งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2559

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2559"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2559
ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2559 ร้อยละ 50 ของจังหวัดมีระบบจัดการปัจจัยเสี่ยง ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป โดย...สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย วันที่ 27 มกราคม ณ ห้องกำธร สุวรรณกิจ

2 ระดับความเชื่อมโยงของตัวชี้วัด
ตรวจราชการปกติ (คณะ 4: ตก.1) มูลฝอยติดเชื้อ มุลฝอยทั่วไป อสธจ ตรวจบูรณาการฯ (คณะ 5: PPR1) มูลฝอยติดเชื้อ/ทั่วไป (คณะ 4) น้ำเสีย (สิ่งปฏิกูล) มลพิษอากาศ (ภาคเหนือ/ฝุ่นสระบุรี) แผนบูรณาการระดับ ประเทศ แผนบูรณาการขยะฯ เป้าหมาย : ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลสุขภาพจากปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม 1. มีข้อมูล/สถานการณ์/เฝ้าระวังฯ 2. กลไก อสธจ. 3. การรับรองคุณภาพ อปท. (EHA) 4. การจัดการมูลฝอย ติดเชื้อ 5. การจัดบริการเวชกรรม สวล. (กรม คร.) ตัวชี้วัด กสธ.ที่ 17 จังหวัดมีระบบจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใน ระดับดีขึ้นไป (ร้อยละ 50) PA กสธ. (รองปลัดสุวรรณชัย) ระบบอนามัยสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย : ประชาชนได้รับการป้องกัน ดูแลสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม PA กรม ตัวชี้วัด 1.5 ร้อยละของ รพ.สังกัด กสธ. มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมาย (SAR กรม อ.) 1. มีข้อมูล/สถานการณ์/ เฝ้าระวังฯ 2. กลไก อสธจ. 3. การรับรองคุณภาพ อปท. (EHA) คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ที่กระจายสู่ศอ.1-12 1.8 ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อให้จังหวัดในเขตรับผิดชอบมีระบบจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (SAR กรม อ.)

3 ความหมายตัวชี้วัด จังหวัดมีการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ใน 5 เรื่อง ดังนี้ 1 มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล สถานการณ์ และการเฝ้าระวัง ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มีกลไกของคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (อสธจ.) 2 3 มีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ได้มาตรฐาน (EHA) มีระบบและกลไกสนับสนุนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ รพ. สังกัด กสธ. ให้ถูกต้องตามกฎหมาย 4 5 มีการส่งเสริมให้มีการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐาน ใน 36 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง

4 การประเมินผล วัดผลการดำเนินงานในภาพรวม ทั้ง 5 ประเด็น ๆละ 100 คะแนน
วัดผลการดำเนินงานในภาพรวม ทั้ง 5 ประเด็น ๆละ 100 คะแนน รวม 500 คะแนน : ผลการดำเนินงานของจังหวัด มี 4 ระดับ ระดับ พื้นฐาน คะแนน ระดับ ดี คะแนน ระดับ ดีมาก คะแนน ระดับดีเด่น คะแนน ขึ้นไป

5 วิธีการประเมิน ศอ. ที่ ร่วมกับ สคร. ที่ 1-12 ประเมินจังหวัดตามเกณฑ์การประเมินการมีระบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่กำหนด : แบบประเมินจังหวัด ความถี่ของการประเมิน : ประเมินจังหวัด 2 รอบ คือ รอบ 6 เดือน: จังหวัดประเมินตนเอง (ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2559) รอบ 12 เดือน: ศอ/สคร ประเมินจังหวัด (ภายในวันที่ 20 กันยายน 2559)

6 การส่งรายงานให้ส่วนกลาง
ไม่เกินวันที่ 25 มิถุนายน 2559 รอบ 6 เดือน ศอ. ส่งรายงาน ตามแบบฟอร์ม ในภาพรวม เขตสุขภาพ (แนบแบบประเมิน รายจังหวัด) ภายใน 25 มีนาคม 2559 รอบ 12 เดือน ภายใน 25 กันยายน 2559 โดยส่งข้อมูลมายัง : กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (คณะทำงานติดตาม กำกับและประเมินผล กรมอนามัย : คณะที่ 10) ที่

