ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเขียนบทความวิชาการ
วิชา GEL2201 ภาษาไทยเชิงวิชาการ
2
การเขียนบทความทางวิชาการ
เป็นงานเขียนที่แสดงตัวตนของผู้เขียนในฐานะเป็นนักวิชาการ
3
การเขียนบทความวิชาการ
ความรู้พื้นฐานการเขียนบทความวิชาการ - ความหมาย - องค์ประกอบ หลักการเตรียมตัวเขียนบทความวิชาการ จรรยาบรรณในการเขียนบทความวิชาการ
4
การเขียนบทความวิชาการ
บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ และมี การสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาวิเคราะห์ โดยผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจน
5
ความรู้พื้นฐานการเขียนบทความวิชาการ
ความหมายของบทความวิชาการ บทความทางวิชาการหมายถึงเรื่องราวที่เสนอสาระความรู้และทัศนะทางวิชาการ มักจะตีพิมพ์ในวาระสารของสมาคมทางวิชาชีพ หรือหน่วยงานในสถาบันการศึกษา (ธิดา โมสิกรัตน์)
6
ความหมายของบทความวิชาการ
บทความทางวิชาการต้องมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอความรู้ ประสบการณ์ ความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น บนพื้นฐานวิชาการเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ เป็นการตั้งประเด็นใหม่ๆ ที่จะกระตุ้น ให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า (ความของทิศนา แขมมณี)
7
ความหมายของบทความวิชาการ
บทความเชิงวิชาการ เป็นบทความที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเสนอข้อมูลที่เที่ยงตรง น่าเชื่อถือ การเขียนบทความประเภทนี้จำเป็นต้องมีการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร หรือจากบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ และความคิดเห็นที่นำเสนอต้องอ้างเหตุผลตามหลักวิชาการมารองรับ มีการอ้างอิงหลักฐานหรือผลงานวิจัยประกอบการอธิบาย
8
สรุปความหมาย การเขียนบทความวิชาการเป็นช่องทางแสดงภูมิรู้ ความคิดเห็นของผู้เขียนที่ต้องการพัฒนาวงวิชาการ ให้เจริญก้าวหน้า เข้าสู้เส้นทางวิชาการที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้โต้แย้ง วิพากษ์วิจารณ์ อย่างอิสระ
9
ประเภทของบทความวิชาการ
บทความวิชาการแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ๑. บทความวิชาการทั่วไป นำเสนอความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้จากการอ่าน สังเกต สัมภาษณ์ วิเคราะห์ วิจารณ์ให้ข้อสังเกต ใช้ภาษาทางการ
10
ประเภทของบทความวิชาการ
๒. บทความปริทัศน์เป็นการเสนอเนื้อหาวิชาการ เชิงสังเคราะห์ โดยประมวลสาระข้อมูลจากงานเขียนของนักวิชาการในเรื่องเดียวกันที่มีความคิดเห็นสอดคล้องหรือแตกต่าง ผู้เขียนจะวิเคราะห์แนวความคิดแล้วเขียนเปรียบเทียบ สรุปประเด็น วิจารณ์ เสนอแนะเพื่อให้เห็นแง่มุมที่แตกต่างกัน
11
ประเภทของบทความวิชาการ
๓. บทความวิจัย เป็นบทความที่นำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ ที่เรียบเรียงจากรายงานวิจัยโดยสังเขป คือการนำเสนอความเป็นมาของการวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัย ผลสรุป และข้อเสนอแนะ ผู้อ่านบทความจะเข้าใจทฤษฎี กระบวนการวิจัย พร้อมทั้งมีแนวห้วข้อการวิจัยต่อยอดออกไป
12
คุณสมบัติของบทความทางวิชาการที่ดี
๑. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างสม่ำเสมอ ๒. สะท้อนความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้เขียนที่มีบทบาทต่อสังคมและวงวิชาการ ๓. เป็นวิถีทางเริ่มต้นของการพัฒนาความสามารถของผู้เขียนเพื่อพัฒนาไปสู่ตำราทางวิชาการ
13
แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ
แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ มีทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ วารสารทางวิชาการ วารสารกึ่งวิชาการ หนังสือรวมเรื่อง และเอกสารประกอบการประชุม สัมมนาทางวิชาการ สื่อบุคคล อาทิ การนำเสนอผลงานในการประชุม สัมมนาทางวิชาการการบรรยาย/อภิปราย และสื่ออิเลคทรอนิกส์ อาทิ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล
14
แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ
การเตรียมบทความทางวิชาการ ต้องทราบแหล่งเผยแพร่และวิธีจัดเตรียมต้นฉบับที่แหล่งเผยแพร่นั้น ๆ กำหนด เช่น ต้องทราบว่าแหล่งเผยแพร่เป็นวารสารวิชาการ หรือวารสารกึ่งวิชาการวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่เป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มใด ความยาวของบทความกำหนดไว้กี่หน้าอักษรที่ใช้ในการพิมพ์เป็นแบบไหน ใช้การอ้างอิงรูปแบบใด เพื่อสามารถจัดเตรียมบทความทางวิชาการได้อย่างเหมาะสมในการเลือกแหล่งเผย แพร่ที่เป็นวารสารวิชาการ เพื่อการเผยแพร่บทความทางวิชาการมีหลักเกณฑ์ดังนี้
15
แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ
๑. เป็นวารสารที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องทุกปี ตรงตามเวลาที่กำหนด ๒. เป็นวารสารที่ออกต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี ๓. กองบรรณาธิการประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ ในวิชาชีพเพียงพอ ๔. มีผู้ทรงคุณวุฒิอ่านพิจารณาบทความ อย่างน้อย ๒ ท่าน ๕. นำไปทำดรรชนีวารสารไทย
16
แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ
๖. มีค่า การวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความสารสาร ในแต่ละปีเป็นเครื่องมือช่วยประเมินเปรียบเทียบวารสาร ๗. มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๘. มีเอกสารอ้างอิง ๙. มีรายชื่ออ้างอิงอยู่ในฐานข้อมูลของต่างประเทศ
17
ลักษณะและส่วนประกอบของบทความทางวิชาการ
การเขียนบทความทางวิชาการมีลักษณะเช่นเดียวกับการเขียนบทความทั่วไป คือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้และข้อเท็จจริงโดยมีวัตถุประสงค์การเขียน ๑. เพื่อเสนอความคิดใหม่ ๒. เพื่อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าที่ค้นพบใหม่ ๓. เพื่อวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นเนื้อหาทางวิชาการและศาสตร์ที่ผู้เขียนมีความรู้ สนใจ และต้องการเผยแพร่
18
การให้ความสำคัญของผู้อ่านและผู้เขียน
ผู้เขียน (author) ผู้อ่าน (reader) Title Title Abstract Abstract Contents Contents
19
องค์ประกอบของบทความวิชาการ
องค์ประกอบบทความมี ๓ ส่วน คือส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย ส่วนประกอบตอนต้นจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับบทความ ซึ่งจะต้องมีชื่อเรื่อง ข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน จุดมุ่งหมายในการเขียน บางบทความจะมีบทคัดย่อสรุปสาระของเรื่อง
20
ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องมีความสำคัญ เพราะชื่อเรื่องที่ดีย่อมจะเป็นที่น่าสนใจและกระตุ้นให้ผู้อ่านตัดสินใจ ว่าจะอ่านหรือไม่ นอกจากนี้ยังทำให้เข้าใจขอบข่าย แนวคิด ของเนื้อหาบทความ การตั้งชื่อสามารถตั้งได้ทั้งแบบคำ แบบวลี และประโยค
21
ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องแบบคำ กหังปายะ นโลปาขยานัม พระนลคำหลวงและพระนลคำฉันท์ ธรณีประตู มหาภารตะ ชื่อเรื่องแบบวลี เรื่องนุ่งเสื้อห่มเสื้อ ภาษาเด็กสองขวบ สยามเมืองยิ้ม ศัพท์ส่องวรรณกรรม คนดีศรีอยุธยา เดียง(ภา)ษา ชื่อเรื่องแบบประโยค ใครแต่งลิลิตพระลอ (ไข)ข้อข้องใจในราชาศัพท์อ่านออกเขียนได้อย่างไทยโบราณ
