ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ข้อสังเกตในการจัดทำผลงานทางวิชาการ
} ดร.กฤษณา ศิริวิบุลยกิติ
2
โครงสร้างรายงานการวิจัย
ส่วนประกอบตอนต้น ปกนอก ซึ่งมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้ทำ และรายละเอียดของหน่วยงาน ปกในหรือใบปะหน้า บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง (ถ้ามี) สารบัญภาพ (ถ้ามี) สารบัญแผนภูมิ (ถ้ามี) } บางแห่งอาจใช้ร่วมกันเรียกว่าสารบัญภาพ
3
โครงสร้างรายงานการวิจัย (ต่อ)
ส่วนเนื้อหา บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาของปัญหา หรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย ความสำคัญของการวิจัย หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กรอบแนวคิดการวิจัย *** ขอบเขตการวิจัย สมมุติฐาน (บางครั้งอาจอยู่สลับกับหัวข้ออื่นหรืออยู่ในบทที่ 2) ข้อจำกัดในการวิจัย (ถ้ามี) นิยามศัพท์หรือนิยามศัพท์เฉพาะ
4
โครงสร้างรายงานการวิจัย (ต่อ)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาตามตัวแปรต้นหรือตัวแปรตาม เนื้อหาตามตัวแปรตามหรือตัวแปรต้น ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม (ถ้ามี) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ งานวิจัยต่างประเทศ (ถ้ามี) เลือกตัวแปรต้นหรือตัวแปรตาม ขึ้นก่อนตามความเหมาะสม }
5
โครงสร้างรายงานการวิจัย (ต่อ)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและพัฒนามาตรการ (เฉพาะ R&D) แบบวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือเครื่องมือในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
6
โครงสร้างรายงานการวิจัย (ต่อ)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
7
โครงสร้างรายงานการวิจัย (ต่อ)
ส่วนประกอบตอนท้าย บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) ภาคผนวก ก (ถ้ามี) ภาคผนวก ข (ถ้ามี) ประวัติผู้วิจัย
8
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น หลักการการเขียนชื่อเรื่องในปกนอกและส่วนอื่น ๆ
สอดคล้องกับเนื้อหา/มีตัวแปรครบ กระชับแต่สมบูรณ์ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้ยาวเกิน 2 บรรทัด อาจเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาและสถานศึกษา ขึ้นต้นด้วยคำนาม ใส่คำว่า “การ” ข้างหน้าถ้าขึ้นต้นด้วยคำกริยา ตัดคำฟุ่มเฟือย อาจเพิ่มคำตามที่ต้นสังกัดกำหนดหน้าชื่อเรื่อง
9
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ)
แนวทางการเขียนชื่อเรื่อง การสร้าง/พัฒนา (ตัวแปรต้น - ตัวแปรตาม) ของ/สำหรับ หญิงหลังคลอด การใช้ (ตัวแปรต้น - ตัวแปรตาม) ของ/สำหรับหญิงหลังคลอด การพัฒนา(ตัวแปรต้น – ตัวแปรตาม) ของ / สำหรับพยาบาลในจังหวัดนนทบุรี
10
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ)
ข้อบกพร่องที่พบและการปรับปรุง ตั้งชื่อเรื่องโดยขาดตัวแปรต้น คือบอกว่าจะพัฒนา ผู้เรียน บุคคล องค์การด้านใด แต่ไม่ระบุว่าจะใช้ มาตรการอะไรไปพัฒนา ใส่ชื่อตัวแปรต้น (เช่น แบบฝึก คู่มือ เกม หนังสือ ระบบ กระบวนการ สื่อ ฯลฯ ) หรือมาตรการหลัง คำว่า ใช้ / สร้าง / พัฒนา
11
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย พยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาของ วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
12
ข้อบกพร่องที่พบและแนวทางปรับปรุง (ต่อ)
ตั้งชื่อเรื่องโดยมีตัวแปรตามซ้ำ ทำให้ชื่อเรื่องยาวโดยใช่เหตุ ตัดตัวแปรตามและส่วนที่เกี่ยวข้องตอนหลังออก การใช้ชุดการสอนเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแม่เหล็กไฟฟ้าของนักศึกษา ปวช. 1 การใช้ชุดการสอนเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าของ นักศึกษา ปวช. 1
13
ข้อบกพร่องที่พบและแนวทางปรับปรุง (ต่อ)
ตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำฟุ่มเฟือย เช่น ความพร้อมในการให้บริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดนนทบุรี
14
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ) หลักการการเขียนบทคัดย่อ
ความยาวเนื้อหาไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ มีสาระสำคัญครบ ไม่ควรมีเนื้อหาสั้นเกินไป
15
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ)
แนวทางการเขียนบทคัดย่อ การวิจัย?????.ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (วัตถุประสงค์โดยสรุป) กลุ่มตัวอย่างเป็น (ระบุสถานภาพ) จำนวน (คน) ได้มาโดย (การสุ่มหรือเลือก) แบบวิจัย ในการทดลอง คือ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (ประเภทเครื่องมือที่ใช้) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ (ประเภทและชื่อสถิติ) ผลการวิจัยพบว่า (ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อ 1) (ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อ 2) 2.1 (ถ้ามีข้อย่อย) ข้อเสนอแนะ………..
16
ข้อบกพร่องที่พบและแนวทางปรับปรุงในการเขียนบทคัดย่อ
เนื้อหาน้อยเพียง 1/3 หรือ ½ หน้า นำรายละเอียดหัวข้อหลักที่สำคัญ เช่น กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือมา ขยายความ เครื่องมือเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 50 ข้อ เครื่องมือเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 50 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีค่าความเที่ยงจากการใช้สูตร KR – 20 = 0.48 ค่าความยาก ทั้งฉบับ = 0.55 รายข้อระหว่าง 0.22 – และค่าอำนาจจำแนก ทั้งฉบับ = 0.48 รายข้อระหว่าง 0.21 – 1.00
17
ข้อบกพร่องที่พบและแนวทางปรับปรุงในการเขียนบทคัดย่อ (ต่อ)
เนื้อหามากเกิน 1 หน้า ตัดรายละเอียดของหัวข้อที่สำคัญน้อยที่สุด ออก เช่นเดียวกับการเพิ่มเนื้อหาดังกล่าว ข้างต้น
18
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ) หลักการการเขียนกิตติกรรมประกาศ
ความยาวไม่ควร เกิน 1 หน้ากระดาษ ระบุบุคคลหรือหน่วยงานที่ช่วยเหลือหรือให้ความร่วมมือให้ครบ กรณีมีบุคคลหรือหน่วยงานช่วยเหลือมาก ไม่สามารถระบุได้ครบ ก็อาจใช้คำว่า “ไม่สามารถเอ่ยนาม” ได้ อาจใช้คำต่างระดับกันไปตามสถานภาพของผู้ให้การช่วยเหลือ งานวิจัยตามโครงสร้างสากลไม่มีคำนำ พึงระวังกรณีมีชื่อผู้ตรวจ
19
แนวทางการเขียนกิตติกรรมประกาศ
การวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณา แนะนำ ช่วยเหลือ เป็นอย่างดียิ่งจาก....(ชื่อ-สกุล/ตำแหน่ง/ชื่อหน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือมาก) ซึ่งผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ (ชื่อ-สกุล/ตำแหน่ง/ชื่อหน่วยงาน ที่ให้ความช่วยเหลือ ในระดับรองลงมา) ที่ได้กรุณาให้แนวคิด ข้อแนะนำหลายประการ ทำให้งานวิจัยฉบับ นี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ขอบขอบพระคุณ (ชื่อ-สกุล/ตำแหน่ง/ชื่อหน่วยงาน) ที่ได้กรุณา (เรื่องที่ให้ความช่วยเหลือ) วิจัยในครั้งนี้ สุดท้ายขอขอบคุณ (……………ที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง) ที่ใช้ในการทดลอง และให้ข้อมูลอย่างเต็มที่อย่างเป็นกัลยาณมิตร ทำให้งานวิจัยครั้งนี้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว และขอขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลืออีกหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวนามในที่นี้ได้หมด ชื่อผู้วิจัย
20
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ) หลักการการเขียนสารบัญต่าง ๆ
เขียนให้ครบตามหัวข้อภายในเล่ม เขียนให้ตรงกับเนื้อหาภายในเล่มตามลำดับ ระบุเลขหน้าให้ตรงกับเนื้อหาภายในเล่ม ถ้าบอกรายละเอียดหัวข้อรองที่สำคัญ ๆ ได้จะดี
21
แนวทางการเขียนสารบัญ
กรณีไม่เสนอหัวข้อรอง บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับตัวแปรตาม แนวคิดเกี่ยวกับตัวแปรต้น งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรณีเสนอหัวข้อรอง ตัวแปรตาม ………………..…… ตัวแปรต้น ………………..………………..
