ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
ประชุมแนวทางการคัดกรองมะเร็งเต้านมและ มะเร็งปากมดลูกแบบมีส่วนร่วมโดยประชารัฐ วันที่ 9 พฤษภาคม 2560 เวลา น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
2
สรุปถอดบทเรียน โครงการ PH _JAPAN
อำเภอ สารภี สันกำแพง สันทราย ดอยสะเก็ด
3
กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม เจ้าหน้าที่.,ผู้นำชุมชน, ประชาชน และกลุ่มเป้าหมาย อบรมโครงการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จังหวัดเชียงใหม่ - ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และสร้างความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ - ประชาสัมพันธ์รถบริการตรวจมะเร็งเคลื่อนที่ให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย - กระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความกระตือรือร้นในการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มมากขึ้น พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - เพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - เรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้านการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการตรวจมะเร็งเต้านม - ชี้แจงนโยบาย ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - รายการอุปกรณ์ทางการแพทย์ (13 รายการ) สนับสนุน รพช.
4
กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม - รายการอุปกรณ์ทางการแพทย์ (12 รายการ) สนับสนุน รพ.สต. - รายการอุปกรณ์ทางการแพทย์ (1 รายการ) สนับสนุน สสอ. แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ฝึกอบรมความรู้ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม แก่ อสม. โดย พยาบาล และ จนท.ผู้รับผิดชอบงานจาก รพช. รพ.สต.ใน พื้นที่ และ จนท PH-JAPAN - เพิ่มศักยภาพความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม แก่ อสม. - นำความรู้ไปขยายสู่สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชน กิจกรรมเนื่องในวันอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (วัน อสม.แห่งชาติ) - เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดย อสม. ผู้ร่วมงานและประชาชนทั่วไป - จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - กิจกรรมตอบปัญหาและเล่นเกมส์เกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
5
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ
(อสม.เชี่ยวชาญ) ฝึกอบรมแกนนำ อสม. ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดย พยาบาล และ จนท.ผู้รับผิดชอบงานจาก รพช. รพ.สต.ใน พื้นที่ และ จนท PH-JAPAN - พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพ อสม.ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นทั้งในเชิงความรู้เกี่ยวกับโรคและทักษะต่างๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - อสม.สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการกระตุ้นส่งเสริมสตรีกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเกิดความตระหนักในความสำคัญของการป้องกันและเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ - ส่งเสริมบทบาทของ อสม.ให้สามารถปฏิบัติงานในขอบเขตหน้าที่ของ อสม.ในกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มสตรีทั้งในและนอกสถานที่บริการร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
6
กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม บทบาท อสม.เชี่ยวชาญ ในกิจกรรมรณรงค์ให้สุขศึกษาและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - ให้สุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย - ซักประวัติและการบันทึกแบบฟอร์มก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองฯ - การสอนการตรวจด้วยตนเองและการตรวจเต้านมแก่สตรีผู้เข้ารับบริการ - ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจ pap smear
7
