตรา 29 วรรคสอง นี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายตามมาตรา 6 ไว้แล้วก่อนผู้เสียหายตาย ถ้าผู้เสียหายตายลงระหว่างไต่สวน คำร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ผู้นั้นจะดำเนินคดีต่อไปไม่ได้ ฎีกาที่ 3432/ /2532 ผู้แทนเฉพาะคดีที่ฟ้องแทนผู้เสียหาย จะมีอำนาจว่าคดีแทนผู้เสียหายที่ตายลงต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 29 นั้น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายรวมถึงกรณีผู้เสียหายได้ตายไปก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่ บทบัญญัติมาตรา 29 นำไปใช้กรณีขอให้ปล่อยเนื่องจากการคุมขังผิดกฎหมายตามมาตรา 90 ด้วย ฎีกาที่ 392/2522 และนำไปใช้กับกระบวนพิจารณาในชั้นร้องขอคืนของกลางได้ด้วย ดู คร.1595/2528
18
ผู้ที่ได้รับมรดกความอาจขอให้ศาลจำหน่ายคดีก็ได้ ดูฎีกาที่ 3619/2543
ผู้สืบสันดานของจำเลยจะขอรับมรดกความไม่ได้เป็นคดีอุทลุม ฎีกาที่ 1551/2494 (ป) ฎีกาที่ 1551/2494 (ป) บิดาฟ้องมารดาเป็นจำเลยหาว่าร้องเรียนเท็จแจ้งความเท็จ ระหว่างพิจารณา บิดาตาย บุตรจึงร้องขอรับมรดกความแทนบิดา ดังนี้ ก็นับได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพการีของตน ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1534 ( 1562 ใหม่ ) แม้ตามมาตรา 29 จะมิได้กำหนดเวลาที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้ ก็จะนำระยะเวลาการรับมรดกความในคดีแพ่งซึ่งมีกำหนดเวลา 1 ปี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42 มาใช้บังคับไม่ได้ ฎีกาที่ 1303/2551, คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 1595/2528 ผู้ที่ได้รับมรดกความอาจขอให้ศาลจำหน่ายคดีก็ได้ ดูฎีกาที่ 3619/2543
19
การดำเนินคดีกรณีที่ไม่มีผู้ดำเนินคดีต่างผู้ตาย (โจทก์)
กรณีผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลงนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับให้บุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 29 ต้องเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตาย ดังนั้น ถ้าไม่มีบุคคลใดเข้ามาดำเนินคดีแทนเลย กรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมก็ไม่ปัญหาอะไรเพราะพนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไปได้ แต่กรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเอง เมื่อโจทก์ (ผู้เสียหาย) ถึงแก่ความตาย ศาลจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไปได้หรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าความตายของโจทก์ (ผู้เสียหาย) เป็นเหตุขัดข้องในการดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่เป็นเหตุขัดข้อง ศาลก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยอาศัยพยานหลักฐานที่สืบไปแล้วได้ โดยเฉพาะกรณี ที่โจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ซึ่งไม่ต้องมีการพิจารณาสืบพยานหลักฐานกันอีก ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็พิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ ฎีกาที่ 1244/2504 , 814/2520 (ประชุมใหญ่) 217/2506 (ประชุมใหญ่) ทั้งนี้แม้จะเป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ก็ตาม คำสั่งคำร้องที่ ท.212/2557 ในคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ตายหลังจากศาลฎีกาส่งคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นอ่านแม้ไม่มีผู้รับมรดกความ คดีก็ไม่ระงับ ดูฎีกาที่ 217/2506 (ประชุมใหญ่)
20
คำพิพากษาฎีกาที่ 2437/2560 วินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมีมติให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,686,160 บาท ของโจทก์ร่วมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,868,160 บาท ซึ่งรวมเงิน 502,190 บาทที่เป็นเงินของเดือนมกราคม 2556 ด้วย จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) ส่วนการที่ประธานโจทก์ร่วมแจ้งต่อที่ประชุมว่าตรวจสอบพบจำเลยทั้งสองทุจริตยักยอกเงินนับจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2556 เป็นเงิน 3,686,160 บาท เป็นเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุที่ประธานแจ้งที่ประชุมไม่ครบถ้วนเท่านั้น
21
เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องดำเนินการ รวบรวมพยานหลักฐาน แม้พนักงานสอบสวนแจ้ง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดเป็นเดือน กุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2556 โดยไม่ได้แจ้งถึงเดือน มกราคม 2556 ด้วยก็เป็นความคลาดเคลื่อนของ พนักงานสอบสวนในการตรวจสอบและแจ้งข้อเท็จจริงแก่ ผู้ต้องหา แต่หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงเจตนาของโจทก์ ร่วมที่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐาน ยักยอกไม่ การดำเนินการของโจทก์ร่วมเป็นการร้อง ทุกข์ให้ดำเนินคดีจำเลยทั้งสองในข้อหายักยอกเงิน 502,190 บาท ประจำเดือนมกราคม 2556 โดยชอบ แล้วพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มี อำนาจฟ้องข้อหายักยอกเงิน 502,190 บาท
22
คำถาม ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279วรรคสาม รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ศาล อุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ได้หรือไม่ คดีอาญาแผ่นดิน หากผู้ร้องทุกข์มิใช่ผู้เสียหาย การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
23
พิพากษาฎีกาที่ 1890/2561 ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็ก อายุไม่เกินสิบห้าปีตาม ป. อ. มาตรา 279 วรรคแรก รวม 2 กระทง กระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน และยังคงลงโทษ จำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป. วิ. อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์ยังมีความสงสัยตามสมควร ขอให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย และกรณีมี เหตุอันควรปรานีแก่จำเลย ขอให้ศาลฎีกาลดโทษให้แก่ จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าว
24