22
ข้อบกพร่องที่พบและแนวทางปรับปรุงในการเขียนสารบัญ
เขียนไม่ครบตามหัวข้อ ตรวจให้ครบตามระดับหัวข้อ ชื่อหัวข้อไม่ตรงกัน เช่น “การ” “ใน” ตรวจให้ตรงกัน เช่น “แบบวิจัย “แบบการวิจัย” หรือ “การบริหาร” “ในการบริหาร” เลขหน้าไม่ตรง / ไม่มีเลขหน้า ปรับในเล่มเลขหน้าเปลี่ยนต้องเปลี่ยนสารบัญด้วย / ทุกหัวข้อ ภาคผนวก บรรณานุกรม ต้องมีเลขหน้า ฯลฯ
23
ตัวอย่างการเขียนสารบัญ
กรณีไม่เสนอหัวข้อรอง บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การอ่าน สื่อการสอน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (
24
ตัวอย่างการเขียนสารบัญ (ต่อ)
กรณีเสนอหัวข้อรอง บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การอ่าน ความหมายของการอ่าน ความสำคัญของการอ่าน วิธีสอนการอ่าน สื่อการสอน ความหมายของสื่อการสอน ประเภทสื่อการสอน การผลิตสื่อการสอน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ งานวิจัยต่างประเทศ )
25
ข้อบกพร่องที่พบและแนวทางปรับปรุงในการเขียนสารบัญ (ต่อ)
จัดหัวข้อหลักและรองตรงกันทำให้ไม่ทราบลำดับชั้น และมีหัวข้อมากเกินไป แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน ความหมายของการอ่าน ความสำคัญของการอ่าน แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน ความหมายของการอ่าน ความสำคัญของการอ่าน ....
26
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ)
การเขียนสารบัญตารางและสารบัญภาพ เป็นการนำชื่อตารางและภาพทั้งหมดมาเรียงตาม ลำดับไว้ ซึ่งเท่าที่พบโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ เสนอตามลำดับตาราง + ภาพ เสนอตามลำดับในบท ปัจจุบันนิยมเสนอตามลำดับในบทเพราะสะดวก
27
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ)
หลักการการเขียนอ้างอิง อ้างอิงตามสมควร อ้างอิงตามความเป็นจริง อ้างอิงให้ครบถ้วน ถ้าทันสมัย ภายใน 5 ปี ยิ่งดี กรณีเอกสารหรือสิ่งที่นำมาอ้างอิงเกิน 10 ปี ก็ใช้ได้ถ้ายังไม่ล้าสมัย (classic) อ้างอิงโดยใช้รูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม การอ้างอิงจะสัมพันธ์กับการเขียนบรรณานุกรม การอ้างอิงทำได้หลายแบบ เช่น อ้างอิงก่อนข้อความ อ้างอิงระหว่างข้อความ อ้างอิงหลังข้อความ อ้างอิงจากหลายแหล่ง เป็นต้น
28
การเขียนส่วนประกอบตอนต้น (ต่อ)
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง กรณีก่อนข้อความ บุญเพียร เรียนวิจัย (2550 : 6) กล่าวว่า การวิจัยเป็นวิธีหาความรู้ใหม่โดยใช้ หลักทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นระบบและมีแบบแผนสมบูรณ์ ทำให้ความรู้ที่ได้น่าเชื่อถือ กรณีระหว่างข้อความ การวิจัยเป็นการหาความรู้ที่น่าเชื่อถือวิธีหนึ่งดังที่ บุญเพียร เรียนวิจัย (2550 : 6) กล่าวว่า การวิจัยเป็นวิธีหาความรู้ใหม่โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นระบบและมีแบบแผนสมบูรณ์ ทำให้ความรู้ที่ได้น่าเชื่อถือ กรณีหลังข้อความ การวิจัยเป็นการหาความรู้ที่น่าเชื่อถือวิธีหนึ่งดังที่กล่าวว่า การวิจัยเป็นวิธี หาความรู้ใหม่โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นระบบและมีแบบแผนสมบูรณ์ ทำให้ความรู้ที่ได้น่าเชื่อถือ (บุญเพียร เรียนวิจัย, 2550 : 6)
29
หลักการการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
บทที่ 1 บทนำ หลักการการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ควรมีความยาว หน้าขึ้นไป ใช้ความคิดตัวเองให้มากที่สุด และเขียนโน้มน้าว สร้างความประทับใจแก่ผู้อ่านเห็นความสำคัญที่จะทำวิจัย เน้นเขียนเป็นความเรียงจากใหญ่ไปย่อย ลักษณะ “กรวย” ประเด็นสำคัญคือต้องนำเข้าสู่พื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมายที่จะทำวิจัย ย่อหน้าสุดท้ายสรุปเหตุผลที่จะทำ โดยควรแทนตัวเองว่า “ผู้วิจัย” เขียนเป็นความเรียง อ้างอิงเฉพาะงานวิจัยที่เด่น ๆ เขียนให้ได้หน้าละ 3 – 5 ย่อหน้า ๆ ละ 1 ประเด็น
30
ข้อบกพร่องและวิธีปรับปรุงการเขียนความเป็นมา
เขียนไม่เป็นกรวยจากใหญ่ไปย่อย เขียนเป็นกรวย กว้าง แคบ ส่วนสำคัญ สรุปว่าจะวิจัย
31
ข้อบกพร่องและวิธีปรับปรุงการเขียนความเป็นมา (ต่อ)
เนื้อหาน้อยเกินไปมีเฉพาะส่วนสำคัญ เนื้อหามากเกินไปทั้ง ๆ ที่ตัวแปรไม่มาก ย่อหน้าน้อยหรือมากเกินไป ลืมเข้าสู่จุดเฉพาะที่จะทำ เขียนย่อหน้าสุดท้ายที่จะวิจัยรวมกับย่อหน้าอื่น/ ห้วนเกิน
32
หลักการการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
บทที่ 1 บทนำ หลักการการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย เขียนผลผลิต (output) ที่ได้จริง ๆ อย่าเขียนเกินจริงถึงผลลัพธ์ (outcome) หรือผลกระทบ (impact) วัตถุประสงค์ในการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมถือเป็น วัตถุประสงค์หลัก เขียนเป็นข้อ ๆ ไม่จำเป็นต้องมีหลายข้อ เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ใช้ภาษาให้ชัดเจน เข้าใจง่าย กระชับ
33
แนวทางการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
บทที่ 1 บทนำ แนวทางการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย กรณีมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ มีแนวทางดังนี้ แบบ A : รวมวัตถุประสงค์ข้อ 2 ไว้ 1. เพื่อพัฒนา (ชื่อมาตรการที่จะใช้ หรือตัวแปรต้น) 2. เพื่อตรวจสอบ......(ชื่อมาตรการที่จะใช้ หรือตัวแปรต้น)...โดย เปรียบเทียบ (ตัวแปรตามตั้งแต่ 1 ตัว ขึ้นไป) และ/หรือความ คิดเห็นที่มีต่อมาตรการของผู้เกี่ยวข้อง หรือพฤติกรรมอื่น ๆ (
34
แบบ B : แยกวัตถุประสงค์ข้อ 2 เป็นข้อย่อย
1. เพื่อพัฒนา (ชื่อนวัตกรรมที่จะใช้ หรือตัวแปรต้น) 2. เพื่อตรวจสอบ (ชื่อนวัตกรรมที่จะใช้ หรือตัวแปรต้น) โดย 2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์……………………. 2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ………………….