7 (กอง HIA : คณะทำงาน M&E)
ระบบการไหลเวียน การรายงานผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี (KPI 17) กสธ (สนย/รายไตรมาส) ระดับ กสธ ผู้บริหาร/คณะทำงาน 1-11 ภาพรวม KPI: แบบสรุปรายเขต/แบบประเมินรายจังหวัด ระดับกรม รอบ 6 เดือน: ภายใน 25 มี.ค. 59 ประสาน การดำเนินงาน สำนักโรคฯ กรม คร กรมอนามัย (กอง HIA : คณะทำงาน M&E) รอบ 12 เดือน: ภายใน 25 ก.ย. 59 1. ข้อมูล/สถานการณ์/เฝ้าระวังฯ 2. กลไก อสธจ. 3. การรับรองคุณภาพ อปท. (EHA) 4. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 5. การจัดบริการเวชกรรมสวล.(กรม คร.) รอบ 12 เดือน ศอ/สคร ประเมินจังหวัด : ภายใน 20 ก.ย. 59 ระดับเขต ศอ. 1-12/ สคร. 1-12 (กลุ่มงาน อวล) รอบ 6 เดือน จังหวัดประเมินตนเอง : ภายใน 20 มี.ค. 59 สสจ. 76 จังหวัด (ผู้รับผิดชอบงาน) ระดับจังหวัด รวบรวมข้อมูล ภาพรวมของจังหวัด

8 ผลสำเร็จการดำเนินงานในระยะสั้น : Quick win
3 เดือน จังหวัดมีแผนปฏิบัติการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 6 เดือน จังหวัดมีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่สำคัญ และมีการผลักดันสู่กระบวนการโดยกลไก อสธจ. 9 เดือน จังหวัดมีการดำเนินงานเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครอบคลุมทั้ง 5 ประเด็น ฐานข้อมูล สถานการณ์ และการเฝ้าระวังฯ ขับเคลื่อนงานโดยมีกลไก อสธจ. การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม อปท. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม 12 เดือน จังหวัดมีการดำเนินงานเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 50

9 รายละเอียด การประเมินตัวชี้วัด แต่ละประเด็น

10 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด
ประเด็น : 1. การพัฒนาระบบฐานข้อมูล สถานการณ์ และการเฝ้าระวัง ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (100 คะแนน) ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 1.1 มีการกำหนดประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของจังหวัดที่จำเป็นจะต้องมีการรวบรวมและจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล (10 คะแนน) การกำหนดประเด็นปัญหาด้าน สวล/สุขภาพที่จำเป็นของจังหวัด อาจมาจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาจากสถานการณ์ที่มี/ข้อมูลข่าวสาร/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น/เหตุร้องเรียนต่างๆ/การหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เป็นต้น หากมีการดำเนินการ … ได้ 10 คะแนน 1.2 มีข้อมูลประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐานที่สำคัญของจังหวัดอย่างน้อย 3 ประเด็น (15 คะแนน) ควรมีข้อมูลประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐานที่สำคัญ เช่น มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยทั่วไป สิ่งปฏิกูล สุขาภิบาลอาหาร น้ำบริโภค มาตรการด้านกฎหมาย สารเคมีและสารอันตราย เป็นต้น อย่างน้อย 3 ประเด็น หากมีข้อมูลน้อยกว่า 3 ประเด็น ให้คิดคะแนนตามสัดส่วน โดย 1) มี 1 ประเด็น …. ได้ 5 คะแนน 2) มี 2 ประเด็น …. ได้ 10 คะแนน 3) มี 3 ประเด็นขึ้นไป …. ได้ 15 คะแนน

11 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ) คำอธิบายประกอบการประเมิน
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 1.3 มีข้อมูลประเด็นพื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และ/หรือประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ (15 คะแนน) ควรมีข้อมูลประเด็นพื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ใน 36 จว ที่กำหนด (พื้นที่เสี่ยงตามแผนคุ้มครองสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ปี ใน 3 กลุ่มหลัก คือ 1) สารเคมี/สารอันตราย (เหมืองทอง/เหมืองเก่า/ขยะอิเลคทรอนิกส์) 2) มลพิษทางอากาศ (ฝุ่นหน้าพระลาน/หมอกควันภาคเหนือ/โรงไฟฟ้าชีวมวล) 3) พื้นที่คาดว่าจะมีปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ/นิคมฯ/เหมืองโปแตช/โรงไฟฟ้าถ่านหิน) หรือหากไม่มี ให้ใช้พื้นที่เสี่ยงอื่นๆ ตามสภาพปัญหาในพื้นที่นั้นๆ หากไม่มีทั้งพื้นที่เสี่ยงใน 36 จังหวัดที่ระบุ และพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นปัญหาใน พื้นที่ก็ควรจะมีประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ กระทรวง ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อ/มูลฝอย ทั่วไป/ สิ่งปฎิกูล/ การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เป็นต้น มีข้อมูลประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ และ/หรือประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่ง….. ได้ 15 คะแนน

