งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
ภาพ 1 หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (หมู่บ้าน อพป.)

2 ภาพ 2 ประวัติความเป็นมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการของโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองแห่งชาติ (อพป.) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของหมู่บ้าน ทั้งในด้านการรักษาความปลอดภัย เศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (หมู่บ้าน อพป.) ขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ ทั้งสิ้น 14,328 หมู่บ้าน ในพื้นที่ของ 76 จังหวัด อำเภอ

3 จุดมุ่งหมายสูงสุดของโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองแห่งชาติ (อพป.)
ภาพ 3 จุดมุ่งหมายสูงสุดของโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองแห่งชาติ (อพป.) 1. การประสานงานให้พลังมวลชนทั้งมวลที่เกี่ยวข้องของชาติได้ผนึกกำลังที่จะต่อต้านภัยก่อการร้ายในทุกวิถีทาง 2. จัดระเบียบการบริหาร (Management) เพื่อให้การปฏิบัติ และดำเนินการ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างหน่วยราชการและเจ้าหน้าที่ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ในทุกระดับ ซึ่งจะทำให้ระบบและโครงการต่าง ๆ ของหน่วยราชการนั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและป้องกันในระดับหมู่บ้านให้บังเกิดผลสูงสุด 3. ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความปลอดภัยจากการก่อการร้ายต่าง ๆ

4 ภารกิจหลักของหมู่บ้าน อพป.
ภาพ 4 ภารกิจหลักของหมู่บ้าน อพป. การดำเนินงานของหมู่บ้าน อพป. ประกอบด้วยงานหลักที่สำคัญ จำนวน 3 งาน คือ 1. งานพัฒนาบริการ (พบก.) 2. งานพัฒนาบริหารหมู่บ้าน อพป. (พบม.) 3. งานรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (รปภ.)

5 ภารกิจหลักของโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)
ภาพ 5 ภารกิจหลักของโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)

6 ภาพ 6 1. งานพัฒนาบริการ (พบก.) ได้แก่ การจัดให้มีการฝึกอบรมราษฎรให้มีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาและบริการในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพ การฝึกอาชีพเสริม และการบริการสังคมภายในหมู่บ้าน พร้อมทั้ง ผนึกกำลังเกี่ยวกับการพัฒนาและบริการในทุก สาขาของหน่วยงานต่าง ๆ ลงในหมู่บ้าน

7 2. งานพัฒนาบริหารหมู่บ้าน อพป. (พบม.)
ภาพ 7 2. งานพัฒนาบริหารหมู่บ้าน อพป. (พบม.) ได้แก่ การจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป. เพื่อฝึกให้สามารถปกครองและการบริหารหมู่บ้าน ได้ด้วยตนเอง ตาม พ.ร.บ. จัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ ได้อย่างจริงจังและ บังเกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

8 3. งานรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (รปภ.)
ภาพ 8 3. งานรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (รปภ.) ได้แก่ การจัดให้มีการฝึกอบรมราษฎรในเรื่องการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ให้ราษฎรรู้และสามารถป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

9 ภาพ 9 บทบาทหน้าที่และภารกิจของหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (หมู่บ้าน อพป.) ดำรงความสำคัญและความต่อเนื่องในการดำเนินงานโครงการ อพป. เพื่อเป้าหมายในการพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น อันจะนำไปสู่เป้าหมายหลักของชาติ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง” รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาระบอบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานในระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ เกิดการร่วมคิด ร่วมทำ และรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมของชุมชนนั้น ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

10 ภาพ 10 ภารกิจของกระทรวงมหาดไทย ในการดำเนินงานตามโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) 1. ประกาศจัดตั้งหมู่บ้าน อพป. ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 2. กำกับดูแลและควบคุมการดำเนินงานหมู่บ้าน อพป. ให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

11 ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติเรื่องการจัดตั้งหมู่บ้าน อพป.
ภาพ 11 ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติเรื่องการจัดตั้งหมู่บ้าน อพป. ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติเรื่องการจัดตั้งหมู่บ้าน อพป. แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการพิจารณากำหนดหมู่บ้าน เป้าหมาย 2. ขั้นตอนวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบความถูกต้อง

12 1. ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการพิจารณากำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย
ภาพ 12 1. ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการพิจารณากำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย มีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้ 1.1 กอ.รมน.จว. แจ้งอำเภอเพื่อพิจารณากำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย 1.2 อำเภอประชุมหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณากำหนด หมู่บ้านเป้าหมาย 1.3 กอ.รมน.จว. คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมาย แจ้ง กอ.รมน.ภาค 1.4 กอ.รมน.ภาค ตรวจสอบหมู่บ้านเป้าหมายให้ถูกต้อง และ ส่งให้ กอ.รมน. 1.5 กอ.รมน.ดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านและส่งให้ กระทรวงมหาดไทย

13 2. ขั้นตอนวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบความถูกต้อง
ภาพ 13 2. ขั้นตอนวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบความถูกต้อง มีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้ 2.1 กระทรวงมหาดไทย แจ้งจังหวัดเพื่อแจ้งให้อำเภอ ตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อหมู่บ้าน เลขที่ของ หมู่บ้าน ตำบลที่ถูกต้อง 2.2 อำเภอแจ้งยืนยันหรือแก้ไขให้จังหวัด 2.3 จังหวัดแจ้งยืนยันหรือแก้ไขให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน อพป. ต่อไป

