ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
๑. หลักการบริหารงานทั่วไปและการบริหารทางการพยาบาล
อ. ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
2
วัตถุประสงค์ หลักการบริหารงานทั่วไปและการบริหารทางการพยาบาล
๑.๑ ความหมายหลักการบริหารงานทั่วไป ๑.๒ ทฤษฎีการจัดการ (Management Theory) - ศตวรรษที่ ๑๘ - ศตวรรษที่ ๑๙ - ศตวรรษที่ ๒๐ - ศตวรรษที่ ๒๑ ๑.๓ ความหมายการบริหารการพยาบาล ทฤษฎีการบริหารการพยาบาล ๑.๔ บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับ
3
๑.๑ หลักการบริหารงานทั่วไป
๑.๑ หลักการบริหารงานทั่วไป การบริหาร หมายถึง กลุ่มของกิจกรรม หรือกระบวนการ ๗ ขั้นตอน ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การจัดบุลากร (Staffing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย /การควบคุม (Controlling) การประสานงาน การรายงาน การใช้งบประมาณ (Luther Gulickและ Urwick) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (๖ M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน (ภิญโญ สาธร)
4
๑. ๓ ความหมายการบริหารการพยาบาล ทฤษฎีการบริหารการพยาบาล ๑
๑.๓ ความหมายการบริหารการพยาบาล ทฤษฎีการบริหารการพยาบาล ๑.๔ บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับ
5
การบริหารหมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมาย ใช้กระบวนการ ๗ ขั้นตอน โดยนำปัจจัย ได้แก่ คน เงิน วัตถุ สิ่งของ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน
6
๑.๒ ทฤษฎีการจัดการ (Management Theory)
การจัดการ หมายถึงการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางและระดับต้น กำหนดและทำตามกิจกรรม ตามแนวปฏิบัติที่ผู้บริหารระดับสูง การจัดการหมายถึงกระบวนการนำทรัพยากรหรือปัจจัยตัวป้อน ได้แก่ คน เงิน วัสดุ และข้อมูล มาใช้ประโยชน์ในกระบวนการจัดการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ หรือผลผลิต เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ
7
ทฤษฎีการจัดการ (Management Theory). แต่ละศตวรรษ ๑๘ ถึงศตวรรษที่ ๒๑
ทฤษฎีการจัดการ (Management Theory) แต่ละศตวรรษ ๑๘ ถึงศตวรรษที่ ๒๑ ศตวรรษที่ ๑๘ Robert Owen ๑๗๗๑- ๑๘๕๘ ประกอบธุรกิจผ้าฝ้ายมีคนงาน จำนวน ๔๐๐-๕๐๐ คน Robert Owen เป็นนักบริหารให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ให้ความสำคัญและใส่ใจ โดยจัดสิ่งแวดล้อมบรรยากาศการทำงานที่ดี ให้มีคุณภาพชีวิต เป็นรากฐานการจัดการเชิงพฤติกรรม
8
- ศตวรรษที่ ๑๙ ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Leadership Theories) เป็นการพัฒนาในช่วงปี ค.ศ.๑๙๔๐– ๑๙๖๐ แนวคิดหลักของทฤษฎี คือ ให้มองในสิ่งที่ผู้นำปฏิบัติ ศตวรรษที่ ๒๐ ผู้นำและผู้ตามต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน นักทฤษฎี ได้แก่ Kurt Lewin, Rensis Likert, Blake and Mouton และ Douglas McGregor
9
McGregor’s ( ๑๙๐๖-๑๙๖๔ ) : Theory X and Theory Y Douglas McGregor เป็นนักจิตสังคมชาวอเมริกา
อยากได้เงิน อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด Theory Y เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี เชื่อว่ามนุษย์ มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน มีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรรค์ และมีศักยภาพในตนเอง
10
แนวโน้มการจัดการประเทศญี่ปุ่นทฤษฎี Z
การจัดการของประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดการของประเทศญี่ปุ่น - การจ้างงานระยะสั้น - ตัดสินใจโดยบริหาร - แบ่งงานกันรับผิดชอบ - ประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ - ความก้าวหน้าในอาชีพ เน้นตามสาขาที่สำเร็จการศึกษา - การจ้างงานตลอดชีวิต - ตัดสินใจโดยฉันทามติ - ทุกคนร่วมกันรับผิดชอบ - ประเมินผลการปฏิบัติงานนานๆครั้ง - ความก้าวหน้าในอาชีพ ไม่เน้นตามสาขาที่สำเร็จ ทฤษฎีซี - การให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ - การทำงานเป็นทีม - ให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการและการพัฒนาความรู้ความสามารถปฏิบัติงานเพื่อให้ ผู้ปฏิบัติงานมีความก้าวหน้าในงานหรือมีความก้าวหน้า - การหมุนเวียนปฏิบัติงานในแผนกต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาทักษะที่หลากหลาย
11