12 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 1.4 มีการจัดการข้อมูลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น การระบุแหล่งที่มา/อ้างอิงข้อมูล การปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัย (10 คะแนน) การจัดการข้อมูลที่มีอยู่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น การระบุแหล่งที่มา/อ้างอิงข้อมูล การปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัย ซึ่งควรปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง หากมีการจัดการดังกล่าว …..ได้ 10 คะแนน 1.5 มีสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน และ ประเด็นพื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และ/หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ (15 คะแนน) ควรมีรายงานสถานการณ์ฯ ทั้ง ในประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน และประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ และ/หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบายฯ หากมีสถานการณ์ฯ เพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง คะแนนควรลดลงตามสัดส่วน โดย 1) กรณีมีเฉพาะสถานการณ์ฯ ในประเด็นด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมพื้นฐาน หรือประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง ….. ได้ 8 คะแนน 2) หากมีสถานการณ์ฯทั้งในประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน และประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ และ/หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ ครบ 2 ประเด็น …. ได้ 15 คะแนน

13 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 1.6 การเฝ้าระวังฯ ในประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน และ ประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ และ/หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ (20 คะแนน) ควรมีการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งใน ประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน และประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ และ/หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ หากมีการเฝ้าระวังเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง คะแนนควรลดลงตามสัดส่วน โดย 1) กรณีมีเฉพาะการเฝ้าระวังฯ ในประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน หรือประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง....ได้ 10 คะแนน 2) หากมีการเฝ้าระวังฯ ในประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน และประเด็นพื้นที่เสี่ยงฯ และ/หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบาย ประเทศ ครบ 2 ประเด็น ….ได้ 20 คะแนน 1.7 มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลเช่น การประเมินความเสี่ยง สื่อสารความเสี่ยง /เตือนภัย เป็นต้น (15 คะแนน) การใช้ประโยชน์ข้อมูล เช่น การประเมินความเสี่ยง/ สื่อสารความเสี่ยง/ เตือนภัย/ นำเข้าที่ประชุม อสธจ. /ใช้ข้อมูลในการวางแผน ตัดสินใจแก้ไขปัญหา ฯลฯ หากมีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่ง….ได้ 15 คะแนน

14 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด
ประเด็น : 2. มีกลไกของคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (อสธจ.) (100 คะแนน) ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 2.1 มีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานฝ่ายเลขานุการ คณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (10 คะแนน) หน่วยงานมีกลุ่มหรือฝ่ายงานอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือกลุ่มงานอื่นที่ได้รับมอบหมายงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายสาธารณสุข หรือมีคำสั่งมอบหมายให้รับผิดชอบงานฝ่ายเลขานุการ อสธจ. ได้ 10 คะแนน 2.2 มีแผนการจัดประชุมคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (15 คะแนน) มีแผนการจัดประชุมฯ หรือโครงการที่แสดงถึงจำนวนครั้ง การจัดประชุม กิจกรรม และงบประมาณการประชุม อสธจ. ที่เป็นปัจจุบัน ได้ 15 คะแนน 2.3 มีการจัดประชุม คณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดอย่างน้อย 3 ครั้งต่อปี (15 คะแนน) มีการดำเนินการตามแผนการจัดประชุม หรือโครงการ ตามข้อ 1.2 จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อปี โดย 1) หากมีการจัดประชุมฯ 1 ครั้งต่อปี ได้ 5 คะแนน 2) หากมีการจัดประชุมฯ 2 ครั้งต่อปี ได้ 10 คะแนน 3) หากมีการจัดประชุมฯ 3 ครั้งต่อปี ได้ 15 คะแนน

15 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 2.4 มีการนำเสนอข้อมูลในประเด็นที่สำคัญของพื้นที่ ทั้งข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ประเด็นทั่วไป หรือ ประเด็นปัญหาที่เป็นความเสี่ยงของพื้นที่ หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ หรือประเด็นข้อกฎหมาย (15 คะแนน) มีข้อมูลนำเข้าที่ประชุมในวาระเพื่อพิจารณาในรูปแบบของเอกสาร หรือไฟล์ข้อมูล ให้ที่ประชุมประกอบการพิจารณาเพื่อ มีมติต่อประเด็นดังกล่าว (หากมีข้อมูลประเด็นใดประเด็นหนึ่งบรรจุในวาระเพื่อพิจารณา ของประชุมแต่ละครั้ง ได้ 15 คะแนน) ข้อมูล หมายถึง ประเด็นงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นปัญหาพื้นที่เสี่ยง หรือประเด็นตามนโยบาย หรือประเด็นกฎหมาย ประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น ประเด็นมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยทั่วไป การจัดการ สิ่งปฏิกูล การสุขาภิบาลอาหาร น้ำบริโภค มาตรการด้านกฎหมาย สารเคมีและสารอันตราย เป็นต้น ประเด็นพื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษ เช่น ประเด็นมลพิษสิ่งแวดล้อม 3 กลุ่มหลัก คือ 1) พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากสารเคมีและสารอันตราย (เหมืองทอง เหมืองเก่า ขยะอิเลคทรอนิกส์) 2) พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ (ฝุ่นหน้าพระลาน จ.สระบุรี หมอกควันภาคเหนือ และ โรงไฟฟ้าชีวมวล) 3) พื้นที่คาดว่าจะมีปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เหมืองโปแตช และโรงไฟฟ้าถ่านหิน)

