ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสิริกิติ์ รักไทย ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ฉัตรชัย นิติภักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
หลักกฎหมายว่าด้วยศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง ฉัตรชัย นิติภักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
3
หลักนิติรัฐ “รัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย” - หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย - หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย 1 ) ฝ่ายปกครองจะกระทำการอันกระทบกระเทือน สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ต่อเมื่อมีกฎหมาย ให้อำนาจไว้ 2 ) ต้องกระทำการภายในกรอบของกฎหมาย
4
หลักนิติรัฐ (ต่อ) - องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการมีหน้าที่โดยอิสระจาก องค์กรของรัฐฝ่ายอื่นในการควบคุมมิให้การกระทำของ ฝ่ายปกครองขัดต่อกฎหมายและมิให้กฎหมายขัดต่อ รัฐธรรมนูญ
5
ระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่
ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด คดีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีอื่นๆ ศาลปกครองเป็นส่วนหนึ่งของศาล ยุติธรรม อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา ระบบศาลเดี่ยว
6
ระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ (ต่อ)
ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด เฉพาะคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม ฝรั่งเศส, เยอรมัน ระบบศาลคู่
7
ระบบศาลของประเทศไทย ระบบศาลของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นระบบ “ศาลคู่”
มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษา ข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษา คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีที่ไม่อยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอื่น ศาลยุติธรรม
8
ระบบศาลของประเทศไทย (ต่อ)
มีอำนาจพิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ศาลปกครอง “คดีอาญาทหาร” ศาลทหาร
9
ความจำเป็นในการจัดตั้งศาลปกครอง
1. คดีปกครองมีลักษณะแตกต่างจากคดีแพ่ง 2. กฎหมายปกครองมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกฎหมายแพ่ง 3. การดำเนินคดีปกครองแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่ง 4. ตุลาการศาลปกครองควรมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคดีปกครอง
10
ความเป็นมาของการจัดตั้งศาลปกครอง
ช่วงที่ 1 พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตดคือที่ปฤกษา ราชการแผ่นดิน จุลศักราช 1236 “เคาน์ซิลออฟสเตด (Council of State)” - เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในการบริหาร ราชการแผ่นดินและในการร่างกฎหมาย
11
ความเป็นมาของการจัดตั้งศาลปกครอง (ต่อ)
- เป็นผู้พิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย (การวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง)
12
ความเป็นมาของการจัดตั้งศาลปกครอง (ต่อ)
ช่วงที่ 2 พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476 “คณะกรรมการกฤษฎีกา” -จัดทำร่างกฎหมายและให้คำปรึกษาทางกฎหมาย - พิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่จะได้มีกฎหมาย ให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการกฤษฎีกา
13
ความเป็นมาของการจัดตั้งศาลปกครอง (ต่อ)
พระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. 2492 “คณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์” ช่วงที่ 3 พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 “คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์” - องค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง - คำวินิจฉัยไม่มีผลบังคับ ต้องเสนอนายกรัฐมนตรี สั่งการในขั้นสุดท้าย
14
ความเป็นมาของการจัดตั้งศาลปกครอง (ต่อ)
ช่วงที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (มาตรา 276 วรรคสอง) ให้มี “ศาลปกครองสูงสุด” และ “ศาลปกครองชั้นต้น” และจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ก็ได้
15
ความเป็นมาของการจัดตั้งศาลปกครอง (ต่อ)
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ (มาตรา 7) “ศาลปกครองสูงสุด” และ “ศาลปกครองชั้นต้น” ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่ (1) ศาลปกครองกลาง และ (2) ศาลปกครองในภูมิภาค
16
โครงสร้างของศาลปกครอง
ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองสงขลา ศาลปกครองนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองระยอง ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ศาลปกครองอุดรธานี ศาลปกครองอุบลราชธานี ศาลปกครองเพชรบุรี ศาลปกครองนครสวรรค์ ศาลปกครองภูเก็ต (รอเปิดทำการ)
17
ศาลปกครองสูงสุด ตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลปกครองสูงสุด
รองประธานศาลปกครองสูงสุด ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ตุลาการศาลปกครองสูงสุด องค์คณะในศาลปกครองสูงสุด ต้องมีตุลาการศาลปกครองสูงสุดอย่างน้อย 5 คน
18
ศาลปกครองชั้นต้น ตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น องค์คณะในศาลปกครองชั้นต้น ต้องมีตุลาการศาลปกครองชั้นต้นอย่างน้อย 3 คน
19
สำนักงานศาลปกครอง เป็นหน่วยงานธุรการของศาลปกครอง
เป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครองสูงสุด อำนาจหน้าของสำนักงานศาลปกครอง (1) ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองตามคำสั่งของศาลปกครอง (2) รับผิดชอบในงานธุรการของศาลปกครอง (3) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77
20
