บทที่ 4 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 4 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 4 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
บทที่ 4 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง เหตุการณ์ หรือปัจจัย ต่างๆ ที่สำคัญ ที่บริษัทไม่สามารถควบคุมได้ แต่ปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกจะรวมถึงการวิเคราะห์คู่แข่งขัน และปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจควบคุมไม่ได้

2 สภาพแวดล้อมภายนอก สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์การธุรกิจสามารถแบ่งเป็นสองประเภทด้วยกัน คือ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ที่มีอิทธิพลหรือผลกระทบทางอ้อมต่อองค์การได้ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันหรือสภาวะแวดล้อมทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับองค์การโดยตรง เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงหรือถูกกระทบโดยตรงจากการดำเนินกิจการขององค์การ เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้จัดจำหน่าย ผู้จัดหาวัตถุดิบ อุตสาหกรรมที่องค์การธุรกิจดำเนินการอยู่

3 ความสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
โดยที่ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อองค์การได้หลายลักษณะ บ่งบอกถึงสภาวะแวดล้อมทางการแข่งขัน เป็นการพิสูจน์ถึงความเชื่อที่องค์การมีอยู่เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมว่าถูกต้องหรือไม่เพียงใด ช่วยให้ผู้บริหารสามารถพยากรณ์หรือคาดการณ์ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมในอนาคตได้อย่างมีหลักการและมีโอกาสในของความถูกต้องมากขึ้น ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงจุดอ่อนที่องค์การมีอยู่เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอื่น ๆ ช่วยระบุว่ากลยุทธ์ที่องค์การใช้อยู่ยังมีความเหมาะสมต่อสภาวะแวดล้อมอีกหรือไม่ ช่วยในการระบุว่ากลยุทธ์ที่องค์การใช้อยู่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่และอย่างไร ทำให้องค์การทราบถึงโอกาสหรือข้อจำกัดทางธุรกิจ

4 กลุ่มที่มีส่วนได้เสียขององค์การ
(employees) ลูกจ้างหรือพนักงาน ผู้ถือหุ้น (shareholders) ลูกค้า (customers) องค์กร (organization) รัฐบาล (government) ผู้จัดซื้อ (suppliers) กลุ่มอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัท (the public at large)

5 การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม การเมืองและกฎหมาย การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ชุมชน การวิเคราะห์คู่แข่งขัน การเลือกปัจจัย เชิงกลยุทธ์ *โอกาส *อุปสรรค การวิเคราะห์ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การวิเคราะห์ กลุ่มผลประโยชน์ การวิเคราะห์รัฐบาล

6 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป
ทางเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่ธุรกิจควบคุมไม่ได้  โอกาส (opportunities) ปัจจัยภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงและมีผลส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจดีขึ้น  อุปสรรค (threats) ปัจจัยภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงและกีดขวางการดำเนินธุรกิจ สภาพแวดล้อม ทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางกฎหมายและการเมือง สภาพแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรม

7 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขัน การวิเคราะห์อุตสาหกรรมของพอร์เตอร์
คู่แข่งขันหน้าใหม่ ความรุนแรงของการแข่งขัน ระหว่าง บริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน อำนาจต่อรองของ ผู้ขายปัจจัยการผลิต อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ ภัยคุกคามจาก ผลิตภัณฑ์ทดแทน

8 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
ความสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรขององค์การ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมปัจจัยและเงื่อนไขสำคัญในการแข่งขัน เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า

9 ความสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรขององค์การ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปัจจัย และเงื่อนไขสำคัญในการแข่งขัน สภาพแวดล้อมภายในเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า โดยที่คุณค่าที่ให้กับลูกค้า ในกรณีที่สภาพแวดล้อมภายนอกไม่แน่นอนที่เกิดจากปัจจัยภายนอกองค์การ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโดยที่ไม่คาดหวังทางการเมืองและเศรษฐกิจความยุ่งยากซับซ้อนเกิดจากความไม่แน่นอนข้างต้น ดังนั้น การใช้ทรัพยากรขององค์การของผู้บริหารที่จะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมไม่ให้ไปกระทบหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยทรัพย์สินหรือทรัพยากร ความสามารถและอำนาจซึ่งเป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็งขององค์การ

