กิจกรรมด้านโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กิจกรรมด้านโลจิสติกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กิจกรรมอีคอมเมิร์ซระหว่างธุรกิจ ในด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพและการลดต้นทุน

2 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์
กิจกกรมหลัก (Primary Activities) เป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับการ ผลิต การกระจายสินค้า การส่งมอบสินค้าและการบริการลูกค้า โลจิสติกส์ (Logistic) จัดเป็นในกิจกรรมหลักของธุรกิจ ที่มีอะไรมากกว่าการขนส่ง สินค้า จุดประสงค์หลักของโลจิสติกส์คือ การจัดเตรียมสินค้าที่เหมาะสม ในปริมาณที่ เหมาะสม ในสถานที่ที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้การจัดเตรียมสินค้าให้มี ปริมาณให้ปริมาณที่พอดีกับการซื้อและการขาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากมีสินค้า มากเกินไป ย่อมทำให้ต้นทุนด้านคลังสินค้า และสินค้าล้าสมัย หรือกรณีสินค้าขาด ก็จะทำ ให้เสียโอกสในการขาย พนักงานและเครื่องจักรในสายการผลิตอยู่ในสถานะว่างงานเป็นต้น ดังนั้นโลจิสติกส์จึงเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมถึงการควบคุมกิจกรรมการลำเลียงสินค้า จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ทีเกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การ เคลื่อนย้าย การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า การบริหารต้นทุน และการกระจายสินค้า

3 โดยจะอำนวยความสะดวกในด้านกระบวนการโหลดของสินค้า ตั้งแต่จุดเริมต้นของ การผลิต จนกระทั่งเป็นสินค้าพร้อมจำหน่าย และกระจายไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อีกทั้งระบบโลจิสติกส์ยังถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบจัดการ โซ่อุปทานด้วย กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์ประกอบด้วย การจัดการความเคลื่อนไหวด้านโลจิสติกส์ ขาเข้า (Inbound Logistics) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลำเลียงวัตถุดิบจาก ผู้ขายปัจจัยการผลิต และการจัดการความเคลื่อนไหวของ โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ผลิต สำเร็จแล้ว (Finished Goods) ออกสู่ท้องตลาด นั่นร่วมถึงกิจกรรมการส่ง มอบ การจัดเก็บ การควบคุมคลังสินค้า การควบคุมและจัดตารางเวลารถเพื่อการ ขนส่ง และการกระจายสินค้า และด้วยกิจกรรมต่างๆที่มีอยู่มากมายในงานด้านโลจิ สติกส์ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพื่อเชื่อมโยงสื่อสารเกี่ยวกับการทำ ธุรกรรมอย่างต่อเนื่องระหว่างบริษัทที่อยู่ภายในโซ่อุปทาน ย่อมส่งผลต่อการลด ต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพจึงเป็นที่มาของ e-Logistics

4 E-Logistics เป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการโลจิสติกส์ ด้วยการ นำส่งเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เอกสาร ซึ่งมีส่วนช่วยในเรื่องการ อำนวยความสะดวกและความรวดเร็ว ในขณะเดียวกันในเรื่องความปลอดภัยเพื่อ ป้องกันการปลอมแปลง มีระบบความปลอดภัยแบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ เช่น การ ระบุตัวตน การควบคุมการเข้าถึง การเข้ารหัส และลายเซ็นดิจิตอล ด้วยระบบ e- Logistics ที่มีเป้าหมายในการบูรณาการให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ สามารถเชื่อมโยงข่าวสารเข้าด้วยกันภายในโซ่อุปทาน ย่อมส่งผลต่อการเพิ่ม ประสิทธิภาพในด้านการบริหาร และช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมให้กับ ผู้ประกอบการ จนนำไปสู่การทำธุรกรรมด้านโลจิสติกส์ทั้งขาเข้าและขาออก สามารถ ดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จได้อย่างรวดเร็ว

5 กิจกรรมสนับสนุน กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่ให้การ สนับสนุนกิจกรรมหลักกล่าวคือ เป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการ ปฏิบัติงานในแต่ละวันของธุรกิจให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยีและ การจัดหาวัตถุดิบ โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร (Firms Infrastructure) เกี่ยวข้องกับการ บริหารและจัดการภายในองค์กร ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมาย การบัญชี และการจัดการการเงิน โดยสามารถใช้เทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศเข้า มาช่วย เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันภายในองค์กร การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดตารางงานทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