บทบาทและภารกิจของศาลปกครอง
ศาลปกครองเป็นสถาบันหลักของประเทศที่ใช้อำนาจตุลาการอำนวยความยุติธรรมเกี่ยวกับข้อพิพาททางปกครอง โดยมุ่งให้เกิดความสมดุลในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการดำเนินงานของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ
21
บทบาทและภารกิจของศาลปกครอง (ต่อ)
ศาลปกครองมีภารกิจในการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม รวดเร็ว และมีเหตุผล รวมทั้งเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนวางหลักกฎหมายเพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติราชการทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และส่งเสริมการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครองของไทยให้มีความทัดเทียมกับนานาประเทศ
22
หน่วยงานทางปกครอง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ ตั้งขึ้นโดย พระราชกฤษฎีกา หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์การมหาชน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานอื่น ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจ ทางปกครอง ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง
23
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือ ผู้ที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงาน ทางปกครอง คณะกรรมการ วินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมาย ให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
24
กฎ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ
ข้อบังคับ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมาย ให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
25
คำสั่งทางปกครอง กระทำโดยเจ้าหน้าที่
เป็นการใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายฝ่ายเดียว สร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ผลเฉพาะกรณี มีผลโดยตรงออกไปภายนอกฝ่ายปกครอง
26
คำสั่งทางปกครอง (ต่อ)
คำสั่งทางปกครองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2542 การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (2) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์
27
คำสั่งทางปกครอง (ต่อ)
(3) การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการ ดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน (4) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา
28
สัญญาทางปกครอง คู่สัญญา ลักษณะของสัญญา สัญญาสัมปทาน
อย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือ บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนรัฐ ลักษณะของสัญญา สัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค สัญญาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
29
สัญญาทางปกครอง (ต่อ) สัญญาทางปกครองตามมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 6/2544 สัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการ แทนรัฐตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการหรือ เข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง สัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึง เอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้อำนาจทางปกครองหรือ การดำเนินกิจการทางปกครอง (บริการสาธารณะ) บรรลุผล
30
สัญญาทางปกครอง (ต่อ) สัญญาทางปกครองที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจ หน้าที่ระหว่างศาลพัฒนาหลักเกณฑ์ขึ้น สัญญาที่เป็นการจัดหาหรือจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ที่สำคัญหรือจำเป็นเพื่อใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะ ให้บรรลุผล
31
คดีปกครอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช มาตรา 276 วรรคหนึ่ง -คดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ใน บังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน -คดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน
32
คดีปกครอง (ต่อ) ลักษณะของคดีพิพาท -คดีพิพาทเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเว้น การกระทําที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติ ตามกฎหมาย -คดีพิพาทเนื่องจากการกระทําหรือการละเว้นการกระทํา ที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิดชอบในการ ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
33
คดีปกครอง (ต่อ) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช มาตรา 223 วรรคหนึ่ง -คดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตาม รัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน -คดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตาม รัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน
34
คดีปกครอง (ต่อ) ลักษณะของคดีพิพาท -คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง ตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับเอกชน -คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลปกครอง
35
คดีปกครอง (ต่อ) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ (มาตรา 9) ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด 1
36
คดีปกครอง (ต่อ) (1) กระทำโดยไม่มีอำนาจ (2) กระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่
เหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ได้แก่ (1) กระทำโดยไม่มีอำนาจ (2) กระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ (3) กระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (4) กระทำโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็น สาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น (5) กระทำโดยไม่สุจริต
