ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสุดา พิศาลบุตร ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
นำเสนอผลงานวิชาการ เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 นำเสนอโดย รุ่งทิพย์ เกิดมีเงิน วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
2
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
6. ช่วยให้วัยรุ่นเปิดรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีเหตุผล 1. เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา 5. เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 2. เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต ความสำคัญของการคิดวิจารณญาณ 4. ทำให้ผู้เรียนแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนากระบวนการคิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
3
วัยรุ่นเปิดรับข้อมูลข่าวสารและใช้เทคโนโลยีโดยไม่ผ่านการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ขาดเหตุผล และขาดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ปัญหาที่พบ ข้อมูลจากฝ่ายกิจการนักเรียน/นักศึกษาของวิทยาลัยฯ พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่ยังเป็นปัญหาต่อตนเอง และสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งต้องลาออกกลางคันจากปัญหาดังกล่าว หลักสูตรมุ่งเน้นไปที่ทักษะในการจัดการและพัฒนาอาชีพให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม ขาดการเน้นทักษะการคิด
4
แนวทางการแก้ไข กระบวนการจัดการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครู
นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ ผู้วิจัยมีความสนใจ การคิดวิจารณญาณหรือไม่ อย่างไร การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ ปัญหาการวิจัย
5
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ
6
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ห้อง 6 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
7
วิธีดำเนินการวิจัย สอบก่อนเรียน ทดลอง สอบหลังเรียน O1 X O2
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบ One-Group pretest-posttest design คือ มีกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม (ทิวัตถ์ มณีโชติ : 85) ดังตาราง สอบก่อนเรียน ทดลอง สอบหลังเรียน O1 X O2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการทดลอง X แทน การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ O1 แทน การสอบก่อนเรียน O2 แทน การสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ
8
คะแนนการคิดวิจารณญาณ
ตารางการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย คะแนน ในการคิดวิจารณญาณระหว่างก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ คะแนนการคิดวิจารณญาณ n X S.D. t Sig. คะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้ 40 14.55 3.73 10.511* .000 คะแนนหลังการจัดการเรียนรู้ 17.52 3.63 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตาราง พบว่านักเรียนมีคะแนนการคิดวิจารณญาณ เฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.73 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.63 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีการคิดวิจารณญาณหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
9
ตารางแสดงผลการประเมินแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ รายการประเมิน X S.D. ระดับความคิดเห็น - โดยภาพรวม 1. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. ด้านเนื้อหาสาระการเรียนรู้ 3. ด้านสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ 4. ด้านการวัดและประเมินผล 5. ด้านบทบาทและความสามารถของครูผู้สอน 4.63 4.60 4.73 4.65 4.42 4.74 0.11 0.06 0.13 0.07 0.08 มากที่สุด มาก
10
1. นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ มีการคิดวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สรุปผล การวิจัย 2. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.63 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านบทบาทและความสามารถของครูผู้สอน รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาสาระการเรียนรู้ 4.73 และน้อยที่สุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล 4.42
11
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 ผู้วิจัยพบว่า การฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามกระบวนการนี้ต้องใช้เวลามากในระยะแรก ฉะนั้นควรเพิ่มเวลาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการปูพื้นฐานของนักเรียน ให้นักเรียนคุ้นเคยกับการจัดการเรียนรู้แบบนี้ในระยะเริ่มต้น 1.2 ครูหรือผู้ที่สนใจจะใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบในรายวิชาใดก็ตาม ไม่ควรเร่งรีบ หรือจำกัดเวลาในการคิด 1.3 ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ครูควรเพิ่มกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกคิดตามสถานการณ์ต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อฝึกฝนตนเองในทักษะชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังทำให้นักเรียนมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการวิจัยโดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบสำหรับนักเรียนชั้นอื่นๆ 2.2 ควรเพิ่มกลุ่มเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มที่ไม่ได้ทดลองจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ 2.3 ควรศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบที่มีต่อตัวแปรอื่นๆ เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา เป็นต้น
12
จบการนำเสนอ ขอขอบคุณทุกท่าน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.