งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา
ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts

2 ความสำคัญ ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowleadge-Based-Economy) ที่ปัจจัยในการผลิตและแข่งขันกำลังเปลี่ยนไปเป็นปัจจัยที่ไม่อาจจับต้องได้มากขึ้น เช่น ความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการค้าข้ามประเทศที่อาศัยวัฒนธรรมเป็นสื่อ ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรม จึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ทุกองค์การสร้างจุดยืนที่เข้มแข็ง เป็นองค์การแห่งนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ความอยู่รอด การเจริญเติบโต และการสร้างสมรรถนะในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

3 ความสำคัญ สภาวการณ์ดังกล่าวไม่ได้จำเพาะอยู่แต่ในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น การบริหารกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณะในยุคโลกาวิวัฒน์นี้จำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารมืออาชีพ ในการทำให้กิจการดำเนินการไปด้วยดี และบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

4 ความสำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ หมวด 9 เทคโนโลยีทางการศึกษา มาตราที่ 64 ที่กำหนดว่ารัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ สิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

5 ความสำคัญ มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิตรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ หากมีการดำเนินการตามแนวคิดดังกล่าวจะทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้กับการบริหารและจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี

6 ความหมายของนวัตกรรม นวัตกรรม(Innovation) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “nova” แปลว่า “ใหม่” หรือ “Innovare” แปลว่า “ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา”

7 ความหมายของนวัตกรรม โรเจอร์ (Roger, 1983:11) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า คือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ๆซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคล แต่ละคนหรือหน่วยอื่นๆของการยอมรับในสังคม

8 ความหมายของนวัตกรรม สุกัญญา แช่มช้อย (2555) สรุปความหมายว่า นวัตกรรมของบุคคล กลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ ได้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับพวกเขาหรือไม่ และข้อควรพิจารณาอีกอย่างหนึ่งของความใหม่ คือ ระยะเวลา เช่น เคยทำกันมาแล้ว แต่ได้หยุดไประยะ เวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่ เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่ได้

9 ความหมายของนวัตกรรม กีรติ ยศยิ่งยง (2552 :7) ได้เสนอไว้ดังต่อไปนี้
สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้รับ การรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

10 ความหมายของนวัตกรรม สนนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2553 : 22) ได้สรุปมิติสำคัญของการเป็นนวัตกรรมมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้ ความใหม่ (Newness) เป็นสิ่งใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) ในมิติประการที่สองที่ถูกกล่าวถึงเสมอใน ลักษณะของการเป็นนวัตกรรม ก็คือ การให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ การใช้ความรู้และความสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity)

11 เกณฑ์การคัดเลือก รางวัล ปี 2559
หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ของคุรุสภา ประเภทผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม สถานศึกษาทุกสังกัดสามารถส่งผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ได้เพียงด้านใดด้านหนึ่ง จากประเภทของนวัตกรรม จํานวน ๘ ด้าน ดังนี้

12 ด้านหลักสูตร การจัดทําหลักสูตรพัฒนาผู้เรียนที่เน้นหลักสมรรถนะ (Competency Based Curriculum) ซึ่งเน้นทั้งความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะ (Attribute) ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง ฯ เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละบุคคล ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของตน โดยแสดงองค์ประกอบของหลักสูตรที่นําเสนอการจัดประสบการณ์ที่ผู้เรียน นําความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบความสําเร็จและมีความสุข

13 ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ(Action Learning / Active Learning) แก้ปัญหา หรือศึกษา ค้นคว้า สามารถสร้างองค์ความรู้ที่มีความหมายแก่ตนเองตามสิ่งที่ชอบ และสนใจ เกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเองโดยใช้แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย (Place Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้เรียน มีการวางแผน และออกแบบกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ ตลอดจนจัดประสบการณ์อย่างมีความหมายและเป็นระบบ มุ่งประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ และพัฒนาการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริงคิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็นอย่างเต็มตามศักยภาพ