37
คดีปกครอง (ต่อ) (7) การกระทำที่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
(6) การกระทำที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม (7) การกระทำที่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น (8) การกระทำที่สร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร (9) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
38
คดีปกครอง (ต่อ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร 2 คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการ ใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร 3
39
คดีปกครอง (ต่อ) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
4 คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ 5
40
คดีปกครอง (ต่อ) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง 6
41
คดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด (มาตรา 11)
คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด 1 คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี 2 คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด 3 คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น 4
42
คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
(มาตรา 9 วรรคสอง) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น
43
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง สูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
44
ลักษณะพิเศษของวิธีพิจารณาคดีปกครอง
เป็นวิธีพิจารณาที่ใช้ระบบไต่สวน (มาตรา 55 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ , ข้อ 5 และข้อ 50 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543)
45
“โดยที่ระบบการพิจารณาและพิพากษาคดีปกครองจำเป็นต้องมีกระบวนการเป็นพิเศษ ต่างจากคดีทั่วๆ ไป เพราะผลแห่งคำพิพากษาอาจกระทบถึงการบริหารราชการแผ่นดินหรือต้องจ่ายเงินภาษีอากรของส่วนรวม เป็นค่าชดเชยหรือค่าเสียหายแก่เอกชน ขณะเดียวกันเอกชนจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบ ที่ไม่อาจทราบข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐได้ ในการพิจารณาจึงจำเป็นต้องใช้ระบบไต่สวน เพื่อหาข้อเท็จจริงที่แท้จริง”
46
ลักษณะพิเศษของวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ต่อ)
เป็นวิธีพิจารณาที่ใช้เอกสารเป็นหลัก (มาตรา 55 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ และข้อ 10 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543) เป็นวิธีพิจารณาที่เรียบง่าย (มาตรา 45 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542) 1) จะดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงด้วยตนเองหรือมอบ อำนาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่นฟ้องคดีหรือดำเนินการแทนก็ได้
47
ลักษณะพิเศษของวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ต่อ)
2) คำฟ้องใช้ถ้อยคำสุภาพและมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง (1) – (5) 3) ยื่นฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองหรือ ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ 4) ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่เป็นการฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน อันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือสัญญาทางปกครอง
48
ลักษณะพิเศษของวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ต่อ)
เป็นวิธีพิจารณาที่กำหนดให้มีการถ่วงดุลอำนาจ พิจารณาพิพากษาของตุลาการ ตุลาการเจ้าของสำนวน - องค์คณะ - ตุลาการผู้แถลงคดี
49
เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง
เรื่องที่ฟ้อง ต้องเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดี ต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ระยะเวลา การฟ้องคดี ต้องฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 49 หรือมาตรา 51 หรือตามที่มีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (90 วัน / 1ปี / 5ปี / ฯลฯ) คำฟ้อง ต้องใช้ถ้อยคำสุภาพ และมีรายการสมบูรณ์ครบถ้วนตาม มาตรา 45 (1) – (5)
50
เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง (ต่อ)
การเยียวยาแก้ไขเบื้องต้น ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการสำหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายตามที่กฎหมายกำหนด (หากมี) คำบังคับ ต้องเป็นกรณีที่ศาลสามารถกำหนดคำบังคับให้ได้ เงื่อนไขอื่นๆ ความสามารถของผู้ฟ้องคดี การชำระค่าธรรมเนียมศาล การฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
51
ขั้นตอนการดำเนินคดีปกครอง
1.ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ของศาลหรือส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน 2.เจ้าหน้าที่รับคำฟ้องตรวจคำฟ้องเบื้องต้นและออกใบรับ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี 3.สรุปคำฟ้องเสนออธิบดีฯ สั่งจ่ายสำนวนให้องค์คณะและ แต่งตั้งตุลาการผู้แถลงคดี 4.ตุลาการหัวหน้าคณะแต่งตั้งตุลาการเจ้าของสำนวน
52
ขั้นตอนการดำเนินคดีปกครอง (ต่อ)
5.ตุลาการเจ้าของสำนวนพิจารณาคำฟ้องว่าเป็นคดีที่อยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและเป็นไปตาม เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองหรือไม่ 6.ส่งสำเนาคำฟ้องและพยานหลักฐานให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การ 7.ส่งสำเนาคำให้การและพยานหลักฐานให้ผู้ฟ้องคดีทำ คำคัดค้านคำให้การ 8.ส่งสำเนาคำคัดค้านคำให้การและพยานหลักฐานให้ ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การเพิ่มเติม
