ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
4.1 โครโมโซม บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.1 โครโมโซม chromosome คือ เส้นใยของ chromatin ที่เรียงตัวกันเป็นเส้นยาวกระจายกันอยู่ทั่วไปภายใน nucleus ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายแท่งในระหว่างการแบ่งเซลล์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิต มีองค์ประกอบหลัก คือ DNA โดยปกติแล้วแต่ละโครโมโซมจะมีอีกโครโมโซมที่มีขนาด รูปร่าง และชนิดของยีนที่เหมือนกันทุกประการ อยู่เป็นคู่กัน คู่ของโครโมโซมที่มีลักษณะเหมือนกัน ตำแหน่งยีนตรงกันนี้ เรียกว่า homologous chromosomes สิ่งมีชีวิตซึ่งอยู่ใน species เดียวกัน จะมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน สุกรบ้านมีโครโมโซม 19 คู่ ไก่บ้านมีโครโมโซม 39 คู่ ถ้าให้ n แทน จำนวนชนิดของโครโมโซม จะเขียนได้ว่าจำนวนโครโมโซมของสุกรบ้านเป็น 2n = 38 ไก่บ้าน 2n = 78 จำนวนคู่ของโครโมโซมในสัตว์ต่าง ๆ จะแตกต่างกัน
2
4.1 โครโมโซม บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.1 โครโมโซม โครโมโซมแบ่งได้เป็น 2 พวก ดังนี้ โครโมโซมร่างกาย (autosome) เป็นโครโมโซมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเพศ แต่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอื่น ๆ ของร่างกาย โครโมโซมเพศ (sex chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีหน้าที่กำหนดเพศ การที่สัตว์จะเป็นเพศผู้หรือเพศเมียนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนและชนิดของโครโมโซมเพศ ซึ่งมีระบบการกำหนดเพศที่แตกต่างกันออกไป
3
4.1 โครโมโซม บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.1 โครโมโซม โครโมโซมเพศ (sex chromosome) แบ่งได้ดังนี้ 1) ระบบ xx - xy เป็นระบบที่ใช้อธิบายเพศของสัตว์หลายชนิด มากกว่าระบบอื่น ๆ นำมาใช้สำหรับคนหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิด ระบบนี้โดยทั่วไปโครโมโซม y จะมีขนาดเล็กกว่าโครโมโซม x ในคนซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 46 อัน หากเป็นผู้ชายจะมีโครโมโซม xy หากเป็นผู้หญิงจะเป็น xx 2) ระบบ zz - zw เป็นระบบที่ใช้กับสัตว์ปีกทุกชนิด และผีเสื้อ การอธิบายเพศจะกลับกับระบบข้างต้น กล่าวคือ ในไก่ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 78 อัน เป็นเพศผู้จะมีโครโมโซม zz หากเป็นเพศเมียจะเป็น zw
4
4.2 ยีน บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.2 ยีน ยีน (gene) เป็นชื่อเรียกหน่วยที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต อยู่บนโครโมโซมในนิวเคลียส สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูกหลานได้ เนื่องจากโครโมโซมอยู่กันเป็นคู่ ดังนั้นยีนก็จะอยู่กันเป็นคู่ เช่น PP, Pp และ pp เป็นต้น ตำแหน่งที่ยีนอยู่เรียกว่า locus คู่ของยีนที่โลคัสเดียวกันเรียกว่าเป็น allele ต่อกัน ชนิดของคู่ยีนในแต่ละคู่เป็นตัวบอกลักษณะทางพันธุกรรม เรียกชนิดของคู่ยีนนี้ว่า genotype ส่วนลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เห็นจากภายนอกเรียก phenotype จีโนไทป์ ของพืชหรือสัตว์มีอยู่ 2 แบบ คือ พวกที่มีคู่ยีนเหมือนกันหรือhomozygote เช่น PP, pp และพวกที่มีคู่ยีนต่างกันหรือ heterozygote เช่น Pp ในระยะการแบ่งเซลล์เพื่อขยายพันธุ์ ยีนที่รวมเป็นคู่จะแยกตัวออกจากกันทำให้เซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนยีนเพียงชุดเดียว จะกลับมารวมกันใหม่ในรุ่นลูกเมื่อปฏิสนธิ