ป. วิ. อ. มาตรา 121 ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำ การสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบก็เฉพาะแต่ คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้เท่านั้น เมื่อความฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป. อ. มาตรา 277 วรรคสาม และฐานกระทำอนาจารแก่ เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีตาม ป. อ. มาตรา 279 วรรคแรก เป็นคดีอาญาแผ่นดินมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือ ความผิดอันยอมความได้ พ. จะเป็นผู้เสียหายหรือจะร้อง ทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือไม่ พนักงานสอบสวนย่อมมี อำนาจสอบสวนจำเลยได้โดยชอบอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ว่า พ. จะเป็นผู้เสียหายหรือไม่ มีอำนาจร้องทุกข์หรือไม่ ก็ไม่ทำ ให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยในข้อ นี้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควร ได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป. วิ. อ. มาตรา 15
25
กรณีผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ (มาตรา 30)
โจทก์ร่วม (มาตรา 30,31) กรณีผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ (มาตรา 30) คดีอาญาที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาก็ได้ กรณีพนักงานอัยการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหาย (มาตรา 31) คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้
26
กรณีผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ (มาตรา 30)
ผู้เสียหายหรือผู้จัดการแทนผู้เสียหายมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ฎีกาที่ 3252/2545 ส่วนผู้ที่มิใช่ผู้เสียหาย แม้มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวก็ไม่มีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ฎีกาที่ /2558 ความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 (ฐานพาอาวุธปืน) ความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ ฎีกา 7395/2554,1141/2531,191/2531 ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและความผิดต่อ พ.ร.บ.ให้บำเหน็จฯ เป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย แม้ผู้จับมีสิทธิได้รับรางวัลนำจับก็ไม่ใช่ผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ (ฎีกาที่ 3797/2540 ดูในมาตรา 2(4))
27
ในกรณีเช่นนี้หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้ระบุชัดว่าให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในฐานความผิดใดก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมเฉพาะฐานความผิดที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เท่านั้น ฎีกาที 2110/2548, 7530/2555, 6744/2544, 9299/2539 ฎีกาที่ 2110/2548 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานลักทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ส่วนความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐานไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง แม้จำเลยจะย้ายศพ จ.ผู้ตายเพื่อปิดบังการตายก็ตาม โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ไม่ได้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาทำลายพยานหลักฐาน จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานหนักในข้อหาทำลายพยานหลักฐาน
28
ข้อสังเกต ความผิดข้อหาทำลายพยานหลักฐานเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง
บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมอุทธรณ์ต่อมาก็เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ ฎีกาที่ 3100/2547 , 2794/ /2526 จำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เพราะถูกผู้ตายหรือผู้เสียหายข่มเหงฯ ผู้ตายหรือผู้เสียหายไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้เสียหายไม่มีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา และบุคคลตามาตรา 5 ไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ฎีกาที่ 10908/2556, 12480/2556 (วินิจฉัยทำนองเดียวกัน) ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคแรก เป็นความผิดที่มิได้คำนึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ ดังนี้ แม้เด็กหญิงยินยอมก็มิได้หมายความว่าเด็กหญิงนั้นมีส่วนในการกระทำความผิดเด็กหญิงนั้นจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ ผู้แทนโดยชอบธรรมเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ฎีกาที่ 4147/2550
29
เมื่อผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้จัดการแทนก็ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ฎีกาที่ 537/2554 เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าผู้นั้นมีส่วนผิดอยู่ด้วย แม้ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่ามีส่วนผิดหรือไม่ ก็ไม่อาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ฎีกาที่ 7395/2554 แต่ถ้าเป็นเพียงความเห็นของพนักงานสอบสวน ยังไม่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหรือผู้จัดการแทนขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ ฎีกาที่ 2172/2554 เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะการสอบสวนไม่ชอบ คำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย ฎีกาที่ /2550 ถ้าศาลอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว แม้ต่อมาศาลจะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ตาม ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ร่วมที่สืบไปแล้วเสียไป ฎีกาที่ 186/2514,1281/2503
30
ข้อสังเกต เมื่อศาลอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ โจทก์ร่วมย่อมมีอำนาจนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ข้อเท็จจริงในคดีจึงได้ทั้งจากพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม แม้ภายหลังศาลจะยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลก็นำพยานหลักฐานทั้งหมดมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้ อย่างไรก็ตาม กรณีเช่นนี้ถือว่าโจทก์ร่วมมิใช่คู่ความ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา และถือว่าเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ ฎีกาที่ 2794/2516,203/2554 ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ถ้าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายระงับไปแล้ว ผู้เสียหายจะเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ และคดีของพนักงานอัยการเป็นโจทก์ก็ระงับไปด้วย ฎีกาที่ 816/2523 โจทก์ร่วมเคยขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และได้ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมไปแล้ว มีผลเท่ากับขอถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วม ดังนี้ต่อมาโจทก์ร่วมจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 ฎีกาที่ 7241/2544
31