6 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Managment) เกี่ยวข้องกับการสรรหาและการว่าจ้างพนักงาน การฝึกอบรม การพัฒนาวิชาชีพ การ จัดการผลประโยชน์ด้านสวัสดิการ การเลื่อนขั้น การประเมิลผล และการจ่ายคาตอบ แทนเป็นต้น โดยมีระบบสารสนเทศที่ใช้เป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลของพนักงานที่ สามารถสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย การพัฒนาด้านเทคโนโลยี (Technology Development) เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่มีความหลากหลายและ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำธุรกิจของแต่ละองค์กรเป็นสำคัญ กิจกรรมการพัฒนา เทคโนโลยี อาจประกอบด้วยการสร้างเครือข่ายเสมือนขึ้นมา ที่เป็นแหล่งรวมของ นักวิจัยที่สามารถเข้าร่วมกันทำงาน การเสนองานวิจัย การเผยแพร่งานวิจัยแบบ ออนไลน์ และการสนับสนุนให้นักวิจัยร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกหรือบริษัทคู่ค้า เพื่อบริการและพัฒนางานวิจัยร่วมกัน

7 การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) กิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ประกอบด้วยการ คัดเลือกและการประเมินผู้ขายที่มีศักยภาพ การคัดเลือกสินค้าที่มีความเป็นเฉพาะ การ สั่งซื้อและการแก้ปัญหาเรื่องราวต่างๆ ภายหลังจากการได้รับสินค้าหรือบริการ ในการจัดซื้อ จะมีการจัดซื้อวัตถุดิบทางตรงและทางอ้อม - วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials) หมายถึงวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยตรง กล่าวคือเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบสำคัญและเป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปขึ้นมา - วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Materials) หมายถึงวัตถุดิบใดๆทั้งหมดที่ เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า หรือมักเรียกกันว่า วัสดุโรงงานตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนอะไหล่ เครื่องจักร กระดาษทราย หรือเครื่องมืออื่นๆเป็นต้น - การจัดซื้อตามสัญญา (Contract Purchasing) ซึ่งปกติจะเป็นการทำ สัญญาซื้อขายแบบระยะยาว โดยบริษัทจะมีการเจรจาตกลงทำสัญญากับผู้ขายปัจจัย เพื่อ กำหนดให้เป็นผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับทางบริษัทด้วยการเติมวัตถุดิบคงคลังให้เพียงพอ ตลอดเวลา

8 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เป็นวิธีการบริหารจัดการภาครัฐ สมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายมาใช้เพื่อเพิม ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งครอบคลุมงานบริการแกประชาชน ภาคธุรกิจ แม้กระทั่งพนักงานของรัฐเอง ส่วนผลต่อการทำงานภายในภาครัฐ และ การติดต่อระหว่างภาครัฐด้วยกันมีความรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อประชนชนใน การติดต่อราชการกับภาครัฐ และการติดต่อระหว่างภาครัฐด้วยกันมีความรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อประชนชยในการติดต่อราชการกับภาครัฐ อีกทั้งยังเป็น เทคโนโลยีที่ช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐมากขึ้น และรองรับการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่มีการติดต่อกันระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐทั้งในและ ต่างประเทศ

9 ภาครัฐกับประชาชน (Government-to-Citizens) เป็นงานบริการ ของภาครัฐที่มุ่งสู่ประชาชนโดยตรง ซึ่งการบริการดังกล่าว ประชาชนสามารถดำเนิน ธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การชำระ ภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียง และการบริการค้นหา ข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซด์เป็นต้น ภาครัฐกับภาคธุรกิจ (Government-to-Business) เป็นการ ให้บริการแกภาคธุรกิจหรือผู้ประกอบการ โดยภาครัฐจะอำนวยความสะดวกในเรื่อง การทำธุรกรรมต่างๆรวมไปถึงการเปิดให้เอกชนมีการแข่งขันกันเพื่อเสนอสินค้าหรือ บริการให้กับภาครัฐภายใต้ความโปร่งใสและเป็นธรรม ตัวอย่างเช่น การจดทะเบียน การค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การ ส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและ เล็ก