5
4.2 ยีน บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.2 ยีน การแสดงลักษณะร่วมกันของยีน ยีนเด่น (dominant gene) เป็นยีนที่เมื่ออยู่คู่กับยีนด้อยแล้วจะปกปิดการแสดงออกของยีนด้อย จะแสดงเฉพาะลักษณะเด่น และยีนด้อย (recessive gene) เป็นยีนที่เมื่ออยู่คู่กับยีนเด่นจะไม่แสดงลักษณะออกมา ยีนด้อยจะแสดงลักษณะด้อยออกมาเมื่อยีนด้อยอยู่ด้วยกันเท่านั้น ยีนซึ่งแสดงลักษณะข่มหรือยีนเด่น สามารถข่มอีกยีนหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์ (complete dominance) ลักษณะที่แสดงออกมาจึงเป็นลักษณะที่ข่ม แต่บางครั้งยีนซึ่งแสดงอาการข่มนั้นกลับข่มได้ไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) ลักษณะที่แสดงออกเป็นลักษณะกลาง ๆ ระหว่างของพ่อแม่ นอกจากนี้ลักษณะบางลักษณะเมื่อมียีนอยู่ทั้งสองอัลลีน เช่น การผสมระหว่างวัวสีแดงกับวัวสีขาว จะได้ลูกสีขาวแกมแดงหรือสีโรน (roan) สีที่ได้ไม่ใช่สีผสมระหว่างสีแดงและสีขาว แต่พบว่าวัวมีทั้งขนสีแดงและขาวปนกัน
6
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.2 ยีน องค์ประกอบทางเคมีของยีน ประกอบด้วย ดีเอ็นเอ ซึ่งสามารถจะขยายจำนวนจากการสร้างตัว (duplication) และถ่ายทอดลักษณะจากชั่วหนึ่งไปยังอีกชั่วหนึ่ง ดีเอ็นเอ ประกอบด้วย nucleotide มีส่วนประกอบย่อย 3 ส่วน ได้แก่ น้ำตาล deoxyribose, phosphate group, nitrogenous base ซึ่งมี 4 ชนิด เป็นpurine สองชนิด คือ adenine และ guanine เป็น pyrimidine base สองชนิด คือ thymine และ cytosine ดีเอ็นเอ มีโครงสร้างเป็นแบบบันไดเวียน (double helix) มี nucleotide 2 เส้น พันกันเป็นเกลียว โดย adenine ใช้อักษรย่อเป็น A จับกับ thymine ใช้อักษรย่อเป็น T และ guanine ใช้อักษรย่อเป็น G จับกับ cytosine ใช้อักษรย่อเป็น C
7
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.2 ยีน ภาพที่ 2.1 โครงสร้างของดีเอ็นเอ
8
4.2 ยีน บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.2 ยีน สัญลักษณ์ของยีน ใช้อักษรในภาษาอังกฤษ ยีนแสดงลักษณะข่มหรือยีนเด่นแทนด้วยอักษรตัวใหญ่ ยีนควบคุมลักษณะด้อยแทนด้วยอักษรตัวเล็ก ถ้าพบลักษณะที่เกิดขึ้นบ่อยหรือพบเห็นได้ทั่วไปกว่าลักษณะอื่นเรียกว่า ลักษณะนั้นเป็นลักษณะปกติ (wild type) ซึ่งมักจะเป็นลักษณะข่ม ส่วนลักษณะที่ไม่ค่อยพบเห็นเรียกว่าลักษณะผิดปกติ (mutant) มักจะเป็นลักษณะด้อย การเขียนสัญลักษณ์เมื่อลักษณะผิดปกติเป็นลักษณะด้อย ใช้อักษรตัวเล็กโดยใช้เครื่องหมายบวกกำกับ เช่น ลักษณะสีของแมลงหวี่ใช้ b+ แทนยีนควบคุมตัวสีเทา เป็นลักษณะปกติและเป็นลักษณะข่ม b แทนยีนควบคุมตัวสีดำ เป็นลักษณะผิดปกติและเป็นลักษณะด้อย ถ้าลักษณะผิดปกติเป็นลักษณะข่ม เช่น ใช้ B+ แทนยีนควบคุมลักษณะตาปกติ เป็นลักษณะปกติและเป็นลักษณะด้อย B แทนยีนควบคุมตาขนาดเล็กกว่าปกติ เป็นลักษณะผิดปกติและเป็นลักษณะข่ม
9
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล กฎของเมนเดล ปี ค.ศ เมนเดล เป็นผู้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะในถั่วลันเตา (Pisum sativum) และสรุปออกมาเป็นกฎที่สามารถใช้อธิบายการถ่ายทอดลักษณะบางลักษณะได้ กฎของเมนเดล สรุปได้ดังนี้
10
