งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Cell เซลล์ (2) อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 รูปร่างของเซลล์ เซลล์สิ่งมีชีวิตมีขนาดและรูปร่างของไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดและหน้าที่ของเซลล์ แต่เซลล์ทุกชนิดจะมีโครงสร้างอันเป็นมูลฐานใกล้เคียงกัน รูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันอย่างมากมาย เซลล์เหล่านี้ก็จะมีรูปร่างแตกต่างกันไปเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่และตำแหน่งของเซลล์ในร่างกาย เช่น เซลล์อสุจิมีรูปร่างเรียวยาวและมีแฟลกเจลลาเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่เข้าผสมกับไข่ได้รวดเร็ว เซลล์ประสาทมีรูปร่างยาวและแตกแขนงเพื่อส่งแรงกระตุ้นของกระแสประสาทไปได้รวดเร็ว เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างกลมเพื่อให้มีพื้นที่ผิวในการรับสัมผัสมากขึ้น

3

4

5 ขนาดของเซลล์ เซลล์แต่ละชนิดมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจนกระทั่งสัมผัสได้ ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์มากมาย โดยที่เซลล์ประสาทจะมีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อลาย รวมทั้งเซลล์ผิวหนัง ตับ ไต และลำไส้โดยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 30 ไมโครเมตร เซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 ไมโครเมตร สำหรับหน่วยที่ใช้วัดขนาดและโครงสร้างของเซลล์มีหลายชนิด เช่น อังสตรอม (angstrom) นาโนเมตร (nanometer) ไมโครเมตร (micrometer) และมิลลิเมตร (millimeter)

6

7 ชนิดของเซลล์ จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างของเซลล์ในสิ่งมีชีวิต ทำให้แบ่งเป็น 2 พวกตามลักษณะของนิวเคลียสกล่าวคือ ก. โปรคารีโอติคเซลล์ (procaryotic cell) เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้ม โครโมโซมหรือสารพันธุกรรม ได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และไมโคพลาสมา ข. ยูคารีโอติคเซลล์ (eucaryotic cell) เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้มโครโมโซม ได้แก่ ยีสต์ รา โปรโตซัว สาหร่ายอื่น ๆ พืชและสัตว์ต่าง ๆ

8

9 ก. โปรคารีโอต เซลล์พวกโปรคารีโอต มีลักษณะสำคัญที่พบดังนี้ คือ 1. ไม่มีเยื่อหุ้มล้อมรอบสารพันธุกรรม 2. มีขนาดเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ไมครอน 3. มีผนังเซลล์ที่แข็ง มีความหนาประมาณ นาโนเมตร หรือมากกว่า 4. เยื่อหุ้มเซลล์ มีหน้าที่หลายอย่างคือการขนส่ง เช่นทำหน้าที่ขนส่งสารผ่านเข้าออกเซลล์ 5. มีไรโบโซมที่มีขนาดเล็กคือ 70S (คำว่า S มาจาก Svedberg unit of sedimentation coefficient, หน่วยค่าความเร็วของการตกตะกอน วัดจากอัตราการเคลื่อนที่ภายใต้แรงเหวี่ยง โดย 1S = วินาที) 6. มีแฟลกเจลลา (flagella) ใช้ในการเคลื่อนที่ ซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างจากยูคารีโอต (rotatory) และการสั่นสะเทือน (vibration motion)

10 ข.ยูคารีโอต เซลล์พวกยูคารีโอต มีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. มีระบบเยื่อหุ้มภายในเซลล์ (internal membrane) ทำให้เกิดเป็นออร์แกเนลล์ต่าง ๆ 2. นิวเคลียสมีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรมคือ DNA ที่มักขดตัวรวมกับโปรตีนเป็นเส้นใยโครมาทิน (chromatin) หรือโครโมโซม (chromosome) และมีนิวคลิโอลัส (nucleolus) อยู่ภายในนิวเคลียส 3. มีไซโทสกีลีตัลได้แก่ ไมโครทูบูล (microtubules) ไมโครฟิลาเมนต์ (microfilaments) และฟิลาเมนต์มัธยันตร์ (intermediate filaments) 4. มีเอกโซไซโทซิส (exocytosis) และเอนโดไซโทซิส (endocytosis) 5. มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis) และไมโอซิส (meionsis) โดยมีไมโททิก แอปพาราตัส (mitotic apparatus) ใช้สำหรับการแบ่งเซลล

11

12 อย่างไรก็ตามลักษณะพื้นฐานที่เหมือนกันของทั้งโปรคาร์โอตและยูคาริโอต เซลล์ คือ
1. มีเยื่อหุ้มเซลล์ 2. มี DNA เป็นสารพันธุกรรม 3. มีโปรตีน (เอนไซม์) ควบคุมปฏิกิริยาทั้งหมด 4. RNA เป็นตัวถ่ายทอดคำสั่งจาก DNA 5. สังเคราะห์โปรตีนที่ไรโบโซม 6. ใช้ ATP เป็นแหล่งพลังงานเบื้องต้น

