งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ (Packaging Technology) บท/หน้า (5/1) ( 25/08/2558)

2 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย “ไบโอ” นวัตกรรมใหม่ทดแทนกล่องโฟม “ไบโอ” เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากเยื่อกระดาษชานอ้อย ซึ่งนำเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศจีนมาปรับปรุงใหม่ โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม และกลุ่มบริษัท เอ็มดีเอส จำกัด บท/หน้า (5/2) ( 25/08/2558)

3 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย “ไบโอ” นวัตกรรมใหม่ทดแทนกล่องโฟม บท/หน้า (5/3) (25/08/2558)

4 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของไบโอ เป็นนวัตกรรมสีเขียวที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย ประหยัดพลังงานกว่าการผลิตพลาสติก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้เยื่อจากไม้ยืนต้น และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ECF คือไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสีเยื่อกระดาษ ทำให้ได้เยื่อกระดาษที่สะอาด และปลอดภัย และผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV อีกครั้ง ก่อนจะส่งถึงผู้บริโภค บท/หน้า (5/4) ( 25/08/2558)

5 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของไบโอ บท/หน้า (5/5) ( 25/08/2558)

6 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ ในแง่การใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกและโฟมก็พบว่า ไบโอมีข้อดีกว่ามากตรงที่สามารถใช้ใส่น้ำ และอาหารทั้งเย็นจัดจนถึงร้อนจัด (-40 ถึง 250 องศาเซลเซียส) เข้าเตาอบและเตาไมโครเวฟได้ ไม่มีสารปนเปื้อนก่อมะเร็ง ขณะที่โฟมและพลาสติกทำไม่ได้อย่างนี้ แถมยังมีการปนเปื้อนสารสไตรีน มอนอเมอร์ ไดออกซิน และไวนิล คลอไรต์ มอนอเมอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารก่อมะเร็งอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น บท/หน้า (5/6) ( 25/08/2558)

7 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ ในแง่การใช้งาน บท/หน้า (5/7) ( 25/08/2558)

8 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ สำคัญที่สุดคือ จานชามจากชานอ้อยย่อยสลายได้ในเวลา 45 วันเท่านั้นเอง แต่อุปสรรคที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่เปิดใจเปลี่ยนมาใช้จานชามจากชานอ้อย ก็เพราะ ราคาที่แพงกว่าโฟม 2 เท่า แม้ว่าจะถูกกว่าพลาสติกใช้แล้วทิ้งก็ตาม เมื่อคนใช้น้อย สินค้าผลิตน้อย ต้นทุนต่อชิ้นจึงสูงแต่ถ้าเมื่อไหร่คนหันมาใช้เยอะขึ้น ราคาก็ย่อมจะถูกลง เหมือนในหลายๆประเทศ ที่บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ราคาถูกกว่าโฟมแล้ว และในที่สุดภาชนะโฟมจะต้องสูญพันธุ์ไปจากโลกเสียที บท/หน้า (5/8) ( 25/08/2558)

9 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ ขณะนี้ “ไบโอ” ยังเป็นบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้เพียงแบรนด์เดียวของไทย ที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างเป็นจริงเป็นจัง ปริมาณที่ผลิตได้ยังแค่ 1% ของปริมาณโฟมที่คนไทยใช้กัน กว่าจะถึงวันที่มีเรามีบรรจุภัณฑ์ปลอดภัยเป็นทางเลือกให้ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย ไม่รู้ว่าสุขภาพจะเป็นอันตราย โลกจะถูกทำร้าย และขยะจะล้นเมืองไปขนาดไหน บท/หน้า (5/9) ( 25/08/2558)

10 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ “ไบโอ” อ้างอิงข้อมูล : บท/หน้า (5/10) ( 25/08/2558)

11 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร เคยสังเกตหรือไม่ว่า ในบรรดาสารพัดขยะที่เราทิ้งในแต่ละวันนั้น มีจำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นขยะจาก “บรรจุภัณฑ์”จากสถิติพบว่า ในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว มีการทิ้งขยะเป็นจำนวนถึง 1.4 พันล้านปอนด์ (ราว 6 ร้อยล้านกิโลกรัม) ภายในเวลาเพียงหนึ่งวัน โดยร้อยละ 40 ของขยะเหล่านี้เป็นขยะบรรจุภัณฑ์ที่ถูกใช้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งกล่าวกันว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวิถีการกินดื่มของผู้คนในอนาคตอันใกล้ เพราะบรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้สามารถทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยต้นทุนการผลิตที่ไม่สูง และที่น่าสนใจก็คือ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้เป็นบรรจุภัณฑ์กินได้ บท/หน้า (5/11) ( 25/08/2558)

12 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร บท/หน้า (5/12) ( 25/08/2558)

13 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร “WikiCell” เป็นชื่อเรียกของบรรจุภัณฑ์ที่คิดค้นและพัฒนาโดยศาสตราจารย์ David Edwards นักวิศวกรรมชีวภาพและอาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับนักออกแบบชาวฝรั่งเศส François Azambourg และนักชีววิทยา Don Ingber ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเซลล์ธรรมชาติในผลไม้อย่างองุ่น ส้ม หรือมะพร้าว ที่มีเปลือกนอกห่อหุ้มเนื้อและของเหลวภายในมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ บท/หน้า (5/13) ( 25/08/2558)

14 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร บท/หน้า 5/14) ( 25/08/2558)

