งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เศรษฐกิจพอเพียง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เศรษฐกิจพอเพียง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เศรษฐกิจพอเพียง

2 คำนำ ช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ หัวใจของคนไทยทั้งชาติแตกสลาย เมื่อทราบข่าวการเสด็จสวรรคตของพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย ช่างเป็นข่าวร้ายที่สุดในรอบปีและข่าวร้ายที่สุดในชีวิตของดิฉันก็ว่าได้ ครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของแผ่นดินสิ้นแล้วหรือ ความรู้สึกช่างเคว้งคว้างเสมือนเรือที่ขาดหางเสือ จนทำอะไรไม่ถูก สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในสำนึกที่ฉุกคิดขึ้นมาได้ คือ การทำความดีเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน ด้วยการถวายงานในความเป็นครูมืออาชีพให้จงได้ จะมีพระราชาพระองค์ใดในโลกที่ทรงใช้พระราชวังที่ประทับเป็นห้องทดลองค้นคว้า สาธิต ทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่สำหรับสอนและถ่ายทอดให้ประชาชนอันเป็นที่รักของพระองค์ เหมือนในหลวง รัชกาลที่ ๙ ของคนไทย นี่แหละคือคุณสมบัติที่เยี่ยมยอดของต้นแบบของครูในศตวรรษที่ ๒๑ ผลจากการที่ได้ทดลอง ได้ปฏิบัติจริงในเรื่องดังกล่าว ล้วนต้องใช้ พระวิริยะอุตสาหะ ความอดทน และความเพียร เป็นอย่างสูง ก่อให้เกิดโครงการต่างๆ จากพระราชกรณียกิจมากกว่าสี่พันโครงการทั่วประเทศ พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่างในทุกๆ เรื่อง ทรงยึดถือว่า “แบบอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน” แม้วันนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” สิ้นลงแล้ว แต่พระจริยวัตรอันเพริศแพร้ว งดงาม ยังติดตรึงฝังใจคนไทยทั้งชาติ โดยเฉพาะดิฉันซึ่งเป็นครูผู้สอน แม้จะโศกเศร้าอาลัยสักเพียงใด ก็จะขอน้อมนำทุกถ้อยคำของพระองค์สู่การปฏิบัติ ในหน้าที่ของความเป็นครู ขอเดินตามรอยพระบาทด้วยความมั่นใจในพลังแห่งความดี ขอถวายความอาลัย ถวายงานสืบสานความเป็นครู อุ้มชูดูแลศิษย์นิจนิรันดร์

3 คำนำ วันนี้ “ครูของแผ่นดิน” สิ้นลงแล้ว พระดวงแก้วมาลาลับกลับสวรรค์ ขอเดินตามเอกองค์พระทรงธรรม์ เสริมสร้างสรรค์งดงามความเป็นครู การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ เป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส ตลอดจนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีในชีวิตประจำวัน ของครูและนักเรียนตลอดจนประชาชนทุกคน และเพื่อประกอบการเรียนการสอนโดยบูรณาการในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งผู้จัดทำหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างมาก ตลอดจนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ และท้ายที่สุดนี้ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆ ท่าน มา ณ โอกาส นี้ค่ะ วัชราภรณ์ เพ็งสุข

4 สารบัญ พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่อง หน้า พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง 1 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง 8 หลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ของเศรษฐกิจพอเพียง 9 แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม 11

5 เศรษฐกิจพอเพียง “...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา ฉบับประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒ สารบัญ

6 เศรษฐกิจพอเพียง “...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ สารบัญ

7 เศรษฐกิจพอเพียง “...ความพอเพียง นี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอเสื้อผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐ สารบัญ

8 เศรษฐกิจพอเพียง “...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไปมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด เนื่องมาจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลกยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่โดยประหยัด เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี...” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๑ สารบัญ

9 เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ สารบัญ

10 เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ สารบัญ

11 เศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ตลอดจนดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติ และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี สารบัญ

12 เศรษฐกิจพอเพียง หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ สารบัญ

13 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้ ๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล สารบัญ

14 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้ ๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี สารบัญ

15 เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน สารบัญ

16 เศรษฐกิจพอเพียง


ดาวน์โหลด ppt เศรษฐกิจพอเพียง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google