13 โครงสร้างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
ก. โพรโทพลาซึม โพรโทพลาซึมเป็นของเหลวที่พบภายในเซลล์ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ (organelles) และอนุภาคต่าง ๆ มากมาย ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเจริญและการดำรงชีวิตของเซลล์ โพรโทพลาซึมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ไซโทพลาซึมและนิวเคลียส สมบัคิของโปรโตพลาสซึม ได้แก่ 1. มีออร์แกไนเซชัน (organization) กล่าวคือ ออร์แกเนลล์และโครงสร้างอื่น ๆ ในโพรโทพลาซึม จะมีการแบ่งหน้าที่กันทำงานและมีการประสานงานกันอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ 2. มีการเจริญเติบโต 3. มีเมแทบอลิซึม 4. มีความสามารถในการตอบสนองสิ่งเร้า 5. สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ 6. สามารถเคลื่อนไหวได้ ที่เรียกว่า ไซโคลซิส (cyclosis) 7. มีการทวีจำนวนซึ่งเกิดจากความสามารถในการสังเคราะห์ตัวเองโดยอาศัยสารต่าง ๆ ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม

14

15 ข. ไซโทพลาสซึม ไซโทพลาซึมคือ ส่วนของโพรโทพลาซึมที่อยู่นอกนิวเคลียสทั้งหมด จำแนกได้ 2 ชนิดคือ 1. เอ็กโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นส่วนไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นส่วนที่บางใส ไม่มีออร์แกเนลล์หรืออนุภาคต่าง ๆ (ถ้ามีก็น้อยมาก) ในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำบางชนิด เช่น ยูกลีนา ชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นเยื่อเพลลิเคิล (pellicle) ซึ่งมีความหนาและเหนียว เซลล์จึงคงรูปร่างอยู่ได้ 2. เอนโดพสาซึม (endoplasm) เป็นส่วนไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านใน จะมีออร์แกเนลล์และอนุภาคต่าง ๆ อยู่มากมาย เป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ของเซลล์ ค. ออร์แกเนลล์ ออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์มีหลายชนิด จำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ก. ออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม ได้แก่ กอลไจแอพพาราตัส เอนโดพลาสมิคเรติคูลัม ไลโซโซม ไมโครบอดี ฯลฯ ข. ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเมมเบรนห่อหุ้ม ได้แก่ ไรโบโซม ไมโครฟิลาเมนต์ ไมโครทูบูล และเซนทริโอล

16 ส่วนประกอบของเซลล์สิ่งมีชีวิต
ก. ผนังเซลล์ ผนังเซลล์เป็นส่วนที่อยู่รอบนอกของเซลล์มีพบในแบคทีเรีย ฟังไจ สาหร่ายและพืชชั้นสูง การที่ทราบว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีผนังเซลล์นั้น โดยนำเซลล์ไปใส่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าเซลล์เพื่อดูการเกิด พลาสโมไลซิส (plasmolysis) ถ้าหากเซลล์ยังคงรูปร่างอยู่ได้ก็แสดงว่ามีผนังเซลล์ ส่วนเซลล์ใดมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่าไม่มีผนังเซลล์

17 สมบัติของผนังเซลล์ 1. พลาสติซิตี (plasticity) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของผนังเซลล์ในขณะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือขนาดของเซลล์ 2. อีลาสติซิตี (elasticity) เป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ 3. ความแข็งแรง (tensile strength) เป็นความสามารถของผนังเซลล์ที่ทนต่อการกระทำของแรงต่าง ๆ ได้ดี เป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืช

18 ข. เยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เป็นโครงสร้างที่ใช้ห่อหุ้มส่วนของโพรโทพลาซึมเพื่อทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ องค์ประกอบทางเคมี เยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะประกอบด้วยโปรตีนและลิปิดเป็นสำคัญ บางครั้งอาจพบคาร์โบไฮเดรตอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะรวมอยู่กับโปรตีนในรูปของไกลโคโปรตีนหรือรวมกับลิปิดในรูปของไกลโคลิปิดก็ได้ นอกจากนั้นยังพบแร่ธาตุต่าง ๆ และเอนไซม์อีกหลายชนิด โครงสร้างของเยื้อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะประกอบด้วยโปรตีนและลิปิดเป็นสำคัญทำให้เป็นที่สงสัยว่าจะสามารถลอกสารเหล่านี้ออกมาเป็นชั้น ๆ โดยที่ยังคงสภาพของเซลล์อยู่ได้หรือไม่ ดังนั้นการทดลองในระยะแรกจึงมุ่งที่จะลอกส่วนโปรตีนหรือลิปิดให้หลุดจากเยื่อหุ้มเซลล์ด้วยสารเคมีต่าง ๆ พบว่าไม่สามารถที่จะลอกสารเหล่านี้ให้เป็นชั้น ๆ ได้ ทั้งนี้เพราะโปรตีนและลิปิดจะรวมเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เรียกว่าลิโปโปรตีน (lipoprotein) จึงเรียกโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ว่ายูนิตเมมเบรน (unit membrane)