ในคดีที่มีการรวมพิจารณาคดีหลายสำนวนเข้าด้วยกัน แต่ผู้เสียหายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมบางสำนวน ดังนี้ โจทก์ร่วมไม่ได้เป็นคู่ความในสำนวนที่มิได้ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา ฎีกาที่ /2558 ฎีกาที่ /2558 โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะสำนวนคดีแรกที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นจำเลย มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยด้วย แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนรวมกันก็หาก่อให้เกิดสิทธิในการเป็นโจทก์ร่วมในคดีที่จำเลยที่ 4 เป็นจำเลยด้วยไม่ อันมีผลเท่ากับโจทก์ร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 4 เป็นจำเลย โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในส่วนของจำเลยที่ 4 คดีในส่วนของจำเลยที่ 4 ต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมคดีในส่วนของจำเลยที่ 4 เป็นการไม่ชอบหากก่อให้เกิดสิทธิในการฎีกาแก่โจทก์ร่วมไม่
32
กำหนดเวลาขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม
ตามมาตรา 30 ผู้เสียหายมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ ฎีกาที่ 392/2512 โจทก์ร่วมต้องถือคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นหลัก เมื่อศาลอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว ต้องถือคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นหลัก ดังนี้ ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตกไปด้วย ฎีกาที่ 1583/2513,1974/2539 และฎีกาที่ 371/2531 โจทก์ร่วมจะใช้สิทธินอกเหนือไปจากสิทธิของอัยการไม่ได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องได้ ดูฎีกาที่ 3833/2525,1370/2522 อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์ร่วมจะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้ แต่มีสิทธิระบุพยานหรือขอสืบพยานเพิ่มเติมได้ ฎีกาที่ 568/2513,7572/2542
33
สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความ โจทก์ร่วมจะขอถือเอาฎีกาของพนักงานอัยการเป็นฎีกาของโจทก์ร่วมและขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกา ของพนักงานอัยการไม่ได้ ฎีกาที่ 3292/2532 สิทธิในการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกา เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคนเช่นกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฎีกาจะถือว่าขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่โจทก์ร่วมด้วยไม่ได้ ฎีกาที่ 8698/2554 พนักงานอัยการและโจทก์ร่วมต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน ดังนี้ หากพนักงานอัยการไม่มาในวันนัดพิจารณา แต่โจทก์ร่วมมา จะถือว่าโจทก์ขาดนัด และยกฟ้องตามมาตรา 166 ไม่ได้ (ฎีกาที่ 1519/2497)
34
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีที่ผู้เสียหายอื่นฟ้องไม่ได้
จะเห็นได้ว่าทั้งกรณีตามมาตรา 30 และ 31 บัญญัติให้ผู้เสียหายและพนักงานอัยการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับคดีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ฟ้องเท่านั้น แสดงว่ากฎหมายประสงค์ ให้มีการเข้าเป็นโจทก์ร่วมไว้เฉพาะใน 2 กรณีดังกล่าวเท่านั้น ผู้เสียหายจึงจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่ผู้เสียหายด้วยกันเป็นโจทก์ฟ้องไม่ได้ ฎีกาที่ 3320/2528 ในกรณีเช่นนี้ ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยอาศัยมาตรา 57(2) แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับก็ไม่ได้ ฎีกาที่ 3935/2529 เมื่อผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วผู้เสียหายย่อมมีฐานะ เป็นโจทก์ ผู้เสียหายจะนำ เรื่องเดียวกันฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ไม่ได้เป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 ฎีกาที่ 728/2494 , 298/2510 (ที่ประชุมใหญ่)
35
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมแม้ถือว่าเท่ากับโจทก์ร่วมฟ้องคดีเอง แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ทนายความจึงลงชื่อแทนโจทก์ร่วมในคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 158(7) ฎีกาที่ 629/2501 ผู้เยาว์จะฟ้องคดีเองหรือขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับอัยการไม่ได้ แม้จะได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก็ตาม แต่เมื่อผู้เยาว์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลจะสั่งไม่รับคำร้องเสียทีเดียวไม่ได้ ศาลชอบที่จะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 ประอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 ฎีกาที่ 563/2517 เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีแล้ว แม้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมก็มีสิทธิอุทธรณ์โดยลำพังได้ ฎีกาที่ 2381/2542
36
แต่ถ้าพนักงานอัยการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกา ถือว่าคดีระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 ฎีกาที่ 3380/ /2540 และฎีกาที่ 745/2534 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน พนักงานอัยการและโจทก์ร่วมต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน ดังนั้น แม้โจทก์ร่วมเป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่ พนักงานอัยการก็มีสิทธิสืบพยานต่อไปได้ ฎีกาที่ 1000/2512 (ประชุมใหญ่)
37
พนักงานอัยการเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย (มาตรา 31)
ในกรณีที่พนักงานอัยการจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายได้ มีหลักเกณฑ์ว่าเป็นคดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้ รวมพิจารณา (มาตรา 33) เป็นคดีอาญาเรื่องเดียวกัน ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการหรือโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษา ศาลนั้น ๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน
38
เมื่อรวมพิจารณาคดีแล้ว การฟังพยานหลักฐานจะต้องฟังทุกสำนวนรวมกัน ฎีกาที่ 133-134/2491 (ประชุมใหญ่)
ผู้เสียหายและพนักอัยการต่างฟ้องคดี แม้ไม่มีการรวมพิจารณาก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะโจทก์เป็นคนละคนกัน แต่กรณีเช่นนี้หากคดีใดตัดสินแล้วก็ถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องตามมาตรา 39(4) สิทธิในการฟ้องอีกคดีหนึ่งก็ระงับไปด้วย (ดูฎีกาที่ 1438/2527 และ ฯลฯ ในมาตรา 39(4)) ฎีกาที่ /2515 แม้ผู้เสียหายจะได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาไว้สำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจของพนักงานอัยการมิให้ฟ้องจำเลยนั้นในเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่อีกสำนวนหนึ่ง
