งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การฟัง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การฟัง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การฟัง

2 การได้ยินกับการฟัง ต่างกันหรือไม่ ถ้าต่างๆ กันอย่างไร
ต่างกันหรือไม่ ถ้าต่างๆ กันอย่างไร การได้ยินและการฟังต่างกัน การได้ยิน หมายถึง กระบวนการเมื่อมีเสียงดังขึ้น การฟัง หมายถึง การรับรู้เสียงแล้วแปลเป็นความหมายของเสียงที่ได้ยิน **การฟังจึงสัมพันธ์กับกระบวนการคิด ต้องเกิดความเข้าใจและคิดตาม**

3 ความแตกต่างระหว่างการฟังกับการได้ยิน
การได้ยิน การฟัง ๑. ใช้อวัยวะการรับเสียง ๑. ใช้อวัยวะการรับเสียง ๒. รับเสียงโดยอัตโนมัติ ๒. เป็นการรับเสียงที่เกิดจาก / ไม่ได้ตั้งใจฟัง ความสนใจ / ตั้งใจฟัง ๓. ไม่ต้องใช้กระบวนการทาง ๓. ใช้กระบวนการทางสมอง สมองในการทำความเข้าใจเสียง ในการทำความเข้าใจเสียง ๔. ไม่ต้องแสดงปฏิกิริยา ๔. แสดงปฏิกิริยาตอบสนอง ตอบสนอง

4 ลำดับขั้นของกระบวนการฟัง
ขั้นได้ยิน - เป็นกระบวนการฟังขั้นต้น - เป็นกลไกอัตโนมัติและไม่อาจบังคับตนเองไม่ให้ได้ยินเสียงต่างๆ ได้ ขั้นแยก - แยกเสียง แยกพยางค์ - โยงเข้ากับประสบการณ์เดิมที่เคยรับฟังมา ขั้นยอมรับ - ยอมรับว่าสื่อความหมายในภาษาที่ตนเองรู้จักหรือไม่

5 ลำดับขั้นของกระบวนการฟัง (ต่อ)
ขั้นตีความ - แปลความหมายสิ่งที่ได้ยิน - ตีความเป็นคำ กลุ่มคำ หรือข้อความ ขั้นเข้าใจ - เข้าใจความหมาย - อาศัยความคิดและประสบการณ์ ขั้นเชื่อ - ใช้วิจารณญาณของผู้ฟังตัดสินว่าเป็นจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือหรือไม่ และยอมรับได้หรือไม่

6 ลำดับขั้นของกระบวนการฟัง (ต่อ)
นักศึกษาลองลำดับขั้นตอนของกระบวนการฟังจากสถานการณ์ต่อไปนี้ นาย ก. กำลังนั่งเรียนวิชาภาษาไทย ทันใดนั้นอาจารย์ที่กำลังสอนอยู่ จึงพูดว่า “ตื่นได้แล้ว” สถานการณ์นี้มีลำดับขั้นของกระบวนการฟังอย่างไร

7 ความสำคัญของการฟัง การฟังเป็นทักษะการสื่อสารที่มีบทบาทและสำคัญต่อการดำเนินชีวิต การฟังเป็นกระบวนการของการเรียนรู้ภาษาพูดของมนุษย์ ได้ยินหรือฟัง เลียนเสียง เข้าใจระบบภาษา

8 ข้อมูลข่าวสารและความรู้ การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาด้านอื่นๆ
ประโยชน์ของการฟัง ประโยชน์ต่อตนเอง ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ความเพลิดเพลิน การเข้าสังคม การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาด้านอื่นๆ การตัดสินใจ การประกอบอาชีพ ประโยชน์ต่อสังคม

9 ๓. วัตถุประสงค์ของการฟัง
๓. วัตถุประสงค์ของการฟัง ๓.๑ ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ ผู้ฟังเกิดความรู้โดยตรง เช่น นักเรียนนักศึกษาฟังบรรยายของครูอาจารย์ ฟังวิทยากร ฟังเสวนา ฟังอภิปรายและฟังการรายงานของเพื่อน เป็นต้น ผู้ฟังเกิดความรู้โดยอ้อม เช่น ฟังการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ เป็นต้น

10 ๓.๒ ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย
๓.๒ ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย การฟังเพื่อให้เกิดเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ภาวะแวดล้อม ความวิตกกังวลจากการดำเนินชีวิตในสังคม - การฟังเพลง - ฟังและชมการแสดงดนตรี - ฟังเรื่องเบาสมอง - ฟังการอ่านทำนองเสนาะ - ฟังเสียงธรรมชาติ