22
ข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน
ส่วนมากจะพิมพ์เป็นเชิงอรรถอยู่ตอนล่างของหน้าแรก หรือพิมพ์รวมกับผู้เขียนบทความวิชาการที่เขียนในเล่มเดียวกัน เป็นข้อมูลที่แนะนำผู้เขียน เช่น วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน โทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
24
บทคัดย่อ หลังจากที่ผู้เขียนเรื่องทั้งหมดจบลงแล้ว ควรอ่านบททบทวนและบันทึกสาระสำคัญในเรื่องลักษณะของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการ ผล สรุปผล และข้อเสนอแนะสำหรับงานขั้นต่อไป แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นบทคัดย่อในภายหลัง
25
บทคัดย่อ บทคัดย่อหรือสาระสังเขป หมายถึงเรื่องย่อเนื้อหาสาระของบทความที่จะกล่าวในเนื้อเรื่อง เขียนแยกจากเนื้อหา มีความยาวตามที่วารสารกำหนดซึ่งเป็นเงื่อนไขของการพิจารณาจากวารสาร แต่วารสารบางฉบับก็ไม่กำหนดให้มีบทคัดย่อ
26
บทคัดย่อ บทคัดย่อมักจะมีลักษณะดังนี้คือ
๑. บทคัดย่อจะอยู่ต่อจากชื่อเรื่อง ๒. บทคัดย่อจะย่อทุกๆส่วนของบทความวิชาการโดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควร ทราบจากงาน โดยเรียงลำดับตามโครงเรื่อง ๓. เมื่อผู้อ่านๆบทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของบทความได้ ส่วน รายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความฉบับเต็ม ๔. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกิน ๑ หน้ากระดาษ A 4เพราะอาจใช้เวลาอ่าน ส่วนอื่นๆลดลง ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใดๆ ๕. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความวิชาการ
27
บทคัดย่อ บทคัดย่อมี ๒ ประเภทคือ
๑. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ ๒. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้าง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์
28
การเขียนบทคัดย่อ การเขียนบทคัดย่อมีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
๑. มีความสั้น กระทัดรัดและกระชับ (Concision) เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร มีความกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือความซ้ำซ้อน ความยาวของบทคัดย่อไม่มีกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของเอกสารและเนื้อหาสาระของเอกสารนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ๒. มีความถูกต้อง (Precision) ถ่ายทอดประเด็นสำคัญของบทความวิชาการได้ถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป ๓. มีความชัดเจน (Clarity) ถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ
29
บทคัดย่อ บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ ใช้ Abstract จะอยู่ส่วนแรกของบทความวิชาการ ที่เขียนแยกส่วนกับเนื้อหา โดยสรุปเนื้อหาสาระทั้งหมดของบทความ บทคัดย่อนี้ จะต้องมีความยาวตั้งแต่ ๓-๔ บรรทัดขึ้นไป แต่ต้องไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A๔ หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะต้องมีจำนวนคำไม่เกิน ๓๐๐ คำ
30