39
ถอนฟ้อง (มาตรา 35, 36) คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว จะต้องยื่นก่อน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ถ้ายื่นภายหลังจำเลยให้การแล้ว ศาลจะต้องสอบถามจำเลยก่อนว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้าจำเลยคัดค้าน ศาลต้องยกคำร้องขอถอนฟ้อง คดีความผิดต่อส่วนตัวจะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้านให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้อง (มาตรา 35)
40
ผลของการถอนฟ้อง (มาตรา 36)
คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้วจะนำมาฟ้องอีกไม่ได้ ข้อยกเว้น (1) คดีอาญาทีซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งพนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องแล้วถอนฟ้องไป ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
41
(2) คดีอาญาซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งพนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องแล้วถอนฟ้องไปโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายจะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ (3) คดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้ฟ้อง ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการจะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ ในคดีความผิดต่อส่วนตัวจะถอนฟ้องหรือยอมความได้ก่อนคดีถึงที่สุดแต่ถ้าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินจะต้องขอถอนฟ้องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา
42
การขอถอนฟ้อง โดยปกติโจทก์เป็นผู้มีสิทธิขอถอนฟ้อง ถ้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ร่วมขอถอนคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้อง คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 892/2514, 7241/2544
43
แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย ผู้เสียหายจะขอถอนฟ้องไม่ได้ ศาลฎีกาตีความว่าคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเท่ากับเป็นการถอนคำร้องทุกข์นั้นเอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องก็ระงับเช่นกัน ฎีกาที่ 1241/2526
44
โจทก์มีสิทธิแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาต่อศาลได้และศาลชั้นต้นมีอำนาจรับคำแถลงดังกล่าวไว้พิจารณาได้ ดูฎีกาที่ 3196/2549 (ประชุมใหญ่) คดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ศาลยังไม่ประทับฟ้องโจทก์ขอถอนฟ้อง พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอถอนฎีกา คำสั่งศาลฎีกาที่ 6320/2531
45
กำหนดเวลาขอถอนฟ้อง โจทก์มีสิทธิถอนฟ้องได้จนถึงเวลาใดนั้น ต้องดูประเภทคดีอาญาเป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้ามิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ขอถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ส่วนคดีความผิดต่อส่วนตัวมีสิทธิถอนฟ้องหรือยอมความได้ก่อนคดีถึงที่สุด
46
ฎีกาที่ 4022/2558 ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป. อ
ฎีกาที่ 4022/2558 ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จึงไม่อาจถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป. วิ. อ. มาตรา 35 วรรคแรก สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 39(2)
47
ดังนั้น ในคดีที่ไม่ใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วไม่ได้ แต่อาจถือว่าคำร้องขอถอนฟ้องเป็นการขอถอนฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกานั่นเอง (กรณีที่โจทก์เป็นผู้อุทธรณ์หรือฎีกา) คำสั่งศาลฎีกาที่ 751/2537, 8832/2547
48
ในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวถ้าศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างแล้วให้ศาลชั้นต้น พิจารณาพิพากษาใหม่ คดีย่อมกลับมาสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้องได้ คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 278/2525
49
คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 278/2525 ก่อนอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟัง โจทก์ขอถอนฟ้องคดีที่มีทั้งข้อหาความผิดอาญาแผ่นดินและความผิดอันยอมความได้ ศาลฎีกาอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ในข้อหาความผิดอันยอมความได้ ส่วนข้อหาความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อศาลฎีกายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองศาล และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่อันเป็นผลทำให้คดีกลับไปสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ขอถอนฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้
50
ความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดยอมความได้) โจทก็ขอถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด ฎีกาที่ 1808 / 2533, 1060/2499, /2547 เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว คดีย่อมถึงที่สุด แต่ถ้าศาลชั้นต้นอ่านแก่โจทก์ จำเลยเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาได้ มีผลทำให้คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ขอถอนฟ้องได้ คำสั่งที่ 5013/2551
51
แม้ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการขอให้ลงโทษในความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ฟังว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ก็ขอถอนฟ้องก่อนคดีถึงที่สุดได้ ฎีกาที่ 6793/2557, 2257/2540
52
ฎีกาที่ 6793/2557 โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อแผ่นดิน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตาม ป. วิ. อ. มาตรา 192 วรรคสามและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไข กรณีย่อมต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งโจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ และเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป. วิ. อ. มาตรา 39 (2)
53
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป. อ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป. อ. มาตรา 362, 365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป. อ. มาตรา 365 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป. อ. มาตรา 362 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ดังนี้ โจทก์ถอนฟ้องหรือยอมความได้ ฎีกาที่ 2257/2540