10 ภาครัฐกับภาครัฐ (Government-to-Government) เป็นรูปแบบการ ดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆของภาครัฐด้วยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN) และอินเทอร์เน็ต เพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านกระบวนการทำงาน ผ่านการประสานงานและ แลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการระหว่างหน่วยงานภายในและภาบนอกประเทศ การลง นามด้วยลายเซ็นดิจิตอลแทนการลงนามแบบเดิมๆ เพื่อมุ่งไปสู่ความได้เปรียบอันรวดเร็ว (Economy of Speed) ที่มุ่งตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือสถานการฯต่างๆได้ อย่างทันท่วงที การบูรณาการให้หน่วยงานในภาครัฐทำงานร่วมกัน (Collaboration) การแบ่งปันข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ภาครัฐกับพนักงานของรัฐ (Government-to-Employee) เป็นการนำ ระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมระหว่างภาครัฐกับพนักงาน ของภาครัฐ ทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในเรื่องการสื่อสารและการรับรู้ข่าวสารต่างๆของ นักงาน ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานในเรื่องการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐ การจัดการ เงินเดือนและสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และข้อบังคับการปฏิบัติงานของ ภาครัฐ

11 การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) หรือเรียกว่า EDI คือการเปลี่ยนแปลงเอกสารทางธุรกิจ ระหว่างคู่ค้าที่ทำธุรกิจร่วมกัน ด้วยการส่งผ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไป ยังอีกเครื่องหนึ่ง สำหรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกนำมาใช้แทนเอกสารกระดาษนั้น จะต้องเป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานสากลซึ่งมาตรฐานเปรียบเทียบเสมือนกับ ภาษากลางที่ใช้สื่อสารระหว่างคู่ค้าด้วยกันทำให้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถเปลี่ยนแปลงกันได้ทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นการประมวลผลแบบอัตโนมัติที่ไม่ ต้องพึ่งพาการประมวลผลด้วยมือ เหมาะกับงานที่ต้องทำซ้ำๆประจำทุกวัน (Job Routines) และงานที่ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก เช่นใบสั่งซื้อ ใบกำกับสินค้า ใบตราส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินเป็นต้น

12 ระบบ EDI ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดต้นทุน ลดความล่าช้า และลดข้อผิดพลาดที่ เกิดขึ้นจากงานประจำที่ทำด้วยมือ ซึ่งผู้ใช้อาจกรอกเอกสารข้อมูลผิดพลาดได้ทุกเมื่อ และการช่วยลดข้อผิดพลาดนี้เอง ย่อมนำไปสู่ความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่าง องค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นย่อมก่อให้เกิดความสูญเสีย และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆตามมากมาย ได้แก่ - การสูญเสียรายได้ เนื่องจากเรียกเก็บเงินไม่ถูกต้อง - การปฏิเสธการชำระเงิน กรณีไม่เป็นไปตามสัญญาข้อตกลงระหว่างคู่ค้า - ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม กับการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหล่านั้น - ความล่าช้าในกระบวนการสั่งซื้อ - เสื่อมเสียชื่อเสียง รวมถึงความสัมพันธ์กับลูกค้า

13 การจัดการโซ่อุปทานโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) เป็นการ จัดการกิจกรรมในแต่ละกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการกับผู้ขาย ปัจจัยการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านการผลิตและนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรให้แก่ องค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บเทคโนโลยี สารสนเทศ การจัดจำหน่าย และการขนส่ง ซึ่งภาพรวมของการจัดการโซอุปทานนั้น ถือเป็นการบูรณาการทั้งระบบในด้านการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องทั้งอุปสงค์และ อุปทานให้บรรลุผลได้อย่างลงตัว เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สงผลต่อ การลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด ดั้งนั้นองค์กรหรืออุตสาหกรรมในปัจจุบัน ล้วนต้องการหาพันธมิตรร่วมค้า เพื่อเข้ามา อยู่ภายในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการใช้พันธมิตรเป็นหุ้นส่วน ทางการค้าและเติบโตไปด้วยกัน

