งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อีคอมเมิร์ซกับจริยธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อีคอมเมิร์ซกับจริยธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อีคอมเมิร์ซกับจริยธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม

2 ด้วยวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วนั้นได้ ส่งผลต่อพฤติกรรมเสมือน (Virtual Behavior) จากกลุ่มบุคคลไม่หวังดีที่ได้อาศัย ช่องทางออนไลน์ในการเข้ามาล่วงล้ำสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเด็นเรื่องของจริยธรรม สังคม และการเมือง แล้วเราต้องมีการวางกฎระเบียบหรือข้อบังคับอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ที่มีผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราความเจริญของเทคโนโลยี

3 อีคอมเมิร์ซกับปัญหาในเรื่องของจริยธรรม สังคม และการเมือง
เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ในเรื่องการใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ได้ส่งผลกระทบต่อประเด็นในเรื่องจริยธรรมสังคมและการเมือง ในระดับที่หลายๆคนคาดไม่ถึง โดยสังเกตจากข่าวสารที่เผยแพร่อยู่บนหนังสือพิมพ์ประจำวันและสื่ออื่นๆ ล้วนให้ข่าวที่เกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากตัวเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรวมถึงวิธีการนำมาใช้ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์จากการทำธุรกิจที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก และการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซมาใช้ ก็ได้ส่งผลต่อสิ่งที่เคยมีอยู่เดิม ทำให้เสียระบบเดิมไม่ว่าจะเป็นในด้านของสังคม ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และความเข้าใจ

4 แบบจำลองสำหรับจัดระเบียบปัญหา
สิทธิด้านข่าวสาร (Information Rights) เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในสังคมข่าวสาร โดยสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) นั้นเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลในการที่จะขออยู่เพียงลำพัง โดยปราศจากการถูกจับตามองหรือถูกรบกวน ซึ่งครอบคลุมทั้งสถานที่ทำงานหรือสิทธิส่วนบุคคลภายในบ้านพักของตนเป็นต้น ทั้งนี้ในการก้าวล้ำสิทธิผู้อื่นด้วยความชอบธรรมนั้น จำเป็นต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบก่อนเสมอ สิทธิด้านทรัพย์สิน (Property Rights) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ควรได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะยุคเทคโนโลยีเว็บและอินเทอร์เน็ต ที่ผู้คนสามารถคัดลอกงานลิขสิทธิ์และนำไปเผยแพร่ได้ทั่วโลก

5 ระบบอภิบาล (Governance) การกระทำใดๆ ก็ตามบนอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซควรอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐบาล โดยกฎหมายที่ร่างไว้ควรมีขอบเขตชัดเจนว่าอยู่ภายใต้กฎหมายระดับรัฐ ระดับประเทศ และหรือระดับชาติ ความปลอดภัยและความผาสุกของประชาชน (Public Safety and Welfare) ภาครัฐได้เตรียมช่องทางในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซให้กับประชาชนอย่างเป็นธรรมในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าไปควบคุมเนื้อหาออนไลน์ โดยเฉพาะสื่อลามกอนาจาร หรือสื่อที่เกี่ยวข้องกับการพนัน รวมถึงภัยคุกคามต่อความปลอดภัยและความผาสุกของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนทั้งกับตนเองและผู้อื่น

6 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับจริยธรรม
จริยธรรม (Ethics) เป็นการศึกษาถึงหลักคุณธรรมในการที่บุคคลและองค์กรสามารถนำไปใช้ เพื่อนำไปสู่ความประพฤติภายใต้เสรีภาพที่มีขอบเขตอันเหมาะสม ดังนั้นจริยธรรมจึงหมายถึงความถูกต้องดีงาม ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติของตัวมนุษย์อยู่แล้ว โดยในทุกๆสังคมจะเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์หรือกติกาขึ้นมาและนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานของตนเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี อะไรคือความถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับในสังคม ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นพันธะสัญญาที่ว่าด้วยการทำงานให้แก่บุคคล องค์กร หรือสังคม เพื่อแสดงถึงการรู้จักภาระหน้าที่ของตนที่จะรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย อย่างเต็มความสามารถตามที่ได้ตกลงกันไว้

7 การมีจิตสำนึกและยอมรับผลการกระทำ (Accountability) หมายถึงการพร้อมที่จะรับผิดและยอมรับผลจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ โดยผลการปฏิบัติงานใดๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำ เพื่อหาผู้รับผิดชอบจากการกระทำที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กร หรือสังคมก็ตาม ทั้งนี้ผู้นำที่ดีย่อมมีจิตสำนึกต่อการยอมรับผลการกระทำในฐานะที่ตนเป็นผู้นำ ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้นำที่ไม่ดี ที่คอยออกหน้าเฉพาะผลลัพธ์ของงานออกมาดีเท่านั้น ในขณะเดียวกันเมื่อผลลัพธ์ของงานไม่ดีก็จะปัดความรับผิดชอบไปยังผู้อื่น ความรับผิดชอบในทางกฎหมาย (Liability) เกี่ยวข้องกับกฏหมายที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำที่ผิดพลาดแก่บุคคล องค์กร หรือสังคม