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล กฎของเมนเดล 1) กฎการแยกตัวของยีน (law of segregation) กล่าวถึงยีนที่อยู่เป็นคู่จะแยกจากกัน ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายพ่อและแม่ แล้วเข้าสู่เซลล์สืบพันธุ์หน่วยละ 1 ยีน 2) กฎการรวมตัวของยีนโดยอิสระ (law of independent assortment) กล่าวถึงการถ่ายทอดลักษณะของยีนสองคู่ไปด้วยกันโดยแต่ละคู่ควบคุมหนึ่งลักษณะ เซลล์สืบพันธุ์ที่สร้างขึ้นจะมีโอกาสในการรวมตัวกันอย่างอิสระ
11
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 1 คู่ เป็นการถ่ายทอดลักษณะของเมนเดลข้อที่ 1 อัตราส่วนของลูกที่เกิดมาแสดงได้ 2 อย่าง คือ อัตราส่วนจีโนไทป์และอัตราส่วนฟีโนไทป์ ในกรณีการถ่ายทอดลักษณะการมีเขาและไม่มีเขาของโค สมมุติว่า การไม่มีเขา - มีเขา ถูกควบคุมด้วยยีนเพียง 1 คู่ โดยให้การไม่มีเขาควบคุมด้วยยีน P และการมีเขาควบคุมด้วยยีน p ขณะเดียวกันก็ให้ยีน P ข่มยีน p โดยสมบูรณ์ ดังนั้นโคที่ไม่มีเขาจะมีจีโนไทป์เป็น PP หรือ Pp และโคที่มีเขามีจีโนไทป์เป็น pp เมื่อเกิดการผสมพันธุ์กันขึ้นระหว่างรุ่นพ่อ - แม่ จะได้ลูกผสมชั่วแรกเรียกว่า F1 (first filial generation) เมื่อปล่อยให้ลูก F1 ผสมตัวเองจนได้ลูกชั่วที่สองเรียกว่า F2 (second filial generation) เช่น การผสมระหว่างพ่อ Pp กับแม่ Pp ก็จะได้ลูกตามผังที่แสดงไว้ข้างล่างนี้
12
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 1 คู่
13
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 1 คู่ ฉะนั้นลูกที่ได้มีจีโนไทป์ 3 ประเภท คือ PP, Pp, pp แต่มีฟีโนไทป์เพียง 2 ประเภท คือ ไม่มีเขา และ มีเขา โดยสรุปแล้วการผสมพันธุ์และการถ่ายทอดลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนเพียง 1 คู่ มีได้ 6 แบบ ดังนี้ 1) PP x PP ได้ลูก PP ทั้งหมด 2) PP x Pp ได้ลูก 1PP : 1Pp 3) PP x pp ได้ลูก Pp ทั้งหมด 4) Pp x Pp ได้ลูก 1PP : 2Pp : 1pp 5) Pp x pp ได้ลูก 1Pp : 1pp 6) pp x pp ได้ลูก pp ทั้งหมด
14
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 2 คู่ เป็นการถ่ายทอดลักษณะของเมนเดลข้อที่ 2 กรณีของการผสมพันธุ์กันระหว่างโคพันธุ์แองกัส (Angus) ดังภาพที่ สีดำไม่มีเขา มีจีโนไทป์ BBPP กับโคพันธุ์เฮียร์ฟอร์ด (Hereford) ดังภาพที่ สีแดงมีเขา มีจีโนไทป์ bbpp จะได้ลูกตามผังที่แสดงไว้ข้างล่างนี้
15
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 2 คู่
16
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 2 คู่
17
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 2 คู่ โคพันธุ์ แองกัส
18
4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.3 การถ่ายทอดลักษณะตามกฎเมนเดล การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 2 คู่ โคพันธุ์ เฮียร์ฟอร์ด
19
4.4 มัลติเปิล อัลลีล บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.4 มัลติเปิล อัลลีล มัลติเปิล อัลลีล (multiple alleles) หมายถึง กลุ่มของอัลลีล หรือสภาพของยีนบนตำแหน่งหนึ่งของโครโมโซมที่มีจำนวนมากกว่า 2 อัลลีล การถ่ายทอดมัลติเปิล อัลลีล จะเหมือนกับการถ่ายทอดลักษณะของยีนดังได้กล่าวมาแล้ว ทั้งการแยกตัวของยีนและการรวมตัวกับยีนอื่นที่อยู่กันคนละโครโมโซมอย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้เพราะสัตว์ตัวหนึ่งจะมียีนในตำแหน่งหนึ่ง ๆ ได้เพียง 1 คู่เท่านั้น แม้ว่าตำแหน่งนั้นจะมีอัลลีลมากกว่า 2 ก็ตาม แต่ผลการรวมตัวของยีนจะทำให้เกิดความแตกต่างในสัดส่วน และจำนวนชนิดของจีโนไทป์และลักษณะปรากฏ
20
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.4 มัลติเปิล อัลลีล
21
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.4 มัลติเปิล อัลลีล
