ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รายวิชา 0606 114 ทักษะนาฏยศิลป์ไทย 2 (Thai Dance Skills 2)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุรารมย์ จันทมาลา อาจารย์ธัญลักษณ์ มูลสุวรรณ
2
คําอธิบายรายวิชา (ภาษาไทย) ประวัติความเป็นมา ฝึกปฏิบัติการนาฏยศิลป์ไทยใน รูปแบบรำหมู่ และรำมาตรฐาน (English) History and practice of Thai dance in the styles of group dance and standard dance
3
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
จุดมุ่งหมายของรายวิชา เพื่อให้นิสิตรู้หลักและวิธีปฏิบัติทักษะของนาฏยศิลป์ไทยที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็น เอกลักษณ์ของนาฏยศิลป์ไทยประเภทรำหมู่ และรำเบ็ดเตล็ด วัตถุประสงค์ หลังเรียนจบวิชานี้แล้ว ผู้เรียนสามารถ อธิบายประวัติความเป็นมาของรำหมู่ และรำมาตรฐาน อธิบาย หลัก และวิธีปฏิบัติรำหมู่ และรำมาตรฐาน อธิบายท่ารำประกอบการแสดงรำหมู่ และรำมาตรฐาน วิเคราะห์ความงามและคุณค่าของนาฏยศิลป์ไทยได้
4
ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลา ตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็น องค์ประกอบในการร่ายรำ นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบ การแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ โขน
5
1 . โขน เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่ เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การ เจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่ นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบ เครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่น เครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญ ได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ
6
2. ละคร เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมี เอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็น ทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่อง ที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของ พระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและ งานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
7
3. รำ และ ระบำ เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็น เรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมี ความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้ รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็น เรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้อง ต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำ แม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น
8
Ram Ram refers to showing aiming at the graceful of dancing
Ram Ram refers to showing aiming at the graceful of dancing. It shows the dancer cadence post by using hands as the main performance. It can be the single dancing, the double dancing (two persons dancing) or the group dancing with the cadence, style and post of moving according to the song and music rhythm. Dancing is the important part in Thai Drama such as ChuiChaipraham, Ramouiporn, Ramwongmatrathan.
9
3.2 ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการ คล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้อง ประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่ พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น
10
Rabam (Dancing) Rambam refers to set or group dancing. The dancers show the same dancing post together. The graceful dancing show is all together joining in line. Showing performs with the song and without the song by using only the music. Dancing can be divided into 2 types i.e. the standard dancing and the applied dancing.
11
ประเภทของระบำ ประเภทของระบำ จำแนกออกเป็น ๒ ประเภท คือ ระบำมาตรฐาน ระบำปรับปรุง ๑. ระบำมาตรฐาน คือ ระบำที่ปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ไว้อย่างสวยงาม สอดคล้องกับบทร้อง และการบรรเลงเหมาะสมเป็นแบบ ฉบับ เมื่อนำไปแสดงจะต้อง รักษาไว้ซึ่งท่ารำที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ไม่ควร นำไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติม การแต่งกายนิยมแต่งแบบ “ยืนเครื่อง” พระ-นาง การแสดงระบำมาตรฐานมีด้วยกันหลาย ชุด เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤษดาภินิหาร ระบำดาวดึงส์ ระบำเทพบันเทิง ระบำย่องหงิด เป็นต้น
12
ที่มาของภาพ : หนังสือวิพิธทัศนา, สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๑๒๔)
ระบำดาวดึงส์ ที่มาของภาพ : หนังสือวิพิธทัศนา, สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (๒๕๔๒, ๑๒๔)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.