Abstract The Relation between Literature of Triphum and Visual Arts This article aims at a study how the literature is related to visual arts in the text of Triphum. The research output has been found that the painters were inspired and influenced by the text of Triphum, that is, the literature was transformed to become paintings in temples. Furthemore, The Thai ways of life, thought and Buddhist Perspectives have been implied in such work of art. Aforemention, arts literature and visual arts, serve the Buddhism. The Buddhist morality, ethics, and precepts are adapted and Simplified through these kinds of arts in order that the Thai People in general can reach the message, It could be Said that such Triphum, which are both text and paintings, is genuinely the Thai intellectual legacy.
31
บทคัดย่อ การเขียนบทคัดย่อจะเขียนได้ ๒ ลักษณะ เรียกว่าบทคัดย่อแบบพรรณนา และบทคัดย่อเนื้อความ - บทคัดย่อพรรณนา มักจะกล่าวถึงขอบเขตของเนื้อหาว่าเกี่ยวข้องกับอะไร มีวัตถุประสงค์และประเด็นอย่างไร - บทคัดย่อเนื้อความ มักจะเขียนเพื่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทความ เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องราวโดยย่อก่อนตัดสินใจอ่านบทความฉบับสมบูรณ์ต่อไป
32
ตัวอย่างบทคัดย่อ บทคัดย่อพรรณนา ของบทความวิชาการเรื่อง ศิลปศึกษากับความคิดสร้างสรรค์ วงการศึกษาสนใจที่จะพัฒนาคุณภาพในการคิดสร้างสรรค์ของบุคคล โดยมีพื้นฐานความเชื่อว่าบุคคลทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวเอง แต่มีระดับความเข้มข้นต่างกันบทความนี้จึงต้องการชี้ให้เห็นว่าศิลปะจะพัฒนาให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร มีวิธีการสอนอย่างไรเพื่อจะทำให้ครูศิลปะรู้จักสอนและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ที่สามารถพัฒนาคุณลักษณะของเด็กไทยให้มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อปรับใช้ในการแก้ปัญหาของสังคมต่อไป
33
ตัวอย่างบทคัดย่อ บทคัดย่อเนื้อความ อาจเขียนได้ดังนี้
ความคิดสร้างสรรค์มีคุณประโยชน์ในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ศิลปศึกษาก็เช่นเดียวกับศาสตร์ต่างๆ คือมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ครูสอนศิลปะจึงต้องจัดการเรียนการสอนที่มุ่งฝึกเด็กนักเรียนให้มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำไปปรับใช้แก้ปัญหาในชีวิตได้อย่างเป็นระบบ
34
ตัวอย่างบทคัดย่อ วารสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์บทความทางวิชาการบางฉบับที่ไม่มีบทคัดย่อ มักใช้วิธีพิมพ์ข้อความสำคัญที่แสดงแนวคิดสำคัญของบทความ เป็นประโยคหรือข้อความสั้นๆ ด้วยตัวพิมพ์พิเศษ ทำให้ผู้อ่านสะดุดตา และจับประเด็นแนวคิดได้ในเวลารวดเร็ว
35
ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหาเป็นส่วนที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการกล่าวรายละเอียดส่วนนี้จะประกอบด้วยความนำหรือเกริ่นนำ เนื้อหาและบทสรุป ๑. ความนำหรือเกริ่นนำ มีวิธีเขียนได้หลายแบบ เช่นกล่าวถึงที่มาของเรื่องหรือความเป็นมาของประเด็น หรืออาจเป็นปัญหาที่นำมาเขียน บางเรื่องอาจบอกวัตถุประสงค์การเขียนบทความ บางเรื่องอาจกล่าวถึงสิ่งที่ผู้อ่านคุ้นเคย หรือมีความรู้อยู่แล้วนำมาเชื่อมโยง อาจจะกล่าวอ้างถึงความคิดเห็น ข้อความ งานเขียนของนักวิชาการท่านอื่นที่ยอมรับกันโดยทั่วก็ได้
36
ส่วนเนื้อหา ส่วนของเกริ่นนำหรือบทนำ เป็นการกล่าวถึงที่มาของเรื่อง หรือความเป็นมาของประเด็นปัญหา บางเรื่องอาจบอกจุดมุ่งหมายในการเขียนบทความ ส่วนเกริ่นนำนี้มักมีความยาวประมาณ ๑ ย่อหน้าถ้ายังไม่จบในย่อหน้าเดียวก็สามารถเขียนได้อีก ๑ ย่อหน้า ความนำควรเป็นข้อความที่เร้าความสนใจ หรือปูพื้นฐานทางความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวที่จะกล่าวในบทความเพื่อดึงความสนใจของผู้อ่านสู่เนื้อเรื่อง ให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญ และสร้างบรรยากาศให้ติดตามต่อไป ควรเขียนให้กระชับ ตรงประเด็น ไม่ยืดเยื้อ ต้องเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง โดยจับประเด็นจากชื่อเรื่องและนำเรื่องเข้าสู่บริบท
