งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneutship) รหัสวิชา 2001-1002 นางสาวปนัสขนันชา สุขสำราญ MBA.การตลาด

2 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ

3 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
การวางแผนด้วยวงจรการควบคุมคุณภาพ PDCA คือ วงจรการควบคุมคุณภาพ หรือวงจรเดมิ่ง ประกอบด้วย P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่เขียนไว้อย่างเป็นระบบ และมีความต่อเนื่อง C = Check คือ การตรวจสอนผลการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่า มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น A = Action คือ การรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใด ๆ

4 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
การวางแผนเป้าหมายชีวิต การวางแผน หมายถึง การกำหนดสภาพหรือสถานที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคตโดยกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เป้าหมายในชีวิต หมายถึง สิ่งที่ตนเองให้ความสำคัญ และปรารถนาจะให้เกิดขึ้นใน อนาคต และเป็นแรงจูงใจให้ตนเองมีพลังมุ่งไปสู่อนาคต การวางแผนเป้าหมายชีวิต หมายถึง การตั้งเป้าหมายชีวิตของบุคคลที่ได้วางแผนไว้ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อนำตนเองไปสู่เป้าหมายของชีวิตในอนาคต

5 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
เป้าหมายชีวิตของบุคคลแบ่งได้ 3 ระดับ 1. การวางแผนเป้าหมายชีวิตขั้นต้น 2. การวางแผนเป้าหมายชีวิตขั้นกลาง 3. การวางแผนเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด สิ่งที่ต้องพิจารณาในการกำหนดเป้าหมายชีวิต 1. ตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและชัดเจน 2. เป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้ 3. เป้าหมายนั้นควรจัดลำดับก่อนหลังให้แน่นอน

6 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
ช่วงชีวิตในการวางแผนเป้าหมาย การวางแผนเป้าหมายชีวิตจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นวงจรชีวิต ของแต่ละบุคคลตั้งแต่เด็กจนวัยชราก็จะมีอายุแตกต่างกันไป ความต้องการและ เป้าหมายจึงเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย 1. ช่วงวัยเด็ก 2. ช่วงวัยหลังจบการศึกษา 3. ช่วงวัยทำงานเต็มที่ 4. ช่วงก่อนวัยเกษียณอายุ 5. วัยเกษียณอายุ

7 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
หลักการวางแผนเป้าหมายชีวิต เป้าหมายที่ดีนั้นควรจะกำหนดตามหลัก SMART ดังนี้ S = Specific คือ จะต้องมีความชัดเจน และเฉพาะเจาะจง M = Measurable คือ สามารถวัดผลและประเมินผลได้ A = Acceptable คือ สามารถยอมรับได้ R = Realistic คือ เป้าหมายนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง T = Timely คือ เป้าหมายนั้นต้องมีการกำหนดเวลาแน่นอน

8 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ วงจรการควบคุมคุณภาพ หรือวงจรเดมิ่ง โดยวงจรการควบคุมภาพนี้สามารถ นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้ โดยเมื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต แล้ว จะแบ่งออกได้ดังนี้ การวางแผน (P = Plan) คือ การวางแผนชีวิต การปฏิบัติงานตามแผน คือ การดำเนินงานตามขั้นตอนในแผนงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องเป็นการทำตามแผนที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (C = Check) คือ การตรวจสอบและรายงานผล การดำเนินงานตามแผน

9 หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ
การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ การปรับปรุงแก้ไข (A = Action) คือการนำปัญหามาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน โดยนำผลการประเมินมาปรับปรุง

10 หน่วยที่ 2 การออม

11 หน่วยที่ 2 การออม ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการออม การออมหมายถึง การเก็บสะสมเงินรายได้ในส่วนต่างๆ ไว้ใช้จ่ายในอนาคตตรวจ รวมถึงการสะสมสิ่งที่มีค่าเป็นตัวเงินและมีประโยชน์ต่อครอบครัว ความสำคัญของการออม การออมเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับ ตนเอง และก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ จึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ประโยชน์ของการออม การออมให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและพัฒนาชีวิตของ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการออมสินและออมทรัพยากรอื่น ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม

12 หน่วยที่ 2 การออม 3. ด้านวัฒนธรรม 4. ด้านการศึกษา 5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อม 6. ด้านการพัฒนาชีวิต เป้าหมายในการออม “เป้าหมาย” คือสิ่งจูงใจในการออม เป้าหมายนั้นจะเป็นสิ่งที่กำหนดให้จำนวนเงินออมและระยะเวลาใน การออมแตกต่างกัน ได้แก่ 1. เพื่อสร้างหลักประกันชีวิตและความมั่นคงด้านการเงิน 2. เพื่อให้มีเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ 3. เพื่อไว้ใช้ในด้านการศึกษาและความก้าวหน้าในการงาน 4. เพื่อไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานและสังคม 5. เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ 6. เพื่อไว้ใช้จ่ายนอกเหนือจากรายจ่ายประจำ

13 หน่วยที่ 2 การออม ปัจจัยสำคัญในการออม 1. ผลตอบแทนที่ได้รับ 2. มูลค่าของอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน 3. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ 4. ความแน่นอนของจำนวนรายได้ในอนาคตหลังเกษียณอายุ ปัญหาในการออม 1. ความโลภ 2. ภาวะเงินเฟ้อ 3. เหตุการณ์ฉุกเฉิน

14 หน่วยที่ 2 การออม การวางแผนการออม การวางแผนการออม เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยในบุคคลประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ในชีวิต ซึ่งแต่ละบุคคลควรจัดสรรรายได้ของตนเองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายปัจจุบัน และเป็น เงินออมในอนาคตเป็นจำนวนเท่าใด สิ่งสำคัญในการวางแผนการออมคือการประมาณ รายได้และรายจ่าย ประเภทของการออมเงิน 1. การออมเพื่อความมั่นคงหรือเพื่อรายจ่ายฉุกเฉิน 2. การออมเพื่อเกษียณ 3. การออมเพื่อการลงทุน

15 หน่วยที่ 2 การออม รูปแบบของเงินออม 1. การฝากเงินกับธนาคาร 1.1 เงินฝากออมทรัพย์ 1.2 เงินฝากประจำ 1.3 เงินฝากกระแสรายวัน 2. การประกันชีวิต รูปแบบของการประกันชีวิต 2.1 แบบกำหนดระยะเวลา 2.2 แบบตลอดชีพ 2.3 แบบสะสมทรัพย์ 2.4 แบบรายได้ประจำ 3. การออมทรัพย์กับสหกรณ์ 4. การซื้อพันธบัตรรัฐบาล

16 หน่วยที่ 2 การออม 5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประเภทของกองทุน 5.1 กองทุนเดี่ยว 5.2 กองทุนรวม หรือ “กองรวม” การออมเพื่อเกษียณอายุในประเทศไทย “เกษียณ” หมายถึง สิ้นไป ครบกำหนดอายุรับราชการ หรือสิ้นกำหนดเวลารับ ราชการ เมื่อบุคคลนั้นมีอายุครบ 60 ปี ในปัจจุบันแม้จะมีผู้ลาออกตามนโยบายเออร์ลี่ ไทร์ ของรัฐบาลไปก่อนอายุจะครบ 60 ปีก็ตาม แต่ข้าราชการก็ยังอยู่จนครบอายุเกษียณ

17 หน่วยที่ 2 การออม ซึ่งแต่ละคนสามารถกำหนดแผนงานและขั้นตอนแตกต่างกันออกไปตามความ เหมาะสมกับสภาพการดำรงชีวิต ดังนี้ 1. กำหนดความต้องการใช้เงิน 2. กำหนดความต้องการของรายได้ที่สามารถหามาได้ 3. เปรียบเทียบความต้องการเงินทุน กับความสามารถในการหารายได้ บทบาทของการวางแผนเกษียณอายุ การวางแผนเกษียณอายุ มีเป้าหมายที่จะแสดงถึงความมั่นคงทางการเงิน ความ สะดวกสบายและมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีทั้งปัจจุบันและอนาคต