54
คดีถึงที่สุด ถ้าไม่มีอุทธรณ์หรือฎีกา ถือว่าคดีถึงที่สุดนับแต่ระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาได้สิ้นสุดลง (ป. วิ. พ. มาตรา 147 ประกอบ ป. วิ. อ. มาตรา 15) แม้ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ก็อาจอุทธรณ์หรือฎีกาปัญหาข้อกฎหมายหรืออาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาเช่นกัน ไม่ใช่นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงถอนฟ้องในคดีความผิดต่อส่วนตัวในระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาได้ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งได้ ฎีกาที่ 568/2528 (ประชุมใหญ่)
55
ฎีกาที่ 568/2528 (ประชุมใหญ่) ในคดีอาญา แม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป. วิ. อ. มาตรา 221 ได้ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตาม ป. วิ. พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วย ป. วิ. อ. มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
56
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตาม ป. วิ. อ. มาตรา 35 วรรคสองแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
57
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป. วิ. อ. มาตรา 39 (2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนี้แม้จะล่วงเลยระยะเวลาฎีกาแล้วก็ตาม ก็ถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุด คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 35/2522, 973/2525, 85/2536
58
คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 418/2540 คดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะขอถอนฟ้องไม่ได้ ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 นั้น ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา ในระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งก็ถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน ส่วนจำเลยที่ 3 หลบหนี ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวและยังไม่ได้ให้การแก้คดี โจทก์จึงถอนฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
59
ข้อสังเกต การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเพราะจำเลยหลบหนีคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์จึงขอถอนฟ้องได้
คดีความผิดต่อส่วนตัวที่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี พอแปลความได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอถอนฟ้อง ศาลสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ฎีกาที่ 142/2534
60
กรณีที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง (ความผิดต่อส่วนตัว) ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องก็ระงับลงตามมาตรา 39 (2) เมื่อศาลสูงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ย่อมมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปในตัว ศาลสูงจึงไม่ต้องพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างอีก ฎีกาที่ 438/2505 ( ประชุมใหญ่), คำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ 1264/2523, คำสั่งศาลฎีกาที่ /2547 ข้างต้น
61
การพิจารณาคำร้องขอถอนฟ้อง
การอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วและคัดค้านการถอนฟ้องดังนี้ ศาลต้องยกคำร้องขอถอนฟ้อง จะใช้ดุลพินิจให้ถอนฟ้องไม่ได้ ฎีกาที่ 698 / 2481
62
ผลของการถอนฟ้อง (มาตรา 36)
คดีอาญาที่ถอนฟ้องไปจากศาลแล้วจะนำมาฟ้องอีกไม่ได้ แม้ยังไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม ฎีกาที่ 2927/2529 การถอนฟ้องอันมีผลทำให้ฟ้องใหม่ไม่ได้ตามมาตรา 36 นี้ หมายถึงการถอนฟ้องโดยเด็ดขาด การขอถอนฟ้องเพื่อร่วมเป็นโจทก์กับสำนวนของพนักงานอัยการ หาใช่การถอนฟ้องเด็ดขาดไม่ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับไปตามมาตรา 39 (2) พนักงานอัยการยังมีอำนาจฟ้องไม่ต้องห้ามตามมาตรา 36 ฎีกาที่ 1245/2515, 707/2516
63
ข้อสังเกต ทั้งสองฎีกาข้างต้น โจทก์ขอถอนฟ้องโดยระบุในคำร้องว่าขอถอนฟ้องเพื่อขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ กรณีจึงเห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่ายังประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้คำร้องจะไม่ระบุชัดแจ้งเช่นนั้น แต่ถ้าข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก่อนถอนฟ้อง หรือในวันเดียวกับที่ถอนฟ้องถือว่ามิใช่การถอนฟ้องโดยเด็ดขาด ฎีกาที่ 9454/2553, 2683/2522
64
การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการภายหลังถอนฟ้องแล้วก็ต้องดำเนินการในเวลาอันควรด้วย เรื่องนี้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการวันเดียวกับที่ขอถอนฟ้อง แสดงว่าผู้เสียหายถอนฟ้องโดยมีเจตนาเพื่อเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ขณะถอนฟ้องยังติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่ แต่ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นว่าผู้เสียหายเพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการภายหลังถอนฟ้องแล้ว เป็นเวลากว่า 10 เดือน แสดงว่าผู้เสียหายมีเจตนาขอถอนฟ้องโดยเด็ดขาด ฎีกาที่ 1765/2539
65
ในกรณีฟ้องผิดศาลแล้วขอถอนฟ้องเพื่อไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของมาตรา 36 ฟ้องใหม่ได้ฎีกาที่ 203/2531 โจทก์ขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าขอถอนฟ้องเป็นการชั่วคราวเพื่อสอบถามไปยังกรมกองทหารว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ถือว่าเป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามมาตรา 36 แล้ว ฎีกาที่ 737/2490
66
หรือถอนฟ้องเพื่อรอฟังผลคดีแพ่ง เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดแล้ว ฟ้องใหม่ไม่ได้ ฎีกาที่ 440/2497
หรือขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าบกพร่อง ขอถอนฟ้องเพื่อจะนำไปดำเนินคดีใหม่ ก็ถือว่าเป็นการถอนฟ้องตามมาตรา 36 แล้ว โจทก์นำมาฟ้องใหม่ไม่ได้ ฎีกาที่ 924/2530
67
การที่ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ถือเสมือนว่าโจทก์ร่วมฟ้องคดีเอง ดังนี้การที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมจึงมีผลเท่ากับเป็นการขอถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมนั่นเอง โจทก์ร่วมจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนั้นในภายหลังอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป. วิ. อ. มาตรา 36 ฎีกาที่ 7241/2544
