ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
2
ทบทวนคำครุ ลหุ คำครุ ครุ แปลว่า หนัก เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด และคำที่มีตัวสะกดทุกคำ รวมทั้งสระ อำ ใอ ไอ เอา ด้วย เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดอยู่ จะใช้สัญลักษณ์ “ ” แทนในแผนผังคำประพันธ์
3
ตัวอย่างคำครุ กล้ำกราย หมายถึง เขาไปปะปน ลวงเขาไปกังวล หมายถึง มีใจพะวงอยู่ เคหา หมายถึง บาน, บานเรือน, ที่อยูอาศัยไคลคลา หมายถึง เดินไป เคลื่อนไป งาว หมายถึง ดาบดามยาว จรรโลง หมายถึง ชวยใหดียิ่งขึ้น
4
ทบทวนคำครุ ลหุ (ต่อ) คำลหุ ลหุ แปลว่า เบา เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น รวมทั้ง ฤ ฦ ก็ บ่ เวลาอ่านจะออกเสียงสั้น ในแผนผังคำประพันธ์ จะใช้สัญลักษณ์ “ ”แทนคำลหุ
5
ตัวอย่างคำลหุ ทุร (ทุ-ระ) หมายถึง ยากลําบาก นร (นะ-ระ) หมายถึง คน ผิว (ผิ-วะ) หมายถึง หากว่า, แมนว่า มน (มะ-นะ) หมายถึง ใจ วร (วะ-ระ) หมายถึง ดี, ประเสริฐ ศศิ (สะ-สิ) หมายถึง ดวงจันทร์, พระจันทร์
6
สรุปหลักการพิจารณาคำครุ ลหุ
๑.พิจารณาตัวสะกด ถ้ามีตัวสะกดเป็นคำครุ (ปราชญ์) ๒.พิจารณาสระ ถ้าสระเสียงยาวเป็นคำครุ (ตา) ถ้าสระเสียงสั้นเป็นคำลหุ (เกะกะ) ๓.พิจารณาข้อยกเว้น ได้แก่ ๓.๑ คำที่ประสมสระ อำ ใอ ไอ เอา เป็นคำครุทั้งหมด ๓.๒ คำ ฤ ฦ ก็ บ บ่ เป็นคำลหุทั้งหมด
7
แบบทดสอบพิจารณาคำครุ ลหุ
คำต่อไปนี้เป็นคำครุ หรือ ลหุ ๑.บวงสรวง ๖. กำไร ๒.สิริ ๗. กุกกัก ๓.พิเคราะห์ ๘. โต๊ะ ๔.ดวงใจ ๙. อาจารย์ ๕.วิริยะ ๑๐.อุตส่าห์
8
ความรู้เรื่องฉันท์ ฉันท์ คือลักษณะคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีความไพเราะซาบซึ้ง โดยมีการกำหนดคณะครุ ลหุและสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน การแต่งฉันท์ ต้องแต่งโดยใช้คำให้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ จะแต่งโดยใช้คำเกินกว่าที่กำหนดไม่ได้ คำใดที่กำหนดไว้ว่าต้องเป็นครุ และลหุ ก็จะต้องเป็นครุ และลหุจริงๆ จะใช้ครุ ลหุผิดที่ไม่ได้ มิฉะนั้นจะถือว่าแต่งผิดฉันทลักษณ์
9
กิจกรรมช่วยกันพิจารณาฉัน(ฉันท์)ด้วย
เอกราชินีนาถ ปิยะราษฎร์เถลิงไท้ เอกมาตุรงค์ไทย สิริขวัญพระภูมี งามองค์ ธ ทรงศักดิ์ สิริลักษณ์มเหสี งามวัตรพระเทวี สิริกิติ์พิสิฐชน
10
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อินทรวิเชียรฉันท์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงาม ประดุจสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ นิยมแต่งเป็นบทเห่ชมหรือ บทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทสวดและบทพากย์โขนด้วย ตัวอย่างวรรณคดีที่แต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ เช่น สามัคคีเภทคำฉันท์ ขัตติยพันธกรณี
11
ลักษณะของอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
คณะ ๑ บท มี ๒ บาท ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ คล้ายกาพย์ยานี ๑๑ จึงเรียกว่า อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
12
ลักษณะของอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (ต่อ)
สัมผัสภายในบท คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ในบทแรก สมัผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
13
แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
14
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์จากวรรณกรรมเรื่องต่างๆ
สามัคคีเภทคำฉันท์ ภูธร ธ สังเกต พิเคราะห์เหตุ ณ ธานี แห่งราชวัชชี ขณะเศิกประชิดแดน เฉยดู บ รู้สึก และมินึกจะเกรงแกลน ฤๅคิดจะตอบแทน รณทัพระงับภัย นิ่งเงียบสงบงำ บ มิทำประการใด ปรากฏประหนึ่งใน บุรว่างและร้างคน
15
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์จากวรรณกรรมเรื่องต่างๆ (ต่อ)
ขัตติยพันธกรณี ขอเดชะเบื้องบาท วรราชะปกศี- โรตม์ข้าผู้มั่นมี มะนะตั้งกตัญญู ได้รับพระราชทาน อ่านราชนิพันธ์ดู ทั้งโคลงและฉันท์ตู ข้าจึงตริดำริตาม อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปมา
16
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์จากวรรณกรรมเรื่องต่างๆ (ต่อ)
บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธะสันดาน ตัดมูลกิเลสมาร บ่มิหม่นมิหมองมัว หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคีบ่พันพัว สุวคนธะกำจร องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร โปรดหมู่ประชากร มละโอฆะกันดาร
17
สวัสดีค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.