งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome; MERS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome; MERS)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome; MERS)

2 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
สาเหตุ : เชื้อไวรัสโคโรนา (MERS-CoV) ระยะฟักตัว : 2-14 วัน พาหะนำโรค : อูฐ/ค้างคาว การติดต่อ : การแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คน โดยผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ และการให้การดูแลสัมผัส อย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยไม่มีการป้องกันตนเอง เช่น ใส่หน้ากากอนามัย หรือล้างมือหลังสัมผัสผู้ป่วย/ น้ำมูก เสมหะ : การแพร่เชื้อระหว่างสัตว์สู่คน โดยการสัมผัส อูฐ และสัตว์จำพวกตระกูลอูฐ หรือดื่มน้ำนม ดิบจากอูฐ เช่น อัลปาก้า

3 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
อาการ ผู้ที่อาการน้อยอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆทั่วๆไป เช่น ปวดหัว เหนื่อยๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ไอไม่มาก เจ็บคอ น้ำมูก บางรายมีอาการท้องเสีย อาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการหายใจลำบาก หอบ ปอดอักเสบ ไตวาย เสียชีวิตได้ ประมาณ 20% ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ หรืออาการน้อย การรักษา : เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาที่จําเพาะ The potential for transmission from asymptomatic RT-PCR positive persons is currently unknown. Until more is known, asymptomatic RT-PCR positive persons should be isolated, followed up daily for symptoms and tested at least weekly – or earlier, if symptoms develop – for MERS-CoV. The place of isolation (hospital or home) shall depend on the health-care system’s isolation bed capacity, its capacity to monitor asymptomatic RT-PCR positive persons daily outside a health-care setting, and the conditions of the household and its occupants8.

4 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
โอกาสเสียชีวิต กลุ่มเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ผู้ที่มีประวัติสัมผัสหรือดื่มนมอูฐ ผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่ระบาด (ตะวันออกกลาง) สัมผัสผู้ป่วยเมอร์ส/สิ่งคัดหลั่ง ต่อการเสียชีวิต ผู้มีโรคประจำตัว เช่น ไต เบาหวาน อาการดีขึ้น เสียชีวิต

5

6 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง สถานการณ์ในต่างประเทศ
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ตั้งแต่กันยายน 2555 – 14 กรกฎาคม 2560 พบผู้ป่วยยืนยันรวม 2,040 ราย เสียชีวิต 712 ราย จาก 27 ประเทศ

7 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง สถานการณ์ในต่างประเทศ
ปี 2558 การระบาดใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ ปี 2557 การระบาดใหญ่ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ข้อมูลถึงวันที่ 14 ก.ค. 60 มีรายงานผู้ป่วย 2040 ราย ที่มา : WHO 20 ก.ค. 60

8 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง สถานการณ์ในประเทศซาอุดิอาระเบีย
สถานการณ์ประเทศซาอุดิอาระเบีย ตั้งแต่มิถุนายน 2555 – 2 กรกฎาคม 2560 พบผู้ป่วยยืนยัน 1,673 ราย เสียชีวิต 681 ราย หายป่วย 983 ราย อยู่ระหว่างรักษา 9 ราย พบผู้ป่วยรายใหม่สัปดาห์ละ 1-2 ราย

9 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง สถานการณ์ในประเทศไทย
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 – 20 กรกฎาคม 2560 ประเทศไทยพบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย  รายที่ 1 (18 มิ.ย.58) - ประเทศโอมาน - เพศชายอายุ 75 ปี - เดินทางกลับประเทศโอมาน 3 ก.ค. 58 รายที่ 2 (23 ม.ค.59) - ประเทศโอมาน - เพศชายอายุ 71 ปี - เดินทางกลับประเทศโอมาน 11 ก.พ. 59 รายที่ 3 (28 ก.ค.59) - ประเทศคูเวต - เพศชายอายุ 18 ปี - เดินทางกลับประเทศคูเวต 3 ส.ค. 59 ผู้ป่วยทุกรายเข้ารับการรักษาจนหายป่วย ที่สถาบันบำราศนราดูร 1 มกราคม มิถุนายน 2560 ผู้ป่วยเข้านิยามเฝ้าระวังโรคเมอร์ส 717 ราย ที่มา : SAT DDC และสำนักระบาดวิทยา