10 ความสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
กล่าวได้ว่า การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การนั้นเป็นการระบุว่าองค์การจะบริหารงานอย่างไร และดำเนินการอย่างไร ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีกำลังใจ มีความมั่นคงเป็นระบบและเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติรับผิดชอบงานของตัวเอง โดยเฉพาะการทำให้คนในองค์การมีความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจสามารถตัดสินใจในงานโดยใช้ดุลยพินิจของตัวเองจะต้องประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์การของตน โดยวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในอดีต และในปัจจุบันที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น การดำเนินงานด้านการตลาด การบริหารการเงิน การบริหารการผลิต การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น รวมทั้งประเมินทรัพยากรต่าง ๆ ที่องค์การมีอยู่ เพื่อให้สามารถเข้าใจและประเมินจุดอ่อนจุดแข็งขององค์การได้ แล้วประเมินตำแหน่งในเชิงการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน เพื่อให้ได้ความถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปผลการประเมินจะมี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่หนึ่งองค์การสามารถทำได้ดีกว่าคู่แข่งขันเป็นจุดแข็ง ลักษณะที่สอง องค์การทำได้เช่นเดียวกับคู่แข่งขันเป็นจุดเสมอตัว และลักษณะที่สามองค์การด้อยกว่าคู่แข่งขันเป็นจุดอ่อน

11 การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐาน
คำว่า “ทรัพยากร” (resource) หมายถึง สินทรัพย์ (asset) ความสามารถ (competency) กระบวนการ (process) ทักษะหรือความรู้ (skill or knowledge) ซึ่งอยู่ภายใต้ การควบคุมของบริษัท ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านี้หากช่วยให้มีความได้เปรียบหรือความเป็นต่อในการแข่งขัน เป็นจุดแข็ง แต่ถ้าองค์การสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแข่งขันได้ด้อยกว่าคู่แข่งขัน เป็นจุดอ่อน โดยทรัพยากรนั้นสามารถจำแนกได้ออกเป็นสองประเภท ทรัพยากรที่จับต้องได้ เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน อุปกรณ์ ทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ เป็นทรัพย์สินที่ไม่เห็นหรือไม่สามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจน เช่น สิทธิบัตร ตราสินค้า ลิขสิทธิ์

12 การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่า
กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนตามแนวคิดของการวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่ามีดังนี้ กิจกรรมหลัก (primary activities) การนำเข้าวัสดุการผลิต (inbound logistics) การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (operations) การนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย (outbound logistics) การตลาดและการขาย (marketing and sales) การบริการ (service) กิจกรรมหลักทั้ง 5 อย่างดังกล่าวข้างต้นนี้ จะต้องนำมาประเมิน โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งโดยไม่ลำเอียง เพื่อทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท โดยพิจารณาจากรายการประเมินลูกโซ่แห่งคุณค่า ซึ่งในแต่ละรายการให้ผู้ประเมินตีคุณค่าว่าอยู่ในระดับใด แยกออกเป็น 3 ระดับ คือ อ่อนมาก (poor) ปานกลาง (average) หรือดีเลิศ (excellent )

13 การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่า
กิจกรรมสนับสนุน (support activities) การจัดซื้อ (procurement) การพัฒนาเทคโนโลยี (technology development) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (human resource management) โครงสร้างพื้นฐานขององค์การ (firm infrastructure) กิจกรรมสนับสนุนทั้ง 4 อย่าง จะทำหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมหลักทั้ง 5 อย่างแล้วยังทำหน้าที่สนับสนุนซึ่งกันและกันเองด้วย