37
ตัวอย่าง อ่านออกเขียนได้อย่างไทยโบราณ
เชื่อกันมาว่าคนแก่มักจะมองไปข้างหลัง ส่วนคนหนุ่มสาวมองไปข้างหน้า คนแก่ที่มองไปข้างหลังอย่างเดียว มักเล่าความหลังเพราะไม่มีอะไรนอกจากความหลัง หากคนแก่ไม่มองไปข้างหน้าก็จะเป็นคนแก่ที่ไม่ทันโลก เป็นคนแปลกหน้าของโลก ในโลกที่แปลกหน้าของตน จนอาจไม่ชอบโลกและเบื่อโลก แล้วย้อนมองแต่โลกข้างหลังที่คุ้นเคยและดูสวยงามกว่า คนหนุ่มสาวที่เอาแต่มองไปข้างหน้า ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเรื่องซ้ำโดยเฉพาะผิดซ้ำ ไม่มีครูคอยย้ำคอยเตือนให้ระวัง เหมือนรถมีความแรงที่ไม่มีห้ามล้อ คนหนุ่มสาวที่ไม่รู้จักมองไปข้างหลัง จะยั้งคิด เข้าใจคุณค่า นำมาต่อยอดได้ ประสบการณ์ของคนนั้นมีค่าเพราะว่าคนแก่ไม่ได้แปลว่าคนโง่ คนหนุ่มสาวรู้จักฟังเรื่องเล่าของคนแก่ก็จะไม่โง่และไม่ทำอะไรโง่ๆ จนเป็นคนโง่ตั้งแต่ยังหนุ่มสาวคนหนุ่มสาวนั้นไม่รู้ตัวว่าความหนุ่มสาวอยู่ไม่นาน ส่วนคนแก่ไม่รู้ตัวว่าความแก่มาถึงเร็ว คนกว่าจะยอมรับว่าตนแก่ก็เมื่อแก่เกินไปจนใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ จึงอยากเล่าไว้เสียแต่วันนี้ว่ามีดีอะไรในการสอนภาษาไทยอย่างโบราณ จะได้เป็นสารที่สืบสานให้ใช้วิจารณญาณกันต่อไป อาจจะช่วยแก้ไขในการเรียนภาษาไทยที่ไม่สัมฤทธิ์ผลอยู่ทุกวันนี้ ( ปรีชา ช้างขวัญยืน, ๒๕๔๙, หน้า ๒๓ ) (ตัวอย่างหน้า 132)
38
ส่วนเนื้อหา ๒. เนื้อหา คือเนื้อความที่มีสาระ รายละเอียดในประเด็นหรือปัญหาต่างๆ ที่ผู้เขียนวางแผนจะเขียนแบ่งเป็นตอนหรือหัวข้อตามความเหมาะสม นำเสนอเรื่องราวและความคิดเห็นอย่างครบถ้วน เขียนลำดับเนื้อหาอย่างเป็นระบบ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับหลักหรือทฤษฎีวิชาการในสาขานั้น เนื้อหาที่เสนอหากเป็นข้อค้นพบใหม่ มุมมองใหม่ ความคิดใหม่หรือข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์สาระสมบูรณ์ จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกประทับใจ และสามารถนำไปศึกษาค้นคว้าต่อได้
39
ส่วนเนื้อหา การนำเสนอเนื้อหา นอกจากการนำเสนอเนื้อหาในรูปของความเรียงแล้ว อาจมีตาราง แผนภูมิและภาพประกอบตามความจำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และต้องมีคำบรรยายตาราง แผนภูมิ หรือภาพประกอบที่นำเสนอด้วย หากเป็นการคัดลอกต้องระบุแหล่งที่มาด้วย
40
ส่วนเนื้อหา ๓. บทสรุปเมื่อผู้เขียนได้วิเคราะห์แต่ละหัวเรื่องแล้ว ต้องมีบทสรุป มีแนวการเขียนที่หลากหลายเช่นเดียวกับการเขียนชนิดอื่นๆ เช่น สรุปสาระสำคัญของเนื้อความ ข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับสาระที่นำเสนอ อ้างคำประพันธ์ สำนวน คำพังเพย กวีนิพนธ์ฯลฯ บทสรุปเป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของเรื่องแต่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน
41
บทสรุป มีบทบาทในการเสริมย้ำประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญของเรื่อง สร้างความประทับใจให้ผู้อ่านเน้นย้ำความคิดเห็นหรือจุดยืนอย่างชัดเจน ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญในเชิงสรุป ถ้ามีการตั้งคำถามในตอนต้นหรือในส่วนนำของเรื่องเพื่อเรียกร้องความสนใจก็ต้องแก้ปมและตอบคำถามนั้น บทสรุปจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นกับลีลาการนำเสนอความคิดที่จะโน้มน้าวความคิดเห็นให้คล้อยตามหรือเห็นแย้ง บทสรุปที่ดีต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ของการเขียน ทิ้งประเด็นข้อคิดเห็นให้ผู้อ่านคิดตามได้