10 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง การเตรียมความพร้อมในประเทศไทย
มาตรการการเฝ้าระวัง และคัดกรอง มีการคัดกรองที่ช่องทางเข้า - ออกประเทศ / การติดตามกลุ่มเสี่ยง การเฝ้าระวังในโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐ และเอกชน และจัดทีมดูแลผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนา (ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังเดินทาง)

11 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง การเตรียมความพร้อมในประเทศไทย
สำหรับผู้ที่เดินทางไปแสวงบุญ 1. การดูแลสุขภาพก่อนการเดินทาง - อบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพ - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น และไข้หวัดใหญ่ 2. การดูแลสุขภาพขณะอยู่ในประเทศซาอุดิอาระเบีย จัดส่งหน่วยแพทย์และพยาบาล พร้อมเครื่องมือแพทย์ เดินทางไปด้วยที่เมืองมักกะห์ เมืองมาดีนะ ทุ่งมีนาและเมืองอาระฟะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย 3. การดูแลสุขภาพหลังกลับจากพิธีฮัจย์ - ติดตามสุขภาพผู้แสวงบุญเป็นระยะเวลา 1 เดือน นับจากเดินทางกลับจากซาอุดิอาระเบีย ระดับพื้นที่ มีเครือข่าย อสม.ฮัจย์ (แซะ) เป็นผู้ประสานงาน - ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ มีเครือข่ายผู้ประสานงานฮัจย์ หรือ มิสเตอร์ฮัจย์

12 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง การเตรียมความพร้อมในประเทศไทย
ควบคุมโรคป้องกันโรคอย่างเข้มข้น ประกาศเจ้าพนักงานสาธารณสุข ฉบับที่ 1/2558 (23 มิถุนายน 2558) โดยเจ้าของหรือผู้รับผิดชอบสถานพยาบาล ต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. แยกผู้ป่วย หรือผู้มีเหตุสงสัยว่าป่วยออกมาไว้ต่างหากและแจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขทันที 2. ต้องจัดให้ผู้สัมผัสโรค เช่น ญาติ เพื่อน หรือคนที่อยู่ใกล้ชิด อยู่ในสถานที่ซึ่งไม่ปะปนกับผู้อื่น 3. การเคลื่อนย้าย เปลี่ยนสถานพยาบาลต้องแจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขก่อนทุกครั้ง 4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีคำสั่ง 5. หากไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 1-4 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

13 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง การเตรียมความพร้อมในประเทศไทย
ควบคุมโรคป้องกันโรคอย่างเข้มข้น ประกาศเจ้าพนักงานสาธารณสุข ฉบับที่ 2/ (24 มิถุนายน 2558) ข้อปฏิบัติสำหรับประชาชน 1. ให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าตนเองจะป่วย หรือผู้สัมผัส ไปพบแพทย์ที่ โรงพยาบาลโดยด่วนที่สุด 2. กรณีที่มีการป่วยเกิดขึ้นหรือสงสัยว่าป่วยเกิดขึ้นในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้านแจ้งให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขภายใน 24 ชั่วโมง 3. หากผู้ป่วยหรือผู้สงสัยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

14 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
คำแนะนำสำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด 1. ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานพยาบาลในช่วงที่มีการระบาดของโรค 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอหรือจาม 3. หลีกเลี่ยงการเข้าไป หรือสัมผัสฟาร์มสัตว์ หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มน้ำนมดิบ โดยเฉพาะน้ำนมอูฐ 4. ปฏิบัติตามสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ 5. ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่น และรีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ 6. หลังกลับจากการเดินทาง หากภายใน 14 วัน มีอาการไข้ ไอ หรือเจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือโทร พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง

15


ดาวน์โหลด ppt โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome; MERS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google