14 การสนับสนุนการปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย ต่อหมู่บ้าน อพป.
ภาพ 14 การสนับสนุนการปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย ต่อหมู่บ้าน อพป. กระทรวงมหาดไทย ตระหนักว่าปัจจุบันสถานการณ์ ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะ ที่หลากหลาย มีความสลับซับซ้อนรุนแรงและส่งผลกระทบ ในวงกว้าง โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ การขาดความสามัคคี ปัญหายาเสพติดปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น รวมทั้งการก่อความ ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องมีการสร้างความ

15 ต่อ เข้มแข็งให้หมู่บ้านมีภูมิคุ้มกันที่มั่นคง ด้วยการพัฒนา
ภาพ 15 ต่อ เข้มแข็งให้หมู่บ้านมีภูมิคุ้มกันที่มั่นคง ด้วยการพัฒนา ประสิทธิภาพและขีดความสามารถการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน ให้มีความรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยได้สนับสนุนการปฏิบัติงานตามโครงการ อพป. ดังนี้

16 ภาพ 16  ประกาศจัดตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) ตามข้อเสนอของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เฉลี่ยปีละ 150 หมู่บ้าน ปัจจุบัน มีการจัดตั้งหมู่บ้าน อพป. ในพื้นที่ 76 จังหวัด 717 อำเภอ 14,328 หมู่บ้าน

17 การสนับสนุนภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
ภาพ 17 การสนับสนุนภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน การสนับสนุนภารกิจด้านรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (รปภ.) โดยได้จัดทำระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการช่วยเหลือ เจ้าพนักงานของหน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) หมู่บ้านตามลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 และหมู่บ้าน อพป.

18 ฝึกอบรมทบทวนชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
ภาพ 18 ฝึกอบรมทบทวนชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จัดให้มีการฝึกอบรมทบทวนชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งในการรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมการปกครองให้การสนับสนุนงบประมาณ โดยขอความร่วมมือ กอ.รมน. ภาค 4 ในการสนับสนุนชุดครูฝึกในด้านยุทธวิธี

19 สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติหน้าที่
ภาพ 19 สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ 1. สนับสนุนอาวุธปืนให้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ขอยืมอาวุธปืนลูกซอง 5 นัด จาก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อแจกจ่ายให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) สำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

20 เดิมให้การสนับสนุนเพื่อใช้ในการฝึกอบรมทบทวน
ภาพ 20 2. สนับสนุนกระสุนปืนลูกซอง 5 นัด เดิมให้การสนับสนุนเพื่อใช้ในการฝึกอบรมทบทวน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในหมู่บ้าน อพป. เท่านั้น แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ ปัจจุบัน กรมการปกครอง ได้สนับสนุนกระสุนปืนลูกซองให้ทุกหมู่บ้านที่มีการประกาศ จัดตั้ง และที่มีโครงการฝึกอบรมทบทวนชุดรักษาความปลอดภัย หมู่บ้าน (ชรบ.)

21 เปลี่ยนแปลงการแจกจ่ายกระสุนปืนลูกซองที่ใช้ในการฝึกอบรม
ภาพ 21 เปลี่ยนแปลงการแจกจ่ายกระสุนปืนลูกซองที่ใช้ในการฝึกอบรม - เดิม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในอัตรา 4 นัด/คน และชุดครูฝึก ในอัตรา 20 นัด/หมู่บ้าน - เป็น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในอัตรา 7 นัด/คน และชุดครูฝึก ในอัตรา 30 นัด/หมู่บ้าน

22 3. กรมการปกครองได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุน
ภาพ 22 3. กรมการปกครองได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของชุด ชรบ. ในพื้นที่ 3 จชต. และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา เพื่อเป็นค่าประกอบเลี้ยงอาหาร ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค และค่าวัสดุอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของชุด ชรบ. หมู่บ้านละ 20,000 บาท/เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นมา

23 4. สนับสนุนงบประมาณให้กับหมู่บ้าน อพป. ที่จัดตั้งก่อนปี
ภาพ 23 4. สนับสนุนงบประมาณให้กับหมู่บ้าน อพป. ที่จัดตั้งก่อนปี พ.ศ ให้หมู่บ้านละ 80,000 บาท สำหรับเป็นทุนหมุนเวียนในการส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาพื้นฐานคุณภาพชีวิตให้กับราษฎรในหมู่บ้าน โดยการขับเคลื่อนของคณะกรรมการกลาง และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ของหมู่บ้าน

24 บทสรุป เรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรในหมู่บ้าน
ภาพ 24 บทสรุป เป้าหมายสูงสุดของโครงการ อพป. คือ การรักษาความสงบ เรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรในหมู่บ้าน รวมทั้งการประสานกลุ่มพลังมวลชนในพื้นที่ทุกรูปแบบ ผนึกกำลังที่จะ วางระบบรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ได้มีการจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เต็มพื้นที่ ทุกหมู่บ้าน เพื่อต่อต้านการก่อความ ไม่สงบ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานที่กำกับ ดูแล การบริหารโครงการ อพป. มุ่งที่จะ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ทั้งด้านการพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดผลสูงสุด เป็น หมู่บ้านที่เข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง สามารถที่จะ พึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

25 ภาพ 25 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google