19 สมบัติทางกายภาพ เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติทางกายภาพที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. ประจุที่ผิวของเซลล์ (surface charge) ตามปกติที่ผิวของเยื่อหุ้มเซลล์จะมีประจุไฟฟ้าอยู่ด้วย ทดลองได้โดยนำกระแสไฟฟ้าผ่านในของเหลวที่มีเซลล์อยู่ด้วย ถ้าหากเซลล์เคลื่อนทีไปยังขั้วบวก แสดงว่าผิวของเซลล์มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ 2. ความต่างศักย์ไฟฟ้า (electrical potential) ความต่างศักย์ไฟฟ้าเกิดจากไอออนและโปรตีนที่กระจายอยู่ในโพรโทพลาซึมและภายนอกเซลล์ไม่เท่ากัน จึงเกี่ยวข้องกับการนำไอออนของสารต่าง ๆ เข้าสู่เซลล์ซึ่งจะต้องผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เสียก่อน ความสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีหน้าที่เหมือนกันอยู่ประการหนึ่ง คือ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเป็นดิฟเฟอเรนเชียล (differential) หรือเซมิเพอมีเอเบิล เมมเบรน (semipermemable membrane) ซึ่งจะควบคุมการซึมผ่านของสารต่าง ๆ เข้าสู่เซลล์ ทำให้ปริมาณของสารต่าง ๆ ภายในเซลล์มีอย่างเหมาะสม

20

21 ค. เอนโดพลาสมิคเรติคูลัม
เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเป็นออร์แกเนลล์ที่มีระบบเมมเบรนห่อหุ้ม เมมเบรนมีความหนา ไมโครเมตร ประกอบด้วยโปรตีนและลิปิดที่มีการจัดเรียงตัวเป็นยูนิตเมมเบรนเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีโครงสร้างเป็นระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันที่วเซลล์ ภายในท่อมีของเหลวอยู่ด้วยเรียกว่าไฮยาโลพลาซึม (hyaloplasm) หรือซิสเตอร์นอลสเปซ (cisternal space) ส่วนของเหลวที่อยู่ภายนอกเรียกว่าไซโตโซลิคสเปซ (cytosolic space) เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมมีสัณฐานวิทยาได้หลายแบบ มีพบทั้งที่เป็นถุงแบน ๆ เรียกว่า ซิส-ตอร์นี (cistenae) หรือเป็นกระเปาะ (vesicles) หรือเป็นท่อ (tubules) ในเซลล์แต่ละชนิดอาจพบได้ทั้งสามแบบ

22

23 ชนิดของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัม
เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมจำแนกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะสัณฐานวิทยา ดังนี้ I. เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum : RER หรือ granular endoplasmic reticulum : GER) เป็นเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมทีผิวด้านนอกของเมมเบรนมีไรโบโซมมาเกาะจึงมีลักษณะขรุขระ มีโครงสร้างเป็นท่อ ดังรูปที่ หน้าที่ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระมีดังนี้ 1. ลำเลียงสารไปยังส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ สังเคราะห์โปรตีน 3. การสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) II. เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER หรือ agranular endoplasmic reticulum : AER) เป็นเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมที่ผิวด้านนอกของเมมเบรนไม่มีไรโบโซมมาเกาะจึงมีลักษณะเรียบ โดยหน้าที่ที่สำคัญมีดังนี้ 1. กำจัดสารพิษ (detoxification) 2. กระตุ้นการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ 3. เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายไกลโคเจน 4. สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆของเพศ 5. สะสมสารต่าง ๆ สารที่มีสะสมในเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบเรียกไซโมเจน (zymogen) 6. ลำเลียงสารไปสู่ส่วนต่าง ๆของเซลล์ 7. สังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ 8. เกี่ยวข้องกับการขับเกลือออกจากร่างกาย

24

25 ง. กอลไจคอมเพล็กซ์ มีโครงสร้างเป็นท่อที่มีระบบเมมเบรนห่อหุ้ม และเป็นยูนิตเมมเบรน รูปร่างของกอลไจแอพพาราตัสมีทั้งเป็นซิสเตอร์นี ท่อและกระเปาะ โดยที่ซิสเตอร์นีแต่ละอันจะเป็นถุงแบน ๆ เมมเบรนหนา 60 อังสตรอม กว้าง อังสตรอม กอลไจแอพพาราตัสมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปหลายอย่าง เช่น กอลไจคอมเพล็กซ์ (golgi complex) กอลจิโอโซม (golgiosomes) กอลไจบอดี (golgi body) ดิคไทโอโซม (dictyosomes) องค์ประกอบทางเคมี จากการศึกษากอลไจแอพพาราตัสจากเซลล์ตับหนู พบว่าประกอบด้วยโปรตีน 60 เปอร์เซ็นต์ และลิปิด 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนโพลีแซคคาไรตด์มีพบน้อยมาก โดยจะพบในรูปของไกลโคลิปิด