35
แบบ C : แยกวัตถุประสงค์ข้อ 2 เป็นข้อใหม่
เพื่อพัฒนา (ชื่อนวัตกรรมที่จะใช้ หรือตัวแปรต้น) เพื่อหาประสิทธิภาพ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ
36
แนวทางการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
บทที่ 1 บทนำ แนวทางการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย กรณีที่เห็นว่าการสำรวจปัญหามีความสำคัญเพียงพอ อาจเพิ่มอีก 1 ข้อ เป็น 3 ข้อ 1. เพื่อสำรวจปัญหา (ตัวแปรตาม) 2. เพื่อพัฒนา (ชื่อนวัตกรรม หรือตัวแปรต้น) 3. เพื่อตรวจสอบ (ชื่อนวัตกรรม หรือตัวแปรต้น) โดยเปรียบเทียบ (ตัวแปรตามตั้งแต่ 1 ตัว ขึ้นไป) และ/หรือ ความคิดเห็นต่อนวัตกรรมของผู้เกี่ยวข้อง หรือพฤติกรรม อื่น ๆ
37
ข้อบกพร่องและวิธีปรับปรุงการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
ระบุว่าพัฒนาตัวแปรตาม ต้องระบุว่าพัฒนาตัวแปรต้น เช่น พัฒนากระบวนการคิด ฯลฯ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน...... เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารคุณภาพของโรงเรียน
38
ข้อบกพร่องและวิธีปรับปรุงการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย (ต่อ)
ไม่มีวัตถุประสงค์ว่าพัฒนานวัตกรรมอะไร ต้องระบุวัตถุประสงค์ว่าพัฒนานวัตกรรมอะไร เช่น เพื่อตรวจสอบ / ศึกษาผลการใช้แบบฝึกโดย 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ 2. ตรวจสอบ/ศึกษาผลการใช้แบบฝึก
39
ข้อบกพร่องและวิธีปรับปรุงการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย (ต่อ)
ไม่มีวัตถุประสงค์ว่าจะตรวจสอบนวัตกรรมอย่างไร มีแต่จะพัฒนา นวัตกรรม เพิ่มวัตถุประสงค์ข้อ 2 ว่าจะพัฒนานวัตกรรมอะไร เช่น เพื่อพัฒนาแบบฝึก 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึก 2. เพื่อตรวจสอบ.....(แบบ B หรือ C)
40
ข้อบกพร่องและวิธีปรับปรุงการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย (ต่อ)
ใช้แบบ C คือ แยกวัตถุประสงค์ข้อ 2 เป็นข้อใหญ่ ๆ ซึ่งกรรมการบางท่านเห็นว่าเป็นการนำสิ่งเดียวกัน มาแยก ใช้แบบ B แทน
41
หลักการการเขียนความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 1 บทนำ หลักการการเขียนความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เขียนเป็นข้อ ๆ ไม่จำเป็นต้องมีหลายข้อ สามารถเขียนได้ถึงผลลัพธ์และผลกระทบ พิจารณาว่ามาตรการที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น และจากการได้ทดลองใช้จริงน่าจะนำไปใช้ ประโยชน์หรือเป็นแนวทางใช้อะไรได้บ้าง
42
แนวทางการเขียนความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 1 บทนำ แนวทางการเขียนความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. อาสาสมัครสาธารณสุขมี .....(ตัวแปรตาม) .....และนำไป ใช้ ประโยชน์ต่อไปได้ 2. บุลการทางการแพทย์สามารถนำ......Model.(ตัวแปรต้น)....ไปใช้ เพื่อให้เกิด...(ตัวแปร ตาม)...ได้ 3. เป็นแนวทางในการพัฒนา....(ตัวแปรตาม) ของเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ในพื้นที่หรือระดับอื่น ๆ ได้
43
ตัวอย่างการเขียนความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 1 บทนำ ตัวอย่างการเขียนความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ความสำคัญของการวิจัย 1. ทำให้นักเรียนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องตามหลักเหมือนเจ้าของภาษา และนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนวิชาอื่น รวมทั้งในชีวิตประจำวันได้ 2. ครูสามารถนำคลังข้อมูลภาษาไปใช้สอนได้ 3. เป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอื่น ๆ ได้
44
หลักการการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ หลักการการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย ควรเขียนเป็นภาพ ถ้าอธิบายที่มาของตัวแปรที่ได้มาโดยสรุปก็จะดี ในภาพอย่างน้อยที่สุดต้องประกอบด้วย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และลูกศรแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร อาจเพิ่มส่วนประกอบอื่น ๆ อย่านำขั้นตอนการวิจัยมาเขียนเป็นกรอบแนวคิด
45
แนวทางการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ แนวทางการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย เกริ่นนำ ดังภาพที่... ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ชื่อตัวแปรต้น ชื่อตัวแปรตาม อย่างน้อย 1 ตัว ตัวอย่าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม บทเรียนสำเร็จรูป ผลสัมฤทธิ์การอ่าน เจตคติ
46
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
ไม่มีกรอบแนวคิด ใส่กรอบแนวคิด ? กรอบแนวคิดไม่เป็นภาพ กรอบแนวคิดควรเป็นภาพ
47
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย (ต่อ)
นำขั้นตอนการวิจัยมาเป็นกรอบแนวคิด กรอบแนวคิดต้องแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร อาจเพิ่ม ส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แต่ต้องมีตัวแปรและสัญลักษณ์แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (63) ระบุตัวแปรตามในกรอบแนวคิดไม่ครบ ระบุผลที่จะเกิดจากการวิจัยให้ครบและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขตการวิจัย รวมทั้งสถิติ
48
หลักการการเขียนขอบเขตการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ หลักการการเขียนขอบเขตการวิจัย ระบุสถานภาพจำนวนของประชากรและตัวอย่างให้ชัดเจน ระบุวิธีได้มาของตัวอย่างหรือกลุ่มตัวอย่าง ระบุตัวแปรทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามให้ครบ อาจมีหัวข้ออื่น ๆ เช่น เนื้อหา ขั้นตอน ฯลฯ
49
แนวทางการเขียนขอบเขตการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ แนวทางการเขียนขอบเขตการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร เป็นผู้สูงอายุในอำเภอ………… ณ วันที่1 มกราคม 2558 จำนวน คน ตัวอย่าง/กลุ่มตัวอย่าง จำนวน คน ได้มาโดย
50
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ไม่ระบุจำนวน ระบุจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เว้นแต่กรณีศึกษาจาก ประชากรทั้งหมด ให้ระบุว่า “กลุ่มตัวอย่าง ศึกษาประชากร” (64) ไม่บอกวิธีได้กลุ่มตัวอย่าง ให้ระบุว่าได้มาโดย “เลือก” หรือ “สุ่ม” อย่างไร (A) ระบุการสุ่มหรือเลือกไม่สอดคล้องกับวิธี เช่น สุ่มแบบเจาะจง หรือ เลือกอย่างง่าย เป็นต้น ปรับเป็นเลือกแบบเจาะจง หรือสุ่มอย่างง่าย
51
ตัวแปร ตัวแปรต้น คือ ชื่อมาตรการ ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านในตัวผู้เรียนที่จะเกิดจากตัวแปรต้นหรือมาตรการ
52
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนตัวแปร
ระบุตัวแปรต้นหรือตามผิด โดยระบุว่าเป็นคน หรือ เครื่องมือวิจัย เช่น ตัวแปรต้น คือ มาตรการ ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมหรือสิ่งต้องการให้เกิด เช่น ผลสัมฤทธิ์ คะแนน ความรับผิดชอบ ทักษะต่าง ๆ ฯลฯ (65) ตัวแปรต้น คือ นักเรียน ตัวแปรต้น คือ แบบฝึก (66) ตัวแปรตาม คือ นักเรียน / แบบทดสอบ ตัวแปรตาม คือ ทักษะการอ่าน
53
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนตัวแปร (ต่อ)
ระบุตัวแปรตามไม่ครบ เช่น จะศึกษาว่ามาตรการจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ และเจตคติของนักเรียนเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ระบุเฉพาะผลสัมฤทธิ์ ระบุข้อความตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิด ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์วิชา / เรื่อง ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์วิชา / เรื่อง และเจตคติ
54
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนตัวแปร (ต่อ)
ระบุตัวแปรตามไม่ตรงกับกรอบวัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด สมมติฐาน เช่น มีการสลับกันไปมาระหว่างความพึงพอใจกับเจตคติ ระบุให้ตรงกันทุกแห่ง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนา 2. เพื่อตรวจสอบ โดย 2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อน - หลัง เปรียบเทียบความพึงพอใจ ก่อน - หลัง กรอบแนวคิด ตัวแปรต้น แบบฝึกทักษะ ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ เจตคติ
55
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนตัวแปร (ต่อ)
