ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยนพรัตน์ เก่งงาน ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การศึกษากระบวนการดำเนินการพัฒนาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วม
ชื่อผลงานวิจัย การศึกษากระบวนการดำเนินการพัฒนาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วม ชื่อผู้วิจัย กุสุมา หาญกล้า
2
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรีเป็นฐาน (SBM)ในปีการศึกษา 2557 2. เพื่อศึกษาผลการดำเนินการ พัฒนาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วม ตามโครงการ / กิจกรรม ที่ได้ดำเนินการในปีการศึกษา 2557
3
กรอบแนวคิดในการวิจัย
SBM
4
ตัวแปรการวิจัย ตัวแปรต้น
ได้แก่ ผู้บริหารวิทยาลัย คณะครูอาจารย์ พนักงาน คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย(ยกเว้นผู้แทนครู ผู้บริหาร ) ผู้ปกครองนักเรียน ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการดำเนินการพัฒนาวิทยาลัย แบบมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ทางวิทยาลัยได้วิเคราะห์ปัญหา สรุปสภาพปัญหา และกำหนดแนวทางในการพัฒนา ตามสภาพปัญหาที่พบข้างต้นทั้ง 4 ด้าน โดยกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเป็น 4 กลยุทธ์หลัก 16 โครงการ/ กิจกรรม
5
ประชากร/กลุ่ม ตัวอย่าง
กลุ่มประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะครู อาจารย์ พนักงาน และศิษย์เก่าที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช 3) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส2) กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสุ่มเพื่อให้มีความหลากหลายจึงเลือกกลุ่มของ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยผู้ปกครองนักเรียน ที่เรียนอยู่ในปีการศึกษา 2557โดยสุ่มแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ปกครองนักเรียนชั้นเรียนละ 5 คน จำนวน 5 ชั้นเรียน ซึ่ง จำแนกกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1. คณะครูสายการสอน จำนวน 7 คน 2. พนักงาน จำนวน 2 คน 3. คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย จำนวน 6 คน 4. ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน 5. ศิษย์เก่า จำนวน 14 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 54 คน
6
เครื่องมือที่ใช้ เก็บข้อมูล
ในการศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วม ของวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจนนทบุรี ในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ สร้างเครื่องมือเพื่อการประเมินผลการดำเนินงาน จำนวน 6 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของคณะครูและบุคลากร ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ผู้ปกครองนักเรียน และศิษย์เก่า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ฉบับที่ 4 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนาสภาพภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมของคณะครู กรรมการบริหารวิทยาลัย ผู้ปกครองนักเรียน และศิษย์เก่า ฉบับที่ 6 แบบประเมินการบริหารโครงการเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานปีการศึกษา 2557 แบบสอบถาม และแบบประเมินแบ่งเป็น 4 ตอน คือ
7
เครื่องมือที่ใช้ เก็บข้อมูล
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบสำรวจรายการ(Check List) มี 3 ข้อ คือ เพศ อายุ ตำแหน่ง ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิทยาลัยเป็นฐาน(SBM) ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุกิจ นนทบุรี ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาในปีการศึกษา 2557โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตอนที่ 3 แบบประเมินการบริหารโครงการเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานปีการศึกษา 2557 ใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
8
เครื่องมือที่ใช้ เก็บข้อมูล
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบสำรวจรายการ(Check List) มี 3 ข้อ คือ เพศ อายุ ตำแหน่ง ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิทยาลัยเป็นฐาน(SBM) ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุกิจ นนทบุรี ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาในปีการศึกษา 2557โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตอนที่ 3 แบบประเมินการบริหารโครงการเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานปีการศึกษา 2557 ใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
9
ผลการวิเคราะห์ ที่ กลยุทธ์การพัฒนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) ระดับการมี ส่วนร่วม อันดับที่ 1 2 3 4 การมีส่วนร่วมบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมพัฒนาบุคลากรสู่เกณฑ์มาตรฐานการมีส่วนร่วมส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนา คุณภาพผู้เรียนการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้และปรับภูมิทัศน์ 3.72 3.90 3.60 3.71 0.67 0.56 0.48 0.46 มาก เฉลี่ย 3.73 0.54
10
ผลการวิเคราะห์ (ต่อ) ลำดับที่ โครงการ/กิจกรรม ผลการประเมิน %
การแปลค่าความหมาย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. การอบรมสัมมนาภายใน/ภายนอก การประชุมทางวิชาการ การศึกษาดูงาน การเรียนการสอนแบบโครงงาน การจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การเรียนรู้จากห้องสมุด การวิจัยชั้นเรียน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม ส่งเสริมบุคลิกภาพและการปกครองระบบประชาธิปไตย การฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับสถานประกอบการ การปรับปรุง ห้องปฏิบัติการวิชาชีพ การจัดทำและปรับปรุงสถานที่แยกเก็บขยะ การปรับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ การปรับปรุงสนามกีฬาและมุมพักผ่อน 87 85 86 82 64 81 83 88 92 พึงพอใจมาก ยอมรับได้ พึงพอใจมากที่สุด เฉลี่ย 83.86
11
สรุปผลการวิจัย สรุปผลการวิเคราะห์การพัฒนาวิทยาลัย แบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจนนทบุรี โดยภาพรวม พบว่า มีผลการดำเนินการมีส่วนร่วมอยู่ใน ระดับมากทุกกลยุทธ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.73 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.54) โดยกลยุทธ์ที่มีค่าเฉลี่ย ผลการดำเนินการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ การพัฒนาบุคลากรสู่เกณฑ์มาตรฐาน (ค่าเฉลี่ย = 3.90 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.56) รองลงมาได้แก่ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 3.72 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.67) การปรับปรุงพัฒนาแหล่งเรียนรู้และปรับภูมิทัศน์ (ค่าเฉลี่ย = 3.71 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.46) ตามลำดับ ส่วนกลยุทธ์ที่ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมน้อยสุด คือ การมีส่วนร่วมส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ค่าเฉลี่ย = 3.60 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.48)