16 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 2.4 มีการนำเสนอข้อมูลในประเด็นที่สำคัญของพื้นที่ ทั้งข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ประเด็นทั่วไป หรือ ประเด็นปัญหาที่เป็นความเสี่ยงของพื้นที่ หรือ ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ หรือประเด็นข้อกฎหมาย (15 คะแนน) (ต่อ) ประเด็นปัญหาตามนโยบายประเทศ เช่น ประเด็นมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยทั่วไป สิ่งปฎิกูล การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เป็นต้น ประเด็นกฎหมาย เช่น 1) การออกข้อกำหนดท้องถิ่น/ใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้ง/การออกคำสั่งทางปกครอง/การเปรียบเทียบและดำเนินคดี 2) การจัดการเหตุรำคาญ 3) หรือปัญหาข้อกฎหมาย เช่น การตีความ/อำนาจการบังคับใช้/อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมายสาธารณสุข ฯลฯ 4) หรือข้อเสนอต่อการปรับปรุงแก้ไขหรือออกกฎหมาย (พรบ./กฎกระทรวง/ประกาศกระทรวง) 5) หรือข้อเสนอต่อกลไกการดำเนินงานตาม พรบ.การสาธารณสุข 2535 เพื่อสนับสนุนงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 6) หรือข้อเสนอต่อการใช้กฎหมายอื่นที่เชื่อมโยงกับกฎหมายสาธารณสุข 7) อื่นๆ ฯลฯ

17 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 2.5 มีมติและติดตามจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด อย่างน้อย 2 เรื่อง (25 คะแนน) มีมติจากที่ประชุมครั้งที่ 1 อย่างน้อย 1 ประเด็น เพื่อให้มีการจัดการหรือแก้ไขปัญหา มีมติจากที่ประชุมครั้งที่ 2 อย่างน้อย 2 ประเด็น ซึ่งมติของการประชุมครั้งที่ 2 อาจเป็นมติที่ได้จากประเด็นข้อมูลนำเข้าใหม่ (ข้อ 2.4) หรือเป็นประเด็นเดิมจากมติการประชุมครั้งที่ 1 ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 2 อาจมีมติต่อประเด็นเดิมให้มีรูปแบบ/วิธีการในการจัดการหรือแก้ไขปัญหา เพิ่มเติมมากขึ้นหรือเปลี่ยนรูปแบบ/วิธีการใหม่ ฝ่ายเลขาฯ มีการติดตาม มติจากการประชุม ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เช่น มีการประสานด้วยหนังสือราชการ หนังสือเชิญประชุม หรือมีวาระการประชุมที่แสดง/บรรจุมติดังกล่าวในวาระการประชุมครั้งต่อไป การให้คะแนนพิจารณาจาก 1) มีมติจากการประชุม ครั้งที่ 1 อย่างน้อย 1 ประเด็น ได้ 5 คะแนน 2) มีมติจากการประชุม ครั้งที่ 2 อย่างน้อย 2 ประเด็น ได้ 10 คะแนน 3) และมีการติดตามมติจากที่ประชุมครั้งที่ 1 ได้ 10 คะแนน

18 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 2.6 มีการรายงานการประชุมและสรุปรายงานตามแบบฟอร์มของ ศกม. ให้แก่ศูนย์อนามัยฯ ไม่น้อยกว่า ครั้งต่อปี (20 คะแนน) มีการจัดส่งรายงานการประชุมให้แก่ศูนย์อนามัยใน พื้นที่รับผิดชอบ ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันประชุม โดย 1) รายงานการประชุมและสรุปรายงาน ตามแบบฟอร์ม ของศูนย์บริหารกฎหมายฯ จำนวน 1 ครั้ง/ปี ได้ 5 คะแนน 2) รายงานการประชุมและสรุปรายงาน ตามแบบฟอร์ม ของศูนย์บริหารกฎหมายฯ จำนวน 2 ครั้ง/ปี ได้ 10 คะแนน 3) รายงานการประชุมและสรุปรายงาน ตามแบบฟอร์ม ของศูนย์บริหารกฎหมายฯ จำนวน 3 ครั้ง/ปี ได้ 20 คะแนน

19 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด
ประเด็น : 3. มีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มาตรฐาน (100 คะแนน) ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 3.1 มีนโยบาย หรือ ตัวชี้วัดการดำเนินงานระดับจังหวัดในการส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน (15 คะแนน) มีนโยบายหรือตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ได้ 5 คะแนน มีการถ่ายทอดสื่อสารนโยบายแก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ได้ 5 คะแนน มีการถ่ายทอดสื่อสารนโยบายให้หน่วยงานของท้องถิ่น ได้ 5 คะแนน หากมีการดำเนินการทั้ง 3 ประเด็นได้ 15 คะแนน 3.2 มีแผนการดำเนินงาน ควบคุม กำกับ และติดตามการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (15 คะแนน) มีแผนการดำเนินงาน ควบคุม กำกับ และติดตามการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ 5 คะแนน มีการแต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายผู้รับผิดชอบแผนงาน ได้ 5 คะแนน มีการติดตามประเมินผล และปรับปรุงแผนงาน เพื่อผลักดันการทำงานให้ได้ตามแผนงาน ได้ 5 คะแนน