22
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม (non - additive gene action) เป็นการแสดงอำนาจของยีนที่ควบคุมลักษณะทางคุณภาพ หมายถึง การที่ยีนต่าง ๆ ในจีโนไทป์เดียวกันไม่สามารถเสริมการแสดงออกมาซึ่งกันและกันได้ แต่สามารถเกิดผลร่วมกัน ทำให้เกิดฟีโนไทป์ชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น สีขน ลักษณะเขาโค เป็นต้น การแสดงอำนาจของยีนลักษณะนี้ ได้แก่ การข่มไม่สมบูรณ์ การข่มสมบูรณ์ การข่มเกิน และปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนต่างคู่
23
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม การข่มไม่สมบูรณ์ หมายถึง การที่ยีนแต่ละอัลลีลไม่มีการข่มซึ่งกันและกัน มีผลให้การแสดงฟีโนไทป์ของเฮเตอโรไซโกตอยู่กึ่งกลางระหว่างโฮโมไซโกตทั้งสองชนิด ตัวอย่าง ลักษณะสีขนของโคพันธุ์โคชอร์ตฮอร์น ที่ควบคุมด้วยยีน R และยีน r โดย R ควบคุมลักษณะขนสีแดงซึ่งเป็นยีนข่มไม่สมบูรณ์ r ควบคุมลักษณะขนสีขาวซึ่งเป็นยีนด้อย ทั้งสองอัลลีลนี้ไม่มีผลข่มซึ่งกันและกัน ทำให้โคมีจีโนไทป์ Rr แสดงฟีโนไทป์เป็นขนสีแดงและสีขาวปนกัน การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทำได้โดยนำโคสีแดง มาผสมกับสีขาว ได้ลูกชั่วอายุที่ 1 สีโรน นำลูกชั่วอายุที่ 1 โคสีโรนมาผสมกัน ได้ลูกชั่วอายุที่ 2 ในอัตราส่วนสีแดงต่อสีโรนต่อสีขาว เท่ากับ 1 ต่อ 2 ต่อ 1 ตามผังที่แสดงไว้ข้างล่างนี้
24
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม การข่มไม่สมบูรณ์ โคพันธุ์ ชอร์ตฮอร์นสีแดง
25
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม การข่มไม่สมบูรณ์ โคพันธุ์ ชอร์ตฮอร์นสีขาว
26
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม การข่มไม่สมบูรณ์ โคพันธุ์ ชอร์ตฮอร์นสีโรน
27
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
28
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม การข่มสมบูรณ์ หมายถึง การที่ยีนหนึ่งสามารถปิดบังการแสดงออกของยีนอื่นที่เป็น อัลลีลกันได้ มีผลให้การแสดงฟีโนไทป์ของเฮเตอโรไซโกตเหมือนกับโฮโมไซโกตของยีนเด่น ตัวอย่างของการข่มสมบูรณ์ ได้แก่ ลักษณะสีขนของโคที่ควบคุมด้วยยีน B และยีน b โดย B ควบคุมลักษณะขนสีดำซึ่งเป็นยีนข่มสมบูรณ์ต่อ b ที่ควบคุมลักษณะขนสีแดง มีผลให้จีโนไทป์ BB และ Bb แสดงฟีโนไทป์เหมือนกันคือ มีขนสีดำ ส่วนจีโนไทป์ bb แสดงฟีโนไทป์ขนสีแดง เรียกยีน B ว่าเป็นยีนเด่นและเรียกยีน b ว่าเป็นยีนด้อย
29
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
30
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม ปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนต่างคู่ (epistasis) หมายถึง การที่ยีนตั้งแต่สองคู่ขึ้นไป แต่ละคู่อยู่บนโครโมโซมเดียวกันหรือต่างโครโมโซมควบคุมลักษณะเดียวกัน เกิดปฏิกิริยาร่วมกัน ทำให้เกิด ฟีโนไทป์ชนิดใหม่ที่แตกต่างไปจากฟีโนไทป์ที่มีอยู่เดิม ตัวอย่างของปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนต่างคู่ ได้แก่ ลักษณะหงอนไก่ซึ่งควบคุมด้วยยีน R และยีน P โดย R ควบคุมลักษณะหงอนกุหลาบ (rose comb) และ P ควบคุมลักษณะหงอนถั่ว (pea comb) การผสมระหว่างไก่หงอนกุหลาบและหงอนถั่ว ยีน R และยีน P เกิดปฏิกิริยาร่วมกันทำให้ไก่ที่มีจีโนไทป์ R–P– แสดงหงอนวอลนัท (walnut comb) ซึ่งเป็นหงอนชนิดใหม่ที่เกิดขึ้น ตามผังที่แสดงไว้ข้างล่างนี้
31
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม ปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนต่างคู่ (epistasis) ลักษณะของหงอนไก่แบบต่าง ๆ