14 ด้านแหล่งเรียนรู้ กระบวนการใช้แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย (Place Based Learning) สนับสนุนให้ผู้เรียนสนใจ ใฝ่เรียนรู้แสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง ให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้เห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ร่วมคิด ร่วมพัฒนาเพื่อคงคุณค่าในการเป็น แหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน

15 ด้านสิ่งประดิษฐ์ และสื่อ
ผลงานหรือชิ้นงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีร่องรอย หลักฐานการนําไปทดลอง หรือใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้จนเกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์จริงกับผู้เรียน “สิ่งประดิษฐ์” หมายถึง ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องใช้หรืออื่น ๆ ที่มีลักษณะ เป็นผลงานที่เกิดจากการคิดค้นขึ้นจากผู้ประดิษฐ์ “สื่อสิ่งพิมพ์” ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ หนังสือ ตํารา นิตยสาร หนังสือพิมพ์ รายงาน จดหมายเหตุ บันทึกวิทยานิพนธ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ “สื่ออื่น ๆ” ที่เป็นสื่อเดี่ยว หรือสื่อเสริม เช่น สื่อบุคคล สื่อจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (Resource Center) สื่อการเรียนรู้ (Learning Resource) สื่อกิจกรรมเกมที่เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ

16 ด้านเทคโนโลยีการศึกษา และ Digital For Learning
“เทคโนโลยีการศึกษา” ได้แก่ วัสดุ (Software) ที่ผลิตใช้ควบคู่กับอุปกรณ์ Hardware ได้แก่ วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนสําเร็จรูป ชุดการสอน ชุดฝึกบทเรียนทางไกล มัลติมีเดียประเภทต่าง ๆ “Digital For Learning” ได้แก่ สื่อที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา

17 ด้านการวัดและการประเมินผล
กระบวนการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบ เป็นการประเมินคุณภาพด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน ด้วยวิธีการและเครื่องมืออย่างหลากหลาย โดยมุ่งประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) และผลการประเมินสะท้อนการเรียนรู้ พฤติกรรม และการปฏิบัติจริงในชีวิตประจําวัน (Real World) ของผู้เรียนอย่างรอบด้าน เป็นข้อมูลพื้นฐานที่พร้อมใช้ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป

18 ด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษา
รูปแบบการบริหารและการจัดการสถานศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (Result Based) อย่างเป็นระบบ เป็นการบริหารจัดการและการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ (Brand Image) ของหน่วยงาน โดยยึดหลักสมรรถนะ คุณธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ ความโปร่งใส ภาวะผู้นํา และผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีการกระจายอํานาจ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ทั้งการตัดสินใจ และบริหารจัดการร่วมกับคณะผู้บริหารของสถานศึกษา ในด้านการพัฒนาระบบงบประมาณ บุคลากร งานวิชาการ (โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้) โดยมีแผนการพัฒนา สถานศึกษาที่ตรงตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

19 ด้านจิตวิทยา การนําความรู้ทางด้านจิตวิทยา การแนะแนวการศึกษา มาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาหรือ พัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและเรียนรู้ได้ดี เช่น การดูแลช่วยเหลือ ผู้เรียน การศึกษาผู้เรียนเป็นรายกรณี รายกลุ่ม การพัฒนาผู้เรียนกลุ่มพิเศษ และการจัดการชั้นเรียน รวมทั้ง ให้ความสําคัญในการนําจิตวิทยาไปใช พัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ บนพื้นฐานการทํางาน ทางสมอง (Brain Based Learning : BBL) และการเรียนรู้ที่พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ)

20 ด้านอื่นๆ เป็นผลงานนวัตกรรมทางการศึกษาที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มนวัตกรรมตามข้อ ที่กล่าวมาแล้วโดยให้สถานศึกษาระบุด้านเองให้ชัดเจน

21 เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม”
เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” เพื่อรับรางวัลผลงานนวัตกรรม “ระดับประเทศ”ใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ ประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงานแบบมิติคุณภาพ ๕ มิติ และ ๑๒ ตัวบ่งชี้ โดยมีน้ำหนักคะแนนเท่ากับ ๑๒ ซึ่งผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” แต่ละเรื่อง มีคะแนนเต็มเท่ากับ ๓๖ คะแนน โดยพิจารณาจาก