ศตวรรษที่ ๒๑ เบิร์นส์ (Burns) ได้เสนอ ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป(Transformational Leadership Theory) เดิม เบิร์น เชื่อว่า ผู้บริหารควรมีลักษณะความเป็นผู้นำเชิงเป้าหมาย (Transactional Leadership) โดยอธิบายว่า เป็นวิธีการที่ผู้บริหารจูงใจผู้ตามให้ปฏิบัติตามที่คาดหวังไว้ ด้วยการระบุข้อกำหนดงานอย่างชัดเจน และให้รางวัล เพื่อการแลกเปลี่ยนกับความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายของผู้ตาม
12
ยุคการจัดการร่วมสมัย21
ทฤษฎีการจัดการ ยุคก่อนคลาสสิค ยุคคลาสิค 18 ยุคพฤติกรรมศาสตร์ 19 ยุคเน้นคุณภาพผลผลิต 20 ยุคการจัดการร่วมสมัย21 Robert Owen หลักการวิทยาศาสตร์ Frederick W.Taylor เริ่มพฤติกรรม การจัดการ ทฤษฏีระบบ ทฤษฎีการจูงใจ Charles Babbage หลักการบริหาร Henry Fayol พฤติกรรมศาสตร์ การจัดการเชิงปฏิบัติการ ทฤษฎีสถานการณ์ Hennry R.Towne ระบบราชการ Max Weber สร้างสัมพันธภาพ ระบบสารสนเทศ ประเทศญี่ปุ่น ทฤษฎี Z Fayol(1916) การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา การประสารงาน การควบคุมงาน GulicksUrwick (1937) การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน การจัดทำ งบประมาณ Globalization Management การควบคุมคุณภาพ
13
การบริหารพยาบาลในประเทศไทยมีวิวัฒนาการเช่นเดียวกันกับต่างประเทศ คือ เริ่มแรกจากการปฎิวัติทางอุตสาหกรรมในสหรัฐ ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ ถึงศตวรรษที่ ๑๙โดยมีการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการบริหาร มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มผลผลิตและเชื่อว่าบุคลากรเป็นส่วนประกอบ และ ค.ศ ๑๙๗๐ การพยาบาลโดยเฉพาะในด้าน Primary Nursing Care จนถึงศตวรรษที่ ๒๑ (บุญใจ ศรีสถิตนรากูร,๒๕๕๕) การบริหารพยาบาลต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสภาการพยาบาล
14
ไม่ป่วยด้วยโรค ไม่จำเป็น
วิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทย สังคมยุคโลกาภิวัฒน์ รัฐธรรมนูญ-การเมืองใหม่ เทคโนโลยี จำเป็นต้องปฏิรูป ปฏิรูป ระบบการศึกษา ปฏิรูประบบ การเงิน-คลัง ปฏิรูป ระบบราชการ ระบบอื่นๆ ระบบสุขภาพ ไม่ป่วยด้วยโรค ไม่จำเป็น เข้าถึงบริการ-บริการมีคุณภาพ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ควบคุมโรคอย่างได้ผล ประชาชน-สังคมไทยมีสุขภาวะถ้วนหน้า (ทัศนา บุญทอง,2545)
15
โครงสร้างระบบบริการสุขภาพ(จิตเวช)
กระทรวงสาธารณสุข รพ.สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย รพ.สังกัดกระทรวงกลาโหม รพ.สังกัดกระทรวงมหาดไทย รพ.สังกัดกรุงเทพมหานคร Tertiary care รพ.จิตเวช กรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข Secondary care รพศ/รพท Primacy Care รพช/ศสธ/สอ รพ./ คลินิกเอกชน ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยจิตเวช ( กฤตยา แสวงเจริญ , 2548 )
16
ระบบสุขภาพและการเข้าถึงบริการ
ความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายทรัพยากรสาธารณสุขและบริการสาธารณสุข 2) ปัญหาคุณภาพและประสิทธิภาพของบริการ สืบเนื่องจากการกระจายทรัพยากรสาธารณสุขและบริการสาธารณสุข ที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้ประชาชนมาคั่งอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ซึ่งจัดไว้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลในระดับฑุติยภูมิและตติยภูมิมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่า ทั้งต้นทุนบริการของสถานพยาบาลและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการมารับบริการทำให้ระบบบริการโดยรวมขาดประสิทธิภาพ 3) ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ นั้นสูงขึ้นทุกปี ในขณะนี้ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลและผลของการใช้จ่ายคุณภาพด้านสุขภาพก็ไม่สัมพันธ์กัน คือเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นแต่ภาวะสุขภาพไม่ได้ดีขึ้นเท่าที่ควร เพราะค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ไปอยู่กับการซ่อมสุขภาพมากกว่าการสร้างสุขภาพ
17
การวิเคราะห์ระบบบริการสุขภาพจิตในยุคปฏิรูปสุขภาพ
ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการดำเนินงาน (process) ผลลัพธ์ (Output) 1. บุคลากร ภายหลัง การปฏิรูปสุขภาพยังคง มีเท่าเดิมไม่มีการ จ้างอัตราเพิ่ม 1. ทุกหน่วยงานดำเนินงาน ตามนโยบายและตัวชี้วัดของ กรมสุขภาพจิตที่กำหนด จากการประเมินผลจากองค์กร ภายนอก พบว่า ในปี 2553 กรม สุขภาพจิตดำเนินงานได้บรรลุ เป้าหมายตามตัวชี้วัดทุกประการ หน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการเป็น หน่วยงานที่ถูกตรวจได้รับเงิน โบนัสพิเศษ ทุกรพ.ในสังกัดกรม ได้รับการรับรองคุณภาพของ HA ตามบันไดขั้นที่ 1 เป็นอย่างน้อย ซึ่ง ดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย 2. ทุกหน่วยงานต้องมีแผนการ ปฏิบัติงาน และดำเนินงานให้ สอดคล้องกับตัวชี้วัดกรมสุขภาพจิต 3. ทุกหน่วยงานต้องได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง ISO หรือ HA 4. การประเมินผลงานเน้นการ ประเมินผลโดยจ้างองค์กรภายนอก มาประเมินผล
18
5.บทบาทพยาบาล 4) ระบบบริการสุขภาพกับการพยาบาลได้
พยาบาลเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพ ซึ่งการดูแลสุขภาพให้ดำรงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดีนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและการเข้าถึงบริการเพื่อที่จะได้ทำหน้าที่หลักครอบคลุมทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสุภาพ พยาบาลมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้ให้บริการ ผู้ประสานงาน ผู้จัดการ ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ผู้สนับสนุนและผู้วิจัยเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อให้เกิดการบริการสุขภาพ ประเด็น เมื่อมีการปฏิรูประบบสุขภาพแล้ว การพยาบาลจำเป็นต้องปฏิรูประบบการบริการพยาบาลด้วยหรือไม่
19
5.บทบาทพยาบาล ประเด็นสำคัญในการปฏิรูประบบบริการพยาบาลในระดับปฐมภูมิประกอบด้วย 1. กำหนดนโยบายให้พยาบาลวิชาชีพทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชน ในระดับปฐมภูมิโดยกำหนดให้มีตำแหน่งพยาบาลเวชปฏิบัติและตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพในจำนวนที่เพียงพอและเหมาะสมในงานบริการระดับ ปฐมภูมิ กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในระดับสถานีอนามัย ให้พยาบาลมีโอกาสทำหน้าที่หัวหน้าสถานีกำหนดสัดส่วนจำนวนพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลเทคนิค และเจ้าพนักงานสาธารณสุขที่เหมาะสมให้ชัดเจน เพื่อผสมผสานความรู้ทักษะ (skill mixed team) เพื่อสามารถตอบสนองต่อความต้องการการดูแลสุขภาพของประชาชนรวมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรด้านการพยาบาลในระบบบริการพยาบาลระดับปฐมภูมิให้ชัดเจนและเป็นไปตามความรู้ความสามารถจากการได้ศึกษาในแต่ละหลักสูตร ประเด็นหลักสูตรควรเรียนมากกว่า 4 ปี เช่นเรียน 5 ปี เพื่อให้นักศึกษามีวุฒิภาวะ หรือหลักสูตรควรแยก Community/ Hospital Base practice (Excellent Center )หรือไม่
20
5.บทบาทพยาบาล 5)ระบุบทบาทพยาบาลกับการบริการสุขภาพได้
แนวคิดสำคัญแนวคิดหนึ่งของการจัดบริการระบบบริการคือการจัดบริการพยาบาลให้มีมาตรฐานและคุณภาพ การกำหนดมาตรฐานและคุณภาพ ต้องมีการควบคุมที่มีผลต่อการปฏิบัติจริง จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมมาตรฐานการบริการโดยออกเป็นกฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของมนุษย์ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม หากผู้ใดฝ่าฝีนจะต้องได้รับโทษ(สภาการพยาบาล,2541) มาตรฐานการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Standard of Nursing and Midwifery Service Organization) ที่ระบุถึงการที่การบริหารจัดการการพยาบาลดำเนินการโดยองค์กรการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในการส่งเสริมคุณภาพบริการพยาบาล และการส่งเสริมเอกสิทธิ์ในการปฏิบัติการพยาบาล
21
5.บทบาทพยาบาล มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Nursing and Midwifery Practice Standard) เกี่ยวข้องกับการจัดองค์กร การบริหารจัดการทรัพยากร การจัดระบบงาน และกระบวนการให้บริการการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้รับบริการ มีการกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติ ระบบการพัฒนาคุณภาพ และแนวทางการปฏิบัติ มาตรฐานผลลัพธ์การพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Nursing and Midwifery Outcome Standard) เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประเมินคุณภาพของบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ สามารถประเมินได้จากผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยใช้กระบวนการพยาบาลว่าบรรลุ เป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ และผลลัพธ์โดยรวมของบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งหน่วยงาน
22
5.บทบาทพยาบาล 5)ระบุบทบาทพยาบาลกับการบริการสุขภาพได้