32
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม ปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนต่างคู่ (epistasis)
33
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน
34
4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.5 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบไม่บวกสะสม ปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนต่างคู่ (epistasis) ในลักษณะหงอนของไก่ ปฏิกิริยาร่วมของยีนจากตำแหน่งทั้งสอง ทำให้เกิดลักษณะปรากฏต่าง ๆ กัน คือ จีโนไทป์ที่มียีนข่มอยู่ในทั้ง 2 ตำแหน่ง ให้ลักษณะหงอนวอลนัท จีโนไทป์ที่มียีนข่มในตำแหน่ง R กับยีนด้อยแบบโฮโมไซโกต (pp) ทำให้เกิดลักษณะปรากฏเป็นหงอนกุหลาบ ในทางกลับกันจีโนไทป์ที่มียีนข่มในตำแหน่ง P กับยีนด้อยแบบโฮโมไซโกต (rr) ให้ลักษณะเป็นหงอนถั่ว ขณะที่จีโนไทป์ที่มียีนด้อยทั้ง 2 ตำแหน่ง ให้ลักษณะปรากฏอีกแบบหนึ่งโดยมีลักษณะเป็นหงอนจักร (single comb)
35
4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม การแสดงออกแบบบวกสะสม (additive gene action) เป็นการแสดงอำนาจของยีนที่ควบคุมลักษณะปริมาณ หมายถึง การที่ยีนแต่ละตัวในจีโนไทป์สามารถเสริมการแสดงออกของยีนอื่นที่เป็นอัลลีลกัน หรืออยู่ในจีโนไทป์เดียวกันได้ เช่น ลักษณะสีผิวของคนซึ่งมียีนอย่างน้อย 2 คู่ ที่ควบคุมปริมาณสารเมลานิน ทำให้คนมีสีผิวที่แตกต่างกัน ปริมาณสารเมลานินและสีผิวมีดังนี้
36
4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
37
4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
38
4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
39
4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.6 การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนแบบบวกสะสม
40
4.7 การถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.7 การถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศ การถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมร่างกาย จะเป็นไปตามกฎการแยกตัวและกฎการรวมตัวของยีน นอกจากนี้มียีนที่ควบคุมบางลักษณะอยู่บนโครโมโซมเพศ ซึ่งการถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศ (sex - influence inheritance) จะต่างจากลักษณะที่ควบคุมโดยยีนบนโครโมโซมร่างกาย คือ การถ่ายทอดจะแตกต่างกันในแต่ละเพศ ผลการศึกษายีนที่ควบคุมอยู่บนโครโมโซมเพศ มีตำแหน่งอยู่บน X-โครโมโซมเท่านั้น Y-โครโมโซมจะไม่มียีนอยู่ ตัวอย่างการถ่ายทอดแบบนี้ ได้แก่ ลักษณะขนบาร์ (barred) และขนไม่บาร์ (non - barred) ในไก่ ซึ่งแสดงได้ดังนี้
41
4.7 การถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.7 การถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศ
42
4.7 การถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.7 การถ่ายทอดลักษณะของยีนบนโครโมโซมเพศ
43
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะที่กล่าวมาแล้ว เป็นการถ่ายทอดของยีนที่อยู่กันคนละโครโมโซม ลักษณะของสัตว์แต่ละชนิดมีอยู่มากมาย แต่โดยทั่วไปแล้วสัตว์มีจำนวนโครโมโซมไม่เกิน 50 คู่ ย่อมแสดงว่าบนโครโมโซมแต่ละคู่จะมียีนอยู่จำนวนมาก และยีนบางคู่อาจจะควบคุมมากกว่าหนึ่งลักษณะ การที่กลุ่มของยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกันนี้เรียกว่า ลิงเคจ (linkage) ซึ่งยีนเหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะถ่ายทอดไปด้วยกันหรือไม่ก็อาจจะเกิดการแยกจากกันได้ จากขบวนการแลกเปลี่ยนโครโมโซมในระหว่างการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ การเกิดลิงเคจยีน (linkage gene) อาจพบได้ในโครโมโซมร่างกายหรือโครโมโซมเพศ ทำให้ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนทั้งสองปรากฏพร้อมกันในสิ่งมีชีวิต อัตราส่วนลูกที่เกิดจากการผสมกันจึงต่างไปจากกฎของเมนเดล