68
ในคดีที่มีผู้เสียหายหลายคน เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งยื่นฟ้องไว้แล้วขอถอนฟ้องไป ย่อมตัดสิทธิเฉพาะผู้เสียหายคนนั้นไม่ให้ฟ้องใหม่ ผู้เสียหายคนอื่นยังมีสิทธิฟ้องได้อีก ไม่ถูกตัดสิทธิตามมาตรา 36 ฎีกาที่ /2533, 7254/2551 แต่กรณีผู้เสียหายคนเดียวมีผู้จัดการแทนตามมาตรา 5 หลายคน ผู้จัดการแทนผู้เสียหายบางคนฟ้องและถอนฟ้องไปแล้วผู้จัดการแทนผู้เสียหายคนอื่น ๆ จะมาฟ้องจำเลยอีกไม่ได้ ฎีกาที่ 1790/2492
69
คดีที่ถอนฟ้องไปแล้วจะนำมาฟ้องใหม่ไม่ได้ หมายถึงฟ้องในเรื่องเดียวกัน แม้คดีที่ฟ้องใหม่จะบรรยายฟ้องต่างกับคดีแรกก็ต้องห้าม ฎีกาที่ 3537/2527 มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ ฎีกาที่ 14823/2558
70
สรุป การยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ แบ่ง ออกเป็น 3 กรณี
กรณีแรก : ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ พนักงานอัยการตาม ป. วิ. อ. มาตรา 30
71
มีหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ ประการที่ 1 คดีที่พนักงานอัยการฟ้องนั้น ต้องเป็นคดีอาญาจะเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหรือความผิดต่อส่วนตัวก็ตาม, ประการที่ 2 ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องขอร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี, ประการที่ 3 ศาลมีคำสั่งอนุญาต และจากแนวคำพิพากษาฎีกาสำคัญๆ สรุปได้ว่า คดีที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย จะนำหลักการตาม ป.วิ. อ. มาตรา 30 มาใช้ไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 73195/ 2554 ,คำพิพากษาฎีกาที่ 661/2554), หากคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนั้น มีหลายข้อหา กรณีเช่นนี้ศาลต้องสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะข้อหาที่บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 1141 / 2531), หากคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนั้นมีหลายข้อหา
72
กรณีเช่นนี้ศาลต้องสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะที่เป็นผู้เสียหายเท่านั้น แต่ถ้าคำร้องไม่ระบุมาด้วยว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานใด เช่นนี้ ก็ต้องถือว่าศาลอนุญาตเฉพาะฐานความผิดที่ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 7530 / 2555), ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 3959 / 2529), ค่าร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้นไม่ใช่คำฟ้องทนายความของผู้เสียหายมีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องดังกล่าวได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 629 /2501), โดยหลักหากผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย (ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย) ก็จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการไม่ได้
73
แต่สำหรับความผิดตาม ป. อ
แต่สำหรับความผิดตาม ป. อ. มาตรา ๒๗๗ วรรคแรก แม้เด็กหญิงยินยอม ก็มิใช่กรณีเด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดตาม ป. อ. มาตรา 277 วรรคแรกผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป. วิ. อ. มาตรา 5 (1) ย่อมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป. วิ. อ. มาตรา 3 (2) ประกอบมาตรา 30 ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 4147 / 2550) ในกรณีที่ผู้เสียหายนั้นมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เช่นนี้ ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายก็ไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป. วิ. อ. มาตรา 30 ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 537 / 2554), หากการสอบสวนไม่ชอบและเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง เช่นนี้ คำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมย่อมตกไปด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ / 2550), สำหรับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ คือ ในระยะใด ระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้น
74
ดังนั้น ผู้เสียหายจึงยื่นคำร้องขอดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิ อุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 392/2512), ข้อ สำคัญ คือ จะต้องถือคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นหลัก ดังนั้น ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องของ พนักงานอัยการ (คำพิพากษาฎีกาที่ 3833/2525) หรือจะ ขอถอนฟ้องของพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ไม่ได้ อย่างไร ก็ดี ผู้เสียหายที่ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน อัยการมีสิทธิระบุพยานหรือขอสืบพยานเพิ่มเติมได้ (ค่า พิพากษาฎีกาที่ 568 / 2553) และคำพิพากษาฎีกา 7572/2542)
75
แต่ผู้เยาว์จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน อัยการโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที 563/2517) ในความผิดฐาน ลักทรัพย์ตาม ป. อ. มาตรา 334 ผู้เสียหายไม่ จำเป็นต้องเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่ เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้จึงยื่น คำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ (คำ พิพากษาฎีกาที่ 5855/2550) เป็นต้น
76
คำพิพากษาฎีกาที่ 461 / 2559 วินิจฉัยว่าแม้ข้อความที่จำเลยแจ้งจะเป็นความเท็จเพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่ ภ. และจำเลยนำรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานที่เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จไปใช้อ้างเพื่อขอให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อพันตำรวจโท บ. เจ้าพนักงาน ธ . และ พ. เจ้าพนักงานที่ดิน มิได้กล่าวพาดพิงไปถึง ภ. หรือนำรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานที่เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จไปใช้อ้างต่อ ภ. อันจะถือว่า ภ. ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย อีกทั้งจำเลยมอบให้มารดานำโฉนดที่ดินทั้งสองฉบับไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับ ภ. เท่านั้น ซึ่ง ภ. ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอากับโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ตามกฎหมาย ภ.