ประเด็นที่เกี่ยวข้องคือทำอย่างไรจะทำให้การให้การบริการในระบบสุขภาพ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นสิ่งที่จะเกี่ยวข้องที่จะทำให้พยาบาลที่ให้บริการมีคุณภาพต้องเริ่มตั้งแต่หลักสูตรที่สามารถทำให้บัณฑิตพยาบาลมีคุณลักษณะ มีความสามารถตามมาตรฐานทางการพยาบาล และเมื่อสำเร็จมาแล้ว องค์กรพยาบาลมีระบบการบริหารจัดการ ให้พยาบาลสามารถให้การบริการ ตามมาตรฐานทางการพยาบาล ตลอดจนมีระบบติดตามประเมินผลการให้บริการ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาจากการปฎิบัติบริการพยาบาลEviendenc base practice
23
ระบบบริการสุขภาพและการรับรองคุณภาพ
เนื่องจากการประกันคุณภาพเป็นตัวกำกับและใช้วัดประเมินผลว่าผู้รับบริการได้รับการบริการได้ตามมาตรฐาน Hospital Accreditation;HA: ระบบการพัฒนาและรับรองคุณภาพ เป็นระบบกลางในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลคู่สัญญา มาตรฐานสถานพยาบาลคู่สัญญาในระดับต่างๆ (สาธารณสุขไทย,2550)
24
Hospital Accreditation;HA มาตรฐานโรงพยาบาล
คือกรอบที่ใช้ในการพัฒนาและประเมินคุณภาพ รพ. เป็นมาตรฐานในเชิงระบบ มิใช่มาตรฐานวิชาชีพ ใช้สำหรับ ชี้นำทิศทางการพัฒนาคุณภาพ เป็นกรอบที่ รพ.และผู้ประเมินภายนอกจะเรียนรู้ร่วมกัน เป็นกรอบในการพิจารณารับรองคุณภาพ รพ.
25
มีทิศทางร่วมกัน พัฒนาคน ทำตามมาตรฐาน กำหนดมาตรฐาน วิธีปฏิบัติงาน ตรวจสอบและ ปรับปรุงตนเอง องค์ประกอบสำคัญของมาตรฐานโรงพยาบาล
26
มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับบูรณาการ
ในระดับโรงพยาบาล มี 6 หมวด, 20 องค์ประกอบ 1.ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ 2.ทรัพยากร และการจัดการ 3.กระบวนการคุณภาพ 4.การรักษามาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ 5.สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร 6.การดูแลรักษาผู้ป่วย
27
20. การเตรียมจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง
20. การเตรียมจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญในการประเมิน ความพร้อมของผู้ป่วยที่จะดูแลตนเองต่อเนื่องได้ที่บ้าน ความร่วมมือระหว่างวิชาชีพในการวางแผนจำหน่าย ความครบถ้วนขององค์ประกอบในการดูแลต่อเนื่อง
28
หมวดที่ 1 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ
หมวดที่ 1 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ 1.การนำองค์กร 2.ทิศทางนโยบาย
29
หมวดที่ 6 การดูแลรักษาผู้ป่วย 15.การทำงานเป็นทีมในการดูแลผู้ป่วย 16.การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว 17.การประเมินและวางแผนดูแลรักษา 18.กระบวนการให้บริการ/ดูแลผู้ป่วย 19.การบันทึกข้อมูลผู้ป่วย 20.การเตรียมจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง
30
ความหมายของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
คือ สิทธิของประชาชนไทยทุกคนที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างเสมอหน้า ด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน โดยที่ภาระด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการไม่เป็นอุปสรรคที่ประชาชนจะได้รับสิทธินั้น
31
- พ. ร. บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ. ศ
- พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ ได้ให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน โดยให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดการให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิดังกล่าว เว้นแต่เป็นผู้มีสิทธิอยู่แล้วในโครงการสวัสดิการด้านรักษาพยาบาลของข้าราชการ และโครงการประกันสังคม หรือสิทธิอื่นๆ ที่รัฐจัดให้เป็นการเฉพาะ
32
ความสำคัญของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
การเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การสร้างความอุ่นใจให้แก่ประชาชน การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง
33
เหตุผลของการมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
เป็นการประกันสิทธิของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัด และส่งเสริมการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน เป็นการแก้ปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนของระบบประกันสุขภาพในอดีต เป็นการลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพด้วยระบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
34
สิทธิของประชาชนตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ สิทธิเลือกหน่วยบริการประจำตัวที่มีมาตรฐานและสะดวกในการเข้ารับบริการ สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขในกรณีฉุกเฉินที่สถานบริการอื่นๆ ได้นอกเหนือจากหน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้ สิทธิในการร้องเรียนเมื่อได้รับบริการสาธารณสุขที่ไม่ได้มาตรฐาน สิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเมื่อมีความเสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข สิทธิในการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ
35
แผนพัฒนาสุขภาพจิต ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ ) วิสัยทัศน์การพัฒนาสุขภาพจิตประชาชน ประชาชนมีความตระหนักและสามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ รวมทั้งสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่มีมาตรฐานอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม
36
พันธกิจ ผลิต พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีด้านสุขภาพจิต เพื่อให้บริการได้มาตรฐาน มีคุณภาพ มีความเสมอภาค เป็นธรรม ทันต่อสถานการณ์ อันส่งผลให้ประชาชนมีความตระหนักและสามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
37
วัตถุประสงค์ ภายในสิ้นแผนพัฒนาสุขภาพจิต ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ ) มีการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อลดอัตราป่วยทางจิตของประชาชน เพื่อลดปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพจิตอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
38
ยุทธศาสตร์ การสร้างระบบการส่งผ่านความรู้สุขภาพจิตแก่ประชาชน
การพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิต การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิต การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิต การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร
39
กลไกการบริหารจัดการเพื่อการแปลงแผนพัฒนาสุขภาพจิตในช่วงแผนฯ 9 สู่การปฏิบัติ : ในส่วนของกรมสุขภาพจิต
40
การจัดการด้านโครงสร้างองค์กร
เสริมสร้างเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทางสุขภาพจิตและจิตเวช กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ ภายใต้รูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมกรและคณะทำงานร่วมกัน สร้างเครือข่ายกับภาคประชาชน และองค์กรเอกชนต่าง ๆ จัดให้มีหน่วยประเมินผลการดำเนินงานกลาง เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวม เพื่อให้องค์กรทีการบริหารจัดการและการดำเนินงานตามหลัก “ความถูกต้อง พึงประสงค์ โปร่งใส”
41
การจัดการด้านกำลังคน
ศึกษาและพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมโยงหรือถ่ายเทบุคลากรภายในกรมสุขภาพจิต ให้เหมาะสม เพื่อรองรับกับภาระงานและสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิต จัดทำแผนกำลังคนและแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และเป้าหมายในแผนฯ 10
42
การจัดการด้านงบประมาณ
จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานในสังกัดกรมฯ ตามแนวทางในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Performance-Based Budgeting System) โดยจัดสรรให้ในรูปของวงเงินรวม (Block Grant) เพื่อใช้ในการบริหารการดำเนินงานให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ จัดสรรงบประมาณให้กับพื้นที่ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสุขภาพจิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของปัญหาสุขภาพจิตที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไข
43
การจัดการด้านแผนงาน กำหนดกรอบผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงสร้างแผนงาน / งานในช่วงแผนฯ 9 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาสุขภาพจิต ประสานและสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมดำเนินงานตามแนวยุทธศาสตร์การพัฒนางานสุขภาพจิตในช่วงแผนฯ 9
44
ระบบการประเมินผล ติดตามวัดและประเมินผลทั้งในระดับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และแผนงาน/งานตามแผนพัฒนาสุขภาพจิต ในช่วงแผนฯ 9 พัฒนาตัวชี้วัด และกระบวนการประเมินผลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้ยั่งยืนต่อไป
45
สิทธิประโยชน์ในการรับบริการสุขภาพ ภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