สตรีกลุ่มเป้าหมาย รณรงค์ให้สุขศึกษาและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย ในสถานบริการ และออกหน่วยเคลื่อนที่ในชุมชน และในสถานประกอบการ - บริการเชิงรุกและเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และบริการตรวจคัดกรองสตรีกลุ่มเป้าหมาย จัดหาและมอบของที่ระลึกแก่สตรีที่เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และประชาสัมพันธ์โครงการฯไปสู่สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุชนให้เรับบริการมากขึ้น - กระเป๋าผ้ามีซิป (ใบ) โครงการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง เต้านม ประชุมติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ - รับทราบความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคและวางแผนงานร่วมกับทีมบริการในพื้นที่ - รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานต่อผู้บริหารสาธารณสุขในพื้นที่โครงการฯ
8
1.สิ่งที่เป็นจุดแข็ง/จุดเด่นในการดำเนินงานโครงการ
1.1 ให้ความสำคัญ, สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 1.2 บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความอนุเคราะห์ในด้านเอกสารและข้อมูลต่างๆ 1.3 บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ผู้รับผิดชอบงานมะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง เต้านม ให้ความช่วยเหลือด้วยความจริงใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี 1.4 มีการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง และมีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน 1.5 ทีมงานมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สัมพันธภาพที่ดีเอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี 1.6 บุคลากรและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ มีความตั้งใจในการทำงานให้ความทุ่มเท และอุทิศตนอย่างเต็มที่ 1.7 มีศักยภาพและความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงานสูงอยู่ในทีมงาน
9
2. ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ
2.1 บุคลากรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบภาระงาน ไม่สามารถเข้า ร่วมในการดำเนินกิจกรรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการอย่างต่อเนื่อง 2.2 มีโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ หลายโครงการเข้ามาดำเนินงานในพื้นที่ ซึ่ง ผู้รับผิดชอบงานเป็นบุคลากรกลุ่มเดียวกัน 2.3 ขาดข้อมูลด้านการดำเนินงานป้องกัน/คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็ง ปากมดลูกที่ชัดเจน 2.4 กลุ่มสตรีเป้าหมายที่เข้ามารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังต่ำกว่า เป้าหมายที่วางไว้ 2.5 นโยบายของรัฐบาล มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายในการตรวจ คัดกรอง 2.6 ขาดความชัดเจนในการเก็บและรายงานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่ไปใช้บริการตรวจคัดกรองสถานบริการอื่น(Coverage)
10
2.7 บุคลากรและเจ้าหน้าที่ในการให้บริการไม่เพียงพอ โดยเฉพาะวันที่มีการ
รณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 2.8 วันรณรงค์ของบางตำบล ตรงกับวันคลินิกของตำบลที่อยู่ในโซนเดียวกัน 2.9 ความยากในการจูงใจผู้ที่ไม่เคยตรวจ หรือผู้รับการตรวจรายใหม่ 2.10 ระบบการจัดเก็บ การลงข้อมูล และรายงานข้อมูล มีความยุ่งยากและ ซับซ้อนและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทั้งในส่วนผลงานของหน่วยบริการ ( Activity) และสถานบริการอื่น(Coverage) ยังไม่ชัดเจน 2.11 ลักษณะชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายในชุมชน มีน้อย 2.12 กลยุทธ์ในการดำเนินงานยังไม่จูงใจกลุ่มกลุ่มเป้าหมายที่เป็นโสด 2.13 อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
11
3. แนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป ตามเป้าหมายของโครงการฯ
3.1 ควรมีการกำหนดแนวทางในการเก็บและรายงานข้อมูลเป็นภาพรวมของอำเภอ 3.2 กำหนดวิธีการและเก็บข้อมูลจำนวนสตรีที่ไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จาก สถานบริการอื่น(Coverage)ให้เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ 3.3 ใช้กลยุทธ์ขายตรงหรือหาลูกทีมโดยให้ อสม. ชักชวนสตรีกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามารับ บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เช่น มีรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจ แก่ อสม. อำเภอละ 10 รางวัล(10คน) ให้ค่าตอบแทนผู้แนะนำ, ลงประชุม ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน 3.4 จับรางวัลหางบัตรสตรีที่เข้ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม อำเภอละ 15 รางวัล รวม 30 รางวัล(30 คน) 3.5 เพิ่มจำนวนครั้งในการบริการเชิงรุกในชุมชนห่างไกล และสถานประกอบการโรงงานให้ ครบทุกแห่ง หรือให้มากขึ้น 3.6 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้หมายและผลการตรวจย้อนหลัง 5 ปี ในส่วนผลงานของ หน่วยงาน (Activity)