18 หน่วยที่ 2 การออม ขั้นตอนของการวางแผนมีดังนี้ 1. กำหนดเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการหลังเกษียณอายุแล้ว 2. กำหนดจำนวนเงินสะสมที่ต้องการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายหลังเกษียณอายุ 3. การจัดทำโครงการลงทุนที่สร้างเงินทุนที่ได้สะสมไว้ให้มีครบตามจำนวนที่ ต้องการ หลักการวางแผนเกษียณอายุ 1. การหาระยะเวลาแห่งช่วงชีวิต 2. ระดับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้ม 3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเริ่มอายุมาก

19 หน่วยที่ 2 การออม การประมาณรายได้และรายจ่ายเพื่อเกษียณอายุ ประกอบด้วย 1. การกำหนดความต้องการใช้เงินหลังเกษียณ 2. การะประมาณรายได้หลังวัยเกษียณอายุ 3. การจัดหาเงินสำรองไว้สำหรับส่วนที่ขาด 4. แหล่งที่มาของรายได้หลังเกษียณอายุ ปัญหาหลังการเกษียณอายุ 1. รายได้และรายจ่าย 2. เวลา 3. สภาพจิตใจ 4. สภาพร่างกาย

20 หน่วยที่ 2 การออม รูปแบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทย ธนาคารโลก ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับระบบการออมเพื่อเกษียณอายุหรือระบบบำเหน็จ บำนาญ เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงทางสังคมของประเทศ ที่เรียกว่า “สามเสาหลักของระบบเงินออม เพื่อวัยเกษียณ” โดยยึดหลักการสร้างระบบบำนาญสมดุลและสามารถรองรับภาระในอนาคตที่ จะต้องเลี้ยงดูผู้เกษียณอายุได้ในระดับที่เหมาะสมและไม่เพิ่มภาระภาษีให้กับประชาชนของประเทศ ระบบการออมเพื่อการเกษียณ กองทุนการออมเพื่อการเกษียณของประเทศไทย มีดังนี้ 1. กองทุนประกันสังคม 2. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 4. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ 5. กองทุนการออมแห่งชาติ

21 หน่วยที่ 3 การลงทุน

22 หน่วยที่ 3 การลงทุน ความหมายและลักษณะการลงทุน การลงทุน หมายถึง การใช้ทรัพยากรในลักษณะต่างๆ โดยหวังจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา มากกว่าที่ลงทุนไปในอัตราที่พอใจภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม ลักษณะการลงทุน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีตัวตน 2. การลงทุนสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน การลงทุนทางการเงิน การลงทุนการเงิน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ กับผู้ลงทุน โดยจะทำผ่านตลาดการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้รับผลตอบแทนในรู้ดอกเบี้ย เงินปัน ผล กำไรจากการซื้อขายหุ้นและสิทธิพิเศษอื่นๆ

23 หน่วยที่ 3 การลงทุน แหล่งข้อมูลของการลงทุน 1. แหล่งข้อมูลภายในกิจการ 2. การให้คำปรึกษาด้านการลงทุนจากหน่วยงานอื่น 3. หน่วยงานที่เสนอบริการข่าวสารทางการเงินและข้อมูลการลงทุน 4. เอกสารและข้อมูลที่ได้จากนายหน้า และตัวแทน เป็นต้น แหล่งที่มาของเงินเพื่อการลงทุน 1. การรู้จักใช้งบประมาณ 2. การออมโดยวิธีบังคับ 3. การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็น 4. การประหยัดรายได้พิเศษ

24 หน่วยที่ 3 การลงทุน ผลตอบแทนจากการลงทุน ผลตอบแทนจากการลงทุนมีหลายรูปแบบ ได้แก่ 1. รายได้ตามปกติ 2. กำไรจากการซื้อขายหุ้น 3. ค่าเช่า 4. ผลตอบแทนอื่นๆ หลักการลงทุน 1. ความปลอดภัยของเงินลงทุน 2. เสถียรภาพของรายได้ 3. ความเจริญเติบโตของเงินลงทุน 4. ความคล่องตัวในการซื้อขาย 5. การกระจายเงินลงทุน 6. หลักเกี่ยวกับภาษี

25 หน่วยที่ 3 การลงทุน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุน ได้แก่ปัจจัยดังนี้ 1. อุปนิสัยของผู้ลงทุน 2. ขนาดของจำนวนเงินที่ลงทุน 3. ความเสี่ยงการเก็งกำไร 4. ข้อเสนอแนะในการลงทุน 5. ความเสี่ยง 6. การกระจายความเสี่ยง

26 หน่วยที่ 3 การลงทุน การลงทุนโดยฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้น ระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้น เช่น การให้กู้ยืม การฝากเงินกับธนาคารมีข้อดี ดังนี้ 1. มีความเสี่ยงต่ำและเข้าใจง่าย 2. มีสภาพคล่องสูง 3. มีความสะดวกในการฝาก- ถอน และดำเนินการต่างๆ ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ให้บริการด้านการเงินต่างๆ 1. การรับฝากเงิน 2. การให้กู้ยืม 3. การโอนเงิน 4. การเรียกเก็บเงิน 5. การให้เช่าตู้นิรภัย 6. การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 7. การบริการอื่นๆ

27 หน่วยที่ 3 การลงทุน การลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกเรียกว่า ผู้กู้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายจะจ่าย ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยและเงินต้นหรือประโยชน์อื่นๆ แบ่งออก 2 แหล่งคือ 1. ตราสารหนี้ภาครัฐ 2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน ประเภทของตราสารหนี้ 1. แบ่งตามประเภทผู้ออก 2. แบ่งตามสิทธิ์ในการเรียกร้อง 3. แบ่งตามหลักประกัน 4. แบ่งตามชนิดอัตราดอกเบี้ย 5. แบ่งตามชนิดของสิทธิแฝงที่ติดมาพร้อมกับตราสารหนี้ 6. แบ่งตามกระแสการจ่ายเงินสด 7. หุ้นกู้ที่มีการจัดโครงสร้างพิเศษ

28 หน่วยที่ 3 การลงทุน ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ 1. ดอกเบี้ยรับ 2. กำไรขาดทุนจากการขายตราสารหนี้ 3.ส่วนลดรับ ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ ความเสี่ยงในการลงทุน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจริงจากการลงทุน เบี่ยงเบนไป จากผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ว่าจะได้รับเมื่อแรกเริ่มลงทุน ไม่ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะมากกว่า หรือน้อยกว่าที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น ประเภทของความเสี่ยงของตราสารหนี้ สามารถแบ่งแกได้ดังนี้ 1. อัตราความเสี่ยงดอกเบี้ย หรือความเสี่ยงในตลาด 2. ความเสี่ยงด้านเครดิต

29 หน่วยที่ 3 การลงทุน 3. อำนาจในการซื้อหรือความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ 4. ความเสี่ยงในการลงทุนต่อ 5. ความเสี่ยงเมื่อครบกำหนด 6. ความเสี่ยงที่การระบุเงื่อนไข 7. ความเสี่ยงก่อนครบกำหนด 8. ความเสี่ยง 9. ความเสี่ยงทางสภาพคล่อง 10. ความเสี่ยงคุ้มทุน การลงทุนในตราสารทุน ตราสารทุน คือตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารทุน 1. หุ้นสามัญ 2. หุ้นบุริมสิทธิ 3. ใบสำคัญแสดงสิทธิ 4. หน่วยลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุน 5. ตราสารแสดงสิทธิ์ในพันธะที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น

30 หน่วยที่ 3 การลงทุน ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน ความเสี่ยงของตราสารทุน สามารถแบ่งแยกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. ความเสี่ยงของกิจการหรือความเสี่ยงด้านเครดิต 2. ความเสี่ยงของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม 3. ความเสี่ยงในตลาดหุ้น การลงทุนโดยทำประกันชีวิต การประกันชีวิต เป็นสัญญาระหว่างผู้ให้ประกัน ซึ่งมักเป็นบริษัทประกันชีวิตกับผู้เอาประกัน โดยผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ผู้รับประกัน หากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตขณะที่กรมธรรม์มี ผลบังคับภายในเงื่อนไขในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับผลประโยชน์ เรียกว่าเงินสินไหม ผู้ลงทุนหรือผู้เอาประกันสามารถเลือกรูปแบบที่ให้ความคุ้มครองหรือความั่นคง ให้กับตนเองมากที่สุด