มีคำว่า “สูงขึ้น” “ดีขึ้น” “น้อยลง” หลังตัวแปรตาม หลังตัวแปรตามจะไม่มีคำเหล่านี้ ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์วิชา / เรื่อง....สูงขึ้น / ความก้าวร้าว ลดลง ปรับเป็น ผลสัมฤทธิ์วิชา / เรื่อง..../ ความก้าวร้าว
56
หลักการการเขียนสมมุติฐาน
บทที่ 1 บทนำ หลักการการเขียนสมมุติฐาน เขียนเป็นข้อ ๆ ตามจำนวนประเด็นที่จะตรวจสอบ เขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย เขียนเป็นประโยคบอกเล่าให้ชัดเจน มีที่มาชัด ตอบได้ว่าทำไมตั้งสมมุติฐานอย่างนี้ ควรเขียนแบบมีทิศทาง โดยมีคำว่า “สูงกว่า” “น้อยกว่า” ไม่ใช้คำว่า “อาจ” หรือ “น่าจะ” ต้องเขียนให้ทดสอบได้โดยมีเลข 2 ชุด มาเปรียบเทียบกัน กรณีตัวอย่างกลุ่มเดียวจะใช้คำว่า ก่อน - หลัง กรณีตัวอย่างสองกลุ่มจะใช้คำว่า กลุ่มที่ได้รับมาตรการกับกลุ่มปกติ
57
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนสมมุติฐาน
ไม่มีสมมุติฐาน / มีไม่ครบ งานวิจัยเชิงทดลองต้องมีสมมติฐานเพื่อพิสูจน์ ว่ามาตรการที่นำไปใช้ทดลองได้ผลไหม โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ข้อ 2 ว่าข้อใดตั้งสมมติฐานได้บ้าง
58
วัตถุประสงค์. 1. เพื่อพัฒนา. 2. เพื่อตรวจสอบโดย. 2
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนา เพื่อตรวจสอบโดย เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อน – หลัง เปรียบเทียบความสนใจ ก่อน – หลัง ศึกษาความพึงพอใจ ผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปสูงกว่าก่อนเรียน 1 ผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปสูงกว่าก่อนเรียน 2 ความสนใจ
59
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนสมมุติฐาน (ต่อ)
เขียนสมมุติฐานที่ทดสอบไม่ได้ สมมุติฐานต้องใช้เลข 2 ชุด และเปรียบเทียบโดยใช้สถิติทดสอบ สมมุติฐาน ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบเรียนสำเร็จรูปอยู่ในระดับมาก ต้องไม่มีสมมุติฐานเช่นนี้ เพราะเปรียบเทียบไม่ได้ เนื่องจากมีเลข ชุดเดียว (70)
60
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนสมมุติฐาน (ต่อ)
ตั้งสมมุติฐานไม่มีทิศทาง โดยใช้คำว่า “แตกต่างกัน” การวิจัยเชิงทดลองควรตั้งแบบมีทิศทาง โดยใช้คำว่า “สูงกว่า” (กรณี สิ่งพึงประสงค์) หรือ “ต่ำกว่า” (กรณีสิ่งไม่พึงประสงค์) ผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป แตกต่างกับก่อนเรียน ผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป สูงกว่าก่อนเรียน (70)
61
ตัวอย่างข้อบกพร่องของการเขียนสมมติฐาน ตัวอย่างที่ 1 ชื่อเรื่องวิจัย: การป้องกันการสบฟันผิดปกติในผู้ป่วยที่มารับบริการด้านทันตกรรมจัดฟันใน โรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร สมมติฐานวิจัย 1. ปัจจัยต่างๆ มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีการสบฟันผิดปกติ ที่มารับบริการด้านจัดฟัน ได้แก่ 1.1 ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อาชีพ รายได้ ของบิดา มารดา 1.2 ปัจจัยทางด้านสังคม เช่น คำแนะนำจากทันตแพทย์ ความต้องการของบิดา มารดา การถูก ล้อเลียน หรือ กล่าวถึงจากผู้อื่น 1.3 ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การอยู่ใกล้-ไกล จากสถานที่ให้บริการ 1.4 ปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความต้องการของผู้ป่วย
62
2. สาเหตุของการสบฟันผิดปกติที่เกิดจากเหตุภายนอก มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีการสบฟันผิดปกติ ที่มารับบริการด้านจัดฟัน เช่น 2.1 นิสัยที่ผิดปกติ ได้แก่ การดูดนิ้วในระยะหลัง 4 ขวบ เวลากลืนชอบเอาลิ้นดันฟัน ชอบกัดริมผีปาก 2.2 การได้รับอุบัติเหตุที่ฟันและใบหน้า 3. สาเหตุของการสบฟันผิดปกติที่เกิดจากกรรมพันธุ์ มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการสบฟันที่มารับบริการด้านทันตกรรมจัดฟัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่บิดา-มารดา หรือ พี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน มีประวัติ สบฟันผิดปกติ วิจารณ์ สมมติฐานทั้งหมดบกพร่องในการเขียนประโยค และภาษาที่ใช้ไม่กระทัดรัดและไม่ชัดเจน
63
การเขียนข้อจำกัดในการวิจัย (ถ้ามี)
บทที่ 1 บทนำ การเขียนข้อจำกัดในการวิจัย (ถ้ามี) หลักการ เขียนตามความจริงถึงความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อจำกัดได้ ถ้ามีข้อจำกัดหลายประการให้เขียนเป็นข้อ ๆ ถ้าเสนอแนวทางในการแก้ไขหรือผ่อนคลายข้อจำกัดได้จะดียิ่งขึ้น แนวทาง การวิจัยครั้งนี้ใช้ ไม่ได้ เพราะ การวิจัยครั้งนี้ไม่สามารถ ได้ เพราะ
64
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนข้อจำกัดการวิจัย
ไม่เขียนทั้ง ๆ ที่มีข้อจำกัด ควรเขียนเพื่อแสดงให้ทราบว่าผู้วิจัยทราบ และช่วยให้ผู้อ่านทราบพร้อมทั้งเตรียม หลีกเลี่ยงเพื่อขจัดหรือทุเลาข้อจำกัดได้
65
ตัวอย่างการเขียนข้อจำกัดในการวิจัย (ถ้ามี)
บทที่ 1 บทนำ ตัวอย่างการเขียนข้อจำกัดในการวิจัย (ถ้ามี) ข้อจำกัดในการวิจัย 1. การวิจัยครั้งนี้ไม่สามารถใช้แบบวิจัยที่ใช้ 2 กลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบผลให้ชัดเจน ได้ เพราะกลุ่มตัวอย่าง มีน้อยและต้องการให้ทุกคนได้รับมาตรการ 2. การวิจัยครั้งนี้ไม่สามารถสุ่มสมบูรณ์ได้ เพราะประสบปัญหาเรื่องการจัดห้องเรียน 3. การวิจัยครั้งนี้ต้องใช้แบบวิจัยที่มีกลุ่มเดียว เนื่องจากต้องการให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน จริยธรรม
66
การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ
บทที่ 1 บทนำ การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ หลักการ นิยามศัพท์ให้ครบถ้วนทุกคำหรือทุกข้อความ คำที่ใช้ในความหมายต่างจากความหมายทั่วไปควรนิยามด้วย ศัพท์ที่จะวัดต้องนิยามให้ละเอียดในลักษณะนิยามเชิงปฏิบัติการ บางครั้งถ้าคำศัพท์ต่อเนื่องเกี่ยวข้องกันก็ต้องนิยามศัพท์ในหัวข้อก่อนด้วย แนวทาง (คำศัพท์ที่จะนิยาม) หมายถึง วัดได้จาก
67
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ
เขียนไม่ครบโดยเฉพาะตัวแปรตาม เขียนให้ครบถ้าเกรงว่าจะมีมากเกินก็ดีกว่าขาด เขียนไม่เฉพาะเป็นนิยามทั่วไป ต้องเขียนให้เฉพาะ เรื่องที่ทำเป็นรูปธรรมพอที่จะวัดได้ถ้าเป็นตัวแปรตามมักจะมีเนื้อหา 4 บรรทัดขึ้นไป ถ้าบอกว่าวัดได้จากอะไรยิ่งดี ความรับผิดชอบ หมายถึง ยอมรับผลทั้งที่ดี และไม่ดีในกิจกรรมที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง การแสดงออกของนักเรียนที่มีการรักษาสิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างเคร่งครัด มีความผูกพันกับงานที่ได้รับมอบหมาย กล้ารับผิดชอบต่อผลงานของตนและปรับปรุงให้ดีขึ้น เร่งทำงานให้เสร็จทันตามที่กำหนดแม้จะถูกรบกวนขณะทำงานก็ยังทำให้สำเร็จได้ วัดได้จากแบบสอบถามความรับผิดชอบต่อตนเองชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (75)
68
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการจัดกลุ่ม/กำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อรองของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2 หัวข้อหลัก ตัวแปร ตัวแปร อื่น ๆ งานวิจัย หัวข้อรอง ความหมาย ประโยชน์ ความสำคัญ อื่นๆ ความหมาย ประโยชน์ การผลิต ฯลฯ ความหมาย ทฤษฎี ฯลฯ ในประเทศ ต่างประเทศ หัวข้อย่อย (ถ้ามี)
69
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการจัดกลุ่ม/กำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อรองของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลักการ เขียนตามตัวแปรและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หัวข้อหลักตามตัวแปรและหัวข้ออื่น ๆ มีการเกริ่นนำหัวข้อ มีการสรุปเป็นขั้น ๆ ให้สอดคล้องกับเรื่อง วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน และกรอบแนวคิดการวิจัย แต่ละหัวข้อในระดับเดียวกันควรมีปริมาณเนื้อหาใกล้เคียงกัน มีการอ้างอิงตามหลักวิชาการหรือตามที่ต้นสังกัดกำหนด
70
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนบทที่ 2
ไม่เกริ่นนำ เกริ่นนำหัวข้อหลักและหัวข้อรอง เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด บทที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน บทที่ 2 ผู้วิจัยได้ค้นคว้าพร้อมทั้งนำเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ส่วน ที่สำคัญ คือ (ตัวแปรตาม) ซึ่งประกอบด้วย และ (ตัวแปรต้น) ประกอบด้วย และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีสาระดังนี้ (82,83)