42
ส่วนท้าย บทความวิชาการต้องมีส่วนประกอบตอนท้าย เพื่อแสดงว่าความรู้และแนวคิดที่นำเสนอในบทความน่าเชื่อถือ เพราะส่วนนี้จะทราบได้ว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งใดบ้าง ซึ่งจะแสดงรายการค้นคว้าไว้ใน เชิงอรรถ และบรรณานุกรม
43
ส่วนท้าย เชิงอรรถ สามารถเขียนได้ ๒ แบบ คือ
๑. เขียนที่ตำแหน่งตอนล่างหน้าที่อ้างอิง ๒. เขียนรวมทุกรายการที่อ้างอิงไว้ตอนท้ายของบทความ ผู้เขียนจะเลือกใช้แบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความถนัด หรือข้อกำหนดการเขียนเชิงอรรถของแหล่งตีพิมพ์บทความวิชาการ
44
ส่วนท้าย ข้อความที่นำมาอ้างอิงอาจเป็นการเขียนหรือคัดข้อความที่อ้างอิง หรือการเขียนโดยเรียบเรียงหรือประมวลใหม่ รายการอ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการต้องอยู่ในบรรณานุกรมท้ายเรื่องด้วย
45
ส่วนท้าย การอ้างอิงหากชื่อผู้แต่งไม่เกิน ๓ คน ให้ใส่ทุกชื่อ หากมีมากกว่า ๓ คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนที่ ๑ และต่อด้วยข้อความ และคณะรูปแบบการอ้างอิงมีความยืดหยุ่นได้ แล้วแต่แหล่งเผยแพร่บทความจะกำหนดการอ้างอิง นอกจากจะเป็นการป้องกันการฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นการแสดงความเคารพทางวิชาการแล้ว ยังเป็นการสะท้อนว่าผู้เขียนอ่านเอกสารมากเพียงใด และอ่านอย่างมีคุณภาพเพียงใด ดังนั้นการอ้างอิงควรมีจำนวนรายชื่อเอกสารไม่น้อยจนเกินไป ไม่ควรอ้างอิงเอกสารเพียงรายการเดียว เอกสารที่เก่า ล้าสมัย หรือเอกสารตำราอย่างเดียว ควรอ้างอิงแหล่งสารนิเทศที่ใหม่กว่า เช่นบทความวารสารหรือบทความจากเว็บไซต์ที่เผยแพร่ใหม่ ๆ ด้วย และไม่ควรอ้างอิงเฉพาะเอกสารภาษาไทย ควรใช้เอกสารภาษาต่างประเทศด้วย
46
ส่วนท้าย การอ้างอิง บรรณานุกรม เป็นรายชื่อผู้แต่งและรายชื่อหนังสือ รายชื่อรายการของแหล่งข้อมูลทางวิชาการต่างๆที่ผู้เขียนใช้ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศเช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ เว็บไซต์ หรือสัมภาษณ์
47
ส่วนท้าย นอกจากนี้บทความทางวิชาการอาจมีภาคผนวก ซึ่งเป็นเนื้อหาเสริม เป็นความรู้เพิ่มเติม อาจเป็นตารางแผนภูมิ เพื่อวิเคราะห์เรื่องนั้น หรือใกล้เคียง จะทำให้บทความวิชาการมีคุณค่าน่าเชื่อถือ แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนค้นคว้าอย่างมีระบบตอบสนองความต้องการผู้อ่านได้ครบถ้วน
48
หลักการเตรียมตัวเขียนบทความวิชาการ
๑. เตรียมแนวคิด ผู้เขียนบทความจะต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ จะทำให้กำหนดกรอบหรือประเด็น ต้องเลือกประเด็นที่ตรงกับความรู้ ความสนใจของผู้เขียนซึ่งจะทำให้ผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญ และเรื่องที่จะเขียนต้องมีคุณค่าต่อผู้อ่าน
49
ภาพจากโฆษณา ปตท พลังที่ยั่งยืน.
50
หลักการเตรียมตัวเขียนบทความวิชาการ
๒. การค้นคว้าข้อมูล เมื่อได้แนวคิดว่าจะเขียนเรื่องใดแล้วผู้เขียนต้องวางแผนที่ศึกษา สำรวจ สืบค้นจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศจากสื่อต่างๆ ได้อย่างหลากหลายวิธี
51
หลักการเตรียมตัวเขียนบทความวิชาการ
๓. วิเคราะห์แนวคิด เป็นขั้นตอนพิจารณาประเด็นให้กระจ่างชัด โดยแยกประเด็นในแง่มุมต่างๆที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ การวิเคราะห์ดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงขอบเขตเนื้อหา กลุ่มผู้อ่าน โอกาสในการเขียนบทความ และแหล่งตีพิมพ์ การวิเคราะห์แนวคิดที่ดีควรทำแผนผังมโนทัศน์ (concept mapping) หรือ แผนภาพความคิด( mind mapping) เพื่อไปใช้ในการวางโครงเรื่อง