8 กระบวนการทางกฎหมาย (Due Process) เพื่อให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ดังนั้นผู้เสียหายจึงมีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อเรียกร้องให้พิจารณาคดีความเพื่อพิสูจน์ ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานของการนำกฎหมายมาใช้อย่างถูกต้อง ยุติธรรมละได้รับการยอมรับในระดับสากล

9 อีคอมเมิร์ซกับปัญหาด้านจริยธรรม
สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา สามารถถูกละเมิดสิทธิ์ได้ง่ายมากบนอินเทอร์เน็ต และจากผลการละเมิดสิทธิ?เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียเม็ดเงินจำนวนมากแก่เจ้าของสิทธิ์ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) แหล่งข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของผู้บริโภคที่เกิดจากการเข้าไปทำธุรกรรมที่ผู้บริโภค จำเป็นต้องกรอกข้อมูลสำคัญต่างๆ ลงในแบบฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน รวมถึงแหล่งจัดเก็บข้อมูลต่างๆบนอินเทอร์เน็ต อาจได้รับการถูกเผยแพร่ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของ

10 เสรีภาพในการพูดและการระงับ จัดเป็นประเด็นปัญหา ที่มีความพยายามเข้าไปควบคุมพฤติกรรมอันน่ารักเกียจ การกระทำผิดต่อกฎหมาย และข่าวสารที่อาจเป็นอันตรายบนอินเทอร์เน็ต การโต้เถียงซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งในระดับ บุคคล องค์กร แม้กระทั่งภาคการเมืองโดยการปะทะกันเกิดขึ้นได้จากการมีเสรีภาพในการพูด การป้องกันการฉ้อโกงแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ เป็นเรื่องง่ายในการเข้าถึงผู้คนนับล้านบนอินเทอร์เน็ต จึงนำไปสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในหลายๆรูปแบบ ดังนั้นสิ่งที่ตามมาคือการฉ้อโกงในรูปแบบต่างๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ดังนั้นความสำเร็จของอีคอมเมิร์ซจึงขึ้นอยู่กับกลไกป้องกันการฉ้อโกงให้แก่ผู้บริโภค และผู้ประกอบการด้วย

11 กฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา จะอ้างถึงขอบเขตทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายประเภทต่างๆ ได้แก่ กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายความลับทางการค้า และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์หรือการออกใบอนุญาตและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับกฏระเบียบของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความรู้สึก รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ โดยมีผลต่อวิชาความรู้ต่างๆ ทั้งงานด้านการแสดงและถ่ายทอดเสียงและภาพ การโฆษณา และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นส่วนหนึ่งของโลกธุรกิจที่สมควรได้รับการปกป้อง

12 ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตน ในการสร้างสรรค์โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบงานจากผู้อื่น สำหรับงานสร้างสรรค์ตรงตามประเภทกฏหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ จะได้รับความคุ้มครองโดยทันทีที่ได้สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียนมี 9 ประเภท ได้แก่ - งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ - งานนาฏกรรม เช่น ท่ารำ ท่าเต้น - งานศิลปกรรม เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย - งานดนตรีกรรม เช่น ทำนอง เนื้อร้อง

13 - งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทป ซีดี - งานโสตทัศนวัตถุ เช่น วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือแม้กระทั้งภาพและเสียง - งานภาพยนตร์ - งานแพร่เสียงแพร่ภาพ - งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือ ศิลปะ ดังนั้นผู้ละเมิดในงานสร้างสรรค์ที่เข้าข่ายดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก เจ้าของสิทธิ์จะถือว่าผู้นั้นมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ถูกละเมิดสิทธิ์สามารถ ฟ้องร้องต่อผู้ละเมิดฐานผิดกฏหมายละเมิดลิขสิทธิ์ได้

14 สิทธิบัตร (Patents) หมายถึงหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามกฎหมายที่กำหนด ถือเป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์ติดต้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิในการผลิตสินค้าและจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

15 เครื่องหมายการค้า (Trademarks) หมายถึงสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะ ที่ใช้ระบุสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้บริโภคเพื่อแยกแยะได้ถึงความแตกต่าง โดยเครื่องหมายการค้าสามารถนำไปใช้โดยบุคคล ภาคธุรกิจ หรือ นิติบุคคลอื่นๆ เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มา การแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าและบริการของตนจากบรรดาสินค้าหรือบริการอื่นๆ นอกจากนี้เครื่องหมายทางการค้ายังปกป้องถึงถ้อยคำ ชื่อ สัญลักษณ์ เสียง กลิ่น หรือสีที่ใช้แยกความแตกต่างในตัวสินค้าและบริการจากผู้ผลิตหือผู้จำหน่าย เพื่อบ่งชี้ถึงแหล่งที่มาของสินค้านั้นด้วย


ดาวน์โหลด ppt อีคอมเมิร์ซกับจริยธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google