งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน

2 บทนำ การควบคุมเฉพาะระบบงาน (Application – transaction controls) เป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลมั่นใจว่า กิจการได้นำรายการค้าที่ผ่านการอนุมัติแล้วทุกรายการมาบันทึก ประมวลผล และจัดทำรายงานได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง กระบวนการควบคุมเฉพาะระบบงานนี้จึงเกี่ยวข้องกับ กิจกรรมการป้องกัน กิจกรรมการตรวจสอบ และกิจกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดและการละเมิดกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นการควบคุมเฉพาะระบบงาน

3 การควบคุมเฉพาะระบบงาน
การควบคุมภายใน การควบคุมทั่วไป การควบคุมเฉพาะระบบงาน -การควบคุมการจัดองค์กร -การควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานโดยทั่วไป การควบคุมและรักษาความปลอดภัย การควบคุมการเข้าถึงระบบปฏิบัติการ การควบคุมฐานข้อมูล การควบคุมการบำรุงรักษา การควบคุมการนำเข้า การควบคุมการประเมินผล การควบคุมผลลัพธ์จากการประมวลผล

4 การควบคุมเฉพาะระบบงาน (Application controls)
เป็นการป้องกัน ตรวจพบ และแก้ไขความผิดพลาดของรายการค้าและทุจริต สำหรับ การเปลี่ยนแปลง การบันทึกข้อมูลเข้าไป การประมวลผล การจัดเก็บ การส่งต่อข้อมูลไปยังระบบอื่น การรายงาน การควบคุมการนำเข้า การควบคุมการประมวลผล การควบคุมผลลัพธ์จากการประมวลผล

5 การควบคุมเฉพาะระบบงาน (Application controls)
การควบคุมการนำเข้า การควบคุมการประมวลผล การควบคุมผลลัพธ์จากการประมวลผล

6 การควบคุมเฉพาะระบบงาน (Application controls)
การควบคุมการนำเข้า การควบคุมการประมวลผล การควบคุมผลลัพธ์จากการประมวลผล

7 การควบคุมการนำเข้า (input control)
การควบคุมการนำเข้าเป็นการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลของรายการค้าที่นำเข้ามาบันทึกมีความครบถ้วนและถูกต้อง การนำเข้าข้อมูลอาจนำเข้าจากข้อมูลที่บันทึกในเอกสารหรือนำเข้าโดยตรงผ่านการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน

8 การควบคุมการนำเข้า (input control)
การควบคุมการนำเข้า แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง การควบคุมการเตรียมการบันทึกข้อมูล ส่วนที่สอง การควบคุมการจัดกลุ่มข้อมูล ส่วนที่สาม การควบคุมการบันทึกข้อมูลให้อยู่ในสื่อที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ ส่วนที่สี่ การควบคุมการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนำเข้า

9 การควบคุมการนำเข้า (input control)
ส่วนที่หนึ่ง การควบคุมการเตรียมการบันทึกข้อมูล เป็นการควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่นำมาบันทึกรายการค้านั้นมีความถูกต้อง ครบถ้วน การเตรียมการบันทึกข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การเตรียมการบันทึกข้อมูลในเอกสารขั้นต้น และการเตรียมการบันทึกผ่านระบบเชื่อมตรง ( on – line computer system )

10 การควบคุมการนำเข้า (input control)
ส่วนที่สอง การควบคุมการจัดกลุ่มข้อมูล เป็นการป้องกันไม่ให้มีการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ให้มีข้อมูลสูญหายระหว่างกระบวนการประมวลผลแบบกลุ่มโดยการกำหนดให้คำนวณยอดรวมของกลุ่มรายการเอาไว้ล่วงหน้า ( predetermined batch control totals ) จากเอกสารขั้นต้น เช่น ใบสั่งซื้อ ใบเสร็จรับเงิน

11 การควบคุมการนำเข้า (input control)
ส่วนที่สาม การควบคุมการบันทึกข้อมูลให้อยู่ในสื่อที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ เป็นการกำหนดให้มีการตรวจสอบข้อมูลหลังการนำเข้า โดยการตรวจสอบด้วยตา ( Visual Verification ) ซึ่งเป็นการตรวจสอบด้วยการเปรียบเทียบข้อมูลที่บันทึกในเอกสารขั้นต้นกับข้อมูลที่ปรากฏบนจอเทอร์มินัล

12 การควบคุมการนำเข้า (input control)
ส่วนที่สี่ การควบคุมการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนำเข้า ในระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลนั้นควรกำหนดให้มีระบบการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าโดยการนำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าด้วยวิธีการตรวจสอบโดยโปรแกรม ( Programmed checks ) ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบถือว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถส่งเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล ส่วนข้อมูลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจะถูกส่งกลับไปเข้ากระบวนการแก้ไขข้อผิดพลาด