71
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนบทที่ 2 (ต่อ)
มีหัวข้อหลักไม่ครบตามตัวแปร หัวข้อหลักมีน้อยที่สุด 3 หัวข้อ คือ ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แต่ละหัวข้อมีเนื้อหาแตกต่างกันมากเกินเท่าตัว ลดและเพิ่มสาระของแต่ละหัวข้อให้มีจำนวนใกล้เคียงกันหรือต่างกันไม่เกินเท่าตัว
72
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนบทที่ 2 (ต่อ)
ขาดหัวข้อสำคัญ เช่น การสร้างและพัฒนา………… เนื่องจากการวิจัยเชิงทดลองต้องสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมจึงควรมีหัวข้อรองนี้ด้วย บทเรียนสำเร็จรูป ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ การใช้ บทเรียนสำเร็จรูป ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ การสร้าง การใช้
73
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนบทที่ 2 (ต่อ)
ใช้ชื่อหัวข้อรองตรงกับหัวข้อหลัก หัวข้อรองต้องเป็นละส่วนประกอบของหัวข้อหลักจะใช้ชื่อหัวข้อ เหมือนกันไม่ได้ แนวคิดเกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนสำเร็จรูป ความหมาย ประโยชน์ แนวคิดเกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป ………
74
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนบทที่ 2 (ต่อ)
ใช้คำซ้ำกับชื่อบท โดยใช้คำว่าเอกสารที่เกี่ยวข้อง ควรตัดคำดังกล่าวออก เพราะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่โดยใช่เหตุ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูป ความหมาย ประโยชน์ บทเรียนสำเร็จรูป / แนวคิดเกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป ความหมาย ประโยชน์
75
จัดหัวข้อรองชิดขอบกระดาษซ้ายตรงกับหัวข้อหลัก
หัวข้อรองต้องเลื่อนมาทางขวา เพื่อแสดงถึงเป็นส่วนประกอบของหัวข้อเฉพาะ บทเรียนสำเร็จรูป ความหมายของบทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนสำเร็จรูป ความหมายของบทเรียนสำเร็จรูป
76
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนตารางและภาพ
ไม่ระบุที่มาใต้ภาพและตาราง (ยกเว้นผู้วิจัยคิดขึ้นเอง) ระบุที่มาเช่นเดียวการอ้างอิงใต้ภาพและตาราง ถ้านำมา ปรับก็ระบุว่าปรับจาก (อ้างอิง) ถ้าปรับเพียงเล็กน้อยก็ ระบุว่า ปรับเล็กน้อยจาก (อ้างอิง) ระบุชื่อตารางและภาพผิดที่โดยเฉพาะชื่อภาพอยู่ ด้านบน ระบุชื่อตารางด้านบนและชื่อภาพด้านล่าง
77
ข้อบกพร่องและแนวทางการปรับปรุงในการเขียนตารางและภาพ (ต่อ)
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงการเขียนตารางและภาพ (ต่อ) ข้อบกพร่องและแนวทางการปรับปรุงในการเขียนตารางและภาพ (ต่อ) ใช้คำว่า “แสดง” หรือ “ตารางแสดง” ในชื่อตาราง ให้ตัดค่าตังกล่าวออก เพราะสิ้นเปลืองเนื้อที่โดยไม่ได้ให้ความหมาย เพิ่มเติม ตารางที่ ตารางแสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตารางที่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
78
ข้อบกพร่องในการใช้ตัวย่อหรือวงเล็บภาษาอังกฤษ
ใช้ตัวย่อโดยไม่บอกคำเต็มมาก่อน คำที่มีความยาวสามารถใช้ตัวย่อได้ โดยบอกคำเต็มและตัวย่อมาก่อน เช่น สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ต่อไปใช้เฉพาะ สมศ.ได้ (96) คำที่วงเล็บภาษาอังกฤษไว้แล้วยังวงเล็บซ้ำ ถ้าวงเล็บไว้ในข้างหน้าแล้วเมื่อกล่าวถึงคำเดิมอีกไม่ต้องวงเล็บอีก เช่น ประสิทธิภาพ (efficiency) เมื่อกล่าวถึงประสิทธิภาพอีกก็ไม่ต้องวงเล็บภาษาอังกฤษ ใช้ทศนิยมตำแหน่งไม่เท่ากัน 2 ตำแหน่งบ้าง 3 ตำแหน่งบ้าง ใช้ให้เท่ากันตลอดทั้งเล่ม
79
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การเขียนสรุป การเขียนสรุปของหัวข้อรอง - นำสาระมาสรุปเป็นข้อความของตนเอง การเขียนสรุปของหัวข้อหลัก - นำสาระที่สรุปไว้จากหัวข้อรองมาสรุปอีกครั้ง การเขียนสรุปทั้งบท - นำสาระที่สรุปไว้ของแต่ละหัวข้อหลักหรือแต่ละ ตัวแปรและหัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสรุปอีกครั้ง
80
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการเขียนสรุป (เกริ่นนำ) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หัวข้อหลัก หัวข้อรอง สรุปหัวข้อรอง สรุปหัวข้อหลัก
81
เรียงลำดับตาม พ.ศ. หรือตัวอักษร เรียงลำดับตามเนื้อหาจากใหญ่ไปหาย่อยยกเว้นหัวข้อ พัฒนาการต้องเรียงตามเวลา เนื้อหาระหว่างย่อหน้า หัวข้อต่าง ๆ ไม่กลมกลืนกัน เนื่องจากใช้วิธีการตัดแปะ ปรับภาษาให้เป็นสำนวนของตนเองตลอดทั้งเล่มและใช้คำเชื่อมโยงระหว่างย่อหน้า หัวข้อต่าง ๆ
82
ไม่สรุปหัวข้อหลัก รอง ย่อย (ถ้ามี)และสรุปทั้งบท
หรือสรุปไม่ครบทุกหัวข้อ ต้องสรุปทุกข้อ โดยหัวข้อย่อย (ถ้ามี) สรุป ประมาณ 3 – 4 บรรทัด หัวข้อรองประมาณ 5 – 7 บรรทัด หัวข้อหลักประมาณ 8 – 10 บรรทัดและ สรุปทั้งหมดประมาณ 15 บรรทัด
83
ความหมาย ความหมาย ใช้คำว่าสรุปเป็นหัวข้อรอง
การวิจัยไม่จำเป็นต้องมีหัวข้อสรุป บทเรียนสำเร็จรูป ความหมาย ความสำคัญ สรุป บทเรียนสำเร็จรูป ความหมาย ความสำคัญ จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูปสรุปได้ว่า
84
ใช้คำฟุ่มเฟือยในการสรุป เช่นคำว่า “อาจ” “สามารถ” “พอ”
จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับ พอสรุปได้ว่า จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับ อาจสรุปได้ว่า จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับ สามารถสรุปได้ว่า จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับ สรุปได้ว่า
85
ข้อบกพร่องที่พบมากในการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรมอย่างไม่ทราบเป้าหมาย เป็นการคัดลอกงานของผู้อื่นมาปะเรียงต่อๆ กัน ตามปี พ.ศ. ตามลำดับ และเขียนย่อหน้าเท่ากับจำนวนเอกสารที่อ่าน แต่ละย่อหน้าเขียนสรุปว่า แต่ละเอกสารที่อ่านทำอะไร ได้ผลอะไร โดยการลอกบางส่วนของบทคัดย่อและบทสรุปมาเรียงต่อกันโดยไม่มีการสังเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้ในอดีตให้เชื่อมโยงกับความรู้ในอนาคต การทบทวนวรรณกรรม เป็นการวิเคราะห์คัดกรองเนื้อหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนำมาเขียนใหม่ให้ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์กันเชื่อมโยงกันทั้งหมด โดยใช้ประโยคสำนวนและภาษาของผู้วิจัย
86
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย หลักการการเขียนขั้นตอนการวิจัย
เสนอเป็นภาพหรือแผนภูมิ (Flowchart) ได้จะดี นำข้อความโดยสรุปไประบุไว้ในภาพ เสนอในลักษณะ 3 มิติ
87
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การเขียนขั้นตอนการวิจัย ตัวอย่าง ประเด็นที่ต้องการ การดำเนินการ ผลที่ได้ กำหนดเรื่องวิจัย หาปัญหา หาวิธีแก้ สำรวจปัญหาและเลือกเรื่องแรงจูงใจต่ำ ศึกษาแนวคิดการแก้ปัญหาและเลือกใช้ นิทาน เรื่องที่จะวิจัย การพัฒนานิทาน แก้ปัญหาแรงจูงใจ Flowchart ยกร่างนิทานเบื้องต้น นิทานที่เตรียมใช้แก้ ปัญหา ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์หลักสูตร งานวิจัย สัมภาษณ์บุคคลเก่าแก่ในพื้นที่ เพื่อใช้ นิทานท้องถิ่นด้วย นิทานเบื้องต้น จำนวน 20 เรื่อง พัฒนาชุดนิทาน ชุดนิทานที่เหมาะสม มีโครงสร้างการนำไปใช้ ปรับนิทานในด้านเนื้อหา ภาษา ความยาว ระบุขั้นตอน วิธีใช้ ชุดนิทาน 20 เรื่อง ที่มี ความยาว เนื้อหา ภาษา ที่เข้าใจง่าย พร้อมทั้ง แนวทางการใช้ ตรวจสอบเบื้องต้น ตรวจสอบนิทาน ตรวจสอบโครงสร้าง คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน สร้างแบบสัมภาษณ์ความเหมาะสมของ ชุดนิทาน ปรับปรุงจากผลสัมภาษณ์ ชุดนิทานที่ผ่านการ ปรับปรุง เตรียมนำไปใช้
88
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียน Flowchart
สาระในกรอบสี่เหลี่ยมไม่ครบ ตรวจดูสาระภายในเล่มโดยสรุปกับกรอบสี่เหลี่ยมให้ตรงกัน ขั้นตอนไม่ต่อเนื่อง ตรวจดูที่และขั้นว่าต่อเนื่องหรือข้าม/ย้อน/เหลื่อมกันหรือไม่
89
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
หลักการการเขียนเรื่องประชากรและกลุ่มตัวอย่าง บอกจำนวนและสถานภาพ หรือคุณลักษณะที่สำคัญ บอกวิธีได้มาของกลุ่มตัวอย่าง ถ้ามีกลุ่มตัวอย่างมากควรนำเสนอเป็นตาราง (ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุง เช่นเดียวกับในบทที่ 1)
90
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย แนวทางการเขียนเรื่องประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรเป็น จำนวน คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน คน ได้มาโดยการสุ่มสมบูรณ์ด้วย วิธีสุ่มอย่างง่าย รายละเอียดดังตารางที่ ชั้น กลุ่ม 4 / 4 4 / 8 รวม ชาย หญิง ทดลอง ควบคุม ตัวอย่าง
