ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยGizela Černá ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 1 บทนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา วิธิการทางปรัชญา
การตั้งคำถามทางปรัชญา คุณค่าของปรัชญา
2
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา
1.1 ความหมายทาง “ ปรัชญา” มาจากคำอังกฤษว่า Philosophy philosophy มาจากรากคำ2คำคือ philia+sophia philia= Love sophia= wisdom รวมกัน แปลว่า รักในความรู้ เพลโต(plato)= ศาสตร์ที่มุ่งจะรู้สิ่งที่นิรันดรและธรรมชาติและเป็นสารัตถะของสิ่งทั้งหลาย อริสโตเติ้ล(Aristotle)= ศาสตรืสืบค้นถึงธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่จริงตลอดจนลักษณะของสิ่งนั้นโดยอาศัยธรรมชาติของมันเอง
3
ค้านท์ (Kant) = ศาสตร์และการวิจารณ์ความรู้
(Every indioidual has a philosophy, even though he or she may not be aware of it)
4
2. ประเภทของปรัชญา แบ่งเป็น2 ประเภทคือ
2. ประเภทของปรัชญา แบ่งเป็น2 ประเภทคือ ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) และ ปรัชญาประยุกต์ (Applied philosophy) ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy แบ่งออกเป็น5สาขา อภิปรัชญา(Metaphysics)- ว่าด้วยเรื่องความเป็นจริงหรือความจริงแท้ (reality) ของโลกและจักรวาลตลอดจนธรรมชาติของมนุษย์ ญาณวิทยา(Epistemology)-ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ ความเป็นไปได้ของความรู้ สิ่งที่ทำให้ความรู้เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้
5
3. จริยศาสตร์ Ethics - ว่าด้วยค่าทางจริยธรรม ความดีสูงสุดสำหรับมนุษย์ และเกณฑ์ตัดสินจริยธรรม 4. สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) - ว่าด้วยความงาม สิ่งงาม ศิลปะ โยงถึงปรัชญาความงาม (Philosophy of beauty) 5.ตรรกศาสตร์(Logic) - การใช้เหตุผล การอ้างเหตุผล การตรวจสอบ การอ้างเหตุผลว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ และข้อบกพร่องของการอ้างเหตุผล 6 ปรัชญาประยุกต์ (Applied philosophy) - นำปรัชญาบริสุทธิ์ไปประยุกต์เข้ากับเนื้อหาของศาสตร์ต่างๆ เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาสังคม ปรัชญาศาสนา ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
6
2.วิธีการทางปรัชญา ตั้งข้อสงสัย(Doubt) – เรื่องราวของชีวิต โลก จักรวาล ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และจะเป็นอย่างไรในอนาคต กำหนดปัญหาและอธิบายปัญหาให้ชัดเจน(Formula a ploblem,Explain the problem) – เช่น ถ้าสงสัยในสิ่งต่างๆตั้งคำถามว่าทำไม จึงมีสิ่งต่างๆในโลกนี้ และอธิบายว่าทำไมจึงสงสัยในเรื่องนั้นๆ เสนอวิธีการแก้ปัญหา (Offer a solution) – เริ่มด้วยวิธีการหักล้างความเชื่อเดิม อธิบาย สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ และมีการคาดคะเน ก่อร่างเป็นกระบวนการตรวจสอบทางปัญญา (Intelecfual inguiry) เช่น เฮเกล (G.W.F.Hegel)
7
การอนุมาน(Inference) ข้อสรุป(Conclusion)
4. การอ้างเหตุผล(Argument) หมายถึง การอ้างหลักฐานเพื่อยืนยันว่าข้อสรุปเป็นจริง ประกอบด้วย ข้ออ้าง(Premises) การอนุมาน(Inference) ข้อสรุป(Conclusion) 5. เปิดโอกาสให้ผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอและการอ้างเหตุผลของตน ต้องไม่ยึดถือว่าความคิดตนเอง เป็นสิ่งโต้แย้งไม่ได้ ต้องพร้อมยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
8
3. การตั้งคำถามทางปรัชญา
การตั้งคำถามง่ายกว่าการตอบมาก ควรฝึกฝนคำถามเชิงปรัชญาเกิดจาก “ความสงสัย” มนุษย์ช่างสงสัยอยู่แล้ว สาเหตุที่ทำให้เราไม่ค่อยสงสัยคือความเคยชิน เราเคยชินกับโลก และปรากฏการณ์ต่างๆจนดูเหมือนเป็นสิ่งธรรมดา และเรายังถูกทำให้ยอมรับสิ่งต่างๆอย่างง่ายๆ โดยปราศจากความสงสัย
9
4 คุณค่าทางปรัชญา ทำให้เรามองความจริงที่เป็นไปได้หลายอย่าง
เป็นผู้รักในความรู้และการกระตุ้นให้เราแสวงหาความรู้ที่แปลกใหม่ และทันสมัยอยู่เสมอ ช่วยขยายขอบเขตความรู้และเหตุผลของเราออกไปจากกรอบที่สังคมและประเพณีกำหนด(อิสรภาพทางความคิดตามธรรมชาติ) พบกับความรู้ที่เป็นนามธรรม เข้าถึงความรู้ที่เป็นสากล ที่ไม่ขึ้นอยู่กับบุคคล สถานที่ และกาลเวลา วึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยะธรรมทางปัญญาของมนุษย์ เกิดความรักในความรู้ รักเสรีภาพทั้งในความคิดและการกระทำ
10
ภาพยนตร์ เจ้าหญิงผมยาวและจอมโจรตัวแสบ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.