บริการที่ไม่ต้องเสียค่าใช่จ่าย - การเยี่ยมบ้านและดูแลผู้ป่วยที่บ้าน - การให้คำปรึกษาและการสนับสนุนให้ประชาชนมี ส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ - การตรวจดูสุขภาพประชาชนทั่วไป - การดูแลสุขภาพเด็ก และพัฒนาการ
46
บริการที่ต้องร่วมจ่าย 30 บาททุกครั้ง
- การตรวจ วินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ - การรักษาโรคจิตประสาทผู้ป่วยนอกไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีรับเป็นผู้ป่วยในไม่เก็บกว่า 15 วัน - ค่าอาหาร และค่าห้องสามัญ - ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ - การจัดส่งเพื่อรักษาพยาบาลระหว่างหน่วยบริการ
47
บริการทางการแพทย์ที่ไม่อยู่ในความคุ้มครอง
1. โรคจิตที่ต้องรับรักษาเป็นผู้ป่วยในเกิน 15 วัน 2. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
48
การส่งต่อของสถานบริการ
ประชากร 5 ล้านคน มี 1 รพศ. รพศ ระดับ Supra 3rd care ระดับ Supra 3rd care รพท ประชากร 5 แสน คน มี 1 รพท. ระดับ Supra 2nd care รพช ประชากร 30, ,000มี 1 รพช.(30 เตียง) ประชากร 10,000 คน มี 1 ศสช. ระดับ Supra 1st care ศสช สอ.3 ประชากร 1,000-5,000 คน สอ.2 สอ.1
49
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับผุ้ป่วยจิตเวช
กรณีฉุกเฉิน ภาวะจิตเวชฉุกเฉิน เช่น เอะอะ , โวยวาย , ประสาทหลอนรุนแรง , attempt suicide, violence, และภาวะที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์จากหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ทุกแห่ง และเป็นสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
50
การ Refer ไปโรงพยาบาลจิตเวช
CUP สามารถ Refer ผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช ได้โดยตรง โดยจะต้องมีใบ Refer ทุกราย ใบ Refer ในโรคเดียวกันสามารถใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะรักษาหายในโรคนั้น ๆ ทั้งนี้ให้ระบุหมายเลขใบ Refer ลงในใบนัดทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายต่อไป
51
ผู้ป่วยมารับการรักษาและจำเป็นต้อง Admit ถือเป็นฉุกเฉินทุกราย ไม่ต้องให้ญาติหรือผู้ป่วยกลับไปขอใบ Refer เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยแล้วถ้ามีการนัดมารับยาต่อเนื่อง ทาง รพ. จิตเวชจะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปขอใบ Refer จาก CUP ก่อนไปรับยาที่ รพ.จิตเวช ทุกราย การ Refer ผู้ป่วยกลับไปให้ CUP ดูแลต่อ รพ.จิตเวช ต้องเขียนสรุปในใบ Refer ที่ CUP ส่งมา กรณีฉุกเฉิน Admit ที่ รพ.จิตเวช ถ้าเป็น case ที่ตำรวจนำส่ง หากเป็นผู้ป่วยที่ถือบัตรทองของโรงพยาบาลอื่น แจ้ง CUP ทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
52
อัตราเรียกเก็บ ผู้ป่วยนอก เหมาจ่าย 180 บาท/ครั้ง ผู้ป่วยใน 165 บาท/วัน ภายใน 15 วันแรก และหลังจาก 15 วันคิดอัตรา 100 บาท/วัน ไม่เกิน 20 วัน ดังนั้นจ่ายวันที่ผู้ป่วย Admit ทั้งหมด 35 วัน นอกเหนือจากนี้ใช้งบ NON UC ของกรมสุขภาพจิต เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2546
53
วิเคราะห์การให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
- ผู้ใช้บริการ - ผู้ให้บริการ - ระบบการดำเนินการ - อื่น ๆ
54
วิเคราะห์การให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม
55
บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับ
๑.๔ บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับ บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (โดยตำแหน่ง)
56
๓. ระดับหัวหน้าทีมการพยาบาล
๑.๔ บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับ ระดับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการพยาบาล ๑. ระดับหัวหน้าฝ่าย / รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล ๒. ระดับหัวหน้าหอผู้ป่วย ๓. ระดับหัวหน้าทีมการพยาบาล
57
บทสรุปในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ดังนั้นการบริหารการพยาบาล ต้องอาศัยแนวคิด หลายๆทฤษฎี ทฤษฎีการบริหาร เพื่อการบริหารที่ดี การบริหารหมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมาย ใช้กระบวนการ ๗ ขั้นตอน โดยนำปัจจัย ได้แก่ คน เงิน วัตถุ สิ่งของ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน ทฤษฎีการบริหาร คล้ายทฤษฎีการจัดการ
58
