งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง
รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง  นส.ธนวันต์ ชุมแสง ผอ.สขร.สปข.3 นส.เดือน อินต๊ะ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ

2 ความเหมือน แตกต่างของสื่อ
โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต สื่อบุคคล

3 รูปแบบรายการวิทยุ 12 แบบ
รายการพูดคุยกับผู้ฟัง (Talk Program) รายการสนทนา (Conversational Program) รายการสัมภาษณ์ (Interview Program) รายการอภิปราย (Discussion Program) รายการสารคดี (Documentary or Feature Program) รายการนิตยสารทางอากาศ (Magazine Program)

4 รูปแบบรายการวิทยุ 12 แบบ (ต่อ)
7. รายการข่าว (News Program) 8. รายการเพลง (Music Program) 9. รายการปกิณกะ (Variety Program) 10. รายการละครวิทยุ (Radio Drama) 11. รายการตอบปัญหา (Quiz Program) 12. รายการบรรยายเหตุการณ์ (Commentary Program)

5 รายการพูดคุยกับผู้ฟัง (Talk Program)
การสื่อสารจะมีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two way Communication) กับผู้ฟัง

6 รายการสนทนา (Conversational Program)
การสื่อสารจะเป็นการสื่อสารสองทาง (Two way Communication) กับผู้ดำเนินรายการร่วม แต่จะเป็นการสื่อสารทางเดียว (One way Communication) กับผู้ฟังทางบ้าน ยกเว้นจะเปิดโอกาสให้คนฟังสามารถโทรศัพท์เข้ามาสอบถามประเด็นในเรื่องที่ผู้ดำเนินรายการร่วม

7 รายการสัมภาษณ์ (Interview Program)
รายการสัมภาษณ์นี้จะมีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทางกับผู้ที่เชิญมาร่วมในรายการ หรืออาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์

8 รายการอภิปราย (Discussion Program)
รายการลักษณะนี้จะเป็นการสื่อสารแบบสองทางระหว่างผู้ดำเนินการอภิปรายกับ ผู้ร่วมอภิปราย รายการลักษณะนี้จะเป็นรายการที่มีผู้ดำเนินการอภิปราย 1 คน และผู้ร่วมอภิปรายตั้งแต่ คน

9 รายการสารคดี (Documentary or Feature Program)
รายการลักษณะนี้จะเป็นการสื่อสารแบบ ทางเดียวกับผู้ฟังทางบ้าน โดยมีผู้บรรยาย ควรจะเป็นคนๆ เดียวกันตลอดไป

10 รายการนิตยสารทางอากาศ (Magazine Programme)
จะเป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียวกับผู้ฟัง รายการนิตยสารทางอากาศ เป็นรายการที่มีผู้ดำเนินรายการหลัก 1 คน และมีผู้ดำเนินรายการในแต่ละช่วงๆละ 1 คน ทั้งนี้รายการใน 1 ชั่วโมงควรแบ่งออกเป็น 4 ช่วงๆ ละ 10 – 15 นาที มีความหลากหลายทั้งเนื้อเรื่องและรูปแบบการนำเสนอ

11 รายการข่าว (News Program)
เป็นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเสนอข้อเท็จจริงตามความเป็นจริง ไม่สอดแทรกความคิดเห็น ส่วนใหญ่รายการข่าวจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รายการข่าวประจำวัน และรายการข่าวสั้นในแต่ละช่วงของวัน ซึ่งจะมีความยาวของรายการที่แตกต่างกัน

12 รายการเพลง (Music Program)
ผู้จัดรายการ หรือ DJ ทำหน้าที่ในการเลือกเพลงตามคำขอของผู้ฟัง หรืออาจจะเป็นการเปิดเพลงที่กำลังอยู่ในความนิยม ตามรูปแบบของรายการ หรือให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของคนฟังในรายการ

13 รายการปกิณกะ (Variety Program)
เป็นรายการที่มีความหลากหลายในการนำเสนอเนื้อหาสาระ หรือเป็นการเปิดกว้างของรายการภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยจะมีผู้ดำเนินรายการ 1 คน คอยทำหน้าที่เชื่อมโยงเนื้อหารายการในแต่ละช่วง

14 รายการละครวิทยุ (Radio Drama)
เป็นรายการการแสดงที่ใช้เสียงบอกเล่าเรื่องราว แสดงอารมณ์ ความรู้สึกและสามารถถ่ายทอดความนึกคิดต่างๆ ไปสู่ผู้ฟังได้ โดยไม่จำเป็นต้องมองเห็นท่าทางกิริยาของผู้แสดง ละครที่แสดงทางวิทยุกระจายเสียง มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์ความบันเทิง ให้ความรู้ ให้แง่คิดแก่คนฟัง หรือเป็นละครเพื่อการรณรงค์ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