31 หน่วยที่ 3 การลงทุน ชนิดของการประกันแบบพื้นฐาน 1. ประกันชีวิตแบบช่วงระยะเวลา 2. ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ 3. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ 5. ประกันชีวิตควบการลงทุน

32 หน่วยที่ 3 การลงทุน การลงทุนในกองทุน การลงทุนในกองทุน แบ่งออกได้ดังนี้ 1. กองทุนรวม 2. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ 2.1 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2.2 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2.3 กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ การลงทุนประกอบธุรกิจ การลงทุนประกอบธุรกิจ หมายถึง เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจโดยไม่หวังกำไร หรือบริการและอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ผู้ที่ลงทุนก็จะได้รับรายได้คือกำไรจากการขายสินค้า หรือบริการ

33 หน่วยที่ 3 การลงทุน ลักษณะการลงทุน แบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ 1. การลงทุนของผู้บริโภค 2. การลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรม 3. การลงทุนในทางการเงิน รูปแบบองค์กรธุรกิจ 1. ธุรกิจเจ้าของคนเดียว 2. ห้างหุ้นส่วน 3. บริษัทจำกัด

34 หน่วยที่ 3 การลงทุน ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจสามารถจัดแบ่งได้ตามลักษณะของการดำเนินงาน ดังนี้ 1. การพาณิชย์ 2. การอุตสาหกรรม 3. การบริการ ปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิต คือ ทรัพยากรที่ธุรกิจจำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการในอดีตที่ผ่านมาปัจจัย การผลิตจะมุ่งเน้นปัจจัย 4 ส่วนที่สำคัญ คือ 1. แรงงาน เป็นปัจจัยที่ธุรกิจนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ 2. เงินทุน ธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินทุนในการดำเนินงาน 3. ผู้ประกอบการ เป็นผู้ริเริ่มและลงทุนในการดำเนินงาน 4. ทรัพยากรด้านกายภาพ เป็นทรัพยากรที่มีตัวตนและธุรกิจมีไว้ใช้ดำเนินงาน

35 หน่วยที่ 3 การลงทุน แหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ สถาบันการเงินจะมีความเชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมเงินเฉพาะความต้องการดังนี้ 1. แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ 2. แหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ 2.1 ธนาคารพาณิชย์ 2.2 ผู้จำหน่ายสินค้า 2.3 ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์ 2.4 โรงงานอุตสาหกรรม 2.5 บริษัทการเงิน 2.6 บริษัทประกันภัย 2.7 ผู้ลงทุนเอกชน

36 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ

37 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
ความหมายของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของกิจการ หรือผู้ที่คิดริเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวาง แผนการดำเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและยอมรับความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานของธุรกิจตนเอง ดังนั้นผู้ดำเนินการผลิตจึงเรียกว่าผู้ประกอบการ เพราะทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทาง เศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไรและผลิตเพื่อใคร โดยจะรวบรวมปัจจัยการผลิต ดังนี้ 1. ที่ดิน ได้แก่ ที่ดินรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ 2. แรงงาน เป็นทรัพยากรมนุษย์ 3. ทุน คือเครื่องจักรเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆในการผลิตสินค้าและ บริการ

38 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
คุณลักษณะพื้นฐานของผู้ประกอบการ คุณลักษณะพื้นฐานของผู้ประกอบการ มีดังนี้ 1. เน้นการใช้นวัตกรรม เป็นการนำเอาแนวความคิดใหม่หรือการนำประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แต่ เดิมมาใช้ในรูปแบบใหม่ 2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดประดิษฐ์ค้นสิ่งใหม่ๆ 3. เน้นการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ เป็นการมุ่งเน้นประสิทธิภาพของผู้ประกอบการ 4. มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ

39 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
แนวทางในการเป็นผู้ประกอบการ การเป็นผู้ประกอบการในกิจการใดกิจการหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทุกคนมองว่าเป็นเรื่องยากต่อการเริ่มต้นเพราะ ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นจากตรงจุดใดก่อน แล้วทำอย่างไรต่อไป จึงทำให้กิจการของตนเองประสบความสำเร็จ ได้ในที่สุด ดังนั้น แนวทางเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ จึงควรเริ่มจากการหาข้อมูล ดังนี้ 1. รู้จักตน 2. รู้ข้อมูลของลูกค้า 3. รู้ข้อมูลของคู่แข่งขัน 4. รู้นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาล 5. วางแผนการเงินในระยะยาว 6. การทำบัญชี 7. การบริการที่มีประสิทธิภาพ 8. ขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ 9. จ้างบุคลากรที่เหมาะสม 10. เลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการ

40 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
การวิเคราะห์การเป็นผู้ประกอบการ ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการได้นั้น ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการควรจะต้องทำการศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ศึกษาตนเอง เพื่อให้รู้จักตนเองว่ามีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ธุรกิจโดยมุ่งหวังการมีกำไร และ สามารถที่จะดำเนินการไปได้ตลาดไปหรือไม่ 2. ศึกษาธุรกิจที่จะดำเนินการ เพื่อพิจารณาหาความเป็นไปได้ว่าจะดำเนินธุรกิจนั้นได้ตลอดไป หรือไม่ การแสวงหาโอกาสของธุรกิจ เป็นต้น 3. การจัดทำแผนธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เปรียบเสมือนการ จำลองสถานการณ์ของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวคิดและวางแผน โดยใช้กลยุทธ์ในการวิเคราะห์ที่เรียกว่า SWOT Analysis หรือกลยุทธ์การประเมินสถานการณ์แวดล้อม ดังนี้

41 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
- Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ตนเองมีจุดแข็งหรือส่วนดีด้านใดบ้าง มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านใด - Weaknesses คือ จุดอ่อน ตนเองมีจุดด้อยด้านใด สิ่งใดที่ไม่ถนัด ไม่ชอบหรือทำไม่ได้ควร พยายามหาทางแก้ไขปรับปรุง - Opportunities คือ โอกาส ซึ่งเป็นปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอก ที่เอื้ออำนวยให้การ ทำงานนั้นเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ - Threats คือ อุปสรรค เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมาย ซึ่งอาจทำให้ตนเองไม่ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้

42 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
แนวทางการหารายได้จากการเป็นผู้ประกอบการ การหารายได้จากการเป็นผู้ประกอบการ จะทำให้ทราบและเข้าใจถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ ธุรกิจ เพื่อจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานในลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1. ประเภทของกิจการ สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว 1.2 ห้างหุ้นส่วน 1.3 บริษัทจำกัด 2. แหล่งการเงินของผู้ประกอบการ ได้แก่ 2.1 ธนาคารพาณิชย์ 2.2 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 2.3 การร่วมลงทุน 2.4 นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาครัฐอีกมากที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านวิชาการแก่ ผู้ประกอบการ

43 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
3. คุณสมบัติของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 3.1 มีความมุ่งมั่นที่จะประสบการณ์ความสำเร็จ 3.2 มีความมั่นใจในตนเอง 3.3 มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองชัดเจน 3.4 มีแผนงานที่เป็นระบบ 3.5 มีความสามารถบริหารการเงิน 3.6 มีความสามารถทางการตลาด 3.7 มีความสามารถในการแข่งขันได้ 3.8 มีแหล่งสนับสนุนที่ดี 3.9 มีทักษะประสานงาน 3.10 มีการจัดองค์กรที่เหมาะสม

44 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
4. การเริ่มต้นธุรกิจ มีดังนี้ 4.1 เลือกธุรกิจ 4.2 จัดสรรบทบาท 4.3 วางแผนการดำเนินการ 4.4 การวางแผนธุรกิจ 5. ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย 5.1 ที่ดิน 5.2 แรงงาน 5.3 เงินทุน 5.4 ความรู้ความชำนาญของผู้ประกอบธุรกิจ