20 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 3.3 มีฐานข้อมูลการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบ (15 คะแนน) มีการจัดทำฐานข้อมูลการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบ ได้ 5 คะแนน มีการนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนางาน ได้ 5 คะแนน มีการทบทวนปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ได้ 5 คะแนน หากมีการดำเนินการทั้ง 3 ประเด็นได้ 15 คะแนน 3.4 มีการส่งเสริม/สนับสนุนให้บุคลากรของหน่วยงานได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสามารถเป็นผู้ประเมินรับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นฐานได้ (15 คะแนน) บุคลากรของหน่วยงานผ่านการอบรม และสามารถเป็นผู้ตรวจประเมินได้ 60% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในหน่วยงาน ได้ 5 คะแนน บุคลากรของหน่วยงานผ่านการอบรม และสามารถเป็นผู้ตรวจประเมินได้ 80% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในหน่วยงาน ได้ 5 คะแนน บุคลากรของหน่วยงานผ่านการอบรม และสามารถเป็นผู้ตรวจประเมินได้ 100% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในหน่วยงาน ได้ 5 คะแนน

21 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 3.5 มีการประเมินรับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพฯในระดับพื้นฐาน(20 คะแนน) เทียบสัดส่วนอปท.ที่สมัครกับที่ได้รับการประเมิน สมัครและได้รับการประเมิน 100 % ได้ 20 คะแนน 3.6 พัฒนายกระดับมาตรฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นต้นแบบการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 1 แห่ง (20 คะแนน) มีแผนในการลงพื้นที่ตรวจประเมินพัฒนายกระดับมาตรฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นต้นแบบการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ได้ 5 คะแนน ลงพื้นที่ตรวจประเมินพัฒนายกระดับมาตรฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นต้นแบบการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ได้ 5 คะแนน มีการพัฒนายกระดับมาตรฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นต้นแบบการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพแล้วเสร็จ อย่างน้อย 1 แห่ง ได้ 10 คะแนน หากมีการดำเนินการทั้ง 3 ประเด็นได้ 20 คะแนน

22 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด
ประเด็น : 4. จังหวัดมีระบบและกลไกสนับสนุนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของ รพ. สังกัด กสธ.ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (100 คะแนน) ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 4.1 มีฐานข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข (ตาม พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535) ที่เป็นปัจจุบัน (ตามแบบรายงานที่กำหนด) (20 คะแนน) การจัดทำฐานข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยใช้แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด (แบบฟอร์มเดียวกับการตรวจราชการของคณะที่ 4) โดย 1) มีฐานข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (รพศ. รพท. รพช. และ รพ. สังกัดกรมวิชาการอื่นๆ) ได้ 10 คะแนน 2) มีฐานข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ 1 และมีฐานข้อมูลของสถานบริการการสาธารณสุขอื่นๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของแหล่งกำเนิดมูลฝอยและการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระดับจังหวัด ประกอบด้วย รพ.สต. รพ.รัฐ สังกัดหน่วยงานอื่นๆ รพ.เอกชน คลินิกเอกชน รพ.สัตว์ คลินิกสัตว์ ได้ 20 คะแนน

23 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 4.2 จัดให้มีกลไกบริหารจัดการและประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามูลฝอยติดเชื้อระดับจังหวัด อาทิ อสธจ. (20 คะแนน) มีกลไกการดำเนินงานเพื่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ระดับจังหวัด เพื่อให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานแก้ไขปัญหามูลฝอยติดเชื้อของจังหวัด เช่น การใช้กลไก อสธจ. หรือกลไกอื่นๆ โดยต้องมีกลไกการประสานงานที่ชัดเจน เช่น มีการจัดประชุม การจัดทำคณะทำงาน เป็นต้น โดย หากมีกลไกการประสานงานที่ชัดเจน เช่น มีการจัดประชุม การจัดทำคณะทำงาน ได้ 10 คะแนน 2) หากมีกลไกการดำเนินงานตามข้อ 1) และมีการติดตามผลการ ดำเนินงานตามมติของกลไกการดำเนินงานดังกล่าว ได้ 20 คะแนน 4.3 มีแผนและรายงานผลการประเมินมาตรฐานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (20 คะแนน) มีการจัดทำแผนการประเมินมาตรฐานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ รพ.สังกัด กสธ. และรายงานผลการดำเนินงานโดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพกากำจัดมูลฝอยติดเชื้อสำหรับ รพ.ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ (7 เรื่อง ดังนี้ 1.ด้านบุคลากร การคัดแยกมูลฝอย 3.การเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ 4.การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ 5.ลักษณะของรถเข็นที่ใช้เคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ สถานที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ 7.การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ)