26 หน้าที่ของกอลไจแอพพาราตัส
1. เกี่ยวข้องกับการสร้างอะโครโซม (acrosome) 2. จัดเรียงตัวของสาร โดยเซลล์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งออกมาใช้ภายนอกเซลล์จะต้องนำโปรตีนที่ได้จากการสังเคราะห์ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระมาจัดเรียงตัวหรือจัดสภาพใหม่ที่กอลไจแอพพาราตัส ทั้งนี้เพื่อให้โปรตีนที่ได้มีสภาพเหมาะสมที่จะใช้กิจกรรมต่าง ๆ 3. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไกลโคโปรตีน 4. สะสมสารต่าง ๆ ที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนจะนำไปใช้ต่อไป 5. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เซลล์เพลทของพืช 6. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไลโซโซม 7. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารเมือก (mucilage) 8. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์อะซีตีลโคลีน (acetycholine)

27

28 จ. ไลโซโซม โครงสร้างมีระบบเมมเบรนชั้นเดียวห่อหุ้ม รูปร่างกลมรี มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไมครอน เมมเบรนนี้มีสมบัติแตกต่างจากเมมเบรนอื่น ๆ ของเซลล์ก็คือ ไม่ยอมให้เอนไซม์ต่าง ๆ ผ่านได้ แต่ถูกทำให้ฉีกขาดได้ง่ายด้วยแรงดันออสโมซิส ผงซักฟอก เครื่องตีป่น รังสีอัลคราไวโอเลต และเอนไซม์ที่ย่อยสลายโปรตีน เช่น โปรทีเอส

29 ชนิดของไลโซโซม ไลโซโซมในเซลล์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปได้ตามอายุและกิจกรรมของเซลล์ จึงได้แบ่งไลโซโซมออกเป็น 4 ชนิด 1. สตอเรจกรานูล (storage granules) หรือโปรโตไลโซโซม (protolysosomes) หรือ ไลโซโซมปฐมภูมิ เป็นไลโซโซมที่มีขนาดเล็ก ภายในมีไฮโดรไลติคเอนไซม์อยู่หลายชชนิด 2. เฮเทอโรฟาโกมโซม (heterophagosomes) เป็นไลโซโซมที่เกิดจากการรวมตัวของสารต่าง ๆ ที่ได้จากระบวนการฟาโกไซโตซิส (phagocytosis) หรือพิโนไซโตซิสเพื่อการย่อยสลายต่อไป 3. เรซิดูอัลบอดี (residual bodies) หรือทีโลไลโซโซม (telolysosomes) เป็นไลโซโซมที่เปลี่ยนแปลงมาจากเฮเทอโรฟาโกโซมที่ย่อยไม่สมบูรณ์ 4. ออโทฟาโกโซม (autophagosomes) หรือไซโทไลโซโซม (cytolososomes) หรือออโท-ไลโซโซม (autolysosomes) หรือออโทฟาจิคแวคิวโอล (autophagic vacuoles) เป็นไลโซโซมที่เกิดเนื่องจากกินส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ตัวเอง หน้าที่ของไลโซโซม มีดังนี้ 1. ย่อยสลายโครงสร้างต่าง ๆ ของเซลล์ในระยะที่เซลล์มีการเจริญเปลี่ยนแปลงและเมแทมอร์โฟซิส 2. ย่อยสลายไข่แดงในระหว่างการเจริญพัฒนาของตัวอ่อน 3. ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย 4. ย่อยสลายอนุภาคของอาหารภายในเซลล์ 5. ทำลายเซลล์ที่ตายและเซลล์เม็ดเลือดที่หมดอายุ

30 ฉ. ไมโครบอดี ไมโครบอดีเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้มเพียงชั้นเดียว มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมรีแบนรูปไข่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ไมครอน ภายในประกอบด้วยเอนไซม์ออกซิเดส (oxidase) เปอร์ออกซิเดส (peroxidase) หรือคาตาเลส (catalase) ไมโครบอดีมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากออร์แกเนลล์อื่น ๆ ก็คือ จะมีหน้าที่ที่ไม่เฉพาะลงไป หน้าที่จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เพราะไมโครบอดีมีองค์ประกอบของเอนไซม์แตกต่างกันไปจึงจำแนกไมโครบอดีได้เป็น 3 ชนิด ตามหน้าที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพอโรซิโซม (peroxisomes) ไกลออกซิโซม (glyoxysomes) และสเฟียโรโซม (spherosomes)

31

32 เพอโรซิโซม เพอโรซิโซมเป็นไมโครบอดีที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ถึงมากกว่า 1 ไมโครเมตร มีเมมเบรนห่อหุ้มเพียงชั้นเดียว เมมเบรนมีความหนาประมาณ นาโนเมตร หน้าที่ เพอโรซิโซมมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้ 1. เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของพิวรีน (purine) 2. ป้องกันเซลล์ในเพอโรซิโซมจะมีเอนไซม์ออกซิเดสหลายชนิด ทำหน้าที่ออกซิไดส์สารต่าง ๆ 3. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต

33 ไกลออกซิโซม ไกลออกซิโซมเป็นไมโครบอดีที่พบในเซลล์พืช ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับ วัฏจักรไกลออกซีเลต (glyoxylate cycle) จึงให้ชื่อว่า ไกลออกซิโซม นอกจากนี้ยังพบในจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้แก่ Chlorella, Neurospora และ Polytomella หน้าที่ ไกลออกซิโซมมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของลิปิด

34 สเฟียโรโซม สเฟียโรโซมมีพบเป็นจำนวนมากในเซลล์พืช โดยเฉพาะเซลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง มีขนาดเล็กกว่าไมโตคอนเดรียและจะไหลเวียนได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ที่เกิดไซโคลซิสภายในจะมีโปรตีนสะสมอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังพบเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเทสและอื่น ๆ หน้าที่ สเฟียโรโซมที่พบในพืชสีเขียวจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโพโตเรสไปเรชัน (photorespiratoins)

35 ช. ไรโบโซม ไรโบโซมเป็นออร์แกเนลล์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเซลล์ เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีเทาจาง เรื่องราวของไรโบโซมได้เริ่มเป็นที่สนใจเมื่อได้มีการศึกษาพบการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับจำนวนของ RNA ที่พบมากในไรโบโซม ตำแหน่งของไรโบโซม ไรโบโซมจะพบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทั้งโปรคารีโอตและยูคารีโอต ยกเว้นเซลล์บางชนิด สำหรับตำแหน่งของไรโบโซมในเซลล์มีดังนี้ 1. ไรโบโซมที่ยึดเกาะกับเมมเบรนของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมจะพบเฉพาะในเซลล์ยูคารีโอตเท่านั้น โดยเฉพาะในเซลล์ที่มีการสังเคราะห์โปรตีนได้ 2. ไรโบโซมเป็นอิสระในไซโทพลาซึม จะพบในเซลล์โปรคารีโอตทุกชนิด ทั้งนี้เพราะในโครงสร้างของเซลล์ไม่มีเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมนั่นเอง ไรโบโซมนอกจากจะพบในไซโทพลาซึมและเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมแล้ว ยังพบในไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์อีกด้วย

36

37 องค์ประกอบทางเคมี ไรโบโซมประกอบด้วยสารเคมีที่สำคัญ 2 ชนิด คือ โปรตีน และ RNA ซึ่งอยู่รวมกันที่เรียกว่า ไรโบนิวคลีโอโปรตีน (ribonucleoprotein) RNA ของไรโบโซมที่เรียกว่า ไรโบโซมอลอาร์เอนเอ (ribosomal RNA) จะพบมากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ของ RNA ที่พบในเซลล์ หน้าที่ ไรโบโซมมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนซึ่งจะต้องทำงานร่วมกับ mRNA และ tRNA โดยที่ในแต่ละสายของ mRNA จะมีไรโบโซมหลายอันมาจับเกาะ เรียกไรโบโซมสภาพนี้ว่าโพลีโซม นอกจากนี้ในไรโบโซมยังมีเอนไซม์อยู่หลายชนิดที่ใช้สำหรับการสร้างพันธะเปปไทด์ (peptide bone) ของโปรตีน

38 ซ. ไมโครทูบูล ไมโครทูบูลเป็นออร์แกเนลล์ที่มีโครงสร้างลักษณะเป็นท่อขนาดยาว มีพบทั้งในไซโทพลาสซึมและในโครงสร้างอื่น ๆ ของเซลล์ ไมโครทูบูลในไซโทพลาซึมมักจะมีขนาดที่แน่นอน มีความยาวได้หลายไมครอน แต่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 ไมครอน ผนังหนา 6 ไมครอน ผนังประกอบด้วยฟิลาเมนต์ (filament) ขนาดเล็กที่เรียกว่าโปรโตฟิลาเมนต์ (protofilament) ที่เรียงตัวในแนวยาวหรือเป็นเกลียว แต่ละฟิลาเมนต์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ไมครอน ประกอบด้วยหน่วยย่อย 13 หน่วย (subunit) ตำแหน่งของไมโครทูบูล ไมโครทูบูลมีพบทั่วไปในเซลล์ยูคารีโอตทั้งพืชและสัตว์ แต่ตำแหน่งจะแตกต่างกันไป ชนิดของไมโครทูบูล ไมโครทูบูลแบ่งตามสมบัติที่มีต่อสารเคมีหรือสภาพการณ์ทางกายภาพได้ 2 ชนิดคือ 1. ไมโครทูบูลที่คงสภาพได้ไม่ดี (labile microtubules) ไมโครทูบูนิดนี้จะถูกทำลายเมื่อได้รับสารเคมีบางชนิด 2. ไมโครทูบูลที่คงสภาพได้ดี (stable microtubules) ไมโครทูบูลชนิดนี้จะทนต่อการทำลายของสารเคมีและสภาพการณ์ทางกายภาพดังกล่าวมาแล้วได้ดี

