งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 นายเนติรัช พนัสอัมพร 09/23/98 สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ MENU STOP

2 เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
23/02/62 เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ 1. ให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ การดำเนินการต่างๆ ของรัฐ 2. กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ที่หน่วยงานของรัฐไม่ต้องเปิดเผยหรืออาจไม่เปิดเผย 3. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ใน ความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ 2 2

3 หลักการของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
- ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย - เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น - ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

4 บทบัญญัติของกฎหมาย - หลักทั่วไป
- หลักทั่วไป - หมวด 1 : ข้อมูลข่าวสารทั่วไป & การเปิดเผย - หมวด 2 : ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย - หมวด 3 : ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล - หมวด 4 : เอกสารประวัติศาสตร์ - หมวด 5 : คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ - หมวด 6 : คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร - หมวด 7 : บทกำหนดโทษ - บทเฉพาะกาล 4

5 นิยามความหมาย ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หน่วยงานของรัฐ

6 ข้อมูลข่าวสารของราชการ
นิยาม/คำสำคัญ มาตรา 4 ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง : สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือ สิ่งใดๆ โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใดๆ เช่น เอกสาร แผนที่ ภาพ เป็นต้น ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายถึง : ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของ หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือข้อมูลข่าวสารของเอกชน

7 หน่วยงานของรัฐ - ราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ)
23/02/62 - ราชการส่วนกลาง (กระทรวง กรม) - ราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ) - ราชการส่วนท้องถิ่น (อบต. อบจ. เทศบาล กทม. พัทยา) - รัฐวิสาหกิจ (กฟผ. ปตท. ธอส. ธกส. ฯลฯ) - ราชการสังกัดรัฐสภา (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) 7 7

8 หน่วยงานของรัฐ (ต่อ) 23/02/62 - ศาลเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี(สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง) - องค์กรควบคุมประกอบวิชาชีพ (สภาทนายความ แพทยสภา สภาวิชาชีพบัญชี ฯลฯ) - หน่วยงานอิสระ (สตง. กกต. ป.ป.ช. ฯลฯ) - หน่วยงานอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง 8 8

9 ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
นิยาม/คำสำคัญ มาตรา 4 (ต่อ) คนต่างด้าว หมายถึง : บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และ ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

10 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ของราชการ

11 ข้อมูลข่าวสารของราชการ ส่งให้หอจดหมายเหตุ (มาตรา 26)
หน้าที่และวิธีดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อมูลข่าวสารของราชการ ลงพิมพ์ ในราชกิจจาฯ (มาตรา 7 ) เรื่องที่ต้องให้รู้ ส่งให้หอจดหมายเหตุ (มาตรา 26) เอกสารปวศ. จัดให้ประชาชน เข้าตรวจดู ( มาตรา 9 ) เรื่องที่สนใจ จัดให้ เฉพาะราย ( มาตรา 11 ) เรื่องที่อยากรู้

12 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 7
ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา 1. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน 2. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน * เพื่อให้ประชาชนได้รู้ถึงบทบาทที่แท้จริงของ แต่ละหน่วยงาน * รู้ถึงวิธีการหรือกระบวนการทำงาน

13 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯตามมาตรา 7 (ต่อ)
3. สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการ ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ * เป็นการเพิ่มความสะดวกแก่ประชาชน เพื่อทราบว่าจะไปติดต่อได้ที่ใด จุดใด 4. หลักเกณฑ์ที่มีสภาพอย่างกฎมีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชน (กฎ หมายถึง พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ) กฎ ที่มีผลเฉพาะต่อเจ้าหน้าที่ในองค์กร เช่น กฎระเบียบ ขั้นตอน วิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผลต่อเอกชนเป็นการทั่วไปไม่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา)