24 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 4.3 มีแผนและรายงานผลการประเมินมาตรฐานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (20 คะแนน) (ต่อ) กรณีที่ รพ.ดำเนินการว่าจ้างบริษัทเอกชนกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ตั้งแต่การเก็บ ขน จนถึงขึ้นตอนการกำจัดทำลาย ในการขนส่งเพื่อการนำมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดทำลาย ณ สถานที่กำจัดทำลายนั้น รพ.หรือ ผู้ว่าจ้างและเอกชนหรือผู้รับจ้างต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานในกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ รวมทั้งต้องดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน โดย รพ.หรือผู้ว่าจ้างต้องดำเนินการกำกับหรือตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อเอกสาร/หลักฐาน ของเอกชนหรือผู้รับจ้างให้ถูกต้องตามคำสั่งกระทรวงที่ 1852/2546 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เรื่องกำหนด ให้สถานบริการสาธารณสุขและห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีการจ้างเอกชนดำเนินการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ ใช้เอกสารกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ รวมถึงมีระบบควบคุม กำกับ การเก็บ ขน และกำจัด มูลฝอยติดเชื้อที่ถูกต้อง เช่น การใช้เอกสารกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ (Manifest System) 4.4 ร้อยละของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมาย (40 คะแนน) รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมาย โดย 1) รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมาย ร้อยละ 80 – 89 ได้ 20 คะแนน 2) รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมาย ร้อยละ 90 – 99 ได้ 30 คะแนน 3) รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมาย ร้อยละ 100 ได้ 40 คะแนน

25 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด
ประเด็น : 5. มีการส่งเสริมให้มีการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ได้ตามมาตรฐาน ใน 36 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง (100 คะแนน) ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 5.1 สนับสนุนข้อมูลสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับหน่วยบริการสุขภาพ (20 คะแนน) มีการสนับสนุนข้อมูลสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ ให้กับหน่วย บริการสุขภาพ ทุกระดับในพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ได้แก่ รพศ./รพท. /รพช. /รพ.สต./ สสอ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีบทบาทในการป้องกัน และแก้ไขปัญหา เช่น อสธจ. /ทสจ./ อสจ. /อปท./ สถานประกอบการ ฯลฯ โดยทำหนังสือแจ้งเวียนข้อมูลรายงานสถานการณ์ฯ เว็บไซต์/อินทราเน็ต (Intranet) ฯลฯ โดย หากมีการสนับสนุนข้อมูลสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ ให้กับ หน่วยบริการสุขภาพ แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกระดับ ได้ 10 คะแนน หากมีการสนับสนุนข้อมูลสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ ให้กับ หน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ ได้ 15 คะแนน หากมีการสนับสนุนข้อมูลสถานการณ์ให้แก่ผู้บริหารและหน่วย งานที่มีบทบาทในการป้องกัน และแก้ไขปัญหา ได้ 20 คะแนน

26 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 5.2 สนับสนุนให้หน่วยบริการสุขภาพมีการสำรวจทางสุขภาพ หรือ ตรวจคัดกรองสุขภาพตามความเสี่ยง หรือ เฝ้าระวังสุขภาพตามความจำเป็น (20 คะแนน) มีการสนับสนุน/มีส่วนร่วม เพื่อการสำรวจข้อมูลหรือตรวจ คัดกรองสุขภาพในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น แผนการดำเนินงาน การมีส่วนร่วม และสนับสนุนการดำเนินงาน โดย การประชุมชี้แจง การให้องค์ความรู้ การสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง การร่วมลงพื้นที่ เป็นต้น พร้อมทั้ง มีการสรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้ผู้บริหารและหน่วยงานที่มีบทบาทในการป้องกัน และแก้ไขปัญหา โดย หากมีแผนการสนับสนุน หรือ ให้การสนับสนุนเพื่อ การสำรวจข้อมูลหรือตรวจคัดกรองสุขภาพในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้ 10 คะแนน หากมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูล หรือตรวจคัดกรอง สุขภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตามความจำเป็น ได้ 15 คะแนน หากมีการสรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้ผู้บริหาร และหน่วยงานที่มีบทบาทในการป้องกัน และแก้ไขปัญหา ได้ 20 คะแนน