39

40 หน้าที่ของไมโครทูบูล
1. เกี่ยวข้องกับการลำเลียงสารภายในเซลล์เช่น รงควัตถุ แร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ 2. ให้ความแข็งแรงกับเซลล์และโครงสร้างอื่น ๆ ไมโครทูบูลที่อยู่ในไซโทพลาซึมและในโครงสร้างต่าง ๆ จะช่วยให้เซลล์และโครงสร้างเหล่านั้นคงรูปร่างอยู่ได้ จึงทำหน้าที่คล้ายกับระบบโครงกระดูกนั่นเอง 3. เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ ในการแบ่งเซลล์ระยะเมแทเฟสจะมีสปินเดิลไฟเบอร์ไปยึดเกาะที่เซนโทรเมียร์ (centromere) ของโครโมโซม และสปินเดิลไฟเบอรืจะหดสั้นเพื่อดึงโครมาติดให้แยกไปยังขั้วทั้งสองของเซลล์ในระยะแอนนาเฟส ดังนั้นหน้าที่ของไมโครทูบูลในกรณีนี้จึงเป็นเช่นเดียวกับสปินเดิลไฟเบอร์ 4. เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเซลล์ เนื่องจากไมโครทูบูลเป็นโครงสร้างแกนหลักของซีเลียและแฟลกเจลลา

41 ฌ. ไมโครฟิลาเมนต์ ไมโครฟิลาเมนต์มีโครงสร้างเป็นเส้นใยที่มีลักษณะเป็นระบบท่อเช่นเดียวกับไมโครทูบูลแต่มีขนาดเล็กกว่า ไมโครฟิลาเมนต์มีขนาดยาวและไม่แตกแขนง เส้นใยประกอบด้วยกลุ่มของโปรตีนที่พันกันเป็นเกลียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์หรือโครงสร้างแต่ละชนิด ไมโครฟิลาเมนต์มีพบทั้งในเซลล์พืชและสัตว์ โดยเฉพาะเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบอะมีบา การขับสารต่าง ๆ ไซโคลซิส ฟาโกไซโทซิส พิโนไซโทซิส ไซโทคิเนซิส (cytokinesis) หรือการแบ่งตัวของเซลล์ การขับสารออกจากเซลล์ที่เรียกว่า เอกโซไซโทซิส (exocytosis) ฯลฯ หน้าที่ของไมโครฟิลาเมนต์ 1. ค้ำจุนและให้ความแข็งแรง 2. เกี่ยวข้องกับกระบวนการไซโคลซิส

42

43 ญ. เซนทริโอล เซนทริโอลเป็นออร์แกเนลล์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก ไม่มีเมมเบรนห่อหุ้ม ยาว นาโนเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง นาโนเมตร ในแต่ละเซลล์จะมีเซนทริโอล 2 อัน อยู่ใกล้กับนิวเคลียสโดยที่จะมีการเรียงตัวที่ตั้งได้ฉากกัน โครงสร้างของเซนทริโอลแต่ละอันประกอบด้วยกลุ่มหรรือชุดของไมโครทูบูลมาเรียงกันเป็นวงรอบนอกมี 9 ชุด ซึ่งจะเชื่อมยึดกันด้วยสารที่คล้ายไฟเบอร์ ตำแหน่งของเซนทริโอล เซนทริโอลมีตำแหน่งอยู่ใกล้กับนิวเคลียส บริเวณของไซโทพลาซึมที่มีเซนทริโอลอยู่ด้วย เรียกว่า เซนโทรโซม (centrosome) หรือเซนโทรสเฟียร์ (centrosphere) หรือศูนย์กลางของเซลล์ (cell center) แต่ในบางตำราอาจใช้คำว่า เซนโทรโซม หมายถึง เซนทริโอลและสารอื่น ๆ ที่ล้อมรอบเซนทริโอลด้วย หน้าที่ของเซนทริโอล 1. เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์โดยสร้างไมโครทูบูลไปเกาะที่เซนโทรเมียร์ของโครโมโซม ในระยะเมแทเฟสของการแบ่งเซลล์ 2. ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์ ในเซลล์ที่มีการเคลื่อนที่โดยใช้ซีเลียและแฟลกเจลลา โครงสร้งเหล่านี้จะมีไมโครทูบูลเป็นแกนหลัก

44

45 ฎ. ไมโตคอนเดรีย เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม 2 ชั้น มีรูปร่างไม่แน่นอน จะเปลี่ยนแปลงตามหน้าที่และกิจกรรมของเซลล์ สำหรับขนาดของไมโตคอนเดรียก็เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพทางสรีรวิทยาของเซลล์ แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ไมโครเมตร และยาว 5-7 ไมโครเมตร ตำแหน่งของไมโตคอนเดรีย ไมโตคอนเดรียจะอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในไซโทพลาสซึม แต่จะมีตำแหน่งแน่นอนในเซลล์บางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามปกติตำแหน่งของไมโตคอนเดรียจะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของเซลล์ที่ต้องการใช้พลังงาน โครงสร้างใดต้องการพลังงานมากก็จะมีไมโตคอนเดรียล้อมรอบโครงสร้างนั้น เช่น เซลล์อสุจิ จะมีไมโทคอนเดรียจำนวนมากเรียงตัวเป็นเกลียวหุ้มรอบแอกเซียลฟิลาเมนต์ (axial filament)