14 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานจะต้องรวบรวมไว้ให้ ประชาชนเข้าตรวจดู 1. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน ได้แก่ การอนุญาต อนุมัติ การวินิจฉัย การอุทธรณ์ ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เช่น * คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ตาม พรบ ควบคุมอาคาร กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งไม่อนุญาตคำขอ * ผลการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตตาม พรบ. สุราฯ * คำสั่งไม่อนุญาตให้ตั้งท่าเรือ คำสั่งพักใบอนุญาต หรือ ถอนใบอนุญาตของกรมการขนส่งทางน้ำ

15 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯตามมาตรา 9 (ต่อ)
2. นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายที่ต้องลงพิมพ์ ตามมาตรา 7(4) - นโยบาย ที่เป็นแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่จะเกิด เป็นผลปฏิบัติได้จริง เช่น * นโยบายพลังงานแห่งชาติ * นโยบายตำรวจแห่งชาติ * นโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ * นโยบายการผังเมืองแห่งชาติ - การตีความการใช้กฎหมายที่ไม่เข้าข่ายเป็นกฎ ตาม 7(4) แต่อาจมี ผลต่อเอกชน

16 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
3. แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของปีที่กำลัง ดำเนินงาน * แผนงาน โครงการ ที่เป็นที่มาของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และรวมถึงแผนการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วย เพราะเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงการใช้จ่ายงบประมาณด้วย 4. คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของ จนท.ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบ ถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน (ใช้กฎหมาย/ระเบียบใดในการปฏิบัติงานเอามาจัดด้วย) * คู่มือการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้าย หรือ รื้อถอนอาคาร ตาม พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 * คู่มือการขอประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นต่างๆ (ชั้นตำรวจ ชั้นศาล)

17 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
5. สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง ถ้ามีการจัดพิมพ์เผยแพร่ไว้จำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำลงพิมพ์ในราชกิจจาฯ ทั้งหมด ลงพิมพ์แต่เพียงว่า ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวแล้ว โดยอ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่มีการเผยแพร่แล้วไว้ในราชกิจจาฯด้วย กฎหมายจึง กำหนดให้ต้องนำสิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงในราชกิจจาฯ ต้องนำมารวมไว้เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ด้วย เช่น * ประกาศ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ฉบับที่ 42 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี

18 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
6. สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาด ตัดตอน หรือลักษณะร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ * สัญญาสัมปทาน คือ สัญญาที่ผู้รับสัมปทานได้รับมอบหมายจากรัฐให้เป็นผู้จัดทำให้มีการบริการสาธารณะ โดยผู้รับสัมปทานลงทุนเอง รับความเสี่ยงภัยเอง ซึ่งผู้รับสัมปทานมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการ เมื่อหมดสัญญาแล้วสิ่งก่อสร้างต่างๆ จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ สัญญาสัมปทานในประเทศ มี 2 ประเภท 1) สัญญาสัมปทานบริการสาธารณะ เช่น การเดินรถประจำทาง ทางด่วน 2) สัญญาสัมปทานการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น สัญญาสัมปทานการทำเหมืองแร่ การทำไม้ เก็บรังนก 18

19 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
* สัญญาผูกขาดตัดตอน คือ สัญญาที่ให้สิทธิเอกชนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้แต่เพียงผู้เดียว เช่น สัญญาให้ผลิตสุรา (สัญญาจ้างยามขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นสัญญาผูกขาดตัดตอน หรือไม่) * สัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ คือ กิจการที่เป็นของรัฐแต่มีการร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำ เช่น สัญญาให้บริการโทรศัพท์ ( อคส. ดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง และได้ทำสัญญาฝากเก็บ แปรสภาพ และช่วยจัดจำหน่ายข้าวกับโรงสี โดยโรงสีที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้มีวิชาชีพเชี่ยวชาญโดยเฉพาะใน การประกอบกิจการโรงสีข้าว และต้องเป็นผู้มีความเข้าใจและมีความสามารถที่จะดำเนินการร่วมกับรัฐในการเพิ่ม ความต้องการในตลาดซื้อขายข้าวเปลือก ซึ่งเป็นวิธีการเพื่อหาผู้มาร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะกับรัฐ และ จะต้องปฏิบัติต่อเกษตรกรเช่นเดียวกับที่ อคส. พึงปฏิบัติ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เห็นว่า สัญญาฝากเก็บ แปรสภาพ และจัดจำหน่ายข้าวระหว่าง อคส. กับ โรงสี เป็นสัญญาเข้าร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ และเป็นสัญญาทางปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ 4/2552) 19