27 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 5.3 บริหารจัดการให้มีการสื่อสารความเสี่ยงแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (20 คะแนน) มีหลักฐานในการสนับสนุน/มีส่วนในการสื่อสารความเสี่ยงแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนการดำเนินงาน มีการสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ เอกสารความรู้ การจัดประชุมให้ความรู้ พร้อมทั้งมีการสนับสนุนให้พื้นที่มีการจัดทำนวัตกรรม หรือ กระบวนการ หรือ รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงตามบริบทของพื้นที่ ฯลฯ โดย หากแผนงาน หรือ มีการเตรียมการสนับสนุน เพื่อ การสื่อสารความเสี่ยง ได้ 10 คะแนน หากมีการสนับสนุนและมีส่วนร่วม ในการสื่อสารความ เสี่ยง ได้ 15 คะแนน หากมีการสนับสนุนหรือมีส่วนร่วมให้พื้นที่มีการจัดทำ นวัตกรรม หรือ กระบวนการ หรือ รูปแบบ ในการสื่อสารความเสี่ยงตามบริบทของพื้นที่ ได้ 20 คะแนน

28 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 5.4 ประสาน สนับสนุนให้มีการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมใน รพศ./รพท. /รพช. และ รพ.สต. ในพื้นที่เสี่ยง (20 คะแนน) มีการสนับสนุน เช่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ การฝึกอบรม การจัดประชุมชี้แจง การพัฒนาสื่อ/คู่มือ สร้างระบบเครือข่าย เพื่อให้ รพศ./รพท. รพช. และรพ.สต. เกิดการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม มีระบบการคัดกรอง ส่งต่อผู้ป่วย/ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่กรมควบคุมโรคกำหนด พร้อมสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารทราบ โดย หากมีแผนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้หน่วยบริการ สุขภาพพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ทุกระดับ จัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ได้ 10 คะแนน หากมีการสนับสนุน ให้หน่วยบริการสุขภาพพื้นที่ที่มี ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ทุกระดับ มีการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ได้ 15 คะแนน หากมีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดบริการ เวชกรรมสิ่งแวดล้อม ในหน่วยบริการสุขภาพพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ทุกระดับ พร้อมสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารทราบ ได้ 20 คะแนน

29 คำอธิบายประกอบการประเมินตัวชี้วัด (ต่อ)
ประเด็นการประเมิน คำอธิบายประกอบการประเมิน 5.5 ประสาน สนับสนุน ติดตาม ให้มีการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมใน รพศ./รพท. ผ่านเกณฑ์ฯ ในระดับขั้นเริ่มต้นพัฒนา (ขั้นพื้นฐาน) (20 คะแนน) รพศ./รพท. ที่ได้รับการสนับสนุนการจัดบริการเวช กรรมสิ่งแวดล้อมตาม ข้อ 5.4 มีผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ในระดับ ขั้นเริ่มต้นพัฒนา (ขั้นพื้นฐาน) ตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด โดย หาก รพศ./รพท. มีการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ในระดับ ขั้นเริ่มต้นพัฒนา (ขั้นพื้นฐาน) ได้ 10 คะแนน รพศ./รพท. มีการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ผ่านเกณฑ์ การประเมินในระดับขั้นเริ่มต้นพัฒนา(ขั้นพื้นฐาน) ได้ 20 คะแนน หมายเหตุ: หากเป็นจังหวัดที่ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง 36 จังหวัดเป้าหมาย ให้ คะแนนเต็มในแต่ละข้อ และหมายเหตุว่า “ ไม่เป็นพื้นที่เป้าหมายใน 36 จังหวัด ”

30 ขอบคุณค่ะ (คณะทำงานติดตาม กำกับและประเมินผล กรมอนามัย : คณะที่ 10)

31 ช่องทางการดาวน์โหลดเอกสาร (จังหวัด)

32 ช่องทางการดาวน์โหลดเอกสาร (จังหวัด)
1. พิมพ์ 2. เลือกหัวข้อดาวน์โหลด > แนวทางการใช้จ่ายงบประมาณอนามัยสิ่งแวดล้อม

33 ช่องทางการดาวน์โหลดเอกสาร (จังหวัด)
1. พิมพ์ 2. เลือกหัวข้อประชาสัมพันธ์> แจ้งโอนงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์บูรณาการ ในการสนับสนุนการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม งวดที่ 1 สสจ. 76 แห่ง>เอกสารแนบ 1