46

47 องค์ประกอบทางเคมี ไมโตคอนเดรียประกอบด้วยโปรตีน เปอร์เซ็นต์ ลิปิด เปอร์เซ็นต์ ลิปิดเหล่านี้จะพบมากที่เมมเบรน มีทั้งฟอสโฟลิปิด คอเลสเทอรอลและอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีเลคซิธิน (lecithin) 30 เปอร์เซ็นต์ ฟอสโฟอินโนซิไทด์ (phosphcinositides) 13 เปอร์เซ็นต์ โพลีกลีเซอโรฟอสฟาไทด์ (polyglycerophosphatides) 2 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ อีก โครงสร้างของไมโตคอนเดรีย ไมโตคอนเดรียเป็นออร์แกเนลล์ที่ประกอบด้วยเมมเบรนสองชั้นห่อหุ้ม เมมเบรนแต่ละชั้นเป็นยูนิตเมมเบรนเช่นกัน กล่าวคือ มีชั้นลิปิดอยู่ตอนกลางและห่อหุ้มด้วยโปรตีน ในเมมเบรนชั้นนอกหนาประมาณ อังสตรอม จะเป็นความหนาของชั้นลิปิด 30 อังสตรอม ส่วนโปรตีนหนา อังสตรอม ลิปิดเหล่านี้จะมีมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของสารที่พบในเมมเบรนชั้นนอก ประกอบด้วยโคเลสเทอรอลและฟอสฤพทีดีลอินโนซิทอลมากที่สุด สำหรับเมมเบรนชั้นในหนา อังสตรอม ประกอบด้วยลิปิดประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ หน้าที่ของไมโตคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียเป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ในกระบวนการออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเรชัน

48 ฏ . พลาสติด พลาสติดเป็นออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์ทั่วไป พลาสติดเหล่านี้นอกจากจะมีบทบาทในการสังเคราะห์แสงแล้ว ยังเป็นแหล่งที่เก็บสะสมอาหารอีกหลายชนิด เช่น แป้ง โปรตีน เป็นต้น ชนิดของพลาสติด พลาสติดจำแนกตามชนิดของรงควัตถุที่เป็นองค์ประกอบได้ 3 ชนิด คือ 1. ลิวโคพลาสต์ เป็นพลาสติดที่มีขนาดประมาณ 2.5 ไมครอน มีรูปร่างแบบท่อนหรือกลมรีคล้ายรูปไข่ พบตามเนื้อเยื่อสะสมอาหารของรากหรือผลหรือลำต้นใต้ดิน เซลล์สืบพันธุ์และเซลล์ของต้นอ่อน ลิวโคพลาสต์จะเป็นแหล่งสะสมอาหารของพืช จำแนกได้หลายชนิดตามลักษณะของอาหารที่สะสม 2. โครโมพลาสต์ (chromoplast) เป็นพลาสติดที่ประกอบด้วยรงควัตถุอื่น ๆ นอกจากสีเขียว มีรูปร่างได้หลายแบบ เช่น กรม รูปไข่ ท่อนที่เรียวยาว เสี้ยวพระจันทร์ หรือคล้ายจานรงควัตถุที่สำคัญเป็นพวกแคโรทีนอยด์ (carotnoid) และไฟโคบิลิน (phycobilin) 3. คลอโรพลาสต์ เป็นพลาสติดที่มีสีเขียว ประกอบด้วยคลอโรฟีลล์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เป็นออร์แกเนลล์ที่สำคัญในพืชสีเขียว

49

50 องค์ประกอบทางเคมี คลอโรพลาสต์ในพืชชั้นสูงประกอบด้วย โปรตีนและลิปิด เป็นจำนวนมาก โดยจะรวมกันเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เรียกว่า ลิโปโปรตีน นอกจากนี้ยังพบคาร์โบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก แร่ธาตุ ตลอดจนรงควัตถุต่าง ๆ อีกด้วย โครงสร้างของคลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเมมเบรนที่เป็นเยื่อหุ้ม 2 ชั้น เมมเบรนแต่ละชั้นหนา 8-10 นาโนเมตร และห่างกัน นาโนเมตร เยื่อหุ้มมีผิวเรียบเนื่องจากไม่มีอนุภาคใดมาเกาะ ภายในคลอโรพลาสต์ประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ 2 ชนิด คือ 1. กรานา เกิดจากกลุ่มของลาเมลลา (lamella) หรือไทลาคอยด์ (thylakoid) หลาย ๆ อันมาวางเรียงซ้อนกัน ทำให้มีลักษณะหนาทึบกว่าส่วนอื่น ๆ แต่ละคลอโรพลาสต์มีได้หลายกรานา ซึ่งจะเชื่อมต่อกันด้วยเมมเบรนที่เรียกว่าอินเตอร์กรานา (intergrana) ทั้งกรานาและอินเตอร์กรานาประกอบด้วยคลอโรฟีลล์และรงควัตถุอื่น ๆ 2. สโตรมา เป็นของเหลวที่อยู่ภายในคลอโรพลาสต์ จะมีทั้ง DNA, RNA ไรโบโซม ผลึกของสารบางชนิด ตลอดจนเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงแบบที่ไม่ต้องใช้แสงสว่าง (dark reaction) และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจหลายชนิด

51 ฐ . แวคิวโอล แวคิวโอลเป็นโครงสร้างที่พบในไซโทพลาซึมของเซลล์สิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยเฉพาะเซลล์พืชชั้นสูงที่เจริญเต็มที่ แวคิวโอลเป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนชั้นเดียวห่อหุ้ม ที่เรียกว่า โทโน พลาสต์ (tonoplast) เมมเบรนนี้มีสมบัติเป็นเซมิเตอร์มีเอเบิลเมมเบรน ภายในประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวที่เรียกว่า เซลล์แซพ (cell sap) ในเซลล์พืชที่มีอายุมากจะมีแวคิวโอลขนาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เซลล์ทั้งหมด

52

53 ฑ . นิวเคลียส นิวเคลียสเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเซลล์ มีรูปกลมหรือรูปไข่ สารเคมีต่าง ๆ ที่พบในนิวเคลียสจะมีทั้ง DNA, RNA โปรตีนที่ทำหน้าที่ในด้านโครงสร้างและเอนไซม์ ตลอดจนแร่ธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีสารตัวกลางอีกหลายชนิด เช่น อะซีตีลโคเอนไซม์เอ โมโนฟอสเฟต (monophosphate) และไตรฟอสเฟต (triphosphate) เป็นต้น สำหรับสารต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ 1. DNA DNA ในนิวเคลียสจะพบเป็นส่วนประกอบของโครโมโซม 2. RNA RNA ในนิวเคลียสจะพบเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส 3. โปรตีน โปรตีนที่พบในนิวเคลียสมีหลายชนิดดังนี้ ก. โปรตามีน (protamines) เป็นเบสิคโปรตีน (basic protein) ประกอบด้วยกรดอมิโนอาร์จินีน (arginine) เป็นจำนวนมาก โปรตามีนจะเชื่อมเกาะกับ DNA ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ข. ฮิสโตน เป็นเบสิคโปรตีน มีขนาดใหญ่กว่าโปรตามีน ฮิสโตนที่พบในนิวเคลียสของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณของไลซีนและอาร์จินีน โปรตีนนี้จะเชื่อมเกาะกับ DNA ด้วยพันธะไอออนิค (ionic bond) ค. เรซิดูอัลโปรตีน (residual protein) เป็นแอซิดิคโปรตีน (acidic protein) จะรวมกับโครมาตินในระยะอินเตอร์เฟส การรวมนี้จะมีลักษณะที่เฉพาะ ซึ่งจะมีผลในการกระตุ้นการจำลองโครโมโซมด้วย 4. เอนไซม์ เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิค ละเมแทบอลิซึมของนิวคลีโอไซด์ 5. แร่ธาตุ ส่วนมากประกอบด้วยฟอสฟอรัส โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม

54 โครงสร้างของนิวเคลียส
1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส ประกอบด้วยเมมเบรน 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน แต่ละชั้นมีความหนา 100 อังสตรอม แต่ละชั้นห่างกัน อังสตรอม ช่องว่างที่ห่างกันนี้เรียกว่า เพอรินิวเคลียสสเปซ (perinucleus space) ที่เยื่อหุ้มนี้จะมีรูอยู่มากมาย เรียกว่า แอนนูลัส (annulus) เป็นทางผ่านของสารต่าง ๆ จากนิวเคลียสไปสู่ไซโทพลาซึม เช่น RNA ไรโบโซม  2. นิวคลีโอพลาซึม นิวคลีโอพลาซึม (nucleoplasm) หรือนิวคลีโอโซม (nucleosome) เป็นส่วนของเหลวที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส ประกอบด้วย 2.1 โครมาติน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ติดสีย้อม โครมาตินที่ติดสีย้อมเข้มมาก เรียกว่า เฮเทอโรโครมาติน (heterochromatin) ซึ่งไม่มียีนส์อยู่เลย (หรืออาจมีได้น้อยมาก) ส่วนโครมาตินที่ติดสีจาง เรียกว่า ยูโครมาติน (euchromatin) เป็นที่อยู่ของยีนส์ต่าง ๆ ของเซลล์ 2.2 เพอริโครมาตินกรานูล (perichromatin granules) เป็นอนุภาคขนาดเล็ก จะอยู่บริเวณช่องว่างใกล้ ๆ กับเฮเทอโรโครมาติน 3. นิวคลีโอลัส เป็นอนุภาคหนาทึบที่อยู่ภายในนิวเคลียส พบเฉพาะในเซลล์พวกยูคารีโอตเท่านั้น  หน้าที่ของนิวเคลียส การทำงานของนิวเคลียสจะมีความสัมพันธ์กับออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ในไซโทพลาซึม เพื่อจะได้ทราบว่าจะมีการสังเคราะห์สารหรือไม่และอย่างไร กล่าวคือ การควบคุมกิจกรรมของเซลล์ให้ดำเนินไปตามปกติ

55

56


ดาวน์โหลด ppt อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google