52
หลักการเตรียมตัวเขียนบทความวิชาการ
การวิเคราะห์ความคิดอาจใช้วิธีระดมความคิด โดยกำหนดหัวข้อย่อยเป็นข้อๆ ครอบคลุมรายละเอียดขอบข่ายเรื่องที่จะเขียน แสดงความสัมพันธ์ของหัวข้อย่อยกับแนวคิดหลัก เรียกว่าเขียนโครงเรื่อง
53
โครงเรื่องบทความวิชาการ
การเตรียมโครงเรื่องบทความวิชาการ โครงเรื่อง คือ เค้าโครงงานเขียน แสดงขอบเขตของเรื่อง แนวคิดหรือหัวข้อสำคัญ ก่อนลงมือเขียนบทความทางวิชาการทุกครั้งต้องเขียนโครงเรื่องก่อน เพราะการเขียนโครงเรื่องเป็นการจัดความรู้ความคิดให้เป็นระบบ เป็นแนวทางเก็บรวมรวบข้อมูล และเป็นแนวทางนำเสนอเนื้อหาให้เป็นสัดส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ครอบคลุมประเด็นสำคัญได้ครบถ้วน
54
โครงเรื่องบทความวิชาการ
โครงเรื่องบทความทางวิชาการ แบ่งเป็น ๓ ส่วนหลัก คือ ความนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ในส่วนเนื้อเรื่องแบ่งเป็นประเด็นต่าง ๆ โดยจัดลำดับให้เป็นระบบ ในการจัดลำดับจัดได้หลายแบบแล้วแต่เทคนิค การนำเสนอ อาทิ ๑. จัดลำดับจากเรื่องกว้าง ๆ หรือเรื่องทั่วไป ไปสู่เรื่องเฉพาะ ๒. จัดลำดับจากเรื่องเฉพาะไปสู่เรื่องกว้าง ๆ หรือเรื่องทั่วไป ๓. จัดลำดับตามความสำคัญ ๔. จัดลำดับตามเหตุการณ์หรือระยะเวลา ๕. จัดลำดับตามเหตุและผล ๖. จัดลำดับตามสถานที่หรือทิศทาง
55
โครงเรื่องบทความวิชาการ
ในการจัดลำดับโครงเรื่อง แต่ละประเด็นต้องมีน้ำหนักสมดุลกัน และการแตกเป็นประเด็นย่อย ต้องแตกเป็นลำดับขั้นอย่างเป็นระบบ ควรใช้ตัวเลขหรือตัวอักษรกำกับหัวข้อประเด็นต่าง ๆ
56
ว่าด้วยการสื่อสารทางการเมือง
รูปแบบของการสื่อสาร (ตัวหนา 20) สื่อกับการสื่อสารทางการเมือง (ตัวหนา 20) ก. การติดต่อตัวต่อตัว (ตัวหนา 18) ข. สื่อสิ่งพิมพ์ (ตัวหนา 18) (1) ……… (ตัวหนา 16) (2) ……… (ตัวหนา 16)
57
๑. ภาษามีความชัดเจน ไม่กำกวม ฟุ่มเฟือย ประโยคสั้น
เกณฑ์การพิจารณาด้านภาษา รูปแบบการเขียน ๑. ภาษามีความชัดเจน ไม่กำกวม ฟุ่มเฟือย ประโยคสั้น แต่สื่อความหมายชัดเจน ๒. ใช้ศัพท์วิชาการได้อย่างถูกต้อง ๓. มีการเว้นวรรคตอนถูกต้อง ๔. ภาพประกอบเหมาะสม ๕. รูปแบบการเขียนเหมาะสม การแบ่งหัวข้อ การจัดลำดับ เนื้อหา
58
กระบวนการเขียนบทความทางวิชาการ
ปรับปรุงการเขียนต้นฉบับ ลงมือเขียน ( W ) ประเมิน ( E ) ปรับปรุง ( R ) วางแผน ( P ) เขียนโครงร่าง ( O ) ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนา ทุกขั้นตอนไม่มีลักษณะเป็นเส้นตรงที่แน่นอน มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา
59
จรรยาบรรณของผู้เขียนบทความ
๑. หลักความสามารถ และความรับผิดชอบ คือต้องมี ความสามารถที่จะทำหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพและมี ความรับผิดชอบ อย่างเป็นนักวิชาการที่ ไม่ลำเอียง ๒. หลักการสงวนความลับของนักวิจัย ๓. หลักการให้เกียรติผู้ศึกษาอื่นๆ ไม่คัดลอกงานผู้อื่น
60
สรุปจรรยาบรรณ ๑. จรรยาบรรณในการให้เกียรติ
๑.๑ ให้เกียรติแก่เจ้าของข้อมูล ๑.๑.๑ การทำเชิงอรรถ ๑.๑.๒ การทำบรรณานุกรม ๑.๒ การไม่กล่าวพาดพิง ๒. จรรยาบรรณในการเป็นนักวิชาการที่ดี ๓. จรรยาบรรณในฐานะผู้อนุรักษ์ภาษาไทย
61
การอ้างอิง 1. การอ้างอิงแทรกไปกับเนื้อหา
การที่พยาบาลรับรู้ความสามารถของตนเองสูงจะส่งเสริมทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ (กุลวดี มทุมล, 2542) 2. การอ้างอิงเชิงอรรถ มาตรฐานทางวิชาชีพกำหนดคุณลักษณะที่สำคัญไว้ดังนี้1 มีความรับผิดชอบ มีจรรยาบรรณ 1 ประภา ลิ้มประสูติ. (2534). มาตรฐานการศึกษาสาขาพยาบาล.วารสาร พยาบาลศาสตร์, 3(1), 1 – 6.
