ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดย栓 桂 ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ดร.จันทร์ ติยะวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดร.จันทร์ ติยะวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2
ความเป็นมาและปัญหาของการวิจัย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตราที่ 24 ได้ กำหนดแนวการจัดการศึกษาในส่วนของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยระบุให้ผู้เรียนได้ ฝึกทักษะและกระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มา ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น รักการอ่าน เกิดการใฝ่รู้อย่าง ต่อเนื่อง ผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วน สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอน สามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรู้ Thailand 4.0 Pyramid of Learning
3
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ
1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติเรื่องสมการกำลังสองในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการคณิตศาสตร์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนสุรนารีวิทยา
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 51 คน
5
การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียน ลงมือปฏิบัติ
6
สังเคราะห์จาก การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ หลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และทฤษฎีการเรียนแบบร่วมมือ
7
เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
1) ใบกิจกรรมที่เป็นปัญหาปลายเปิด 2) แบบบันทึกการสังเกตกิจกรรมการเรียนการสอน 3) แบบบันทึกเหตุการณ์ในการเรียนการสอน 4) แบบบันทึกความคิดเห็นของนักเรียนและผู้สอน 5) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 6) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) แบบประเมินกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 8) แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ 9) แบบประเมินความพึงพอใจ
8
การวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การทดสอบทีเทียบกับเกณฑ์ (t-test แบบ dependent)
9
ผลการวิจัย 1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติมี 6 ขั้น 1) การเตรียมพร้อมเพื่อการเรียนรู้(Preparation for Learning) 2) กระบวนการคิด (Process of Thinking) 3) การนำเสนอผลงาน (Presenting) 4) การสรุปองค์ความรู้ (Conclusion) 5) การนำไปใช้ (Application) และ 6) การประเมินและสะท้อนผล(Assessment)
10
2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 75%
2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ % 2.2 นักเรียนมีกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้าน การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและการนำเสนอ การเชื่อมโยง และ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สูงกว่าเกณฑ์ 75% 2.3 นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การทำงาน อย่างเป็นระบบ และความมีน้ำใจ สูงกว่าเกณฑ์ที่ 75%
11
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีมาก
คำสำคัญ : การเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน และ ความพึงพอใจ
12
กรอบแนวคิดการวิจัย
13
( One Short Case Study Design) หรือ (One Group Posttest Only Design)
แบบแผนการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบหลังสอนเทียบกับเกณฑ์ ( One Short Case Study Design) หรือ (One Group Posttest Only Design)
14
การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ครั้งที่ 1 การทดลองรายบุคคล โดยทดลองกับนักเรียน 1 คน ซึ่งมีระดับความสามารถปานกลาง เพื่อ พิจารณาเกี่ยวกับภาษา กิจกรรม และความเหมาะสมของระยะเวลาโดยผู้วิจัยจดบันทึก สังเกต ซักถาม เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข 2. ครั้งที่ 2 การทดลองกลุ่มเล็ก ผู้วิจัยแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากการทดลองครั้ง ที่ 1 จากนั้นนำไปทดลองกับนักเรียน 12 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มประกอบด้วย นักเรียนที่เรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อนในอัตราส่วน 1 : 2 : 1 โดยสังเกตนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อดูข้อบกพร่อง ในเรื่องการจัดกิจกรรม และเวลาที่ใช้เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ จากการสังเกตและสัมภาษณ์อย่าง ไม่เป็นทางการได้พบว่า นักเรียนสามารถทำใบกิจกรรมที่สร้างขึ้นได้หมด มีความเข้าใจในปัญหา ปลายเปิดและมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรม เรื่อง สมการกำลังสอง
15
3. ครั้งที่ 3 การทดลองภาคสนาม
3.1 นำข้อบกพร่องจากการทดลองกลุ่มเล็กมาปรับแก้ไข แล้วนำไปใช้กับกลุ่มใหญ่ เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา โดยได้แบ่งกลุ่มนักเรียนที่คละความสามารถตามคะแนนเดิมที่เป็นคะแนนเฉลี่ยจากชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และกำหนดให้นักเรียนตั้งชื่อทั้ง 7 กลุ่มเป็นประเภทของขนมไทย ผลการนำไปใช้ พบว่านักเรียนสามารถปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 6 ขั้นด้วยดีและเกิดผลงานประจักษ์ มีความพึงพอใจกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงมาแล้วนี้ 3.2 นำการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการปฏิบัติการสอนจริงกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนสุรนารีวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 51 คน ใช้เวลา 9 ชั่วโมง โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติมี 6 ขั้น
16
สรุปผลการวิจัย 1.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ มี 6 ขั้นได้แก่ การเตรียมพร้อมเพื่อการเรียนรู้ (Preparation for Learning) 2) กระบวนการคิด (Process of Thinking) 3) การนำเสนอผลงาน (Presentation) 4) การสรุปองค์ความรู้ (Conclusion) 5) การนำไปใช้ (Application) และ 6) การประเมินและสะท้อนผล (Assessment and Reflection) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและนำเสนอ การ เชื่อมโยง และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ ความ รับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การทำงานอย่างเป็นระบบ และความมีน้ำใจ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ สูง กว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีมาก
17
อภิปรายผล พระราชบัญญัติฯ2542 ชิ้นงาน (Tasks)
ตอบปัญหาปลายเปิด(Open Ended Problems) Polya การเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ (Active Learning) สมรรถนะสำคัญ 5 อย่าง
18
ข้อเสนอแนะ 1. ครูควรเน้นการทำความเข้าใจในปัญหาปลายเปิดและการผลิตชิ้นงานในแต่ละขั้นการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนของนักเรียน เพื่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ 2. การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้ตรงวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษาและสอดคล้องกับการ ประเมินตามสภาพจริง ในขั้นการนำเสนองานนั้นไม่เฉพาะแต่นำเสนอโดยประกอบชิ้นงานในแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด แต่ควรประยุกต์ให้มีการนำเสนอที่หลากหลายกว่านี้ เช่นการนำเสนอด้วย power point ซึ่งเป็นการแสดง ถึงการใช้สมรรถนะทางเทคโนโลยี 3. ครูควรมีการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญนี้เพื่อส่งเสริมการคิดของ นักเรียนในวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆที่นอกเหนือจากคณิตศาสตร์ เนื่องจากสามารถประเมินได้ครบทั้ง 3 ด้านคือด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะและกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4. การจัดการเรียนรู้นี้ไม่เพียงแต่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเท่านั้น สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในหลักสูตรอบรมครูบรรจุใหม่ หรือหลักสูตรการพัฒนาตนเองให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น
19
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.