91
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย แนวทางการเขียนวิธีสร้างและพัฒนามาตรการ
1. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม (เนื้อหา/วิธีการ) โดย 2. นำ (เนื้อหา/วิธีการ) มายกร่าง โดย 3. นำผลจากข้อ 2 ไป เพื่อเตรียมทดลองใช้โดย 4. นำผลจากข้อ 3 ไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้ป่วยโดย (ถ้ามี) 5. ทำเช่นเดียวกับข้อ 4 อีกครั้งกับกลุ่มผู้ป่วยที่ใหญ่ขึ้น (ถ้ามี) 6. สรุปผลการทดลองจาก
92
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การเขียนแบบวิจัย หลักการ บอกชื่อแบบวิจัยที่ใช้ บอกเหตุผลที่ใช้แบบวิจัยนั้น เขียนเป็นสัญลักษณ์สากล แนวทาง การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบวิจัย (เนื่องจาก : ถ้ามี ) ซึ่งแสดงดังภาพที่ (A)
93
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ตัวอย่างแบบวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One-Group Pretest-Posttest Design) เนื่องจากมีนักเรียนเพียงห้องเดียว หรือต้องการให้ทุกคนได้รับนวัตกรรม O X O2 1
94
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนแบบวิจัย
ระบุแบบวิจัยไม่ตรงกับการทดลอง เช่น ทดลองกลุ่มเดียว แต่ใช้แบบวิจัยที่มี 2 กลุ่ม หรือสุ่มไม่ได้ แต่เขียนแบบวิจัยที่สุ่มได้ เป็นต้น กรณีทดลองกลุ่มเดียวให้ใช้แบบที่ 1 กรณี 2 กลุ่มสุ่มไม่ได้ใช้แบบที่ 2 และสุ่มได้วัด 2 ครั้ง ใช้แบบที่ 3 วัดได้ครั้งเดียวใช้แบบที่ 4
95
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
หลักการการเขียนเรื่องเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลหรือเครื่องมือในการวิจัย บอกว่าใช้กี่ประเภท / ชนิด / กี่ฉบับ มีที่มาอย่างไร เลือกของผู้อื่น / นำมาปรับ / สร้างขึ้นเอง บอกจำนวนด้าน/ข้อ พัฒนาคุณภาพด้านความตรง ความเที่ยง และ/หรือ ความยาก อำนาจจำแนก อย่างไร ได้ผลโดยสรุปอย่างไร หรือผลการพัฒนาจากของผู้อื่นเป็นอย่างไร ทดลองใช้กับใครได้ผลโดยสรุปอย่างไร เกณฑ์การให้คะแนน การแปลความหมาย
96
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
แนวทางการเขียนเรื่องเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลหรือเครื่องมือในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ (คือ/ประกอบด้วย) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ประเภท / ชื่อเครื่องมือ (ได้มา) จำนวนข้อ รายละเอียด เกณฑ์การให้คะแนน ค่าทางสถิติต่าง ๆ ที่แสดงถึงคุณภาพ 2. เช่นเดียวกันกับข้อ 1 (ถ้ามีเครื่องมืออื่น ๆ อีก)
97
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนเครื่องมือวิจัย (ต่อ)
เขียนกว้าง ๆ ไม่มีรายละเอียด ต้องระบุรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ ให้ครบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความถนัด เลือกตอบซึ่งมีขั้นตอนการสร้างดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. กำหนดโครงสร้างข้อคำถาม 3. สร้างข้อคำถามและให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 4. ทดลองใช้เพื่อหาค่าสถิติ ดูรายละเอียดใน Chart ถัดไป
98
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนเครื่องมือวิจัย (ต่อ)
แยกรายละเอียดเครื่องมือแต่ละฉบับออกเป็นส่วน ๆ เช่น สร้าง/พัฒนาด้วยการทดลองใช้ ซึ่งถ้ามีเครื่องมือหลายฉบับจะทำให้สับสน ยึดเครื่องมือแต่ละฉบับ เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แล้วกล่าวรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของแต่ละฉบับในที่เดียวกันตั้งแต่ที่มา การสร้าง พัฒนา ทดลองใช้ ฯลฯ ให้เสร็จสิ้นในฉบับนั้น ๆ
99
เสนอรายละเอียดผลการทดลอง
เครื่องมือรายข้อ เสนอภาพรวมทั้งฉบับหรือรายด้าน รายละเอียดแต่ละข้อให้เสนอในภาคผนวก
100
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย หลักการการเขียนวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
ระบุรายละเอียดตามวิธีขั้นตอนให้ครบ ระบุผู้เก็บว่าใครบ้างเป็นผู้เก็บข้อมูล ระบุสถานที่และวิธีการเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ แนวทางการเขียนวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดย ดำเนินการ ซึ่งแบ่งเป็น ระยะ คือ
101
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนเครื่องมือวิจัย
นำสาระส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมาเขียนในหัวข้อนี้ เช่น นวัตกรรม แผนจัดการเรียนรู้ เป็นต้น เครื่องมือ หมายถึง สิ่งที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบทดลอง แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เป็นต้น
102
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างการเขียนวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวมรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะสำคัญ คือ จากการวัดก่อนทดลองโดยใช้แบบสอบถามวัดแรงจูงใจไปให้นักเรียนตอบ และจากการวัดหลังจากทดลองเสร็จโดยใช้แบบสอบถามวัดแรงจูงใจฉบับเดิมไปเก็บข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง ()
103
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
หลักการการเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บอกสถิติที่ใช้ทั้งหมด ถ้าใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ไม่ต้องบอกรายละเอียดสูตร ถ้าใช้หลายชนิดอาจจัดแบ่งสถิติเป็น 4 กลุ่ม 1. บรรยาย / พื้นฐาน เช่น , S.D., %, ความถี่ 2. อ้างอิง / ทดสอบสมมุติฐาน เช่น t-Test, Wilcoxon ฯลฯ 3. หาคุณภาพเครื่องมือ เช่น IOC, KR-20 / อัลฟ่า ความยาก อำนาจจำแนก 4. อื่น ๆ เช่น หาคุณภาพนวัตกรรม ระบุว่าใช้วิเคราะห์อะไร
104
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
กรณีใช้สถิติน้อย 1. ใช้ หาค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจ ( ตัวแปรตาม และอื่นๆ : ถ้ามี ) 2. ใช้ S.D. หาค่าการกระจายของข้อมูลแรงจูงใจ( ตัวแปรตาม และอื่นๆ : ถ้ามี ) 3. ใช้ t-Test แบบไม่อิสระเปรียบเทียบแรงจูงใจก่อนและหลัง ให้นักเรียนฟังนิทาน ( ตัวแปรตามที่เปรียบเทียบได้ )
105
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
กรณีใช้สถิติมาก 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ 1.1 ใช้ % หาสัดส่วนนักเรียนชายและหญิง 1.2 ใช้ หาค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจ 1.3 ใช้ S.D. หาค่าการกระจายของข้อมูลแรงจูงใจ 2. สถิติอ้างอิง ได้แก่ 2.1 ใช้ Wilcoxon / t – Test แบบไม่อิสระเปรียบเทียบแรงจูงใจก่อนและหลังให้นักเรียนฟังนิทาน 2.2 ใช้ t – Test แบบอิสระเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักเรียนกลุ่มที่ฟังและไม่ฟังนิทาน (A
106
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) 3. สถิติหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ 3.1 ใช้ IOC หาค่าความสอดคล้องจากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ 3.2 ใช้ KR-20 หาค่าความเที่ยงของแบบสอบ 3.3 ใช้ หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 3.4 ใช้ 4. สถิติหาคุณภาพนวัตกรรม ได้แก่ 4.1 ใช้ E1/E2 หาประสิทธิภาพชุดนิทาน 4.2 ใช้ EI หาประสิทธิผลชุดนิทาน (A)
107
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนสถิติ
เขียนตัวอักษรผิด เช่น T – Test, SD. ปรับเป็น t – Test , S.D. (127) แปลเป็นภาษาไทยผิด เช่น S.D. แปลเป็น ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลเป็นภาษาไทย ว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
108
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล หลักการในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เกริ่นนำ เสนอผลวิเคราะห์ให้ครบทุกวัตถุประสงค์ เสนอผลวิเคราะห์เป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับวัตถุประสงค์ เสนอผลการวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมา กระชับ เสนอเนื้อหาโครงสร้างต่าง ๆของนวัตกรรมที่ได้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในวัตถุประสงค์ข้อ 2 เสนอผลการตรวจสอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที ละประเด็น การนำเสนอควรเลือกลักษณะที่ทำให้เข้าใจง่าย ไม่แสดงความเห็นใด ๆ จากผลที่ได้