14 การสร้างคุณค่าในโซ่อุปทาน จากเสถียรภาพความใกล้ชิดของการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารด้วยความสัมพันธ์แบบระยะยาวระหว่างคู่ค้า ในฟากฝั่งผู้ซื้อก็มีความ คาดหวังเช่นกัน เช่น การลดราคาประจำปีและการปรับปรุงคุณภาพในตัวผลิตภัณฑ์ จากผู้ขายในแต่ละขั้นของโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตามผู้มีส่วนร่วมทุกคนในโซ่อุปทานจะ มีการแบ่งปันข้อมูลและทำงานร่วมกันเพื่อเร่งสร้างคุณค่า และยอมเป็นสิ่งที่ดีหาก การประสานงานภายในโซอุปทาน ได้สร้างคุณค่าในระดับที่พอเพียงแก่ผู้ขายปัจจัย การผลิตแต่ละราย สามารถแบ่งผลประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่ลดลงและจากการ ดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ข้อดีของการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้จัดการโซอุปทาน - แบ่งปันข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของลูกค้าให้กับผู้มี ส่วนร่วมได้ทราบทั่วถึงกัน - ได้รับข่าวสารที่แจ้งอย่างรวดเร็ว เกี่ยวกับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ - จัดเตรียมข้อกำหนดรายละเอียดและงานเขียนแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

15 - เพิ่มความเร็วในการประมวลผลธุรกรรม - ลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินธุรกรรม - ลดข้อผิดพลาดในการป้อนข้อมูลเพื่อดำเนินธุรกรรม - แบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับการสูญเสียจากการผลิต (Defect Rates) และ นำไปสู่การควบคุมอัตราการสูญเสียในระดับต่ำ เพื่อสะท้อนถึงผลิตภาพ (Productivity) ที่ดีกล่าวคือ เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ ผลผลิตมีปริมาณหรือมีมูลค่ามากขึ้น

16 การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโซ่อุปทาน หลายบริษัทได้นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้เพื่อ จัดการโซ่อุปทาน ด้วยวิธีการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพตลอดภายในห่วงโซ่ บริษัทเหล่านี้ได้ ค้นพบถึงแนวทางในการเพิ่มความเร็วในกระบวนการทำงาน การลดต้นทุน และเพิ่มความ ยึดหยุ่นในการผลิต ที่พวกเขาสามารถตอบสนองต่อปริมาณการเปลี่ยนแปลงและตอบสนอง ต่อความเป็นธรรมชาติของผู้บริโภคอย่างสูงสุด ตัวอย่างเช่น บริษัท Boing ได้เกิด ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการผลิตและตารางกำหนดเวลาการผลิต ทำให้บริษัทได้ทำการปิดสาย งานประกอบเครื่องบินทั่วทั้งระบบยาวนานหลายสัปดาห์ ทำให้ต้นทุนของบริษัทเพิ่มขึ้น 1.5 พันล้านดอลลาร์ ทางบริษัทจึงได้ลงทุนสารสนเทศใหม่ๆเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการ ผลิต มีระบบการวางแผนและควบคุมงานด้านโลจิสติกส์ในทุกส่วนประกอบของโซ่อุปทาน โดยบริษัท Boing ได้ทำงานร่วมกับผู้ขายปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถ จัดเตรียมและส่งชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินได้อย่างถูกต้อง ภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ทาง Boing ยังได้คุ้มครองรักษาสมาชิกทุกคนภายในโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง มี การแจ้งให้ทราบถึงการบรรลุในผลผลิตของงาน ทำให้กระบวนการประกอบเครื่องบินใช้ เวลาสั้นลง

17 การค้นหาคู่ค้ามาเป็นพันธมิตรในโซ่อุปทาน ต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
- ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน - ความเข้าใจอย่างลงตัวในสายผลิตภัณฑ์ (Product Line) - เทคโนโลยีอยู่ในระดับเดียวกัน หรือไม่แตกต่างกันมากนัก - วัฒนธรรมองค์กรไม่แตกต่างกัน - สถานะของตัวบริษัท ค่อนข้างแข็งแรง


ดาวน์โหลด ppt กิจกรรมด้านโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google