44
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจแบบสมบูรณ์ สภาพของยีนสองตำแหน่งที่ไม่เป็นคู่กันอยู่บนโครโมโซมแท่งเดียวกัน ดังภาพที่ เป็นลิงเคจที่ไม่มีการไขว้เปลี่ยนหรือครอสซิ่งโอเวอร์ (crossing over) ลักษณะการเกาะกันของลิงเคจยีนแบบสมบูรณ์
45
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจแบบสมบูรณ์ การนำโคสีดำไม่มีเขา (BBPP) มาผสมพันธุ์กับโคสีแดงมีเขา (bbpp) เมื่อเกิดลูกผสมชั่วอายุที่หนึ่ง นำลูกชั่วอายุที่หนึ่งผสมพันธุ์กันเองจนได้ลูกชั่วอายุที่สอง หาอัตราส่วนจีโนไทป์และอัตราส่วนฟีโนไทป์ของลูกชั่วที่สอง โดยสมมุติให้ B เป็นยีนเด่นควบคุมสีดำ b เป็นยีนด้อย ควบคุมสีแดง P เป็นยีนเด่นควบคุมไม่มีเขา p เป็นยีนด้อยควบคุมมีเขา B และ P อยู่บนโครโมโซมเดียวกันและลิงเคจกัน b และ p อยู่บนโครโมโซมเดียวกันและลิงเคจกัน กำหนดให้ BBPP ที่ B ลิงเคจกับ P เขียนเป็น BP BP และ bbpp ที่มี b ลิงเคจกับ p เขียนเป็น bp bp
46
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจแบบสมบูรณ์
47
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจแบบสมบูรณ์
48
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจแบบสมบูรณ์ ที่กล่าวมา BP bp มีเซลล์สืบพันธุ์ได้เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ BP และ bp เพราะมีลิงเคจระหว่าง B กับ P และ b กับ p อันมีผลทำให้ลูกที่เกิดจากการผสมมีจีโนไทป์เพียง 3 ชนิด และมีฟีโนไทป์เพียง 2 ชนิดเท่านั้น การลิงเคจแบบนี้เป็นลิงเคจที่สมบูรณ์ การถ่ายทอดของยีนบนโครโมโซมเดียวกันนี้ มีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสหสัมพันธ์ทางด้านพันธุกรรม (genetic correlation) ระหว่างลักษณะต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง น้ำหนักแรกเกิด น้ำหนักหย่านม และน้ำหนักเมื่ออายุมากขึ้น เป็นต้น
49
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจไม่สมบูรณ์ เป็นลิงเคจที่เกิดจากครอสซิ่งโอเวอร์ร่วมด้วย ในขณะการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ทำให้เกิดเซลล์สืบพันธุ์ที่มียีนต่างกันได้มากกว่า 2 ชนิด ลักษณะการเกิดครอสซิ่งโอเวอร์
50
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจไม่สมบูรณ์
51
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจไม่สมบูรณ์
52
4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.8 การถ่ายทอดลักษณะเมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน การถ่ายทอดลักษณะเมื่อมีลิงเคจไม่สมบูรณ์ ประโยชน์ของการเกิดครอสซิ่งโอเวอร์ มีดังนี้ 1) ทำให้เกิดการแปรผันในพันธุกรรม 2) ทำให้เกิดความหลากหลาย (diversity) ซึ่งจะเกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือโดยมนุษย์ 3) เกิดการดำรงเผ่าพันธุ์ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการวิวัฒนาการมาเป็นเวลานาน
53