109
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล แนวทางในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอผลการวิจัยจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจะนำเสนอ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. ผลการพัฒนา (ชื่อนวัตกรรม) จากการพัฒนา (ชื่อนวัตกรรม) ได้ โดยนำไปใช้ 2. ผลการตรวจสอบ (ชื่อนวัตกรรม) 2.1 การ ได้ผลดังตารางที่.../ ภาพที่ 2.2 การ
110
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เสนอผลการวิเคราะห์ไม่ครบตามวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ขาดข้อพัฒนานวัตกรรม เสนอผลการวิเคราะห์ว่านวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นมีโครงสร้างหรือประกอบด้วยอะไรบ้าง รวมทั้งผลการพิจารณานวัตกรรมของผู้ทรงคุณวุฒิโดยเสนอในรูปของตารางก็ได้
111
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เสนอผลไม่เรียงตามลำดับวัตถุประสงค์ ให้เสนอเรียงตามลำดับและควรมีเลขลำดับ ข้อตามวัตถุประสงค์แบบ B หรือ C ตามที่ กำหนดไว้ในบทที่ 1
112
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เสนอรายละเอียดในตารางมากเกินไป เสนอเฉพาะส่วนสำคัญ หรือผลรวมกรณีที่มีรายละเอียดมาก เช่น คะแนนเป็นรายคน ซึ่งมีจำนวนหลายสิบคน ควรนำไปเสนอภาคผนวก อธิบายรายละเอียดใต้ตารางมาก โดยนำสาระจากตารางทั้งหมด มาเขียน ใช้เฉพาะประเด็น หรือสาระที่สำคัญหรือเด่น ๆ เท่านั้น
113
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
มีสาระน้อยเกินไปเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ ในการตรวจสอบเพียง ข้อเดียว นำรายละเอียดข้อมูลรายคน และ/หรือใช้ กราฟแท่ง กับกราฟเส้น เสนอเพิ่มเติม
114
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
นำสาระเกี่ยวกับผลการทดลองใช้เครื่องมือมาเสนอ ผลการทดลองเครื่องมือต่าง ๆโดยสรุปให้ เสนอในบทที่ 3 ไม่ควรเสนอในบทที่ 4 บทที่ 4 เน้นเสนอเฉพาะผลการวิเคราะห์ ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัยเท่านั้น
115
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การเขียนสรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนเกริ่นนำ นำหัวข้อที่สำคัญ มาเขียนให้ครบ ควรเขียนเป็นความเรียงไปตามลำดับ (A)
116
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การเขียนสรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนเกริ่นนำ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ กลุ่มตัวอย่าง (เป็น / ประกอบด้วย) แบบวิจัยที่ใช้คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (เป็น / ประกอบด้วย) เก็บรวบรวมข้อมูล โดย สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (A)
117
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนสรุปผล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนสรุปผล เขียนเป็นข้อ ๆ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย นำสาระจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุปให้กระชับ เขียนเป็นความเรียง ไม่ควรเสนอค่าสถิติใด ๆ อีก ไม่แสดงความเห็นเช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล (A)
118
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนสรุปผล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนสรุปผล 1. ผลการพัฒนา (ชื่อนวัตกรรม) พบว่า 2. ผลการตรวจสอบ (ชื่อนวัตกรรม) พบว่า (ถ้ามีการตรวจสอบหลายวิธีก็แยกเป็น ข้อย่อย)
119
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนสรุปผล
เช่นเดียวกับบทที่ 4 คือ ไม่ครบตามวัตถุประสงค์ หรือไม่เรียงตามลำดับ สรุปให้ครบตามลำดับ นำเสนอตัวเลขที่เป็นรายละเอียดทำให้มีเนื้อหามาก ใกล้เคียงกับบทที่ 4 เน้นเฉพาะผลและตัวเลขที่สำคัญ ๆ เช่น นัยสำคัญทาง สถิติเท่านั้น
120
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ตัวอย่างแนวทางการเขียนสรุปผล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ตัวอย่างแนวทางการเขียนสรุปผล สรุปผลการวิจัย 1. ผลการพัฒนาชุดนิทานเสริมสร้างแรงจูงใจพบว่า มีนิทานที่เหมาะสมจำนวน 20 เรื่อง ซึ่งใช้ร่วมกับเครื่องบันทึกเทป และแบบวัดแรงจูงใจ โดยผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าชุดนิทานมีความเหมาะสมของโครงสร้างในด้านเนื้อหา ภาษา และความยาว รวมทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. ผลการตรวจสอบชุดนิทาน พบว่า 2.1 นักเรียนกลุ่มทดลอง หลังจากที่ได้ฟังนิทานแล้วมีแรงจูงใจสูงกว่า ก่อนฟังนิทานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2.2 นักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังนิทานมีแรงจูงใจในช่วงเวลาให้ กลุ่มทดลองฟังนิทานไม่แตกต่างกัน 2.3 นักเรียนกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01
121
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนอภิปรายผล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนอภิปรายผล อภิปรายเป็นข้อ ๆ ประเด็นที่อภิปรายต้องมาจากผลการวิจัย เพื่อป้องกันการอภิปรายนอกเหนือจากผลการวิจัย ควรขึ้นด้วยคำว่า “จากผลการวิจัยที่พบว่า ” อภิปรายเฉพาะประเด็นเด่น ๆ กรณีที่ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมุติฐาน ก็เขียนว่าสอดคล้องกับ งานวิจัยของใครหรือแนวคิดทฤษฎีอะไร กรณีที่ผลการวิจัยไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน ต้องเขียนแสดงเหตุผล ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มีสาเหตุหรือปัจจัยอะไรบ้าง
122
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนอภิปรายผล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนอภิปรายผล 1. จากผลการวิจัยที่พบว่า 2. จากผลการวิจัยที่พบว่า
123
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนอภิปรายผล
ไม่อภิปรายตามวัตถุประสงค์ อภิปรายตามวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ข้อใดที่มีผลการวิจัยเด่น ๆ ก็นำมาอภิปรายได้มาก ไม่นำสาระในบทที่ 2 มาใช้ประกอบการอภิปราย ควรนำสาระในบทที่ 2 มาอภิปราย โดยเฉพาะผลการวิจัย
124
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนอภิปรายผล (ต่อ)
นำสาระที่ไม่กล่าวไว้ในบทที่ 2 มาอภิปราย ถ้าพบเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากบทที่ 2 ก็ควรนำไปเพิ่มเติมในบทที่ 2 ด้วย อภิปรายลอย ๆ ตามความรู้สึกไม่ยึดผลการวิจัยหรือทฤษฎี ต้องยึดผลการวิจัย โดยขั้นต้นว่า “จากผลการวิจัยที่พบว่า” ดังกล่าวแล้ว
125
ชุดนิทานเสริมสร้างแรงจูงใจทำให้ห้องเรียนมีแรงจูงใจสูงขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน เพราะการฟัง นิทานทำให้นักเรียนสนุกมีโอกาสเรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ดีได้ จากผลการวิจัยที่พบว่า ชุดนิทานเสริมสร้างแรงจูงใจทำให้นักเรียนมี แรงจูงใจสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานและสอดคล้องกับงานวิจัยของ McClelland ( ) ประนอบ ชอบวิจัย (2549 : 17) และบุญนำ ทำวิจัย (2550 : 19) รวมทั้ง แนวการอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบที่ให้ความอบอุ่น โดยการร้องเพลงกล่อมเด็ก หรือเล่านิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจให้ฟัง และเปิดโอกาสให้ ปฏิบัติจริง เพราะการฟังนิทานนั้นนักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้พฤติกรรม ต่าง ๆ จากตัวแบบหรือตัวละครในนิทาน ซึ่งเป็นผู้มีแรงจูงใจ จึงเกิดการ คล้อยตามและเลียนแบบตัวแบบที่ตนพึงพอใจ ทำให้นักเรียนมีแรงจูงใจสูงขึ้น
126
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนอภิปรายผล (ต่อ)
ผลการวิจัยไม่เป็นไปตามสมมติฐาน และระบุว่าขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของใคร ก่อนที่จะแสดงเหตุผลหรือไม่แสดงเหตุผล ต้องแสดงเหตุผลว่าทำไมจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐาน (นวัตกรรมไม่ได้ผล) ก่อนแล้วค่อยระบุว่าไม่สอดคล้อง (บางท่านอาจให้ขึ้นด้วยงานวิจัยก่อนแล้วค่อยแสดงเหตุผล)
127