20 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
ข้อสังเกต บางสัญญาที่รัฐทำขึ้นแม้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 3 สัญญาตาม มาตรา 9 (6) หากสัญญานั้นเป็นสัญญาที่ได้รับอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างแล้ว พ.ร.ฎ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ มาตรา 44 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยสัญญาดังกล่าวด้วย เช่น สัญญาจ้างทำความสะอาด สัญญาจ้างถ่ายเอกสาร เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ สขร. จึงกำหนดในแบบประเมินการเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารต้นแบบว่า หน่วยงานที่สมัครต้องแยกสัญญาดังกล่าวใส่แนบท้ายมาตรา 9 (6) ในหัวข้อ สัญญาอื่นๆ 20

21 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
7. มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย และแต่งตั้งโดยมติ ค.ร.ม. 7.1 มติ ค.ร.ม 7.2 มติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย เช่น * มติ กขร. * มติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย 7.3 มติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี * มติ คณะกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำ

22 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9
8. ข้อมูลอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก และมีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อมูลฯที่ประชาขนควรได้รู้ในช่วงเวลาปัจจุบันอาจจะแตกต่างไปจากช่วงเวลาในอนาคต การที่กฎหมายให้อำนาจ กขร. เพื่อที่จะสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ว่าข้อมูลข่าวสารใดที่หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดมารวมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้

23 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9(8) (ต่อ) 8. ข้อมูลข่าวสารตามที่ คณะกรรมการกำหนด 8.1 ประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคาที่หัวหน้า ส่วนราชการลงนามแล้ว (21 ต.ค. 2542)

24 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (8) (ต่อ) 8. ข้อมูลข่าวสารตามที่คณะกรรมการกำหนด 8.2 สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน ตามแบบ สขร.1 (ประกาศวันที่ 16 ม.ค มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มี.ค. 2558)

25 มติคณะรัฐมนตรี 28 ธันวาคม 2547
23/02/62 มติคณะรัฐมนตรี 28 ธันวาคม 2547 ให้นำประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคา ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน เผยแพร่ผ่าน website ของหน่วยงาน 25 25 25

26 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (8) (ต่อ) 8. ข้อมูลข่าวสารตามที่คณะกรรมการกำหนด 8.3 เอกสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (7 มิ.ย. 2553) เช่น ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของบริษัทเอกชนในพื้นที่ เป็นต้น

27 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (8) (ต่อ) 8. ข้อมูลข่าวสารตามที่คณะกรรมการกำหนด 8.4 ข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใสและตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐ (27 ม.ค. 2559) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของหน่วยงาน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณของหน่วยงาน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงาน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน

28 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
มติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0405/ว 57 ลงวันที่ 29 เมษายน ให้นำข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 7 และมาตรา 9 เผยแพร่ ในเว็บไซต์ของหน่วยงาน

29 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนตรวจดู ถ้ามีส่วนที่ต้องห้าม มิให้เปิดเผยตามมาตรา 14 และมาตรา 15 ให้ลบหรือตัดทอนหรือประการอื่นที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น บุคคลไม่ว่ามีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนา ของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้ คนต่างด้าวมีสิทธิเพียงใด เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