53
ขั้นตอนการดำเนินคดีปกครอง (ต่อ)
9.ตุลาการเจ้าของสำนวนตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าครบถ้วน เพียงพอหรือไม่ โดยอาจมีการไต่สวนหรือแสวงหาข้อเท็จจริง เพิ่มเติม 10.ตุลาการเจ้าของสำนวนสรุปสำนวนเสนอองค์คณะ 11.ตุลาการผู้แถลงคดีจัดทำคำแถลงการณ์ 12.การนั่งพิจารณาคดี และการเสนอคำแถลงการณ์ด้วยวาจา ต่อองค์คณะ 13.การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี 14.การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง
54
การแสวงหาข้อเท็จจริงของศาล
ศาลมีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมจากพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานผู้เชี่ยวชาญ หรือพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือ จากพยานหลักฐานของคู่กรณี ถ้าต้องมีการให้ถ้อยคำของคู่กรณี พยาน หรือบุคคลใด ให้ศาลเป็นผู้ซักถาม (ระเบียบฯ ข้อ 50) ศาลมีอำนาจเรียกคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำได้ตามที่ เห็นสมควร โดยต้องแจ้งกำหนดการไต่สวนให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า เพื่อเปิดโอกาสให้คัดค้านหรือชี้แจงข้อเท็จจริงได้ (ระเบียบฯ ข้อ 51)
55
การแสวงหาข้อเท็จจริงของศาล (ต่อ)
ศาลมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้คู่กรณี หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องส่งเอกสารหรือ พยานหลักฐานใดๆ ให้แก่ศาลได้ (ระเบียบฯ ข้อ 54) ศาลอาจตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษา ตรวจสอบ หรือวิเคราะห์ ในเรื่องใดๆ เกี่ยวกับคดีอันมิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ โดยต้องแจ้งกำหนดการให้ถ้อยคำของพยานผู้เชี่ยวชาญให้คู่กรณี ทราบล่วงหน้าเพื่อเปิดโอกาสให้คัดค้านหรือชี้แจงข้อเท็จจริง (ระเบียบฯ ข้อ 55)
56
การแสวงหาข้อเท็จจริงของศาล (ต่อ)
ศาลหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากศาลมีอำนาจไปตรวจสอบสถานที่ บุคคล หรือสิ่งอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้ โดยต้องแจ้งวัน เวลา และสถานที่ให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าเพื่อเปิดโอกาสให้คู่กรณีคัดค้านหรือชี้แจงข้อเท็จจริงได้ โดยคู่กรณีจะไปร่วมในการตรวจสอบหรือไม่ก็ได้ (ระเบียบฯ ข้อ 56)
57
วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา
การขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง การฟ้องเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครองไม่เป็นเหตุให้ทุเลา การบังคับตามกฎหรือคำสั่งนั้น เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น (ระเบียบฯ ข้อ 69 วรรคหนึ่ง) มีผลเป็นการชะลอหรือระงับการมีผลบังคับของกฎหรือคำสั่ง ทางปกครองไว้ชั่วคราวก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ชี้ขาดคดี โดยผู้ฟ้องคดีอาจมีคำขอมาในคำฟ้อง หรือยื่นคำขอ ในเวลาใดๆ ก่อนศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี (ระเบียบฯ ข้อ 69 วรรคสอง)
58
วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา (ต่อ)
ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับเมื่อเห็นว่ากฎหรือคำสั่งนั้นน่าจะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าให้มีผลใช้บังคับต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง และการทุเลาการบังคับจะไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงาน ของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะ (ระเบียบฯ ข้อ 72 วรรคสาม) คำสั่งทุเลาการบังคับ อุทธรณ์ได้ คำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับ เป็นที่สุด
59
วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา (ต่อ) การบรรเทาทุกข์ชั่วคราว
ผู้ฟ้องคดีหรือคู่กรณีอาจขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองอย่างใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา หรือกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาได้ (ระเบียบฯ ข้อ 75) ยื่นคำขอก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี คำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวหรือคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอ อุทธรณ์ได้ คำสั่งไม่รับหรือยกคำขอ เป็นที่สุด
60
คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี (มาตรา 69)
คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีปกครอง อย่างน้อยต้องระบุ (1) ชื่อผู้ฟ้องคดี (2) หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี (3) เหตุแห่งการฟ้องคดี (4) ข้อเท็จจริงของเรื่องที่ฟ้อง
61
คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี (ต่อ)
(5) เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย (6) คำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี (7) คำบังคับ ถ้ามี โดยให้ระบุหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับด้วย (8) ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ถ้ามี
62
การกำหนดคำบังคับ (มาตรา 72)
(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือ บางส่วน (2) สั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลกำหนด (3) สั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้น กระทำการ (4) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง (5) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ เป็นไปตามกฎหมาย
63
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง (มาตรา 73)
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถ้าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด คดีเป็นอันถึงที่สุด
64
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.