15 รายการตอบปัญหา (Quiz Program)
เป็นรายการที่คล้ายคลึงกับกับรายการที่เน้นเนื้อหาทางวิชาการ ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสาร 2 ทิศทางระหว่างผู้ดำเนินรายการ และผู้ตอบปัญหาทางบ้าน

16 รายการบรรยายเหตุการณ์ (Commentary Program)
เป็นรายการถ่ายทอดสดจากสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเวลานั้น โดยส่วนใหญ่จะแทรก ได้ทุกช่วงเวลาของการเกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้เหตุการณ์นั้นจะต้อง มีความสำคัญและ เกิดผลกระทบต่อประชาชนระดับประเทศ หรือเป็นประเด็นสาธารณะที่คนสนใจในขณะนั้น

17 ขั้นตอนการผลิตรายการ
ขั้นรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน รูปแบบและประเภทของรายการที่ควรจะผลิต ประเด็นเนื้อหา ขั้นการวางแผนผลิตรายการ ขั้นการเขียนบท ขั้นจัดเตรียมวัสดุรายการ ขั้นประสานงานการผลิตรายการ ขั้นซักซ้อม / ขั้นบันทึกเสียง ขั้นตรวจสอบคุณภาพของรายการ ขั้นติดตามประเมินผล

18 ขั้นตอนการผลิตรายการวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์ (มี 3 ขั้นสำคัญ)
ขั้นตอนการผลิตรายการวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์ (มี 3 ขั้นสำคัญ) 1. ขั้นการเตรียมการ 2. ขั้นผลิตรายการ 3. ขั้นการออกอากาศหรือนำเสนอ

19 องค์ประกอบของรายการ จิงเกิ้ล เพลงประจำรายการ สปอต บทรายการ
เนื้อหา ประเด็น เพลง ผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ อุปกรณ์ เครื่องส่ง รวมทั้งเทปสัมภาษณ์ กรณีสัมภาษณ์ล่วงหน้า

20 2. สปอต เป็นรายการสั้นๆ ความยาว วินาที เสนอเฉพาะข้อความที่สำคัญและเรีบเรียงด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย แต่กินใจ เข้าใจง่าย ชวนจดจำ เสียงที่ใช้ เป็นบทพูด หรือสนทนาก็ได้ มีการใช้เพลงหรือเสียงประกอบร่วมด้วย มักจะใช้สอดแทรกระหว่างรายการ

21 3. จิงเกิ้ล เป็นข้อความประชาสัมพันธ์สั้นๆ ที่นำเสนอพร้อมท่วงทำนองเพลง โดยทั่วไปจะมีความยาว วินาที ผลิตขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์ขององค์กร หรือรายการ บางครั้งนำเอาสโลแกนขององค์กร มาเป็นจิงเกิ้ล

22 หลักการจัดรายการวิทยุ
# การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง เป็นกิจกรรมที่มีความละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัย ทักษะของแต่ละคนและองค์แห่งความรู้ # ผู้จัดรายการที่ดีต้องเป็นผู้มีศิลปะอยู่ในตัวเองการจัดรายการวิทยุต้องทำงานด้วย หลัก 6 T และ 3H

23 หลักการจัดรายการวิทยุ 6 T
-TOPIC ที่ชัดเจน แจ่มแจ้ง -TARGET รู้จักกลุ่มเป้าหมาย -TEAM มีทีมงานที่ดี -TACTIC มีกลยุทธ์ในการดึงดูดใจต่อ กลุ่มเป้าหมาย -TIME รู้จักเวลา กาลเทศะ -TECHNOLOGY ต้องเสาะแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ

24 หลักการจัดรายการวิทยุ 3 H
- HEAD ต้องทำงานด้วยสมอง สติปัญญา รอบคอบรอบรู้ - HAND ต้องทำงานด้วยฝีมือประณีต บรรจง ละเอียด - HEART การทำงานด้วยใจรัก ใส่ใจ มีน้ำใจ อดทนพยายาม

25 ข้อควรระวังในการจัดรายการ
ระวังเรื่องภาษา การเว้นวรรคตอน -ความเป็นกลาง

26 หัวใจของการจัดรายการ
ต้นตื่นเต้น- กลางกลมกลืน-จบจับใจ


ดาวน์โหลด ppt รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google