30 วิธีการในการจัดการข้อมูลข่าวสารให้ประชาชน เข้าตรวจดู (ต่อ)
วางหลักเกณฑ์การเรียกค่าธรรมเนียมในการขอสำเนา หรือ สำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องก็ได้ โดยต้องขอความเห็นชอบจาก กขร. ก่อน ทั้งนี้ควรคำนึงถึงผู้มีรายได้น้อย ประกอบด้วย * ประกาศฯ 7 พ.ค : ค่าธรรมเนียมการทำสำเนาโดย เครื่องถ่ายเอกสารขนาดกระดาษ A4 หน้าละไม่เกิน 1 บาท รับรองสำเนาถูกต้องคำรับรองละไม่เกิน 5 บาท

31 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 11
เป็นการจัดข้อมูลข่าวสารให้ตามที่มีผู้มาขอยื่นคำขอกับ หน่วยงานของรัฐ ผู้ขอต้องระบุคำขอข้อมูลให้เข้าใจได้ตามควร 1. หน่วยงานจัดให้ ภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ขอจำนวน มาก หรือ บ่อยครั้ง 2. ถ้าไม่มี ให้แนะนำไปยื่นที่อื่น 3. ข้อมูลที่หน่วยงานอื่นจัดทำและห้ามเปิดเผย ให้ส่งคำ ขอให้หน่วยงานอื่นพิจารณา

32 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๓๘ กำหนดให้ เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผลการดำเนินการ ให้ประชาชนผู้สอบถามทราบ ภายใน ๑๕ วัน”

33 มติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๗
กรณีประชาชนขอข้อมูลข่าวสาร และหน่วยงานรัฐมีพร้อมอยู่แล้วให้ดำเนินการโดยเร็ว หรือภายในวันที่ขอ ถ้าขอมากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน ให้แจ้งผู้ขอทราบภายใน ๑๕ วัน และแจ้งกำหนดวันแล้วเสร็จด้วย

34 การใช้สิทธิร้องเรียน
ขั้นตอนการร้องเรียนตามมาตรา 13 หรือมาตรา 33 1. พิจารณาว่าพฤติการณ์หรือการปฏิบัติของหน่วยงาน ของรัฐมีลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ (1) ไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารลงในราชกิจจานุเบกษา (2) ไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดู (3) ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ (4) ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า (5) ปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลตามที่ขอและผู้ขอไม่เชื่อ มาตรา 33 (6) ไม่อำนวยความสะดวก 2. ยื่นหนังสือร้องเรียน 3. รอฟังผลการพิจารณา

35 หากแจ้งว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๓๓
และข้อมูลดังกล่าวเป็นเอกสาร เอกสาร = หนังสือราชการ ดังนั้น หน่วยงานที่ถูกร้องเรียนต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ เรื่องหลักเกณฑ์การรักษาหนังสือราชการ และการทำลายหนังสือราชการ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๘/ว ๑๑๙๑ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ กล่าวคือ ต้องตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในกรณีเอกสารสูญหายด้วย

36 ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อผู้อื่น
หากเปิดเผยข้อมูลที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใดให้แจ้งผู้นั้นคัดค้านการเปิดเผยภายในกำหนด การไม่รับฟังคำคัดค้าน ทำให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ (มาตรา 17)

37 คัดค้านการเปิดเผย มาตรา 17 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน หรือผู้ที่ทราบว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตน มีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ

38 คัดค้านการเปิดเผย (ต่อ)
ในกรณีที่มีการคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องพิจารณา คำคัดค้านและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่คำสั่งไม่รับฟ้งคำคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารนั้นมิได้จนกว่าจะล่วงพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์ตามมาตรา 18 หรือจนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มีคำวินิจฉัย ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้ แล้วแต่กรณี Sub Menu MENU END

39 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความ เสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (มาตรา 14)