45 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
6. ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ 6.1 สินค้า 6.2 ราคา 6.3 สถานที่จำหน่าย 6.4 การส่งเสริมการตลาด 7. กำไรและการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต กำไร คือ ผลต่างระหว่างรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการขายสินค้ากับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ใน การผลิตสินค้า (รายได้-ค่าใช้จ่าย=กำไร) หน้าที่ของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการควรมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่อไปนี้ 1. การผลิต เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการบริโภค จึงจะทำให้ได้สินค้าหรือบริการ ที่มีคุณภาพดี มีต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งผู้ประกอบการต้องพิจารณาปัจจัยดังนี้

46 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
1.1 การเลือกทำเลที่ตั้ง 1.2 การวางแผนผังโรงงาน 1.3 การออกแบบสินค้า 1.4 การกำหนดตารางเวลาการผลิต 1.5 การตรวจสอบสินค้า 2. การจัดหาเงินทุน ผู้ประกอบการต้องบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดสรร เงินทุนในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการจัดหาเงินทุนมาใช้ในการประกอบธุรกิจซึ่งมี แหล่งเงินทุน 2 แหล่ง ดังนี้ 2.1 แหล่งเงินทุนภายใน 2.2 แหล่งเงินทุนภายนอก

47 หน่วยที่ 4 การเป็นผู้ประกอบการ
3. การจัดหาทรัพยากรบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้อง จัดหาบุคคลที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยใช้หลักการ ดังนี้ 3.1 การวางแผนกำลังคน ด้านจำนวน คุณภาพและหน้าที่ความรับผิดชอบ 3.2 การสรรหากำลังคน 3.3 การคัดเลือกและการบรรจุ 3.4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน 4. การบริหารการตลาด เป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อตอบสนอง ความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค

48 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน

49 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
การวางแผนทางการเงิน การวางแผนทางการเงิน หมายถึง การกำหนดการใช้จ่ายเงินต่างๆ ให้สอนคล้องกับแผนงานที่ จัดทำขึ้น และระบุถึงแหล่งที่มาของเงินและการใช้ไปของเงินในกิจกรรมต่างๆ การวางแผนทางการเงิน สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือการบริหารจัดการเงินหรือ รายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 2. การวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจ การวางแผนทางการเงินจำเป็นในการดำเนินงานธุรกิจโดย จะวางแผนล่วงหน้าต่างๆ

50 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
หลักการวางแผนทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทำให้มีความจำเป็นต้องวางแผนการเงินอย่าง รอบคอบ และไม่ประมาทในการใช้ชีวิต หลักในการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมีดังนี้ 1. การประเมินสถานการณ์ 2. กำหนดเป้าหมาย 3. การจัดทำแผนทางการเงิน 4. การนำแผนไปปฏิบัติ 5. การวัดผลและการปรับปรุงแก้ไข บุคคลที่เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ได้แก่ 1. รัฐบาล เป็นผู้จัดหาสินค้าหรือบริการสาธารณะ 2. ธุรกิจ เป็นผู้จัดหาสินค้าและบริการ ซึ่งในการผลิตสินค้าก็ต้องการแรงงาน ที่ดิน และปัจจัยการผลิต อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ผู้บริโภค เป็นผู้มีบทบาทในการวางแผนทางการเงินมาก คือการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าหรือ บริการของผู้บริโภค

51 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
การจัดการทางการเงิน การจัดการทางการเงิน หมายถึง การวางแผนการจัดระเบียบและการควบคุมกำกับกิจกรรม ทางการเงิน เช่น การจัดซื้อและการใช้ประโยชน์จากเงินทุน ซึ่งใช้หลักทั่วไปของทรัพยากรทาง การเงินของธุรกิจ ขอบเขตการดำเนินงาน 1. การตัดสินใจลงทุน 2. การตัดสินใจทางการเงิน 3. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทน หน้าที่ของการจัดการทางการเงิน 1. การประมาณค่าของความต้องการของการลงทุน 2. ความมุ่งมั่นในการลงทุน

52 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
3. แหล่งที่มาของเงินทุน 4. แผนการลงทุน 5. การจัดการด้านกำไรส่วนเกินต่างๆ 6. การควบคุมทางการเงิน งบการเงินและงบประมาณ รายได้บุคคล หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ ในรอบปีซึ่งอาจจะ ได้มาจากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน รายได้จากงานส่วนตัว โบนัส ค่านายหน้า ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลที่ ได้จากเงินออมและการลงทุนการจำหน่ายสินทรัพย์ และรายได้อื่นๆ

53 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
ปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคล 1. อายุ มีความสัมพันธ์ต่อการหารายได้ของบุคคล 2. การศึกษา จะเป็นเครื่องกำหนดรายได้ของบุคคล 3. อาชีพ การเลือกอาชีพมีความสัมพันธ์กับการศึกษาของบุคคล 4. คุณสมบัติเฉพาะตัว บุคคลแต่ละคนจะแตกต่างกันโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว 5. แหล่งรายได้ต่างๆ ของบุคคล งบการเงินส่วนบุคคล งบการเงินส่วนบุคคล เป็นงบสรุปผลการใช้จ่ายเงิน และช่วยวางแผนทางการเงินในอนาคตซึ่ง ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบรายได้รายจ่ายและบันทึกต่างๆ งบการเงินส่วนบุคคลที่ นำมาใช้บันทึกรายการ มีดังนี้

54 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
1. งบรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล เป็นงบสรุปรายละเอียดรายได้และรายจ่ายในช่วงระยะเวลา หนึ่งที่ผ่านมา หรือเป็นรายงานที่แสดงที่มาของรายได้และที่ไปของรายจ่าย 2. งบแสดงฐานะการเงินส่วนบุคคล เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน จำนวนเท่าใด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 2.1 สินทรัพย์ 2.2 หนี้สิน 2.3 ส่วนของเจ้าของ 3. การบันทึกรายการทรัพย์สินส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องเรือน และเครื่องใช้ ต่างๆ การเก็บบันทึกรายการควรระบุชื่อทรัพย์สิน/วันที่ซื้อ/ร้านที่ซื้อ และราคาที่ซื้อ

55 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
4. บันทึกรายการเสียภาษี การเก็บรวบรวมบันทึกรายการเสียภาษีไว้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ ทราบถึงกำหนดของการชำระภาษี รวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายได้ถูกต้องว่ารายการภาษีประเภท ใดบ้างที่จะต้องชำระ 5. บันทึกหลักฐานกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ โฉนดที่ดิน พิมพ์เขียว แบบบ้าน และบันทึกรายจ่ายการต่อเติมหรือปรับปรุงอาคารบ้านที่อยู่อาศัย 6. บันทึกหลักฐานการประกันภัย เมื่อบุคคลนั้นได้รับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินหรือชีวิตโดย ที่บุคคลนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัย และเก็บรักษาไว้เป็นระบบที่ปลอดภัย บุคคลหรือผู้รับ ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะสามารถนำหลักฐานไปอ้างสิทธิ์ในการรับสินไหมทดแทนได้ภายใน กำหนดที่บริษัทรับประกัน 7. บันทึกหลักฐานการลงทุน เมื่อมีการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาลการบันทึก รายการต่างๆ จะเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น

56 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
8. บันทึกหลักฐานสำคันอื่นๆ งบประมาณส่วนบุคคล งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมา เป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน งบประมาณส่วนบุคคล หมายถึง การวางแผนประมาณรายได้รายจ่ายล่วงหน้า เพื่อจัดสรรเงินที่ มีอยู่อย่างจำกัดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

57 หน่วยที่ 5 การจัดหาและการวางแผนทางการเงิน
การจัดการเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่อง การจัดการเงินสด คือ การบริหารที่เกี่ยวกับประสิทธิในการเก็บรวบรวมเงินสด การจ่ายเงินสด และการลงทุน สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ สินทรัพย์ในรูปของเงินสดและสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เงินสดสำรอง หมายถึง เงินที่ได้เก็บออมไว้ สามารถนำมาใช้ได้ทันทีที่จำเป็น เงินสดที่สำรองไว้ จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ถ้าไม่นำมาใช้ จึงต้องหาทางบริหารเงินสำรองให้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยนำไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล หมายถึง การบริหารการเงินของบุคคลอย่างฉลาด ด้วยการนำ หลักและวิธีการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการตัดสินในจนทำให้เกิดผลสำเร็จตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้