22 เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” (ต่อ)
เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” (ต่อ) ๔.๑ คุณค่าทางวิชาการ (๙ คะแนน) น้ําหนักคะแนน ๓ มีจํานวน ๒ ตัวบ่งชี้ คือ ๑) กระบวนการคิดและการพัฒนา ๒) ผลที่เกิดขึ้น ๔.๒ ประโยชน์ของนวัตกรรม (๑๒ คะแนน) น้ําหนักคะแนน ๔ มีจํานวน ๒ ตัวบ่งชี้ คือ ๑) ความสําคัญต่อวิชาชีพ ๒) มีการนําผลไปใช้ ๔.๓ ลักษณะของผลงาน (๓ คะแนน) น้ําหนักคะแนน ๑ มีจํานวน ๑ ตัวบ่งชี้ คือ ๑) ความแปลกใหม่ที่โดดเด่น

23 เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” (ต่อ)
เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” (ต่อ) ๔.๔ การมีส่วนร่วม(๖ คะแนน) น้ําหนักคะแนน ๒ มีจํานวน ๓ ตัวบ่งชี้ คือ ๑) ความหลากหลายของผู้ที่เกี่ยวข้อง ๒) พฤติกรรมการมีส่วนร่วม ๓) ระยะเวลา ๔.๕ การนําเสนอผลงานตามแบบ นร.๑ (๖ คะแนน) น้ําหนักคะแนน ๒ มีจํานวน ๓ ตัวบ่งชี้ คือ ๑) เทคนิคการนําเสนอ ๒) รายละเอียดของข้อมูล ๓) หลักฐานร่องรอย

24 ประจำปี 2556 ระดับเหรียญทอง
บะไหอินทรีย์ขยะรีไซเคิล ข้าวกลางกรุง ท้องทุ่งแห่งการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐราษฎร์อนุสรณ์ : 10 หมู่บ้านวิถีพอเพียง รักษ์ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม การสร้างแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ในโรงเรียนและท้องถิ่น ด้วยเทคโนโลยีเว็บ 2.0 การจัดการศึกษาแบบ DEG Model ระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ

25 ประจำปี 2556 ระดับเหรียญทอง(ต่อ)
CSHSCR Social Media Innovative (Chulabhorn Science High School Chiang Rai Social Media Innovative) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้อำเภอเป็นฐาน : ศรีบรรพตโมเดล การพัฒนานักเรียนแกนนำ สู่การเป็นนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC : Youth Counselor โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา)

26 ประจำปี 2557 ระดับเหรียญทอง
หลักสูตรการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแบบบูรณาการ 1 ชั้น 1 อาชีพ เพื่อการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียน ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น “กิจกรรมโชว์รูมหนังสือ” Book Show and Reading Activity Room ศูนย์การเรียนรู้การจัดขยะมูลฝอย

27 ประจำปี 2557 ระดับเหรียญทอง
การบริหารและจัดการสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สู่ความสำเร็จโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา แหล่งการเรียนรู้ศูนย์นักธุรกิจน้อยโรงเรียนวัดดอนหวาย พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ (โครงการ “ไซ - พัฒน์”) สู่กระบวนการเรียนการสอนและพัฒนาท้องถิ่น รูปแบบการพัฒนานักศึกษาอาชีวะด้วย D – Students การบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนล่องแพวิทยา

28 ประจำปี 2558 ระดับเหรียญทอง
ตลาดนัดโครงการ “๔G Young Scientists Phimanphitthayasan เครื่องล้างและอัดจาระบีตลับลูกปืนอนุรักษส์ สิ่งแวดล้อม โรงเรียนสะอาด ปราศจากขยะด้วยนวัตกรรม Model ไผ่แก้ว สู่ความพอเพียง รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินเถิ่นรักษ์...เวียงด้งนคร” ระดับประถมศึกษา (Weangdongnakorn Local Curriculum : IPOOD Management Model) การเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการ กิจกรรม "อนุรักษ์ วัฒนธรรม นําสู่อาเซียนเรียนรู้องค์ปราสาทศีขรภูมิ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ดอกดินบานที่บ้านยายคํา