34 PA กระทรวงสาธารณสุข

35 ระบบอนามัยสิ่งแวดล้อม
ประชาชนได้รับการป้องกัน ดูแลสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยง ด้านสิ่งแวดล้อม ปรับ 26 พย. 58 เป้าหมาย : จังหวัด ท้องถิ่น ชุมชน มีระบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในปี 2569 ปี 2559 : จังหวัดมีการดำเนินงานเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 50 ระบบข้อมูล ระบบป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง ระบบบริการ ระบบบริหารจัดการ 1.พัฒนาฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับด้านสุขภาพ KPI : สสจ. มีฐานข้อมูลและ สถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 100 (ข้อมูลมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยทั่วไป สิ่งปฎิกูล สุขาภิบาลอาหารและน้ำ มาตรการทางกฎหมายสาธารณสุข และข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม) 2.มีการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ -เฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษสิ่งแวดล้อม 36 จังหวัด ได้แก่ 1) พื้นที่เสี่ยงจากมลพิษสารเคมีสารอันตราย (เหมืองทอง เหมืองเก่า เหมืองโปแตส ขยะอิเล็กทรอนิกส์) 2) พื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ (ฝุ่นหน้าพระลาน หมอกควันภาคเหนือและภาคใต้ โรงไฟฟ้า ชีวมวล) และ 3) พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ/นิคมอุตสาหกรรม/โรงไฟฟ้าถ่านหิน -เฝ้าระวังในพื้นที่ทั่วไป 1.รพ.มีการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อตามกฎหมาย KPI : ร้อยละ 100 ของ รพ. สังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อได้ตามกฎหมาย 2.ส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมการประกอบกิจการให้ได้มาตรฐาน 1. การจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เสี่ยงโดยพัฒนางาน Env.Occ.Unit ใน รพศ. /รพท. Env.Occ.Centerใน รพช. Env.Occ.Clinic ใน รพสต. KPI : ร้อยละ 50 ของ รพศ./รพท. ผ่านเกณฑ์ การประเมิน 1.ใช้มาตรการด้านกฎหมายสาธารณสุขในระดับจังหวัด KPI : อสธจ. มีมติในการขับเคลื่อนงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอย่างน้อย 2 เรื่อง 2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ อปท. มีการจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มาตรฐาน KPI : ร้อยละ 50 ของเทศบาลทุกระดับผ่านการประเมิน EHA ระดับพื้นฐาน อย่างน้อย 1 ประเด็น 3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนตระหนักรู้และ มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการจัดการปัญหาระดับพื้นที่ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ 4.การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา 5.การกำกับ ติดตาม และประเมินผล Quick win 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน จังหวัดมีแผนปฏิบัติการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จังหวัดมีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่สำคัญและมีการผลักดันสู่กระบวนการโดยกลไก อสธจ. จังหวัดมีการดำเนินงานเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครอบคลุม 5 ประเด็น ได้แก่ (1)ฐานข้อมูล สถานการณ์ และการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (2)การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (3)การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (EHA) (4)การขับเคลื่อนงานโดยมีกลไกคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (อสธจ.) (5)การจัด บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม จังหวัดมีการดำเนินงานเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 50

36 พื้นที่เสี่ยง 36 จังหวัด ที่ให้ความสำคัญ 3 กลุ่มหลัก
เป้าหมาย พื้นที่เสี่ยง 36 จังหวัด ที่ให้ความสำคัญ 3 กลุ่มหลัก

37 เป้าหมายพื้นที่เสี่ยง 36 จังหวัดที่ให้ความสำคัญ 3 กลุ่มหลัก
พื้นที่เสี่ยงจากมลพิษ สารเคมีและสารอันตราย พื้นที่มีมลพิษทางอากาศ พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ/ นิคมอุตสาหกรรม

38 พื้นที่เสี่ยงรายจังหวัด ในระยะแรก
พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจาก มลพิษสารเคมีและสารอันตราย พื้นที่เสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง รายชื่อจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยง พื้นที่เหมืองทอง เขต 2 เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เขต 3 พิจิตร เขต 8 เลย พื้นที่เหมืองเก่า เขต 2 ตาก (แม่สอด) เขต 5 กาญจนบุรี เขต 11 นครศรีธรรมราช พื้นที่ที่มีปัญหาขยะอิเลคทรอนิคส์ เขต 7 กาฬสินธุ์ เขต 9 บุรีรัมย์ เขต 10 อุบลราชธานี เหมืองโปแตช เขต 8 อุดรธานี เขต 9 ชัยภูมิ

39 พื้นที่เสี่ยงรายจังหวัด ในระยะแรก (ต่อ)
พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจาก มลพิษทางอากาศ พื้นที่เสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง รายชื่อจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยง ฝุ่นหน้าพระลาน เขต 4 สระบุรี หมอกควัน เขต 1 เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ลำปาง เขต 2 ตาก มลพิษอากาศจากโรงไฟฟ้าชีวมวล เขต 5 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 7 ร้อยเอ็ด เขต 9 บุรีรัมย์ สุรินทร์

40 พื้นที่เสี่ยงรายจังหวัด ในระยะแรก (ต่อ)
พื้นที่ที่คาดว่าจะมีปัญหา สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ พื้นที่เสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง รายชื่อจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยง พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ เขต 2 ตาก เขต 6 สระแก้ว ตราด เขต 10 มุกดาหาร เขต 12 สงขลา พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เขต 4 พระนครศรีอยุธยา เขต 5 สมุทรสาคร เขต 6 ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ พื้นที่โรงไฟฟ้า ถ่านหิน เขต 1 ลำปาง เขต 11 กระบี่


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2559

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google