77
จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจด ข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และใช้หรืออ้าง เอกสารราชการซึ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตาม ป. วิ. อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 30 การที่ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ภ. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงเป็นการไม่ ชอบ เมื่อ ภ. มิใช่คู่ความในคดีจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ภ. จึงเป็นการไม่ ชอบเช่นกัน
78
กรณีที่สอง : พนักงานอัยการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ ผู้เสียหายตาม ป. วิ. ย
กรณีที่สอง : พนักงานอัยการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ ผู้เสียหายตาม ป. วิ. ย. มาตรา 31 โดยหลักตาม ป. วิ. อ. มาตรา 31 นี้แบ่งหลักเกณฑ์ ออกเป็น 3 ประการด้วยกันดังนี้ ประการที่ 1 คดีอาญา นั้นต้องมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องไว้ แล้ว, ประการที่ 2 พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้, ประการ ที่ 3 โดยแบ่งได้เป็น 4 เกณฑ์ย่อย คือ (1) พนักงาน อัยการต้องถือฟ้องของผู้เสียหายเป็นหลัก (2) พนักงาน อัยการจะไปแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของผู้เสียหายที่ฟ้องไว้ก่อน ไม่ได้ (3) ถ้าฟ้องของผู้เสียหายบกพร่องพนักงานอัยการก็ ต้องรับผลแห่งความบกพร่องนั้นด้วย (4) เมื่อพนักงาน อัยการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายแล้ว พนักงาน อัยการยอมหมดสิทธิฟ้องคดีนั้นอีก
79
สำหรับเรื่องระยะเวลายื่นคำขอร่วมเป็นโจทก์ของ พนักงานอัยการตาม ป. วิ. อ
สำหรับเรื่องระยะเวลายื่นคำขอร่วมเป็นโจทก์ของ พนักงานอัยการตาม ป. วิ. อ. มาตรา 31 นั้นก็จะ แตกต่างกับกรณีของผู้เสียหายตาม ป. วิ. อ. มาตรา 30 เพราะกฎหมายให้ความสำคัญของคดีพนักงานอัยการ มากกว่า ดังนั้นพนักงานอัยการจึงขอเข้าร่วมกับผู้เสียหาย ในระยะใดก็ได้ ก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด ตรงคำว่า“ ก่อนคดี เสร็จเด็ดขาด” นี้หมายความว่า คดีอาญาเรื่องนั้น ต้องไม่มี การอุทธรณ์หรือไม่มีการฎีกาอีกต่อไป เนื่องจากคดีอาญา นั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากจะอุทธรณ์ก็ต้อง อุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านตาม ป. วิ. อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่งมิฉะนั้นย่อมเป็นคดีเสร็จเด็ดขาด ส่วนศาลฎีกานั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว คู่ความไม่ พอใจก็ฎีกาได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ถ้าไม่ ฎีกาภายในหนึ่งเดือนก็จะถือว่าคดีเสร็จเด็ดขาด ดังนั้น ถ้า ยังมีการอุทธรณ์ หรือฎีกา คดีก็ยังไม่เสร็จเด็ดขาด
80
กรณีที่สาม: อำนาจของพนักงานอัยการ เมื่อผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 32 หลัก คือ เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะทำให้คดีของ พนักงานอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงานอัยการมีอำนาจร้องต่อศาล ให้สั่งให้ผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้น ๆ ได้ เหตุผล ทั้งนี้ เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายเล็งเห็นว่า กรณีอาจเป็นไปได้ว่าการขอเข้าร่วมของผู้เสียหายอาจเข้ามา เพื่อก่อกวนพยานในคดีของพนักงานอัยการได้ หรืออาจนำ พยานไม่ดีเข้ามาสืบซึ่งอาจเสียหายแก่คดีของพนักงานอัยการ ได้ ข้อสังเกต กรณีตาม ป. วิ. อ. มาตรา 32 นี้ เป็น บทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานอัยการเท่านั้นที่จะมีสิทธิร้อง ขอต่อศาล ดังนั้น ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตาม ป. วิ. อ. มาตรา 32 นี้ ไม่ได้
81
กรณีที่ผู้เสียหายและพนักงานอัยการต่างได้ยื่นฟ้องในศาล ชั้นต้นเดียวกัน
กรณีตาม ป. วิ. อ. มาตรา ๓๓ นี้ มีข้อพิจารณาสำคัญ คือ เมื่อมีการรวมพิจารณาคดีแล้ว การฟังพยานหลักฐานก็ ต้องรวมฟังเป็นคดีเดียวกัน จะแยกฟังของโจทก์คนหนึ่งฟังได้ แต่ของอีกคนหนึ่งฟังไม่ได้ เช่นนี้ไม่ถูกต้อง (คำพิพากษาฎีกา ที่ 133 – 134/2491ประชุมใหญ่) ข้อสังเกต คือ แม้จะไม่มี การรวมพิจารณาคดีก็ตาม กรณีเช่นนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องฟ้อง ซ้อนเพราะว่าโจทก์เป็นคนละคนกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ – 1649/2515) ข้อสำคัญ คือ การรวมพิจารณา พิพากษาตาม ป. วิ. อ. มาตรา33 เป็นไปเพื่อความสะดวกแก่ การปฏิบัติงานของศาลเท่านั้น มิได้ทำให้คู่ความในคดีเดิม เกิดสิทธิใดเพิ่มเติมขึ้นและมิได้ทำให้คู่ความในคดีเดิมเป็น คู่ความในความผิดข้อหาอื่นนอกจากที่ตนได้ยื่นฟ้อง
82
ส่วนกรณี ป. วิ. อ. มาตรา 34 เป็นหลักที่ว่า “ คำสั่ง ไม่ฟ้องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่” ซึ่ง หมายความว่า แม้คดีอาญาเรื่องนั้นพนักงานอัยการจะสั่ง ไม่ฟ้องแล้วก็ตาม ผู้เสียหายก็ฟ้องคดีด้วยตนเองได้
83
สรุป การถอนฟ้องคดีอาญา