นอกจากนี้ยังใช้ทฤษฎีการพยาบาลที่ใช้กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อที่จะมีบทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับได้ถูกต้องสามารถ แสดงบทบาทของผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับ เพื่อให้พยาบาลประจำการ มีความสุข มีความพึงพอใจในการทำงานทางการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย ต่อไป
59
คำถามท้ายบท บทที่ ๑ ๑. การบริหารหมายถึงอะไร หลักการบริหารงานทั่วไปคืออะไรตามความเข้าใจของท่าน ๒. ผู้นำกับผู้บริหาร แตกต่างอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ ๓. คุณสมบัติของผู้บริหารในข้อใดที่สำคัญที่สุดในการบริหารบุคลากรขององค์การ จงอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ ๔. จงเปรียบเทียบทฤษฎีการจัดการ (Management Theory) ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ ถึง ๒๑ ๕. ผู้นำบริหารการพยาบาล กับทฤษฎีการบริหารการพยาบาลมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ๖. ความเจริญก้าวหน้าขององค์การ จะประสบความสำเร็จได้มากที่สุด ขึ้นอยู่กับปัจจัยในข้อใดเป็นสำคัญ ๗. บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย ๘. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ๙. ท่านเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย ท่านได้สังเกตเห็นว่าสมาชิกบางคนในหอผู้ป่วยไม่สนใจงานที่มอบหมายให้เท่าที่ควร ท่านจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเหมาะสมและถูกต้องโดยใช้ทฤษฎีการบริหารในการแก้ปัญหา พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ๑๐. การบริหารบุคลากรทางการพยาบาล มีบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าหอผู้ป่วย อย่างไรบ้างยกตัวอย่างประกอบ
60
๖. ความเจริญก้าวหน้าขององค์การ จะประสบความสำเร็จได้มากที่สุด ขึ้นอยู่กับปัจจัยในข้อใดเป็นสำคัญ
๗. บทบาทและหน้าที่ผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย ๘. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ๙. ท่านเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย ท่านได้สังเกตเห็นว่าสมาชิกบางคนในหอผู้ป่วยไม่สนใจงานที่มอบหมายให้เท่าที่ควร ท่านจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเหมาะสมและถูกต้องโดยใช้ทฤษฎีการบริหารในการแก้ปัญหา พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ๑๐. การบริหารบุคลากรทางการพยาบาล มีบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าหอผู้ป่วย อย่างไรบ้างยกตัวอย่างประกอบ
61
ประเด็นและแนวโน้มฯ
62
6)วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้
63
6)วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้
1.การปฎิรูประบบบริการสุขภาพโดยยึดหลักสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐให้บริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ทั่วถึง เป็นธรรม เท่าเทียม ได้มาตรฐาน มีคุณภาพเป็นที่พอใจ แต่การกระจายตัวของสถานบริการแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง มีความไม่สมดุลของการใช้และการกระจายคน ด้านบุคลากรและผู้รับบริการ
64
6)วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้
2.ระบบบริการสุขภาพที่อยู่ในปัจจุบันคือ ข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพ ประชาชนยังไม่มั่นใจ มีความไม่เท่าเทียม ด้านคุณภาพ การบริการ มาตรฐานแตกต่างกันในแต่ละประเภท
65
6)วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้
3. การประกันคุณภาพของสถานพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการพยาบาลที่มีความแตกต่างกันเช่น HA 4.นโยบายเปลี่ยนแปลงจากการเมือง ไม่มีการวางแผนระยะยาวและพัฒนาให้ยั่งยืน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง 5. การเปิดการค้าเสรี 6. หลักสูตรควรเรียน 5 ปี เพื่อให้มีวุฒิภาวะ หรือแยก Community/ Hospital Base practice
66
6)วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้