12
3.7 สรุปผลงานและผลการตรวจเป็นรายงวด
3.8 เน้นความครอบคลุมของการตรวจในกลุ่มเจ้าหน้าที่ และ อสม. ในกลุ่มคู่สมรสของ อสม.ชาย 3.9 ลงพื้นที่ให้ความรู้/จูงใจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มย่อยในชุมชน/โรงงานและจัดให้บริการใน วันหยุด (ในบางพื้นที่) และจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยการ เห็นชอบและอนุมัติจากผู้บริหาร 3.10 ให้บริการในระดับหมู่บ้าน/ขอสนับสนุนรถโมบายจากองค์การพีเอช-เจแปน 3.11 ใช้กลยุทธ์ เพื่อนรักเพื่อน ชวนเพื่อนต้านมะเร็ง โดยการจัดหาของรางวัลจูงใจ 3.12 แนวทางการเก็บและรายงานข้อมูลผู้ที่ไปรับการตรวจจากสถานบริการอื่น โดยมี ขั้นตอนจัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ 30 – 60 ปี คัดกลุ่มที่ไปรับการ ตรวจที่ รพช. หรือ สอ.อื่นออก ทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มที่เหลือมอบให้ อสม. นำ รายชื่อไปสำรวจเพิ่มและส่งจดหมายเชิญเข้ารับการตรวจฯ
13
4. กลยุทธ์และกิจกรรมการดำเนินโครงการ
4.1 การตกแต่งดัดแปลงรถ Mini-bus ให้เป็นรถบริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เพื่อเพิ่มการ เข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของกลุ่มเป้าหมาย นอกเหนือจากการรณรงค์ประจำปีของสถานบริการสุขภาพ 4.2 การแนะนำโครงการแก่ผู้บริหารสาธารณสุข, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้นำชุมชนทั้ง ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตระหนักใน ความสำคัญของการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม, วัตถุประสงค์โครงการ และแผนการดำเนินงานโครงการ 4.3 สร้างสรรค์และผลิตสื่อความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และจัดหาอุปกรณ์ การแพทย์ที่จำเป็นในการตรวจคัดกรองแจกจ่ายแก่ รพ.สต.แล ะรพช. 4.4 จัดอบรมความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) และการ ตรวจเต้านม หลักสูตร 2 วัน พร้อมทั้งจัดทำเสื้อยืดแจกจ่าย ให้แก่พยาบาลหรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานจาก รพ.สต.แล ะรพช. ทุกคนที่เข้าอบรม
14
ปีที่ 1 อบรมพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. (หมู่ละ 4 คน) อ
ปีที่ 1 อบรมพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.(หมู่ละ 4 คน) อ.สารภี สันกำแพง ปีที่ 2 อบรมพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.(หมู่ละ 4 คน) อ.สันทราย ดสก. ปีที่ 3 อบรมพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. (หมู่ละ 4 คน) อ.หางดง สันป่าตอง 4.5 จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่แก่หญิงกลุ่มเป้าหมาย โดยประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 4.5.1 การให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และการป้องกัน 4.5.2 บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear), ตรวจเต้านม สอนและ สาธิต การตรวจเต้านมด้วยตนเอง 4.5.3 การจับสลากให้รางวัลแก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับบริการ หมายเหตุ : หน่วยบริการเคลื่อนที่สามารถให้บริการที่สถานีอนามัย หรือให้บริการแก่ กลุ่มเป้าหมายในสถานที่ อื่นๆ เช่น โรงงานหรือพื้นที่ห่างไกลอื่นๆ 4.6 จัดอบรม อสม.เชี่ยวชาญด้านมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม อำเภอละ 15 คน 4.8 ร่วมจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เนื่องในโอกาส วัน อสม.แห่งชาติในเดือนมีนาคมของทุกปี 4.9 จัดตั้งชมรมสุขภาพเพื่อนหญิงประจำอำเภอ อำเภอละ 1 ชมรม
15
4.10 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “You are what you eat และวิถีการดำเนินชีวิต
ให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็ง” สำหรับกลุ่ม อสม., สมาชิกชมรมสุขภาพเพื่อนหญิง และ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ การสาธิตการปรุงอาหารสุขภาพ และป้องกันโรคมะเร็ง โดยนักโภชนาการหรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จัดเลี้ยงอาหารเมนูสุขภาพแก่ผู้ร่วมกิจกรรม การใช้ความรู้และสุขศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 4.11 เยี่ยมติดตาม และร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ดำเนินการ ติดตาม เยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล พร้อมทั้งติดตามแผนการรักษาจากแพทย์ และเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยพร้อมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหรือ อสม. 4.12 จัดประชุมประเมินผลการดำเนินงานระยะ 6 เดือน 4.13 จัดประชุมประเมินผลการดำเนินการโครงการระยะ 1 ปี