ชุดนิทานเสริมสร้างแรงจูงใจไม่ทำให้แรงจูงใจเพิ่มขึ้นซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน และขัดแย้งกับงานวิจัยของ McClelland (1961 : 207) ประนอบ ชอบวิจัย (2549 : 17) และบุญนำ ทำวิจัย (2550 : 19) ซึ่งอาจเนื่องมาจากจำนวนนิทานเพียง 20 เรื่องยังน้อยเกินไป นักเรียนเคยฟังมาแล้วและการใช้เทปทำให้ไม่ซาบซึ้งเท่าที่ควรจึงไม่ได้ผล จากผลการวิจัยที่พบว่าชุดนิทานเสริมสร้างแรงจูงใจไม่ทำให้นักเรียนมีแรงจูงใจสูงขึ้น ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน ทั้งนี้น่าจะเนื่องมาจากจำนวนนิทานมีน้อยเกินไปไม่เพียงพอจะเพิ่มแรงจูงใจของนักเรียนได้ เปรียบเสมือนกับการให้ยาแก่ผู้ป่วย หรือให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้น้อยเกินไป จึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้อาจเป็นเพราะนิทานที่นำมาบางเรื่องเป็นนิทานในท้องถิ่น ซึ่งผู้เล่ามักจะใกล้ชิดสนิทสนม เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งเด็กมีความผูกพันโดยสายเลือด จึงทำให้ได้ผลมากกว่า และการฟังในวัยเด็กกว่าในช่วงทำการทดลองน่าจะสนุกสนานกว่าเพราะประสบการณ์ด้านอื่น ๆ ของเด็กยังมีน้อย นิทานจึงมีความสำคัญมากสำหรับประเด็นเกี่ยวเนื่องจากเรื่องตัวผู้เล่านั้น เนื่องจากการเล่านิทานใช้เครื่องเทปบันทึกเสียงซึ่งอาจจะขาดความผูกพันใกล้ชิด และเป็นธรรมชาติจึงทำให้ไม่มีผลต่อการเพิ่มแรงจูงใจของนักเรียนได้ ซึ่งผลดังกล่าวขัดแย้งกับงานวิจัยของ McClelland (1961 : 207) ประนอบ ชอบวิจัย (2549 : 17) และบุญนำ ทำวิจัย (2550 : 19) ที่พบว่าการใช้นิทานจะเพิ่มแรงจูงใจแก่นักเรียนได้
128
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนข้อเสนอแนะ การเขียนข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ เขียนเป็นข้อ ๆ ข้อเสนอแนะการนำไปใช้ต้องมาจากผลการวิจัยเท่านั้น ต้องชัดเจน เป็นรูปธรรม มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริง ถ้าระบุผู้นำไปใช้และผู้ที่จะได้รับนวัตกรรม
129
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนข้อเสนอแนะ 1. จากผลการวิจัยที่พบว่า จึงควร 2. จากผลการวิจัยที่พบว่า
130
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
เขียนข้อเสนอแนะกว้าง ๆ ลักษณะทั่ว ๆ ไปซึ่ง แม้ว่าไม่ทำวิจัยก็อาจเสนอแนะได้ เสนอให้คมชัดลึก ระบุผู้ใช้ ผู้รับ รายละเอียด เกี่ยวกับวิธีการ อุปกรณ์ ฯลฯ และถ้าระหว่างที่ ทดลองมีข้อบกพร่องอย่างไรก็ควรเสนอแนะไว้
131
จากผลการวิจัยที่พบว่านิทานเพิ่มแรงจูงใจ แก่นักเรียน
ได้ ผู้เกี่ยวข้องควรนำนิทานเล่าให้นักเรียนฟังใน โอกาสที่เหมาะสม จากผลการวิจัยที่พบว่านิทานเพิ่มแรงจูงใจแก่นักเรียน ได้ ครู ผู้ปกครองจึงควรนำนิทานไปเล่าให้บุตรหลาน ฟัง ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม โดยเลือกเรื่องที่ น่าสนใจเล่าเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติด้วยความใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อให้การเล่านิทานบังเกิดผลสูงสุด
132
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักการการเขียนข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป เขียนเป็นข้อ ๆ เสนอแนะในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องจากเรื่องที่วิจัย เสนอแนะในประเด็นที่เห็นว่าควรทำต่อไป ต้องมีความเป็นไปได้ ถ้าไม่ให้เป็นการเสนอแนะลอย ๆ ควรต่อด้วยคำว่า “เพื่อ” (จะได้ความรู้อะไรเพิ่มเติม และจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร) (A)
133
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แนวทางการเขียนข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรวิจัยเกี่ยวกับ เพื่อ 2. ควรวิจัยเกี่ยวกับ
134
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนวิจัยครั้งต่อไป
เขียนข้อเสนอแนะมากข้อแต่สั้น ๆ ไม่ระบุว่าจะได้ข้อต้นแบบอะไรและนำไปใช้อย่างไร ไม่จำเป็นต้องเสนอมากข้อ ควรเสนอน้อยขอแต่มีเหตุผลจะดีกว่า
135
ควรนำชุดนิทานไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่าง ๆ กัน เช่น เพศ อายุ เป็นต้น
ควรนำชุดนิทานไปวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างๆ กัน เช่น เพศ ชายกับหญิง ผู้ที่มีแรงจูงใจสูง ปานกลาง ต่ำ ระดับอายุ ปฐมวัย ช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 เป็นต้น ซึ่งจะได้ทราบว่านิทานมีผลต่อสถานภาพดังกล่าวหรือไม่เพียงใด เพื่อจะได้ดำเนินการเสริมสร้างแรงจูงใจให้เหมาะสมกับกลุ่มต่าง ๆ ได้ ควรนำชุดนิทานไปวิจัยกับเด็กวัยอื่นโดยปรับลดเนื้อหา ภาษาและความยาวให้เหมาะสม ควรนำชุดนิทานไปปรับลดเนื้อหา ภาษา และความยาว หรือตัวละครที่สอดคล้องกับเด็กปฐมวัย เพื่อนำไปวิจัยกับเด็กกลุ่มดังกล่าวว่าได้ผลอย่างไร เนื่องจากการปลูกฝังแรงจูงใจในวัยนี้จะปลูกฝังได้ดีกว่าวัยที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมอื่น ๆ ในอนาคตได้มาก
136
การเขียนส่วนประกอบตอนท้าย หลักการการเขียนบรรณานุกรม
เขียนให้ครบตามที่อ้างอิงไว้ ลงบรรณานุกรมทันทีเมื่ออ้างอิงในเนื้อหา ให้ขึ้นด้วยภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษจนครบ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรและสระ ใช้รูปแบบให้สอดคล้องกับการอ้างอิง และใช้ให้เหมือนกันหมดทั้งเล่ม ยึดของต้นสังกัดเป็นหลัก (ถ้ามี) ส่วนแหล่งอื่นๆ ควรเป็นแนวทางเท่านั้น
137
ข้อบกพร่องที่พบและวิธีแก้ไขการอ้างอิง
เก่า (เกิน 10 ปี) ถ้ามีมากทั้งเก่าและใหม่ให้ตัดเก่าออกบ้าง / ถ้าน้อย ให้หาของใหม่เสริม ถ้าหาของใหม่เสริมไม่ได้ให้ระบุว่ายังไม่มีของใหม่ หรือของใหม่ไม่ดีเท่า เช่น สมภักดิ์ รักวิจัย (2534:18) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังไม่ เปลี่ยนแปลง/ยังไม่มีผู้คิดใหม่
138
ข้อบกพร่องที่พบและวิธีแก้ไขการอ้างอิง
น้อย ถ้าเรื่องที่มีผู้วิจัยไว้แล้ว ควรมีอ้างอิงประมาณ 40 – 60 หน่วย ถ้าเป็นเรื่องใหม่ยังไม่มีผู้ศึกษา ควรมีอ้างอิงประมาณ 20 หน่วย ค่าสูตร สถิติต่าง ๆ สามารถอ้างอิงได้
139
ข้อบกพร่องที่พบและวิธีแก้ไขการอ้างอิง
อ้างอิงบุคคลไม่เป็นที่รู้จัก ควรอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น กรมวิชาการ กระทรวง สภาพัฒน์ ศาสตราจารย์ หรือผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ
140
ข้อบกพร่องที่พบและวิธีแก้ไขการอ้างอิง
ขาดภาษาต่างประเทศ อ้างอ้างอิงสูตร สถิติต่าง ๆ ได้ ใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ เช่น ERIC ซึ่งเป็น บทคัดย่อสั้น ๆ ได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องการแปล อาจใช้อ้างอิงต่อจากคนไทยได้ การอ้างอิงโดยไม่มีต้นฉบับและไม่ระบุว่าอ้างอิงต่อ มีความเสี่ยง
141
ข้อบกพร่องที่พบและวิธีแก้ไขการอ้างอิง
อ้างอิงต่อหรือใช้บทคัดย่อมากเกินไป (เกิน 30%) ถ้ามีหลายแหล่งแล้วให้ตัดออก ถ้ามีน้อยแหล่งควรหาเพิ่มเติมให้ได้สัดส่วน อ้างต่อหรือบทคัดย่อไม่เกิน 20 – 30%
142
ข้อบกพร่องที่พบและวิธีแก้ไขการอ้างอิง
อ้างอิงโดยไม่มีเลขหน้าหรือมีไม่ครบ ตรวจสอบและใส่เลขหน้าทุกแห่ง กรณีอ้างอิงต่อแหล่งเดิมไม่มีเลขหน้าได้ แต่แหล่งที่ นำมาอ้างต้องมีเลขหน้าและถ้ามีเลขหน้าทั้งสอง แหล่งจะดี
143
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนบรรณานุกรม
มีไม่ครบจำนวนตามที่อ้างอิงไว้ ตรวจให้ครบหรือมีอย่างน้อยเท่ากับอ้างอิง (178) ชื่อ / พ.ศ. ไม่ตรงกับอ้างอิง ตรวจให้ตรงกันโดยอาจให้ผู้อื่น หรือบรรณารักษ์ช่วย ใช้รูปแบบต่างกัน ใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้เหมือนกันตลอดทั้งเล่ม (179)
144
การเขียนส่วนประกอบตอนท้าย หลักการการเขียนภาคผนวก
นำสาระส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งมีรายละเอียดมากมาใส่ ถ้ามีสาระหลายส่วนควรแยกเป็นภาคๆ กรณีที่สาระมีมากเกินก็อาจแยกออกเป็นเล่มต่างหาก เขียนเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ
145
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนภาคผนวก
เรียงลำดับเนื้อหาภาคผนวกโดยไม่มีเกณฑ์ ใช้เกณฑ์หนึ่งเกณฑ์ใด เช่น ตามช่วงเวลาที่ทำหรือเนื้อหาสาระ (179) นับตารางหรือภาพภาคผนวกรวมกับเนื้อหาในเล่ม หรือของภาคผนวก ภาคผนวกแต่ละภาคนับรายละเอียดแยกเฉพาะจบในตัวเองและไม่นับรวมกับเนื้อหาภายในเล่ม
146
ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงในการเขียนภาคผนวก
นำภาพ รายละเอียดปลีกย่อยมาเสนอมากเกินไป เน้นเฉพาะที่จำเป็นหรือยกตัวอย่างบางส่วน
147
รศ.ดร. ธวัชชัย วรพงศธร ผศ.ดร. พิสณุ ฟองศรี นักวิชาการสาธารณสุข
ขอขอบคุณ รศ.ดร. ธวัชชัย วรพงศธร ผศ.ดร. พิสณุ ฟองศรี นักวิชาการสาธารณสุข นักศึกษาปริญญาโท
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.