12
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) จากการศึกษาการดำเนินการพัฒนาวิทยาลัย แบบมีส่วนร่วม ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรีโดยภาพรวม เมื่อเปรียบเทียบ กับผลการดำเนินงานใน ปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยได้รับการพัฒนาดีขึ้นทุกด้าน ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการ วิทยาลัยใช้เทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยผู้ปกครองนักเรียน และศิษย์เก่า ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทำให้ทุก คนมีความรู้สึกรับผิดชอบในความเป็นเจ้าของ ได้ร่วมกันวางแผนในการบริหารโรงเรียน โดยทุกฝ่ายช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผน ตลอดทั้งร่วมกันปฏิบัติงานตามแผนงาน ส่งผลให้วิทยาลัย นักเรียนได้รับการพัฒนาขึ้นมาก
13
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) สรุปผลการวิจัย (ต่อ)
2. ด้านการพัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2556 ทางวิทยาลัยได้ส่งเสริม สนับสนุนให้คณะครูได้พัฒนาตนเอง พัฒนาเพื่อนร่วมงาน โดยจัดส่งคณะครูเข้ารับการฝึกอบรม ส่งไปศึกษาดูงานวิทยาลัยต้นแบบ ตลอดจนถึงการจัดประชุมวิชาการ ให้คำปรึกษา กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ของตนเอง มีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยในการจัดการเรียนการสอน มีการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ตลอดทั้งมีการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาทางการเรียนให้แก่นักเรียน ทำให้คณะครูได้ พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ มีผลงานทางวิชาการที่ได้จากการปฏิบัติงานในหน้าที่ อันส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพของแต่ละคน
14
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 3. ด้านการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ทางวิทยาลัยกำหนดจุดเน้นเพื่อพัฒนานักเรียน โดยได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน โครงการ การจัดทำและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน การเรียนรู้จากห้องสมุด อินเตอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม การส่งเสริมบุคลิกภาพภาวะผู้นำและการปกครองระบบประชาธิปไตยการส่งเสริม ดังกล่าว ทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล ส่งผลให้คุณภาพของนักเรียน) ทั้งทางด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของวิทยาลัยที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวของนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2557
15
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 4. ด้านการปรับปรุง พัฒนาสภาพภูมิทัศน์ และแหล่งการเรียนรู้ทางวิทยาลัยใช้กลยุทธ์นำวิทยาลัยเข้าสู่ชุมชน ได้ร่วมกับชุมชนพัฒนาภุมิทัศน์ให้สวยงามมีแหล่งเรียนรู้ที่มีความพร้อมและเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อย่างเต็มที่ และเจริญก้าวหน้าไปมาก เช่น ทางวิทยาลัยได้ปรับปรุงห้องปฎิบัติตามสาขาที่เปิดสอนอย่างมืออาชีพด้านการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัยจากการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้สภาพอาคารสถานที่ มีความพร้อมและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างดียิ่ง ทำให้วิทยาลัยได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองนักเรียนและบุคคลทั่วไป
16
ข้อเสนอแนะ การบริหาวิทยาลัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เป็นฐาน จะประสบผลสำเร็จมากน้อย เพียงใด ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด คือ ตัวผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารจะต้องใช้เทคนิคการเปิดโอกาสให้คณะ ครู คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนถึงศิษย์เก่า เข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ของการบริหาร ซึ่งจุดเด่นที่ทางวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรีได้ดำเนินการประสบ ผลสำเร็จ คือ การดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานโครงการ โดยดึงชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนาวิทยาลัย ทำให้ทุกฝ่ายมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของ ต่างต้องการให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้า จึงมีความร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ดังนั้นเพื่อให้วิทยาลัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงต้องสนับสนุน ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดยผู้บริหารต้องประชาสัมพันธ์ ประสานงานกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่วนจุดด้อย ที่ควรยกเลิก คือการมีส่วนร่วมจัดทีมงาน และการมอบหมายงาน ซึ่งชุมชนเห็นว่า ควร เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะพิจารณา แต่งตั้ง และมอบหมายงาน ชุมชนมีบทบาทสนับสนุนและปฏิบัติตาม แต่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญต่อบุคลากรและชุมชน โดยสอบถามความเห็นชอบก่อน แต่งตั้งมอบหมายงานทุกครั้ง
17
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นจุดมุ่งหมายหลักการการจัดการศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ นนทบุรีขาดความพร้อมด้านบุคลากร บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทำให้คณะครูและบุคลากรเกิดความภาคภูมิใจ มีความสามัคคีกลมเกลียวกันเป็นอย่างดี การจะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรควบคู่กับการพัฒนางานให้บุคลากรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละคน และอีกประการหนึ่ง ปัจจุบันวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรีลงนามความร่วมมือด้านทวิภาคีกับสถานประกอบการเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการจริงในสถานประกอบการและให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเต็มที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนต่อไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.