15 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร หากลองนึกถึงผลส้ม จะเห็นว่าเปลือกส้มนั้นทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความคงทนและย่อยสลายได้ในตัวเอง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องบรรจุใส่ในกล่องหรือถุงต่างหาก นอกจากนั้นเปลือกของมันยังสามารถรับประทานได้อีกด้วย แม้ว่าจะมีน้อยคนที่รับประทานเปลือกส้ม แต่ในกรณีของผลไม้ชนิดอื่นอย่างแอปเปิ้ลหรือลูกพืชนั้น การรับประทานเปลือกของมันก็เป็นเรื่องปกติ บท/หน้า (5/15) ( 25/08/2558)

16 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่พบในผลไม้เหล่านี้ จึงได้กลายเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ WikiCell ซึ่งมีลักษณะเป็นบรรจุภัณฑ์สองชั้นที่สามารถรับประทานได้ โดยชั้นในทำหน้าที่ห่อหุ้มและพยุงอาหารหรือของเหลว ด้วยการนำส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ช็อคโกแลต ผลไม้ ถั่ว เมล็ดธัญพืช ฯลฯ มาผสมกับแคลเซียม และไคโตซาน (ไบโอพอลิเมอร์ธรรมชาติจากเปลือกหอยหรือกุ้ง) หรือแอลจิเนต (สารสกัดจากสาหร่าย) เพื่อให้เกิดการจับตัวเป็นเปลือกนิ่มๆ บท/หน้า (5/16) ( 25/08/2558)

17 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร ส่วนบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกนั้นจะทำหน้าที่ปกป้องเปลือกชั้นใน โดยมีสองชนิดให้เลือกขึ้นอยู่กับการใช้งาน ชนิดแรกผลิตจากไอโซมอลต์ (สารให้ความหวานชนิดหนึ่ง) สามารถรับประทานได้โดยนำไปล้างก่อน คล้ายกับแอปเปิ้ล ส่วนชนิดที่สองนั้นผลิตด้วยชานอ้อยหรือมันสำปะหลัง ซึ่งแม้จะรับประทานไม่ได้แต่ก็สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และสามารถทดแทนบรรจุภัณฑ์กระดาษแข็งที่ใช้บรรจุอาหารในปัจจุบัน เพียงแกะออกแล้วทิ้ง คล้ายกับเปลือกส้ม บท/หน้า (5/17) ( 25/08/2558)

18 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร บรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้สามารถปรับเปลี่ยนขนาด รูปแบบ และรสชาติได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถเติมสารอาหารอื่นๆ ลงไป เพื่อเพิ่มโภชนาการให้แก่อาหารและเครื่องดื่มได้อีกด้วย โดยศาสตราจารย์เดวิดให้สัมภาษณ์ว่า WikiCell ได้รับความสนใจจากบริษัทอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำหลายแห่ง แต่เนื่องจากเทคโนโลยียังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงยังต้องมีการวิจัยและพัฒนาอีกมาก ในขณะที่ด้านผู้บริโภคเองก็คงต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงกระบวนการรับรู้ในบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่นี้พอสมควร บท/หน้า (5/18) ( 25/08/2558)

19 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร ด้วยเหตุนี้ ร้าน Wikibar ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่จึงเกิดขึ้นในปารีสเป็นสาขาแรก เมื่อต้นปี 2013 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้สัมผัส รวมถึงทำความเข้าใจนวัตกรรมนี้มากขึ้น โดยรายการอาหารชุดแรกๆ ที่วางจำหน่ายในร้าน ได้แก่ ไอศครีม โยเกิร์ต และชีส ซึ่งออกแบบให้บรรจุใน WikiCell ทรงกลมขนาดพอดีคำ สามารถหยิบรับประทานด้วยมือได้ทันที บท/หน้า (5/19) ( 25/08/2558)

20 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร ไอศครีมมะม่วงในบรรจุภัณฑ์มะพร้าว ไอศครีมช็อกโกแลตในเปลือกรสเฮเซลนัท หรือไอศครีมวนิลาในเปลือกที่ทำจากพีนัท บท/หน้า (5/20) ( 25/08/2558)

21 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ WikiCell : บรรจุภัณฑ์กินได้ ทางเลือกใหม่บนโต๊ะอาหาร โยเกิร์ตรสชาติหอมมันบรรจุในเปลือกที่ทำจากผลเบอร์รี่ อ้างอิงข้อมูล : บท/หน้า (5/21) ( 25/08/2558)

22 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุภัณฑ์ปริมาณอัตโนมัติ บท/หน้า (5/22) ( 25/08/2558)

23 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุภัณฑ์ถั่วลิสงอัตโนมัติ บท/หน้า (5/23) ( 25/08/2558)

24 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุน้ำดื่มอัตโนมัติและระบบแพ๊คโหลอัตโนมัติ บท/หน้า (5/24) ( 25/08/2558)

25 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ บท/หน้า (5/25) ( 25/08/2558)

26 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุของลงกล่องอัตโนมัติ บท/หน้า (5/26) ( 25/08/2558)

27 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ เครื่องพับกล่องอัตโนมัติ บท/หน้า (5/27) ( 25/08/2558)

28 บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์
การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์ บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ จบการนำเสนอ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทบ้างนะ บท/หน้า (5/28) ( 25/08/2558)

29 การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
บทที่ 5 เทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ แบบฝึกหัด นักศึกษาคิดว่าเทคโนโลยีในระบบงานบรรจุภัณฑ์ จะพัฒนาไปอย่างไร เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร จะพัฒนาไปอย่างไร นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่ช่วยลดปัญหาขยะ และช่วยให้ธรรมชาติกลับมาบริสุทธิ์ ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบ และยกตัวอย่างประกอบ นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรช่วยพัฒนาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในจังหวัดอุดรธานี บท/หน้า (5/29) ( 25/08/2558)


ดาวน์โหลด ppt การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google