58 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ

59 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
การจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบการ ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ)หรือนิติ บุคคล รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์

60 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
กฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่ กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปีรายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้ มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึง มีนาคมของปีถัดไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. บุคคลธรรมดา 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง 5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

61 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้ 1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติ บุคคลในประเทศไทย 3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร 4. กิจการร่วมค้า 5. มูลนิธิหรือสมาคม 6. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

62 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
นิติบุคคลที่ไม่ต้องการเสียภาษีเงินได้ 1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทาง เศรษฐกิจ 2. บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 3. บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด 4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ฐานภาษีของภาษีเงินได้นินิบุคคล 1. กำไรสุทธิ 2. ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย 3. เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย 4. การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

63 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย 3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และไดมีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร 4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็น ครั้งคราว 5. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

64 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 2. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด 3. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30 ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากร ที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ว่าผู้ประกอบกิจการดังกล่าว จะประกอบกิจการในรูปของ 1. บุคคลธรรมดา 2. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3. กองมรดก

65 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ 5. กองทุน 6. หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล 7. องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล การยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ 1. ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ 2. แบบแสดงรายการที่ใช้ 3. หน้าที่ในการจัดทำรายงาน 4. หน้าที่ในการเก็บรักษารายงานและเอกสารหลักฐาน 5. หน้าที่ในการออกใบรับ

66 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
สิทธิและหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิตามกฎหมาย โดยสรุปดังนี้ 1. การผ่อนชำระภาษี 2. การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี 3. ขอทุเลาการชำระภาษีอากรโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรค้าง 4. ของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร 5. ขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสารเสียภาษี การจดทะเบียนสิทธิบัตร สิทธิบัตร คือหนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการอกแบบผลิตภัณฑ์การประดิษฐ์ คือผล การสร้างสรรค์ เกี่ยวกับการผลิตภัณฑ์ สถานที่ยื่นคำขอ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือสำนักงานพาณิชย์ จังหวัด

67 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
การประดิษฐ์ คือ การคิดค้น หรือคิดทำขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เงื่อนไขการขอรับอนุสิทธิบัตร มีดังนี้ 1. ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม 2. สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้ามี 3 ประเภท ได้แก่ 1. เครื่องหมายบริการ 2. เครื่องหมายรับรอง 3. เครื่องหมายร่วม

68 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
กฎหมายแรงงาน กฎหมายแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรของนายจ้างและ องค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้ปฏิบัติต่อกันเพื่อให้การจ้างงานและการใช้งานการประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม สิทธินายจ้างและลูกจ้าง 1. เวลาทำงานปกติ 2. เวลาพัก 3. วันหยุด 4. การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด 5. วันลา 6. ค่าตอบแทนในการทำงาน

69 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
กฎหมายประกันสังคม การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันสังคมในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยง ผู้ประกันตน หมายถึง ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์ในวันเข้าทำงานและทำงานอยู่ในสถานประกอยการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หมายถึง เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง จะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ 1. กรณีเจ็บป่วยทั่วไป ประสบอันตราย ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่เลือก โดยไม่ เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างที่หยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ในจำนวนครึ่งหนึ่ง ของค่าจ้างตามจำนวนวันที่หยุดจริง ไม่เกินครั้งละ 90 วัน และไม่เกิน 180 วันในหนึ่งปี หากเจ็บป่วยเรื้อรังจะได้รับ เงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน

70 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
2. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน - ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น - ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกไม่เกินวันละ 700 บาท 3. กรณีประสบอันตราย หรือบาดเจ็บฉุกเฉิน หากผู้ประกันตนได้รับอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บฉุกเฉินผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัตรรับรองสิทธิได้ โดยแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรอง สิทธิทรายด้วยโดยเร็ว 4. กรณีประสงค์จะทำหมัน ผู้ประกันตนสามารถเข้าทำหมันได้ ในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการ รักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ในสถานพยาบาลนั้นๆ ผู้ประกันตนชาย ไม่เกิน 500 บาท ส่วนผู้ประกันตนหญิง จะจ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อราย

71 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
5. กรณีทันตกรรม ผู้ประกันตนสามารถยื่นเรื่องขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมภายในปีที่เข้ารับบริการ ทางการแพทย์ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่ระบุในใบรับรองแพทย์เป็น หลัก 6. กรณีคลอดบุตร ผู้ที่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรในแต่ละครั้งได้ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบครบ7เดือน ภายใน15เดือนเดือนคลอดบุตร เช่น ผู้ประกันตนหญิงรายหนึ่งใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรคนแรกไปเมื่อ พ.ศ.2550 ตั้งครรภ์มา 5 เดือน และคลอดเมื่อเดือนมีนา พ.ศ.2551 นับย้อนไป15เดือน จากเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ผู้ประกันตนรายนี้มีเงินสมทบเพียง3เดือน จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรคนที่2 7. กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนที่ประสบอุบัติเหตุทุพพลภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคเบาหวานและมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้ตาบอดทั้ง2ข้าง หรือประสบอันตรายจนถึงขั้นทุพพลภาพและไม่สามารถทำงานได้สามารถขอรับเงินชดเชยได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาครบ3เดือน ภายในระยะเวลา15เดือน ก่อนที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้เป็น ผู้ทุพพลภาพ ทั้งนี้ สิทธิที่ผู้ทุพพลภาพจะได้รับประกอบด้วย

72 หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ
8. กรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตจากสาเหตุที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน และจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา6เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต ผู้จัดศพ สามารถขอรับค่าทำศพได้ 40,000บาท 9. กรณีว่างงาน หากผู้กันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า6เดือน ภายในระยะเวลา15เดือนก่อนการ ว่างงาน สามารถติดต่อขอรับเงินชดเชยกรณีว่างงานได้ โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางาน ของรัฐภายใน30วันนับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน และต้องรายงานตัว ต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

73 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ

74 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
ความหมายและความสำคัญของแผนธุรกิจ แผนธุรกิจ หมายถึง เครื่องมือที่ผู้ประกอบการใช้กำหนดขั้นตอน และวางแผนการดำเนินธุรกิจอย่างมี ระบบ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ กำไร หรืออื่นๆ ที่คาดหวังเอาไว้ แผนธุรกิจที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. มีความถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ 2. ครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญ 3. เนื้อหาง่ายต่อการเข้าใจ 4. มีความเป็นไปได้จริงต่อการปฏิบัติตามแผน

75 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
ความสำคัญของแผนธุรกิจ 1. ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอยการมีเป้าหมายชัดเจน กำหนดแนวทางของ ความคิดและช่วยให้ผู้ประกอยการมีความมั่นคงต่อการใช้ทรัพยากร และนำไปสู่เป้าหมาย 2 เป็นเครื่องมือที่แสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน จากสถาบันการเงินต่างๆ 3. ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ องค์ประกอบของแผนธุรกิจ ผู้ประกอยการจะต้องคำนึงถึง “แผนธุรกิจ” เป็นอันดับแรกซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานใน อนาคตของตนเอง สถาบันการเงิน และผู้ลงทุนภายนอกที่จะเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่กิจการได้โดยแผนธุรกิจ จะบอกให้ทราบว่าปัจจุบันธุรกิจอยู่ตรงไหน และในอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้าง ตามองค์ประกอบดังนี้ 1. ปกหน้า สารบัญ และคำนำ 2. บทสรุปผู้บริหาร

76 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
3. ประวัติกิจการ หรือภาพรวมของกิจการ 4. การวิเคราะห์สถานการณ์ 5. แผนการตลาด 6. แผนการบริหารจัดการและแผนการดำเนินงาน 7. แผนการผลิต 8. แผนการเงิน 9. แผนฉุกเฉิน 10. ภาคผนวก