11 ๓.๓ ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจ
๓.๓ ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจ ผู้ฟังจะต้องใช้วิจารณญาณในการฟังมากที่สุด และต้องประเมินค่าสิ่งที่ได้ฟังว่ามีเหตุมีผลน่าเชื่อถือหรือไม่ การฟังปราศรัยหาเสียง การฟังโฆษณาสินค้า ฟังการขอร้อง วิงวอน ฯ

12 ๓.๔ ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ
๓.๔ ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ การฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้อื่น เพื่อเข้าใจบุคคลหรือเรื่องนั้นๆ เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันและลดความขัดแย้งต่างๆ การฟังเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกิดขึ้นได้ในทุกระดับชั้น

13 ๓.๕ ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ
การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญาและวิจารณญาณ ยกระดับจิตใจ ค้ำชูจิตใจให้สูงขึ้นและประณีตขึ้น - การฟังธรรมะ ฟังเทศน์ ฟังสุนทรพจน์ ฟังโอวาท

14 ๓.๖ ฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต
การฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต ให้ทารกในครรภ์ฟังเสียงเพลงเชื่อว่าเป็นการพัฒนาสมอง การฟังเสียงตามธรรมชาติ เชื่อว่าจะบำบัดอาการเครียด การซึมเศร้า และคนไข้จิตเวชได้

15 รูปแบบของการฟัง การฟังโดยผู้ฟังไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการสื่อสาร
การฟังโดยผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการสื่อสาร การฟังโดยประกอบกับการดู

16 แนวทางปฏิบัติของผู้ฟังที่ดี ลักษณะของผู้ฟังที่ไม่ดี
1. วางใจเป็นกลาง 1. มีอคติ และมีความคิดคับแคบ 2. มีจุดมุ่งหมายในการฟัง 2. ไม่มีจุดมุ่งหมายในการฟัง 3. ฟังอย่างตั้งใจ 3. ไม่ตั้งใจ 4. ฟังอย่างอดทน 4. ไม่อดทน 5. มีมารยาทในการฟัง 5. ไม่มีมารยาท 6. จับใจความ 7. ใช้วิจารณญาณในการฟัง 8. จดบันทึก

17 การจับใจความสำคัญจากการฟัง
การจับใจความลักษณะนี้ไม่มีงานเขียนหรือย่อหน้าให้อ่าน มีกลวิธีดังนี้ บันทึกขณะฟัง ขณะฟังต้องหาคำกุญแจ จับประเด็นความคิด ตีความ และวิเคราะห์สิ่งที่ได้ฟัง ตั้งคำถามว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด เพราะเหตุใด อย่างไร และพยายามหาคำตอบหากฟังเรื่อง คิดถึงวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็นของผู้ส่งสาร เรียงลำดับความคิด

18 อุปสรรคและปัญหาในการฟัง
๑. สาเหตุจากผู้ฟัง ๑.๑ การขาดความพร้อมในการฟัง ๑.๒ นิสัยการฟังที่ไม่ดี

19 ๒. สาเหตุจากผู้พูด ๒.๑ ผู้พูดขาดทักษะการส่งสาร
๒. สาเหตุจากผู้พูด ๒.๑ ผู้พูดขาดทักษะการส่งสาร ๒.๒ ผู้พูดรู้สึกประหม่า ตื่นเต้น หรือกลัวจนพูดไม่ออก หรือพูดติดขัด ๒.๓ ผู้พูดไม่มีความรู้เรื่องที่จะพูดเพียงพอ ๒.๔ ขาดบุคลิกภาพที่ดีขณะพูด

20 ๓. สาเหตุจากสาร ๔. สาเหตุจากสื่อ ๓.๑ สาเหตุจากเนื้อหา
๓. สาเหตุจากสาร ๓.๑ สาเหตุจากเนื้อหา ๓.๒ สาเหตุจากภาษา ๔. สาเหตุจากสื่อ ไมโครโฟนเสียงขาดหายเป็นช่วงๆ โทรทัศน์พร่ามัว สัญญาณไม่ดี

21 ๕. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม
๕. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม - แสงสว่างน้อยเกินไป - อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินไป - ร้อนหรือหนาวเกินไป ฯ


ดาวน์โหลด ppt การฟัง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google