40 ข้อมูลข่าวสารที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ ที่มีลักษณะดังนี้ กระทบความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ หรือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจฯ ทำให้การบังคับใช้กฎหมาย เสื่อมประสิทธิภาพ เป็นความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงาน เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือความปลอดภัยบุคคล รายงานทางการแพทย์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่การ เปิดเผยอาจเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลเกินสมควร กฎหมายหรือผู้ให้ข้อมูลกำหนดมิให้เปิดเผย

41 ข้อมูลข่าวสารที่อาจไม่ต้องเปิดเผย
ใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ ประกอบกัน 1) การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ 2) ประโยชน์สาธารณะ 3) ประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง

42 ทั้งนี้ ผู้มีอำนาจให้เปิดเผย ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ครอบครอง / ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสาร นั้น
กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ ลว.30 มิ.ย ) ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ขึ้นไป 5) ผู้บริหารท้องถิ่น ปลัด อบจ. ปลัดเทศบาล ปลัด อบต.

43 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

44 ความหมาย “ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ” (ม. 4 วรรคที่ห้า) สิ่งเฉพาะตัว
“ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ” (ม. 4 วรรคที่ห้า) ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ __________ ของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือ ______________ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย สิ่งเฉพาะตัว สิ่งบอกลักษณะอื่น

45 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล : องค์ประกอบ
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล : องค์ประกอบ ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่ง เฉพาะตัวของบุคคล ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล มีสิ่งบอกลักษณะ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้

46 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล สิ่งที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้น
สิ่งเฉพาะตัวบุคคล สิ่งที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้น เช่น เช่น ฐานะการเงิน ชื่อ-นามสกุล การศึกษา ลายพิมพ์นิ้วมือ ประวัติสุขภาพ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง ประวัติอาชญากรรม รูปภาพ ประวัติการทำงาน ฯลฯ

47 การปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา ๒๓)
จัดให้มีเท่าที่เกี่ยวข้อง / จำเป็น และยกเลิก เมื่อหมดความจำเป็น เก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูล จัดพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

48 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง : เจ้าของมีสิทธิ ๑๐๐ % ข้อมูลของผู้อื่น : ห้ามเปิดเผย มีข้อยกเว้นให้เปิดเผยได้ตาม ม.๒๔ เจ้าของข้อมูลยินยอมเป็นหนังสือ

49 ข้อยกเว้น ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 24)
 ต่อ จนท.ในหน่วยงานนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่  การใช้ข้อมูลตามปกติ  ต่อ หน่วยงานที่ทำงานด้านแผน/การสถิติ  ต่อ หอจดหมายเหตุฯ เพื่อการตรวจดูคุณค่า  การใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย  กรณีจำเป็นเพื่อป้องกัน/ระงับอันตรายต่อชีวิต/สุขภาพ  ต่อ ศาล และ จนท. หน่วยงาน /บุคคลที่มีอำนาจตาม กม.  ต่อ จนท. เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม กม.

50 สิทธิได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ม.๒๕
สิทธิได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ม.๒๕ สิทธิในการขอตรวจดู หรือได้รับสำเนา สิทธิในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือ ลบข้อมูลข่าวสารของตน สิทธิในการอุทธรณ์ กรณีหน่วยงานไม่ลบหรือเปลี่ยนแปลงตามคำขอ (ภายใน ๓๐ วัน)

51 การใช้สิทธิอุทธรณ์ อุทธรณ์ได้ 3 กรณี
1. ยื่นคำขอแล้วหน่วยงานไม่เปิดเผย (ม. 18) 2. เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำคัดค้าน (ม. 17 วรรคสาม, ม.18) 3. หน่วยงานรัฐไม่แก้ไขข้อมูลส่วนบุคลตามคำขอ (ม 25 วรรคสี่)

52 กรณีใดที่ พ.ร.บ. ขัอมูลข่าวสารฯ กำหนดให้ต้องร้องเรียน หรืออุทธรณ์ก่อน หากยังไม่ได้ร้องเรียนหรืออุทธรณ์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๔๒ วรรคสอง ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะการฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวและได้สั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

53 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google