77 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
ปกหน้า สารบัญ และคำนำ ปกหน้า เป็นสิ่งที่ผู้อ่านแผนงานธุรกิจจะเห็นเป็นอันดับแรก จึงควรเขียนชื่อของธุรกิจรวมทั้งที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร สัญลักษณ์ของธุรกิจ หรืออาจจะมีชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของ ผู้ประกอบการอยู่ด้วย เพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับ สารบัญ มีไว้เพื่อสะดวกในการค้นหารายละเอียดของแผนงานธุรกิจได้เร็วขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์ในการ เจรจาต่อรองกับบุคคลภายนอก เพราะสามารถยืนยันข้อมูลโดยอ้างอิงเอกสารซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น คำนำ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานแผนธุรกิจ ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้วัตถุประสงค์ และขอบเขต

78 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
บทสรุปผู้บริหาร บทสรุปผู้บริหารเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะเป็นการสรุปรายละเอียดสั้น ๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมดที่ ดำเนินการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้ สามารถใช้โอกาสในตลาดให้เป็นประโยชน์อย่างไร ดังนั้นจึง มีความจำเป็นต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือมีความเป็นไปได้ “บทสรุปผู้บริหาร” ควรเขียนให้สั้นกะทัดรัด ถึงแม้ว่าบทสรุปผู้บริหารจะจัดไว้เป็นอันดับแรก แต่ให้เขียนเป็นอันดับสุดท้ายในการเขียนแผนทั้งหมดและ ให้ครอบคลุมเนื้อหาต่อไปนี้ 1. แนวคิดและขอบเขตของธุรกิจ 2. โอกาสของธุรกิจ 3. กลุ่มตลาดเป้าหมาย 4. สภาวะการแข่งขัน 5. ความคุ้มค่าเชิงธุรกิจ 6. ทีมผู้บริหาร 7. ข้อเสนอแนะ

79 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
ประวัติกิจการ หรือภาพรวมของกิจการ ประวัติกิจการ หรือภาพรวมของกิจการ ให้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง รูปแบบจัดตั้งหรือจดทะเบียน รวมทั้งแนวคิดและที่มาของการมองเห็นโอกาสทางการตลาด การคิดค้นและ พัฒนาสินค้า/บริการที่ต้องการนำเสนอให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายที่ต้องการให้เป็น ประโยชน์ในอนาคตและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้ก่อตั้งปีที่ก่อตั้ง ทุนจดทะเบียน ทุนที่ชำระแล้ว และประวัติ ความเป็นมาของการดำเนินงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และกิจกรรมที่เกิดขึ้น เช่น เพิ่มทุน ลงทุน ขยาย ธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร เป็นต้น ประเภทธุรกิจ/การดำเนินงาน (Operating Policy) 1) ระบุถึงประเภทของธุรกิจที่กิจการดำเนินงานในปัจจุบัน ได้แก่ - ภาคพาณิชยกรรม เช่นธุรกิจทำขนมหวาน ธุรกิจทำผลไม้แปรรูป เป็นต้น - ภาคเกษตร เช่น ธุรกิจยางแผ่น เป็นต้น - ภาคการบริการ เช่น ธุรกิจร้านอาหาร เป็นต้น

80 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
2) อธิบายรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การตลาด เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ การตลาดและการขายของกิจการ ได้แก่ ระบบการซื้อ/ระบบการขาย/เครดิตทางการค้า/การส่งเสริม การตลาด/การจัดส่งสินค้า/การสร้างเครือข่ายทางการค้า/การมุ่งสร้างสายพันธ์ที่ดีกับลูกค้า/การสร้างความ รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นต้น การวิเคราะห์สถานการณ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ หรือ เรียกว่า “SWOT ANALYSIS” คือ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ ธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ภายใน เป็นการตรวจสอบความสามารถ ความพร้อมของกิจการด้านต่างๆ ที่ เป็นจุดแข็ง และจุดอ่อน 2. การวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุม หรือเปลี่ยนแปลงได้ในลักษณะที่เป็น โอกาส หรืออุปสรรค

81 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
แผนการตลาด แผนการตลาด คือการกำหนดแนวทางและทิศทางในการดำเนินงานทางการตลาดให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ และสัมพันธ์กับกลยุทธ์ทางการตลาดที่กำหนดไว้ โดยสามารถตรวจสอบและประเมินผล กิจกรรมทางการตลาดไว้ล่วงหน้าได้ในการทำธุรกิจนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมองทางด้านการตลาด ผู้ประกอบการจะต้องมองให้ออกว่าผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อสนองความต้องการ นั้น กำไรที่เกิดขึ้นนั้นคือผลงานจากการทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด วิสัยทัศน์ หมายถึง ภาพรวมของกิจการที่ต้องการจะเป็นในอนาคต โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงใน ปัจจุบัน พันธกิจ หมายถึง งานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกิจการ เป้าหมาย คือ การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการจากพันธกิจของกิจการ โดยเขียนเป็นข้อๆ แบ่งเป็นเป้าหมาย ระยะสั้น (1 ปี) ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5 ปีขึ้นไป)

82 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
แผนการบริหารจัดการและแผนการดำเนินงาน เป็นการกำหนดโครงสร้างองค์กร และผู้บริหารที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจด้านอื่นๆ ของกิจการ มีแผนด้านทรัพยากรบุคคลที่ดี ประกอบด้วย 1. สถานที่ตั้ง 2. รูปแบบธุรกิจ 3. โครงสร้างองค์กร และผังบริหาร 4. ทีมผู้บริหารและหลักการบริหารงาน 5. แผนด้านบุคลากร จำนวน เวลาทำงาน ค่าตอบแทน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ 6. เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

83 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
แผนการบริหารจัดการและแผนการดำเนินงานประกอบด้วย 1. ทีมงานบริหาร ประกอบด้วยผู้จัดการ พนักงาน ที่มีสำคัญต่อการดำเนินงาน และความสามารถใน ด้าน การบริหารที่นำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ 2. แผนผังองค์กร อาจจะรวมอยู่ในประวัติกิจการ หรือภาพรวมของกิจการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ ได้ 3. กำหนดหน้าที่ต่างๆ ของกรรมการตำแหน่งต่างๆ 4. แผนดำเนินงานขององค์กร เช่น การประชุม การอบรมพนักงาน การศึกษาดูงาน เป็นต้น 5. สรุปค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ แผนปฏิบัติการ คือ การกำหนดระยะเวลาของกิจการที่จะดำเนินการตามแผนธุรกิจที่วางไว้ เพื่อตรวจว่า ได้ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่

84 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
แผนการผลิต ในการจัดทำแผนธุรกิจ ต้องคำนึงถึงกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้า สำเร็จรูป โดยต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ด้วย เช่น แผนการตลาด แผนการบริหารจัดการ บุคลากรและแผนการเงิน ในการวางแผนการผลิตต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพการออกแบบสินค้าและบริการ กระบวนการผลิต การออกแบบระบบงาน การวางแผนกำลังคน การจัดส่งสินค้า ระบบสินค้าคงคลัง กำหนดการผลิตและปฏิบัติการ การดูแลรักษาเครื่องจักร เป็นต้น แผนการเงิน กิจการต้องทราบว่าต้องใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าใด จะได้แหล่งเงินทุนมาจากไหน เพื่อใช้ในการดำเนิน กิจการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ รายงานทางการเงินอาจสรุปเป็นงบการเงินที่ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมของกิจการในรอบระยะเวลา หนึ่ง เพื่อให้ทราบว่าที่ผ่านมานั้นกิจการมีฐานะทางการเงิน และมีผลการดำเนินงานอย่างไรบ้าง

85 หน่วยที่ 7 รูปแบบแผนธุรกิจ
แผนฉุกเฉิน แผนฉุกเฉิน หมายถึง ส่วนที่แสดงให้เห็นถึงแผนสำรองของกิจการ หากแผนที่วางไว้ไม่ประสบ ความสำเร็จ หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เกิดภัยธรรมชาติ การประท้วงหยุดงาน ฯลฯ แผนผนวก ภาคผนวก เป็นส่วนที่เพิ่มเติมอื่นๆ สามารถช่วยให้แผนธุรกิจมีความสมบูรณ์มากขึ้น (ถ้ามี) แต่บาง กิจการอาจจะมีหรือไม่ก็ได้สำหรับหัวข้อนี้