การถอนฟ้องคดีอาญาตาม ป. วิ. อ. มาตรา 35, มาตรา 36 หลัก คือ คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องจากศาลแล้ว จะ นำมาฟ้องอีกไม่ได้ เว้นแต่ ข้อยกเว้น คือ (1) พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาซึ่ง ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้ว ได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป ไม่ ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ (2) พนักงาน อัยการถอนคดีความผิดต่อส่วนตัวไป โดยได้รับความ ยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิ ผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ (3) ผู้เสียหายฟ้อง คดีอาญาไว้แล้วถอนฟ้อง การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิพนักงาน อัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่คดีนั้นเป็นความผิด ต่อส่วนตัว
84
ตัวอย่าง ในคดีที่มีผู้เสียหายหลายคน การที่ ผู้เสียหายคนใดคนหนึ่งถอนฟ้องออกไป ย่อมไม่ตัดสิทธิ ผู้เสียหายรายอื่นในการฟ้องคดีต่อจำเลย (คำพิพากษา ฎีกาที่ 5934 – 5935/2533, คำพิพากษาฎีกาที่ 7254/2551)
85
คำถาม การถอนฟ้องคดีอาญา โจทก์จะต้องทำคำ ร้องขอถอนฟ้องเป็นหนังสือมายื่นต่อศาลหรือไม่
การขอถอนฟ้องอันสืบเนื่องมาจากข้อตกลงหรือการท้า กันในคดีแพ่งจะถือเป็นการท้ากันในคดีอาญาหรือไม่ คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
86
คำพิพากษาฎีกาที่ 2654/2560 ในวันนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยวันที่ 30 มีนาคม 2558 โจทก์และจำเลยแถลงร่วมกันว่า โจทก์กับจำเลยตกลงท้ากันในคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ ม. 758/2556 หมายเลขแดงที่ 211/2557 ของศาลชั้นต้น เนื่องจากผลการท้าอาจทำให้โจทก์ถอนฟ้องคดีนี้ จึงขอเลื่อนคดีเพื่อรอฟังผลการท้าดังกล่าวใน วันที่ 20 เมษายน 2558 และตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ลงวันที่ 20 เมษายน มีว่า "เนื่องจากคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ม.758/2556 หมายเลขแดงที่ 211/2557 ของศาลนี้ ศาลวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวแพ้ตามคำท้าข้อที่ 3 เนื่องจากมิได้นำเงิน 175,000 บาท มาวางศาลภายใน 12 นาฬิกา ของวันที่ 3 เมษายน 2558 ตามที่ตกลงกัน
87
ซึ่งโจทก์คือจำเลยในคดีดังกล่าวแถลงว่า หากเป็นฝ่าย แพ้จะยินยอมให้บังคับตามข้อตกลงในข้อ 1 อันมีผล เท่ากับโจทก์แสดงเจตนาถอนฟ้องคดีนี้ตามคำท้าข้อ 1 ในรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 30 มีนาคม ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 211/2557 และเมื่อถือ ว่าโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยไม่ค้าน จึงให้จำหน่ายคดีนี้ ออกจากสารบบความ " โดยศาลชั้นต้นถ่ายสำเนารายงาน กระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 30 มีนาคม และฉบับลงวันที่เดียวกันของคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 211/2557 ของศาลชั้นต้นแนบไว้ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ โต้แย้งคัดค้านเท่ากับยอมรับว่ามีข้อตกลงกันและได้แสดง เจตนาที่จะถอนฟ้องคดีนี้ตามเงื่อนไขในคดีแพ่งดังกล่าว
88
ปัญหาว่าโจทก์จะต้องทำคำร้องขอถอนฟ้องเป็น หนังสือมายื่นต่อศาลหรือไม่เห็นว่า การถอนฟ้อง คดีอาญาหาจำเป็นต้องทำคำร้องขอเป็นหนังสือมายื่นต่อ ศาลแต่เพียง
89
วิธีเดียวไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า “ คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด…..” เท่ากับให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้ถอนฟ้องด้วยวิธีใดแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร คดีนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก็ได้แสดงเจตนาขอถอนฟ้องไว้เป็นหนังสือแล้ว โดยไม่ได้สั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเข้ามาอีก และมีการบันทึกไว้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงถือเป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 35 วรรคหนึ่ง แล้ว ส่วนปัญหาว่าคำท้าในคดีแพ่งดังกล่าวชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138
90
หรือโจทก์กับจำเลยได้ปฏิบัติตามคำท้านี้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ชอบจะว่ากันในคดีแพ่งดังกล่าว ทั้งเป็นข้อที่ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาล อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย นอกจากนี้การขอถอนฟ้องคดีนี้แม้ จะเป็นผลประการหนึ่งอันสืบเนื่องมาจากข้อตกลงหรือการ ท้ากันในคดีแพ่งดังกล่าวก็ตาม ก็หาได้ถือว่าเป็นการท้ากัน ในคดีอาญานี้ไม่ ดังนั้น เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องก่อนมีคำ พิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยไม่คัดค้านการถอนฟ้อง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง กับจำหน่ายคดี ออกจากสารบบความ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
91
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.