7. การขาดความพร้อมในการมีระบบบริการรองรับสังคมผู้สูงอายุ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ตามเพศและอายุ ที่นำเสนอด้วยปิระมิดประชากรประเทศไทย และปิระมิดประชากรอายุ 60 ปีและมากกว่า ระหว่างปี พ.ศ (รูปที่ 3 และรูปที่ 4) เป็นเครื่องยืนยันถึงภาวการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุ ทั้งนี้เพราะฐานปิระมิด ซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรวัยเด็ก มีแนวโน้มที่จะแคบลง ในขณะที่ยอดของปิระมิดประชากร ซึ่งหมายถึงกลุ่มประชากรสูงอายุ ขยายกว้างขึ้นและรวดเร็วขึ้น และประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ในราวปี พ.ศ ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่จะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก ทั้งนี้เป็นผลจากการลดลงอย่างต่อเนื่อง ของอัตราเจริญพันธุ์ และอัตราตายของประชากรในอดีต (รูปที่ 3) และการเพิ่มขึ้นของอายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (ความยืนยาวของชีวิต) ของประชากรไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา (รูปที่ 4) ซึ่งอายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของผู้ชาย เพิ่มจาก 55 ปีระหว่าง พ.ศ เป็น 70 ปี ระหว่าง พ.ศ ในขณะที่อายุคาดหมายเฉลี่ยของผู้หญิง เพิ่มจาก 62 ปี เป็น 75 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังรูปที่ 3 และรูปที่ 4
67
6)วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้
มีผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นดังนั้นเงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้สำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้สูงอายทุกคนในปัจจุบันจำนวน 500บาทต่อเดือน สำหรับผู้สูงอายุนั้นมีความเพียงพอหรือไม่ และผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ในปัจจุบันเรามีระบบบริการการดูแลระยะยาวอย่างไร มีบ้านพักคนชราเพียงพอไหม ควรมีรูปแบบการบริการครบวงจร ตลอดจนHome Health care (Deloushesy,G.L,1995; )เหมือนดังต่างประเทศไหม,ในชุมชนควรมีการดูแลประคับประคองในระยะสุดท้ายของชีวิต(รัตนา ทองสวัสดิ์,2552)Hospice, Day care ,Geriatric medical service (Jame F.McKenzie;1997, p467) มี National Vocation Qualificationเพื่อควบคุมคุณภาพพยาบาลที่ดูแล(Linda NaZarko,2002) เหมือนดังต่างประเทศไหม
68
8.ความเป็นธรรมในสังคมและการจัดสรรทรัพยากรในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ประเด็น
69
6)วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบสุข
ภาพและการเข้าถึงการบริการได้ 8.ประเด็นความไม่เป็นธรรมในสังคมและการจัดสรรทรัพยากรในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น ในการบริการทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือด Hemodialysis,บริการPeritoneal Dialysisและการผ่าตัดเปลี่ยนไต ยังไม่ได้จัดอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งๆที่สวัสดิการรักษาข้าราชการ ประกันสังคมได้คุ้มครองบริการทดแทนไตอย่างครบถ้วน (p401)
70
9.ระบบการบริหารกองทุนเพื่อสุขภาพ
ประเด็น
71
ระบบสุขภาพและการเข้าถึงบริการ
7) แนวทางการป้องกันปัญหาอันเนื่องมา จากระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้ 1.บุคลากรผู้ให้บริการมีมาตรการสำคัญในการรักษากำลังคนสาขาการพยาบาล (สภาการพยาบาล,2547) ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงในการรักษาพยาบาลในรายที่มีปัญหาซับซ้อน(Ladner&Delaune,2006) บริการสุขภาพเน้นด้านการป้องกันมากกว่าการรักษา 2.รัฐบาลหาแนวทางให้การจัดระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ บริการสุขภาพของข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพ ให้ประชาชนมีความมั่นใจ ว่าเหมือนกันเท่าเทียมกันในเรื่อง สิทธิประโยชน์ต่างๆ คุณภาพและ มาตรฐานเหมือนกัน อาจจะมีการรวมเป็นหน่วยเดียวกัน โดยให้บริการ ด้านสิทธิขั้นพื้นที่จำเป็นควรได้เหมือนกัน อาจมีการนำร่องในระดับจังหวัด(ทดลอง)และประเมินผล
72
ระบบสุขภาพและการเข้าถึงบริการ
7) แนวทางการป้องกันปัญหาอันเนื่องมา จากระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้(ต่อ) 3. การประกันคุณภาพของสถานพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการพยาบาล แตกต่างกันเช่น HA TQM ISO - โรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน?? จำนวนเท่าไหร่และมีมาตรฐาน จริงๆมีมาตรฐานไหม หรือมีในเชิงเอกสาร -การประกันคุณภาพของสถานพยาบาล ทำให้บุคลากรผู้ให้บริการ พยาบาลมีภาระงานขึ้น เข้าโครงการเกษียณอายุก่อนเวลา(วิจิตรา กุสุมภ์,2553) ทำให้พยาบาลขาดแคลน 4.มีนโยบายชัดเจน มีการวางแผนระยะยาว และพัฒนาให้ยั่งยืนอย่างชัดเจนไม่ขึ้นอยู่กับการเมือง ไม่คอรัปชั่น มีธรรมาภิบาล ผู้ปฎิบัติงานทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
73
ระบบสุขภาพและการเข้าถึงบริการ
7)อภิปรายแนวทางการป้องกันปัญหาอันเนื่องมา จากระบบสุขภาพและการเข้าถึงการบริการได้ แบ่งกลุ่มตามอาจารย์ Any Question
74
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.