4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ ยีนมรณะ (lethal gene) หมายถึง ยีนที่มีผลทำให้สัตว์ถึงแก่ความตาย ซึ่งการตายอาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดของชีวิตก็ได้ เช่น อาจจะตายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หลังคลอด หรือช่วงหลังของชีวิตก็ได้ ส่วนยีนผิดปกติ (detrimental gene) หมายถึง ยีนที่มีผลทำให้เกิดความผิดปกติในรูปร่างลักษณะของสัตว์ ลักษณะการตายหรือการผิดปกติของสัตว์ซึ่งเกิดจากยีนมรณะหรือยีนผิดปกติ ที่พบในสัตว์เลี้ยงมีอยู่มากมาย ในโค เช่น น้ำคั่งในสมอง (hydrocephalus) แคระเเกร็น (dwarfism) ในสุกร เช่น ไส้เลื่อนลงถุงอัณฑะ (scrotal hernia) อาการไม่มีช่องเปิดทวารหนัก (atresia ani) และอาการหัวโตพองน้ำ (hydrocephalus) ซึ่งจะเป็นเหตุให้สุกรนั้นตายภายใน วัน หรือในม้า เช่น อาการลำไส้ใหญ่ตีบตัน (atresia coli)
54
4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ ม้าขาวจะเป็นพาหะ (carrier) เมื่อนำม้าสีขาวที่เป็นพาหะ 2 ตัว มาผสมกัน ลูกที่มีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซโกต (WW) มีลักษณะสีขาว จะตายภายในเวลา 72 ชั่วโมงหลังเกิด เนื่องจากระบบลำไส้พัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถขนส่งกากอาหารได้ ไม่ควรนำม้าสีขาวมาผสมด้วยกัน ปัจจุบันสามารถตรวจยีนที่ขนได้ ยีนทั้งสองชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นยีนด้อย (มีทั้งที่ข่มสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์) โอกาสที่ยีนจะแอบแฝงอยู่ภายในตัวสัตว์โดยที่สัตว์ไม่แสดงอาการหรือลักษณะผิดปกติหรือตายจึงมีอยู่สูงมาก สร้างความเสียหายแก่วงการเลี้ยงสัตว์อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้การผสมเทียมเป็นหลักในการขยายพันธุ์ หากพ่อพันธุ์ที่ใช้มียีนด้อยพวกนี้แฝงอยู่ก็จะเกิดการกระจายของยีนออกไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าลักษณะผิดปกติบางอย่างอาจจะรักษาหรือแก้ไขได้ เช่น อาการไส้เลื่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราได้กำจัดยีนที่ไม่ดีออกจากตัวสัตว์หรือฝูงสัตว์ไป
55
4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ การเกิดยีนมรณะในม้า
56
4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ การจำแนกสาเหตุของการตายหรืออาการผิดปกติ เป็นการยากที่จะระบุว่าการตายหรืออาการผิดปกติของสัตว์นั้น เกิดจากยีนมรณะหรือยีนผิดปกติ หรือเกิดจากปัจจัยของสภาพแวดล้อม เช่น เกิดจากการขาดแร่ธาตุ ขาดไวตามิน โภชนะไม่เพียงพอ หรือสภาพภูมิอากาศผิดปกติ เป็นต้น การจำแนกว่า การตายหรืออาการผิดปกตินั้นเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ ดังนี้ 1) ตรวจสอบว่าอาการที่พบเห็นในสัตว์นั้นเคยมีรายงานไว้หรือไม่ โดยทั่วไปการตายหรืออาการผิดปกติมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ 2) การตายหรืออาการผิดปกตินั้นมักเกิดขึ้นเมื่อมีการผสมเลือดชิด 3) การตายหรืออาการผิดปกตินั้นไม่ได้หายไป แม้ว่าจะมีการปรับสภาพแวดล้อม หรือนำสัตว์ไปเลี้ยงที่อื่น หรือสภาพภูมิอากาศอื่นแล้วก็ตาม
57
4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.9 ยีนมรณะและยีนผิดปกติ แนวทางปฏิบัติที่ใช้ในการกำจัดยีนมรณะหรือยีนผิดปกติออกจากฝูงสัตว์ มีดังนี้ 1) คัดทิ้งพ่อ-แม่พันธุ์ที่ให้กำเนิดลูกที่มีอาการผิดปกติออกจากฝูง 2) คัดทิ้งญาติพี่น้องของสัตว์ที่แสดงอาการผิดปกติออกจากฝูง 3) เก็บสัตว์ที่มีอาการผิดปกติที่มีชีวิตรอดไว้ทดสอบสัตว์ตัวอื่น ๆ ที่เราสงสัยว่าจะมียีนมรณะหรือยีนผิดปกติที่เป็นยีนด้อยแฝงอยู่ 4) ควรจะตรวจสอบพันธุ์ประวัติและทดสอบพ่อพันธุ์ก่อนที่จะนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตน้ำเชื้อเพื่อการผสมเทียม