14 profit margin กิจกรรมสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐานขององค์การ
ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การเพื่อเพิ่มคุณค่าของ value chain ความสามารถที่จะได้เงินลงทุนที่มีต้นทุนต่ำสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและเงินทุนหมุนเวียน ระดับข้อมูลที่นำมาใช้ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และดำเนินการ การจัดการข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมกับผู้ที่สนใจ - ภาพลักษณ์ขององค์การต่อสาธารณะและพนักงาน ประสิทธิภาพของกระบวนการคัดสรรพนักงาน ฝึกอบรม และเลื่อนขั้นพนักงานทุกระดับ ความเหมาะสมและระบบการให้รางวัลเพื่อจูงใจและท้าทายพนักงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานที่สามารถลดจำนวนพนักงานที่ขาดงานและลาออกให้เหลือน้อยที่สุด การมีส่วนร่วมของผู้บังคับบัญชาและบุคลากรฝ่ายเทคนิคในองค์การมืออาชีพ ระดับของการจูงใจพนักงานต่อความพึงพอใจ ความสำเร็จในกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา การบริหารเวลาในกิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสามารถ คุณสมบัติและประสบการณ์ของช่างเทคนิคและนักวิจัย ส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งเสริมความคิดในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ สร้างความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เพื่อลดอำนาจต่อรองที่จะเกิดจากการผู้ขาดของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การจัดหาวัตถุดิบต้อง (1) ตรงต่อเวลา (2) ต้นทุนต่ำที่สุด (3) คุณภาพตามมาตรฐาน มีวิธีการจัดหาทั้งของโรงงาน เครื่องจักรกล และอาคารสถานที่ - การพัฒนามาตรการที่ใช้ในการตัดสินใจด้านการเช่าซื้อ ระบบการควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงคลังที่ดี การจัดเก็บวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ การนำเข้าวัสดุ การผลิต ประสิทธิภาพของเครื่องมือเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันหลัก ความเหมาะสมของระดับกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ การควบคุมระบบการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพและลดต้นทุน การออกแบบแปลนโรงงานและการส่งต่องานอย่างเหมาะสม เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การส่งมอบสินค้าและบริการที่ตรงต่อเวลาและมีประสิทธิภาพ การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่ดี การนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย ประสิทธิภาพของการวิจัยตลาดเพื่อค้นพบกลุ่มลูกค้าและความต้องการ นวัตกรรมด้านการส่งเสริมการขายและโฆษณา การประเมินช่องทางการจัดจำหน่าย การจูงใจและความสามารถของพนักงานขาย การพัฒนาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ด้านคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับ การตลาดและการขาย ให้ความสำคัญกับการร้องเรียนของลูกค้าสำหรับสินค้าและบริการ แสดงความใส่ใจต่อคำร้องร้องเรียนของลูกค้าในทันที มีนโยบายการรับประกันหลังการขายที่ดี การถ่ายทอดความรู้แก่ลูกค้าอย่างมีคุณภาพ ความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์และซ่อมบำรุง การบริการ โครงสร้างพื้นฐานขององค์การ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การจัดซื้อ กิจกรรมหลัก กิจกรรมสนับสนุน profit margin

15 การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจ
การตลาด (marketing) ตำแหน่งทางการตลาด (market position) ส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (product life cycle : PLC)

16 การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจ
การเงิน (finance) การผลิตและดำเนินงาน (operation manufacturing or service) ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง ระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง

17 การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจ
การบริหารทรัพยากรบุคคล (human resources) การวิเคราะห์ลักษณะงานและการกำหนดคำบรรยายลักษณะงาน (job description) การกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน (job specification) ระบบการสรรหาและคัดเลือก เงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน การพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารและการจูงใจพนักงาน การบริหารแรงงานสัมพันธ์ ความสามารถของผู้บริหาร ความสามารถของพนักงาน อัตราการขาดงานของพนักงาน อัตราการลาออก จำนวนพนักงานเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ถ้าพนักงานมีมากกว่าแต่ความสามารถต่ำกว่าคู่แข่งแสดงว่าเป็นจุดอ่อนขององค์กร

18 การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจ
การวิจัยและพัฒนา (research and development) การวิจัยขั้นพื้นฐาน (basic R&D) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (product R&D) การวิจัยและพัฒนาในด้านกระบวนการ (process R&D)