62
การอ้างอิง 3. การเขียนบรรณานุกรมท้ายเรื่อง
แก้วตา ผู้พัฒนาพงศ์. (2547, กรกฎาคม – ธันวาคม ). ผู้นำทีม ปัจจัยสำคัญสู่ ความสำเร็จขององค์กรแบบเครือข่าย. วารสารรามคำแหง, 21(2), 100 – 118. Moule., P. (1999, May). Contracting for Nurse Education Nurse Leader Experiences and Future Visions. Nurse education, 19(1), 164 – 171.
63
๒. จรรยาบรรณในการเป็นนักวิชาการที่ดี
สรุปจรรยาบรรณ ๒. จรรยาบรรณในการเป็นนักวิชาการที่ดี การเป็นนักวิชาการที่ดี บทความทางวิชาการถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน แม้จะมิได้จดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรเพื่อรับรองว่าเป็นผลงานของผู้เขียน จึงต้องระลึกเสมอว่าต้องไม่นำบทความของผู้อื่นมาเป็นของตน ซึ่งถือว่าผิดจรรยาบรรณของความเป็นนักวิชาการที่ดีเนื่องจากความไม่ซื่อสัตย์
64
๓. จรรยาบรรณในฐานะผู้อนุรักษ์ภาษาไทย
สรุปจรรยาบรรณ ๓. จรรยาบรรณในฐานะผู้อนุรักษ์ภาษาไทย บทความวิชาการที่ดีต้องเรียบเรียงภาษาเพื่อถ่ายทอดความคิดให้ถูกต้องตามแบบแผนโครงสร้างภาษาไทย ไม่ใช้ประโยคโครงสร้างภาษาอังกฤษ ไม่ใช้คำทับศัพท์มากเกินไป เพราะปัจจุบันเรามีศัพท์บัญญัติ ดังนั้นในฐานะเป็นนักวิชาการที่ดีจึงต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
65
แบบทดสอบการเขียนบทความทางวิชาการ
๑. บทความต่างจากบทความวิชาการอย่างไร ๑. การใช้ภาษา ๒.การเขียนชื่อเรื่อง ๓. คำนำและบทสรุป ๔. ตำแหน่งทางวิชาการของผู้เขียน
66
แบบทดสอบการเขียนบทความทางวิชาการ
๒.“การผลิตและการใช้ปุ๋ยแบคทีเรียกับถั่วเหลือง สจ.2” เป็นวิธีการตั้งชื่อเรื่องแบบใด ๑. แบบคำ ๒. แบบวลี ๓. แบบประโยค ๔. แบบจำเพราะเจาะจง
67
แบบทดสอบการเขียนบทความทางวิชาการ
๓. ข้อใดกล่าวถึงบทคัดย่อไม่ถูกต้อง ๑. บทคัดย่อจะมีความยาวไม่เกินกระดาษ A 4 ๒. บทคัดย่อก็คือสรุปเรื่องย่อของเรื่องทั้งหมด ๓. บทคัดย่อจะอยู่หลังบทเกริ่นนำก่อนหน้าเนื้อเรื่อง ๔. บทคัดย่อภาษาอังกฤษจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ แหล่งพิมพ์กำหนด
68
แบบทดสอบการเขียนบทความทางวิชาการ
๔. ข้อใดเป็นวิธีเขียนบทสรุปที่ดีของบทความวิชาการ ๑. เสริมย้ำประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญของเรื่อง ๒. ถ้าตั้งคำถามตอนต้นเรื่องบทสรุปจะต้องตอบคำถาม ๓. โน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเชื่อถือให้ได้ไม่ว่าจะใช้กลวิธีใดก็ตาม ๔. ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการเขียน ทิ้งประเด็น ข้อคิดเห็นให้ผู้อ่านคิดตามได้
69
แบบทดสอบการเขียนบทความทางวิชาการ
๕. การอ้างอิง และบรรณานุกรมควรใส่ที่ส่วนใดของเรื่อง ๑. หลังชื่อเรื่อง ๒. ก่อนบทนำ ๓. หลังบทคัดย่อ ๔. ส่วนท้ายของเรื่อง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.