58
4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน เพศของสัตว์ การแสดงอำนาจของยีนขึ้นอยู่กับเพศของสัตว์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) ลักษณะที่ถูกจำกัดด้วยเพศ (sex - limited trait) เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมร่างกาย แต่สามารถแสดงฟีโนไทป์ได้เฉพาะเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เช่น ลักษณะการให้น้ำนมของโคนม หรือลักษณะการให้ไข่ของไก่ จะแสดงในเพศเมียเท่านั้น ส่วนเพศผู้แม้จะมียีนควบคุมการให้น้ำนมหรือการให้ไข่ แต่ก็ไม่สามารถแสดงออกได้ เพราะจำกัดด้วยร่างกาย และสามารถถ่ายทอดไปให้ลูกได้ ลูกที่เกิดเป็นตัวเมียก็จะแสดงลักษณะการให้น้ำนมหรือการให้ไข่ได้
59
4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน เพศของสัตว์ การแสดงอำนาจของยีนขึ้นอยู่กับเพศของสัตว์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2) ลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากเพศ (sex - infleuenced trait) เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมร่างกาย แต่การแสดงฟีโนไทป์จะเป็นลักษณะเด่นหรือด้อยขึ้นอยู่กับเพศของสัตว์ เช่น ลักษณะมีเขาของแกะควบคุมด้วยยีนคู่หนึ่งคือ H1 ควบคุมการมีเขา และ H2 ควบคุมการไม่มีเขา แกะที่เป็นเฮเตอโรไซโกต เพศผู้มีเขาแต่เพศเมียไม่มีเขา แสดงว่า H1 เป็นยีนเด่นในเพศผู้ และ H2 เป็นยีนเด่นในเพศเมีย ซึ่งแสดงจีโนไทป์และฟีโนไทป์ ดังนี้
60
4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน เพศของสัตว์ การแสดงอำนาจของยีนขึ้นอยู่กับเพศของสัตว์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2) ลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากเพศ
61
4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน อายุของสัตว์ อายุมีผลต่อการแสดงออกของยีนบางกลุ่ม เพราะยีนไม่ได้แสดงอำนาจทันทีหลังจากเกิดเสมอไป บางยีนแสดงออกหลังจากเกิดชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น ยีนแสดงการไข่ของไก่ เมื่อไก่มีอายุหนุ่มสาว จึงให้ไข่ได้ ดังนั้นไก่อายุน้อยให้ไข่ไม่ได้ เป็นต้น
62
4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน
บทที่ 2 หลักพันธุศาสตร์พื้นฐาน 4.10 ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอำนาจของยีน สิ่งแวดล้อม การแสดงออกของลักษณะฟีโนไทป์ของยีนบางคู่นอกจากมีความผันแปรเนื่องจากอิทธิพลของยีนแล้ว สภาพแวดล้อมก็มีผลต่อการแสดงออกของฟีโนไทป์ เช่น ฝาแผดที่เกิดจากไข่ฟองเดียวกัน เมื่อเลี้ยงในสถานที่ต่างกัน จะแสดงลักษณะออกมาต่างกัน สิ่งแวดล้อมดังกล่าวมี 2 ลักษณะคือ 1) สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น อุณหภูมิ เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกที่สำคัญ ตัวอย่างการแสดงผลของอุณหภูมิ ได้แก่ สีของขนกระต่ายหิมาลายัน หรือแมวไทย ซึ่งมีสีเข้มบริเวณจมูก หู ปลายเท้าและปลายหางเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าปกติ และยังมี แสงแดด อาหาร ฯลฯ 2) สิ่งแวดล้อมภายใน ได้แก่ ผลจากฮอร์โมน ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนเพศผู้ของสุกรจะส่งผลต่อความหนาของไขมันสันหลัง โดยเพศผู้ที่ตอนจะมีความหนามากกว่าเพศผู้ที่ยังไม่ตอน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.