19 การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจ
การจัดการ (management) การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การจัดคนเข้าทำงาน (staffing) การสั่งการ (directing) การควบคุม (controlling)

20 การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจ
ระบบสารสนเทศ องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้บริหารต้องการข้อมูลที่สำรองไว้เป็นหลักฐานมากยิ่งขึ้น องค์การมีการกระจายอำนาจมากขึ้น ทำให้เทคนิคการควบคุมมีความลึกซึ้งมากขึ้น การมีระบบสารสนเทศทำให้ผู้บริหารสามารถดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์การได้ การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้การประมวลข้อมูลขององค์การรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

21 การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคินซีย์
กลยุทธ์ SME โครงสร้าง (structure) กลยุทธ์ (strategy) ระบบ (systems) ค่านิยมร่วม (shared values) ทักษะฝีมือ (skills) รูปแบบ การบริหาร (style) พนักงาน (staff)

22 ตัวอย่าง “ค่านิยมร่วม” ได้แก่
แมคโดนัลด์ : QSCV (= quality – service – cleanliness – value) สายการบิน เซาท์เวสท์ : สนุก อบอุ่น เป็นมิตร (fun, warm, friendly) วอล-มาร์ท : บริการฉันท์มิตรและราคาถูก (friendly service and low prices) มอโตโรลา : คุณภาพคือหลักสำคัญ (quality is key) ปัจจัย 3 ปัจจัยแรก คือ โครงสร้าง ระบบและกลยุทธ์เปรียบได้กับส่วนที่เรียกว่า “ฮาร์ดแวร์” (hardware) ของระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก คือ รูปแบบการบริหารพนักงาน ทักษะฝีมือ และค่านิยมร่วม คือส่วนที่เป็น “ซอฟต์แวร์” (software) ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องประกอบร่วมกัน จึงจะทำให้การดำเนิน ตามแผนกลยุทธ์ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ

23 การวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การ
เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าองค์การมีความสามารถหลัก ประการที่ 1 ความสามารถหลักจะต้องนำไปสู่ผลตอบแทนที่ลูกค้าสามารถรับรู้ได้ และเป็นสิ่งซึ่งช่วยให้องค์การสามารถให้คุณค่าแก่ลูกค้าได้ ซึ่งประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับนี้อาจจะอยู่ในรูปของความคงทน ความสะดวกสบาย ความน่าใช้ ประการที่ 2 ความสามารถหลัก ต้องนำไปสู่โอกาสในการเข้าสู่ตลาดหรืออุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น ความสามารถหลักของคาสิโอ ในเรื่องจอภาพ (display system) ทำให้ คาสิโอสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมหลายชนิดได้ อาทิเช่น เครื่องคิดเลข โทรทัศน์ขนาดเล็ก จอภาพสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ประการที่ 3 ความสามารถหลักจะต้องไม่ถูกคู่แข่งขันลอกเลียนแบบได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถหลักในการรวมกันของปัจจัยหลาย ๆ ประการภายในองค์การ ทำให้ยากต่อการลอกเลียนแบบ กระบวนการในการประสานและรวมกันของปัจจัยภายในทั้งหลายซึ่งจะต้องอาศัยเวลาและการเรียนรู้ ประการที่ 4 ความสามารถหลักเป็นการรวบรวมและประสาน ซึ่งทักษะความสามารถและทรัพยากรภายในขององค์การเข้าด้วยกัน ซึ่งความสามารถหลักเป็นการรวมกันของความสามารถ เทคโนโลยี ทรัพยากรหลาย ๆ ชนิดไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความสามารถ ทักษะ หรือทรัพยากรเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ประการที่ 5 ความสามารถหลักไม่ใช่สินค้าหรือตัวหน่วยงานในองค์การ ความสามารถหลักจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจาความรู้ความสามารถ ไม่ใช้ตัวสินทรัพย์หรือทรัพยากรขององค์เพียงอย่างเดียว

24 ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 4 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google