29 ตัวอย่างนวัตกรรม บะไหอินทรีย์ขยะรีไซเคิล
ปฐมบทและปรากฎการณ์ ณ โรงเรียนบ้านบะไห โรงเรียนบ้านบะไห ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี สพป.อุบลราชธานีเขต 3 ผอ.โรงเรียน นายวิชิต สิทธิแต้ สภาพปัญหาสำคัญ ปีการศึกษา 2553 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนวัดผลระดับชาติ (NT) ป.3 คะแนน O – NET ป.6 ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและต่ำลงกว่าในอดีต

30 ตัวอย่างนวัตกรรม บะไหอินทรีย์ขยะรีไซเคิล
แนวทางการพัฒนา ผู้บริหารและคณะครูได้ปรับกระบวนทัศน์ ในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนใหม่ โดยเน้นการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริงและยั่งยืน พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวได้ดี

31 ตัวอย่างนวัตกรรม บะไหอินทรีย์ขยะรีไซเคิล
ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง พระสงฆ์ คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานใกล้เคียงร่วมกันสำรวจ วางแผนดำเนินการ และร่วมกันบริหารจัดการ โดยเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นการปฏิบัติจริง โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์ เพื่อจัดการองค์ความรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงาน และการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง

32 บทสรุปของความสำเร็จ ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน
1)ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดองค์ความได้พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามจาก สมศ. ได้ระดับ “ดีมาก” ทุกตัวบ่งชี้ (ระดับปฐมวัยดีมาก ทั้ง 12 ตัวบ่งชี้ คะแนนร้อยละ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดีมาก ทั้ง 12 ตัวบ่งชี้ คะแนนร้อยละ 97.71) 2) ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ และใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการเรียนรู้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 4) ผู้เรียนร้อยละ 100 มีสุขภาพดี แข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดภัยต่อสารพิษ 5) ผู้เรียน ครู คนในชุมชนมีความสุขจากการเรียนรู้ร่วมกัน

33 บทสรุปของความสำเร็จ(ต่อ)
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้ เรียนรู้เชิงบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีทักษะการทำงาน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการ ฝึกอาชีพพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการประเมินคุณภาพ การศึกษาภายนอก จาก สมศ. รอบ 3 ได้รับระดับดีมากทุกตัวบ่งชี้ ระดับปฐมวัยดีมากทั้ง 12 ตัวบ่งชี้ คะแนนร้อยละ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดีมาก ทั้ง 12 ตัวบ่งชี้ คะแนนร้อยละ 97.71

34 บทสรุปของความสำเร็จ(ต่อ)
สรุปผลที่เกิดกับนักเรียน 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับ “ดี” ขึ้นไปเกินร้อยละ ทุกขั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สุขภาพดีถ้วนหน้า 3) นักเรียนสนุกสนาน มีความสุขกับการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง 4) นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักศึกษาค้นคว้า ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี เป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

35 บทสรุปของความสำเร็จ(ต่อ)
สรุปผลที่เกิดกับนักเรียน 5) นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ 6) นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และ ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 7) นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8) นักเรียนรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

36 บทสรุปของความสำเร็จ(ต่อ)
ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บะไหอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ได้รับความร่วมมือจาก ครู นักเรียน คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน พระสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม หน่วยควบคุมไฟป่าแบะเจ้าหน้าที่จาก สถานีวนวัฒนวิจัยโขงเจียม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ร่วมกันประชุมวางแผน สำรวจ ทรัพยากรและความต้องการ ร่วมกันสร้าง ร่วมกันพัฒนาและยังร่วมกันเรียนรู้ ตลอดจนการ เผยแพร่กระบวนการจัดการเรียนรู้ แก่โรงเรียนที่มาศึกษาดูงาน ทุกส่วนมีความภาคภูมิใจใน ผลงานและความเป็นเจ้าของร่วมกัน

37 ชมวีดีโอ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม
ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt นวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google