16
5. ผู้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการ
5.1 หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี อย่างน้อย 62,552 ราย จาก ทั้งหมด 125,100 ราย ใน 6 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ 5.2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 2,648 คน จาก 662 หมู่บ้าน 5.3 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือพยาบาล จำนวน 87 คน จากโรงพยาบาล ชุมชน และสถานีอนามัยใน 6 อำเภอ
17
6. กลยุทธ์หลักในการดำเนินงาน
6.1 ใช้กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชุมชน ผ่านกิจกรรมโครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวในกลุ่มเป้าหมาย (การใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ได้จากการจัดการสนทนา กลุ่มของโครงการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่ของโครงการเดิม เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างสรรค์สื่อความรู้ และการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ ที่บุคลากร สาธารณสุข และ อสม. สามารถนำไปปฏิบัติได้) 6.2 กลยุทธ์ในการเน้นความรู้และความสามารถของ อสม. และบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ 6.3 การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และการร่วมเป็นเจ้าของโครงการ 6.4 การส่งต่อการดำเนินงานให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเมื่อสิ้นสุดโครงการ
18
7. การติดตามและการประเมินผล
7.1 รายงานการติดตามประจำเดือนจากเจ้าหน้าที่องค์การ พีเอช-เจแปน ประเทศไทย 7.2 ทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 7.3 บันทึกการให้สุขศึกษา 7.4 เวชระเบียนผู้ป่วย 7.5 รายงานการประชุมของโครงการ
19
8. Key Partners and collaborators
PHJT จะร่วมปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กับหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ 8.1 สสจ.ชม. : ที่ปรึกษาในการพัฒนาสื่อสารสอนของโครงการ และ เป็นผู้ประสานงานระหว่างองค์การ และผู้บริหารสาธารณสุขในพื้นที่ 8.2 สสอ.สารภี, สันกำแพง, สันทราย, ดอยสะเก็ด, หางดง และสันป่าตอง : ที่ปรึกษาและผู้ประสานงานกับบุคลากรสาธารณสุขใน รพ.สต. ในการส่งเจ้า จนท.เข้ารับการอบรม และการร่วมในกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 8.3 รพช.อำเภอสารภี สันกำแพง สันทราย ดอยสะเก็ด หางดง และสันป่าตอง : ที่ ปรึกษาในการพัฒนาสื่อการสอน การส่ง จนท.เข้ารับการอบรม การร่วมใน กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 8.4 โรงพยาบาลนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์มะเร็งลำปาง : ที่ปรึกษาด้านเทคนิค และการส่งวิทยากรให้ความรู้ในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
20
ประชุมวางแผนกำหนด กลวิธี/การเตรียมอุปกรณ์/ นำเสนอผู้บริหาร
ฝึกทักษะ/ความรู้/เทคนิคใน จนท., อสม.เชี่ยวชาญ/ระบบข้อมูล สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีใน พื้นที่จริง ติดตามผลการดำเนินงาน ทุกเดือน สรุปผลการ ดำเนินการทุก 6 เดือน รณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก/เต้า นมแบบแบ่งโซน/เวียน จนท. ช่วยกัน/นอกเวลา/ออกโมบาย เคลื่อนที่ ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่มาตรวจปัญหา/ อุปสรรค/กลุ่มที่ตรวจที่อื่น/นัดวันตรวจใหม่ ติดตามผลการตรวจ/ส่งต่อผิดปกติ/ติดตาม เยี่ยมบ้านผู้ป่วยมะเร็ง ชมรมเพื่อนหญิง จัดกิจกรรม “You are what you eat” และวิธีการดำเนินชีวิตให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็ง 1. ค่าตอบแทนในการค้นหาของ อสม. 2. ค่าตอบแทนนอกเวลา/อาหารกลางวัน/อาหารว่าง/เสื้อทีม 3. อุปกรณ์การตรวจโมเดลเต้านมแผ่นพับ/สื่อการสอน/ไวนิล 4.ของที่ระลึกแก่เป้าหมาย 5. อุปกรณ์ในชมรม เช่น กระทะไฟฟ้า, เบาะโยคะ 6. เงินสนับสนุนกิจกรรมในชมรม 7. สนับสนุนรถโมบาย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.