องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
4 พฤษภาคม 2560 โรงแรมริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี

2 เนื้อหา 1. นิยาม 2. ลักษณะสำคัญ 5 ประการ "The fifth Discipline“ 3
เนื้อหา 1. นิยาม 2. ลักษณะสำคัญ 5 ประการ "The fifth Discipline“ 3. LOLe Model 4. กรณีตัวอย่าง

3 นิยาม มาร์ควอตส์ Michaek Marquardt (1994) องค์กรแห่งการเรียนรู้ : องค์กรซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต มีการสอนบุคลากร ให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้เข้าใจในสรรพสิ่ง สามารถเรียนรู้จัดการและใช้ความรู้เป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 นิยาม (ต่อ) ปีเตอร์เชงกี้ Peter M. Senge(Senge , 2000 : 19) “Learning in organization means the continuous testing of experience, and the transformation of that experience into knowledge accessible to the whole organization, and relevant to its core purpose.” “องค์กรที่บุคลากรภายในองค์กรได้ขยายความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่มบุคคล และระดับองค์กร เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่บุคคลในระดับต่างๆ ต้องการอย่างแท้จริง เป็นองค์กรที่บุคลากรมีความคิดใหม่ๆและการแตกแขนงของความคิด ได้รับการยอมรับเอาใจใส่เป็นองค์กรที่บุคลากรในองค์กรมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งองค์กร”

5 นิยาม (ต่อ) ฮอย และมิสเกล (Hoy and Miskel, 2001 : 23)
องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ องค์การที่สมาชิกได้พัฒนาขยายขีดความสามารถของตนเพื่อการสร้างสรรค์งานและการบรรลุเป้าหมายของงาน ซึ่งแนวคิดแปลกใหม่ได้รับการกระตุ้นให้มีการแสดงออก แรงบันดาลใจของสมาชิกได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม สมาชิกในองค์การได้เรียนรู้ถึงวิธีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งองค์การได้มีการขยายศักยภาพเพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง

6 นิยาม (ต่อ) ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) องค์การเอื้อการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamics) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้าน ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์การในลักษณะที่เรียกว่าวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยว ข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้

7 นิยาม (ต่อ) สรุป องค์การแห่งเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์การที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกันและพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน

8 ลักษณะสำคัญ 5 ประการ "The fifth Discipline" ปีเตอร์เชงกี้ (Senge)
รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ PerterSenge

9 "The fifth Discipline“ (ต่อ)
1. ระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking)  : มีความสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ มองเห็นภาพความสัมพันธ์ อย่างเป็นระบบ (Total System) ได้อย่างเข้าใจและมีเหตุมีผล และ สามารถมองเห็นระบบย่อย (Subsystem) ซึ่งนำไปใช้วางแผนและ ดำเนินการให้เสร็จทีละส่วนได้ เห็นทั้งป่า และเห็นต้นไม้แต่ละต้น (See Wholes instead of part, See the forest and the trees)

10 "The fifth Discipline“ (ต่อ)
2.  การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery) : มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศและรอบรู้ใฝ่หาที่จะเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อไปถึงเป้าหมาย - สร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) เมื่อลงมือกระทำ และมุ่งมั่นสร้างสรรค์ - มุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Attention) - ใช้ข้อมูลจริง เพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) - พัฒนาการฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน

11 "The fifth Discipline“ (ต่อ)
3.  รูปแบบความคิด (Mental Model) : แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ จากการสั่งสมประสบการณ์ กลายเป็นกรอบความคิด ทำให้สามารถทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจ ในเรื่องต่างๆได้อย่างเหมาะสม เรียกว่า “วุฒิภาวะ” (Emotional Quotient, EQ) แสดงออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ 1)  เจตคติ 2)  ทัศนคติ   )  กระบวนทัศน์

12 "The fifth Discipline“ (ต่อ)
4. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์กร (Shared Vision) : การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กรให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดการรวมพลังของคนในองค์กรที่มีความคาดหวังต่อ ความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันของคนทั้งองค์การ

13 "The fifth Discipline“ (ต่อ)
5. การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning )  : การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงาน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ทักษะและวิธีคิด มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดข้อมูลระหว่างกันและกัน ทั้งในเรื่องของความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มาจากการค้นคิด หรือจากภายนอกและภายในองค์กร และการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นทีม