13 การควบคุมเฉพาะระบบงาน (Application controls)
การควบคุมการนำเข้า การควบคุมการประมวลผล การควบคุมผลลัพธ์จากการประมวลผล

14 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
เป็นการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่า กระบวนการประมวลผลได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้การควบคุมการประมวลผล แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง การควบคุมโดยการตรวจสอบเชิงตรรกะของกระบวนการปฏิบัติงาน (Processing Logic Checks) ประเภทที่สอง การควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานในแต่ละช่วงของการประมวลผล (Run – to – Run Controls)

15 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
เป็นการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่า กระบวนการประมวลผลได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้การควบคุมการประมวลผล แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทที่สาม การควบคุมการเปลี่ยนแปลงในแฟ้มข้อมูลในและในโปรแกรม (File and Program Changes) ประเภทที่สี่ การควบคุมด้วยวิธีการเชื่อมโยงกับหลักฐานการตรวจสอบ (Audit Trial Linkages)

16 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
ประเภทที่หนึ่ง การควบคุมโดยการตรวจสอบเชิงตรรกะของกระบวนการปฏิบัติงาน (Processing Logic Checks) เป็นการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของกระบวนการประมวลผลรายการค้าว่าถูกต้องหรือไม่

17 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
ประเภทที่สอง การควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานในแต่ละช่วงของการประมวลผล (Run – to – Run Controls) เป็นการป้องกันไม่ให้มีการแทรก (Insert) ข้อมูลต้องห้าม หรือข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติเข้าสู่กระบวนการประมวลผล

18 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
ประเภทที่สาม การควบคุมการเปลี่ยนแปลงในแฟ้มข้อมูลในและในโปรแกรม (File and Program Changes) โปรแกรม เป็นการควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลในรายการค้าที่นำเข้าได้ผ่านรายการไปยังแฟ้มข้อมูลที่ถูกต้อง ด้วยวิธีการกำหนดให้โปรแกรมที่ใช้ประมวลผลนั้นต้องทำการตรวจสอบชื่อของแฟ้มข้อมูล และวันที่ของแฟ้มข้อมูลนั้นก่อนทำการประมวลผล ถ้าตรวจพบว่าแฟ้มข้อมูลนั้นเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีชื่อต่างไปหรือเป็นแฟ้มข้อมูลที่ล้าสมัยไม่ใช้งานแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะส่งสัญญาณเตือนให้ทราบทางหน้าจอภาพ หรือสั่งให้โปรแกรมหยุดทำงาน

19 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
ประเภทที่สี่ การควบคุมด้วยวิธีการเชื่อมโยงกับหลักฐานการตรวจสอบ (Audit Trial Linkages) เป็นการควบคุมที่กำหนดให้มี การบันทึกการนำเข้าและส่งออกของข้อมูล (Input – Output Control Logs) การบันทึกรายการค้า (Transaction Logs) และ การจัดพิมพ์รายงานเกี่ยวกับรายการค้า (Transaction Listing) เพื่อใช้เป็นหลักฐานการตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล

20 การควบคุมเฉพาะระบบงาน (Application controls)
การควบคุมการนำเข้า การควบคุมการประมวลผล การควบคุมผลลัพธ์จากการประมวลผล

21 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
เป็นการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่า สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลมีความถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพ และนำเสนอได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผลนั้นสามารถจัดพิมพ์ออกมาทางแผ่นกระดาษ (Hard Copy) และจัดพิมพ์ผ่านทางจอภาพเมื่อต้องการ (Inquiry Display Screens)

22 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
การควบคุมผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. การควบคุมด้วยวิธีการตรวจสอบผลลัพธ์ (Reviews of Processing Results) 2. การควบคุมด้วยวิธีการตรวจสอบการจัดส่งรายงาน (Controlled Distribution of Outputs)

23 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
1. การควบคุมด้วยวิธีการตรวจสอบผลลัพธ์ (Reviews of Processing Results) เป็นการควบคุมเพื่อให้ผู้ใช้มีความมั่นใจว่าได้รับสารสนเทศที่ครบถ้วน มีคุณภาพ และเหมาะสม ผู้รับผิดชอบหลักในการตรวจสอบผลลัพธ์ประกอบด้วยบุคคลากรในระดับบริหารและระดับพนักงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์และของหน่วยงานอื่นในกิจการ

24 การควบคุมการประมวลผล (processing control)
2. การควบคุมด้วยวิธีการตรวจสอบการจัดส่งรายงาน (Controlled Distribution of Outputs) เป็นการควบคุมให้มีการจัดส่งรายงานที่เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผลไปยังผู้ใช้ที่เหมาะสม

25 End บทที่ 8


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google