86 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นและเพิ่มผลผลิตในองค์กร
หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นและเพิ่มผลผลิตในองค์กร

87 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
การบริหารงานคุณภาพเบื้องต้น คุณภาพ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ. ศ หมายถึง ลักษณะเด่นของบุคคลหรือ สิ่งของ จากความหมายนี้สรุปได้ว่า คุณภาพ หมายถึง การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนด ที่ต้องการ โดยสินค้าหรือบริการนั้นต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม การบริหารคุณภาพ หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวกับ การจัดการทุกอย่างในองค์กรให้มีคุณภาพตาม นโยบายคุณภาพขององค์กร หลักการบริหารงานคุณภาพ หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพที่สำคัญ ได้แก่ 1.การให้ความสำคัญกับลูกค้า 2.ความเป็นผู้นำ 3.การมีส่วนร่วมของบุคลากร 4.กระบวนการดำเนินงาน

88 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
5.การบริหารที่เป็นระบบ 6.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 7.การตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง 8.ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน การเพิ่มผลผลิตเบื้องต้น การเพิ่มผลผลิต หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตซึ่งอาจเป็นสินค้าหรือบริการ หรือ งานที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า ประสิทธิผล หมายถึง ความสามารถการบรรลุจุดมุ่งหมายโดยใช้ทรัพยากรต่ำสุด ปัจจัยนำเข้า ถ้าการผลิตนั้นสามารถทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มผลผลิตตลอดจน การลดต้นทุน

89 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
สาเหตุในการเพิ่มผลผลิต 1. ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด 2. การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องมือที่ช่วยวางแผน 3. การแข่งขันสูงขึ้น ปัจจัยในการเพิ่มผลผลิต 1. นโยบายของรัฐ 2. ทรัพยากร 3. ค่านิยมของพลเมืองภายในประเทศ

90 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
แนวทางการเพิ่มผลผลิต 1. การสนับสนุนของฝ่ายบริหารทุกระดับ 2. สภาพแวดล้อมในการทำงาน 3. บุคลากรทุกคนในหน่วยงานหรือองค์กร 4. การพัฒนางานด้านคุณภาพและการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต 5. ความสัมพันธ์ของพนักงานและฝ่ายบริหารจะต้องดี 6. การพัฒนางานด้านคุณภาพและเพิ่มผลผลิตจะต้องมีการวัดและการประเมินผล 7. ควรจะมีการแบ่งปันผลลัพธ์โครงการพัฒนาคุณภาพ

91 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
องค์ประกอบในการเพิ่มผลผลิต ในปัจจุบันผู้ประกอบการจะคำนึงถึงแต่กำไรอย่างเดียว โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือจรรยาบรรณ ต่างๆ ทำให้มีผลเสียต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้บริโภคทั่วไป เพื่อให้มีการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและ ประเทศ จึงควรปฏิบัติดังนี้ 1. คุณภาพ 2. ต้นทุน 3. การส่งมอบ 4. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 5. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน 6. สิ่งแวดล้อม 7. จรรยาบรรณในการดำเนินการทางธุรกิจ

92 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
การเพิ่มผลผลิตโดยหลักการที่ถูกต้อง การเพิ่มผลผลิตโดยหลักการที่ถูกต้อง หรือ 5R มีดังนี้ 1. การเลือกใช้คนให้ถูกกับงาน 2. การเลือกงานให้เหมาะสมกับคุณ 3. การเลือกอุปกรณ์เครื่องมือให้เหมาะสมกับคนและงาน 4. การเลือกเวลาและโอกาสที่เหมาะสม 5. การเลือกสถานที่ที่เหมาะสม

93 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
การประยุกต์ใช้หลักการบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต การประยุกต์ใช้หลักการบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิตในการวางแผนและดำเนินงานควรจะอาศัย เทคนิค และเครื่องมือพื้นฐานเพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตในองค์กร ได้แก่ 1. กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย 2. กิจกรรม 5 ส 3. วงจร PDCA 4. กิจกรรมข้อเสนอแนะ 5. กิจกรรมกลุ่มย่อย

94 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
การวางแผนและดำเนินงานโดยใช้กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย หมายถึง การร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อการค้นหาภัยอันตรายและแก้ไขป้องกัน อุบัติเหตุ และการสร้างเสริมความปลอดภัยในการทำงาน เหตุผลในการกำหนดกิจกรรมเพื่อความปลอดภัย ได้แก่ 1. ความต้องการของผู้บริหารในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมด 2. การยอมรับความสำคัญของบุคลากร ป้องกันอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัยอื่นๆ ได้แก่ 1. การจัดให้มีขึ้นหรือสร้างให้เกิดขึ้น 2. การบำรุงรักษาไว้ 3. การปรับปรุงให้ดีขึ้น

95 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
กิจกรรม 5 ส. หมายถึง แนวคิดในการจัดระเบียบในที่ทำงานก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย มี ระเบียบเรียบร้อย นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต ประกอบด้วย - สะสาง คือการแยกสิ่งที่ต้องการ ออกจากสิ่งที่ไม่ต้องการและขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการทิ้งไป - สะดวก คือการจัดวางสิ่งของ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ - สะอาด คือการทำความสะอาด เครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน - สุขลักษณะ คือสภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ - สร้างนิสัย คือการอบรม สร้างนิสัยการทำงานตามระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด

96 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
การวางแผนและดำเนินงานโดยใช้เทคนิค PDCA PDCA คือ วงจรคุณภาพที่ใช้ในการบริหาร การวางแผน และการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปรับปรุงการ ทำงานอย่างต่อเนื่อง 1. การวางแผน 2. การปฏิบัติตามแผน 3. การตรวจสอบ 4. การดำเนินการให้เหมาะสม การวางแผนและดำเนินงานโดยใช้เทคนิคกิจกรรมข้อเสนอแนะ กิจกรรมข้อเสนอแนะ คือการเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับมาร่วมกันในการบริหาร โดยนำเสนอความ คิดเห็นของตนเองต่อฝ่ายบริหาร

97 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
หลักการของกิจกรรมข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1. เป็นการเสนอแนะการทำงานหรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร 2. มีหลักการประชาธิปไตย 3. มีหลักการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 4. ลีลาการแห่งประโยชน์ส่วนรวม 5. มีหลักการสร้างแรงจูงใจ การวางแผนและดำเนินงานโดยใช้เทคนิค QCC QCC หมายถึง การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่มการควบคุมคุณภาพคือ การบริหารงานด้วย วัตถุดิบ กระบวนการผลิตและผลผลิต ให้ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า

98 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
หลักการพื้นฐานกิจกรรม QCC 1. มุ่งเน้นการพัฒนาคน 2. มุ่งเน้นการพัฒนางาน 3. มุ่งเน้นการพัฒนาทีมงาน กิจกรรมของ QCC แบ่งออกได้ 2 ประเภท 1. กิจกรรมที่สามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ 2. กิจกรรมที่ไม่สามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้

99 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
แนวความคิดพื้นฐานของ QCC มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและการพัฒนารัฐวิสาหกิจ 2. เพื่อสร้างสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ 3. เพื่อดึงความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ในบุคคลออกมาใช้ให้ได้ประโยชน์เต็มที่ หลักการสำคัญของ QCC 1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน 2. การทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีระบบ 3. การรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง 4. การรู้จักปรับปรุงด้วยตนเอง

100 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์ เทคนิคการบริหารงานที่ให้โอกาสสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรและให้ ทุกคนปฏิบัติงานโดยยึดวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก แนวความคิดของ MBO 1. วัตถุประสงค์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการบริหารงาน 2. การนำวัตถุประสงค์มาใช้ควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพ 3. ความต้องการเป็นวัตถุประสงค์ของมนุษย์

101 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
หลักการสำคัญของ MBO 1. กำหนดเป้าหมาย ภารกิจและกิจกรรม หน้าที่ความรับผิดชอบของงานอย่างชัดเจน 2. กำหนดให้มีการวางแผนและควบคุมโดยมีการประสานงานที่สอดคล้องกัน 3. ให้สมาชิกทุกคนมีส่วนในการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน 4. การใช้เป้าหมายเป็นเครื่องมือควบคุม ประเมิน และวัดผลการปฏิบัติงานและตัวบุคคล 5. พยายามใช้การวัดผลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร

102 หน่วยที่ 8 หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพ
ประโยชน์ของ MBO 1. เป็นกระบวนการทำให้บรรลุเป้าหมาย 2. ส่งเสริมให้เกิดการประสานงานระหว่างกันอย่างมีระบบ 3. มีวิธีวัดและประเมินผลที่ยุติธรรม 4. สามารถประเมินงบประมาณที่ได้ใช้จ่ายไปในแต่ละหน่วยงานได้ 5. เป็นเครื่องมือช่วยให้การพัฒนาบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

103 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ

104 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินธุรกิจ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงการดำรงและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ บุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปบน ทางสายกลาง คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและนำมาปฏิบัติ มีดังนี้ 1. การรักษาความซื่อสัตย์ 2. การรู้จักข่มใจตนเอง 3. ความอดทนอดกลั้น 4. รู้จักละวางความชั่ว

105 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ 1. การบริหารความเสี่ยงทางการตลาดที่ชัดเจน 2. ไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างกำไรสูงสุด 3. การดำเนินธุรกิจที่ตนเองมีความรู้จริง 4. มีเหตุผลในการขยายตลาด 5. มีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ 6. การให้บริการลูกค้าอย่างจริงใจและโปร่งใส 7. ไม่มีความโลภมากเกินไป ธุรกิจพอเพียง หมายถึง การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหา ผลประโยชน์ในระยะสั้น

106 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ การบริหารจัดการด้วยความพอเพียงนั้น จะต้องเริ่มที่เป้าหมาย ได้แก่ 1. ความสามารถในการบริหารงาน 2. ต้องแสวงหาความรู้กับสร้างความเข้มแข็งหรือเพิ่มความขยันขันแข็งในการทำงาน 3. การมีเป้าหมายด้านคุณภาพชีวิต แนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับสังคมและ ประเทศชาติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการกับการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล โดยสามารถนำแนวทางการ เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการกับชีวิตได้ดังนี้

107 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
1. รู้จักใช้เงินให้เหมาะสม 2. รู้จักเลือกให้เหมาะสม 3. รู้จักการบริโภคที่เหมาะสม 4. หลีกเลี่ยงอบายมุข การทำบัญชีครัวเรือน การทำบัญชีครัวเรือน คือ การจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีต ปัจจุบัน ในอนาคตของชีวิต รูปแบบการบันทึกการปฏิบัติงานและการทำบัญชีรายรับรายจ่าย 1. การบันทึกเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ 2. การบันทึกการปฏิบัติงาน 3. การบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย

108 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
การนำหลักการบัญชีมาประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำบัญชีครัวเรือน มีขั้นตอนดังนี้ 1. แยกรายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท โดยใช้สมุดบัญชีบันทึกหรือจัดรายการที่เกิดขึ้น 2. กำหนดรหัสประเภทของรายได้และค่าใช้จ่าย 3. นำเงินสด/เงินลงทุน เป็นตัวตั้งแล้วบวมด้วยรายได้และหักค่าใช้จ่ายและแสดงยอดคงหรือเปล่า 4.นำรายการที่เป็นบัญชีประเภทเดียวกัน รวมยอดเข้าด้วยกัน แล้วแยกสรุปไว้ต่างหาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย คือ ความรู้ความชำนาญ วิธีการหรือเทคโนโลยีที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตสู่ ปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

109 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
1. ภูมิปัญญาประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น 2. ภูมิปัญญาประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและความดีงามที่จรรโลงชีวิต และวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมได้อย่างกลมกลืนและสมดุล ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานการประกอบอาชีพและเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจากการพัฒนาเพื่อการพึ่งพา ตนเอง

110 หน่วยที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเป็นผู้ประกอบการ
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1. การค้นคว้าวิจัย 2. การอนุรักษ์ 3. การฟื้นฟู 4.การพัฒนา 5. การถ่ายทอด 6. การส่งเสริมกิจกรรม 7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน 8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น

111 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน

112 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีเป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็น "ตลาดและฐานการผลิต เดียว"โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมือ ภายในอาเซียนอย่างเสรีและการ เคลื่อนย้ายพื้นที่เสรีมากขึ้นภายใน พ. ศ โดยมีแผนการดำเนินงานเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนดังนี้ 1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 2. การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในเวทีการค้าโลก 3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกอาเซียน 4. การเชื่อมโยงของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก

113 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
แนวทางเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1. ความสำคัญของการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 2. แผนงานของการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ โครงสร้างและแผนงานเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1. ให้มีการนำเข้าส่งออกสินค้าได้อย่างเสรี 2. ให้มีการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรี 3. ให้มีการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรี 4. ให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรีมากขึ้น 5. ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี 6. ความร่วมมือสาขาอื่นๆ

114 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
การดำเนินงานเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นโยบายและผลการดำเนินงานตามนโยบายเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีดังนี้ 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน 1.1 การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี 1.2 การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี 1.3 การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี 1.4 การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น 1.5 การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากขึ้น 1.6 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสาขานำร่อง 1.7 อาหาร เกษตร และป่าไม้

115 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน 2.1 นโยบายการแข่งขัน 2.2 การคุ้มครองผู้บริโภค 2.3 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 2.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.6 พลังงาน 3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน 3.1 การพัฒนาธุรกิจ 3.2 ความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

116 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
4. การบูรณาการกับเศรษฐกิจโลก 5.ความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจใน พ.ศ ความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจภายหลัง พ.ศ.2558 โอกาสและผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อภาคธุรกิจของประเทศไทย โอกาสและผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อภาคธุรกิจของประเทศไทยประกอบด้วย 1. ผลกระทบการเปิดเสรีการค้าสินค้า 2. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าบริการ 3. ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุน

117 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
การปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1.สิทธิประโยชน์ด้านภาษีในการนำเข้าแหล่งวัตถุดิบ 2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. ดำเนินการตลาดในเชิงรุก 4. ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าหรือรักษาสิ่งแวดล้อมและต่อต้านโลกร้อน 5. ศึกษากฎระเบียบและเงื่อนไขการนำเข้าของประเทศคู่ค้า 6. ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การจัดการการผลิตต้นทุน และการดำเนินการดำเนินธุรกิจ 7. พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของบุคลากร

118 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
บทบาทของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กิจกรรมที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริม ควบคู่ไปกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ AEC อย่างเป็น รูปธรรมประกอบด้วย กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ การผลักดัน การขับเคลื่อนและการติดตาม โดยจะเป็นตัว ขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งต่างๆดังนี้ 1. ความร่วมมือด้านต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ AEC 2. การปรับตัวและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ AEC 3. การเคลื่อนย้ายแรงงาน การขยายการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน 1. ศึกษา/วิจัยข้อมูลเชิงลึกของประเทศสมาชิกอาเซียน 2. มีนโยบายสนับสนุน/ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการลงทุนในต่างประเทศ

119 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
สินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่ส่งออกไปในตลาดอาเซียน มีการวิเคราะห์ตำแหน่งทางการตลาดของสินค้าอุตสาหกรรมไทยที่ส่งออกไปในตลาดอาเซียนร่วมกับ ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสามารถรักษาตำแหน่งของส่วนแบ่งตลาด การเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งตลาด ต้นทุนผลิต ต่อหน่วย ศักยภาพแรงงาน ฯลฯ เพื่อแบ่งอุตสาหกรรมเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขัน 2. กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตไม่สูงมาก 3.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีทิศทางไม่ชัดเจน 4. กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มของส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลง

120 หน่วยที่ 10 การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในอาเซียน
การค้าระหว่างประเทศไทยกับอาเซียน 1. บรูไนดารุสซาลาม 2. ราชอาณาจักรกัมพูชา 3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 5. มาเลเซีย 6.สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 8.สาธารณรัฐสิงคโปร์ 9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

121


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 1 การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google