14 LOLe Model (แบบภาวะผู้นำองค์กรแห่งการเรียนรู้)

15 LOLe Model การขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปสู่ความสำเร็จ ของLeadership (ผู้นำ) และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทุกระดับ ต้องมี 1. มีวิสัยทัศน์องค์กรร่วมกัน (Vision) 2. มีปัญญารอบรู้ในภาระงาน (Intelligence) 3. มีความสามารถในการปฏิบัติงาน (Competency) 4. มีความจริงใจทั้งต่อคนและต่อองค์กร (Honesty) 5. มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ (Integrity) 6. มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Accountability) 7. มีความเด็ดขาด แน่วแน่ (Decisiveness)

16 LOLe Model 1. มีวิสัยทัศน์องค์กรร่วมกัน (Vision)
ผู้นำและทีมบุคลากร เห็นเป้าหมายองค์กร ร่วมกัน และ 1.  มองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวันนี้ และที่จะมีผลไปข้างหน้า 2. คาดเดาอนาคตได้ตรงกับความเป็นจริง ด้วยการมองครบทุกมิติ 3.  มองเห็นการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภายนอกและภายใน “ จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ” 4.  คิดสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ ไม่ยึดติด 5.  เมื่อนำไปใช้ ต้องได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

17 LOLe Model 2. มีปัญญารอบรู้ในภาระงาน (Intelligence) ความรอบรู้อย่างชัดเจนในความสามารถเฉพาะตัว - ความรอบรู้อย่างชัดเจนในงานที่รับผิดชอบ 3. มีความสามารถในการปฏิบัติงาน (Competency) 3.1 ความสามารถทางเทคนิคและวิธีการ (Technical) 3.2 ความสามารถในขอบข่ายของหน้าที่ (Cross – Functional) 3.3 ความสามารถเกี่ยวกับการวิเคราะห์ (Analytical Ability) 3.4 ความสามารถในการใช้ความยุติธรรมอย่างมีเหตุผล (Reasoned Judgment)

18 LOLe Model 4. มีความจริงใจทั้งต่อคนและต่อองค์กร (Honesty)
- มีความจริงใจต่อการงานที่รับผิดชอบ ไม่ทอดทิ้งงาน ทำงานด้วยความสนุก - มีเป้าหมายความสำเร็จที่ชัดเจน - มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงานในองค์กร 5. มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ (Integrity) มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ตั้งใจปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น และมีคุณธรรม

19 6. มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Accountability)
6.1  สามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และหรือตัวชี้วัดได้ 6.2  ยินดี เต็มใจ เสียสละเสนอตัวช่วยเหลืองานโดยไม่หวังผลตอบแทน 6.3  สามารถอธิบายความคืบหน้าตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของตนเองได้ 7. มีความเด็ดขาด แน่วแน่ (Decisiveness) - ผู้นำมีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ถูกต้อง และมีเหตุผล ทำให้ - ทีมบุคลากรเกิดความมั่นใจ มีความเชื่อถือ และสามารถทำงานได้โดยไม่สะดุดบ่อยๆ

20 การใช้มาตรฐานอ้างอิง (Benchmarking)
กลยุทธ์ที่นำมาใช้ในองค์การเพื่อให้สมาชิกในองค์การเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่องได้แก่ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การใช้มาตรฐานอ้างอิง (Benchmarking) การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management)

21 กรณีตัวอย่าง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รวบรวมความรู้ในส่วนต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เข้าสู่ระบบดิจิตอล และรวบรวมแหล่งความรู้จากเวปต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับบุคลากร นักศึกษา และประชาชนสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งอาจจะเป็นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต

22 บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง
แยกความรู้ออกเป็นกลุ่มๆ เนื่องจากแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน เช่นในส่วนเทคนิคระดับสูงจะจัดวิศวกรที่มีความสนใจร่วมกัน 4 คนต่อทีมมาทำงานร่วมกับวิศวกรอาวุโสที่มีชั่วโมงการทำงานสูงแต่อาจจะมีโอกาสเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆน้อยในกลุ่มมีกิจกรรมสอนงานประชุม หารือแลกเปลี่ยนความรู้และวิเคราะห์ปัญหาต่างๆความรู้ที่ได้หรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ จะถูกรวบรวมเป็นคู่มือหรือบทความเข้าระบบศูนย์ข้อมูลเพื่อให้พนักงานทุกคนมาศึกษาได้

23 GE (General Electric) เรียนรู้จากภายนอกโดยได้เก็บข้อร้องเรียนของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลและจัดทำข้อมูลปัญหาที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น 1.5 ล้าน เพื่อนำข้อมูลทั้งข้อร้องเรียนข้อเสนอแนะจากภายนอกมาศึกษาวิเคราะห์นำไปคิดค้นหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นและเป็นโอกาสที่จะนำข้อเสนอแนะไปคิดประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆมาตอบสนองผู้บริโภคเป็นการก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้ได้เปรียบผู้แข่งขัน

24 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google