ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMarie-Claire Dupuis ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
สัดส่วนทางสถาปัตยกรรม Proportion in Architecture
ดร.ศุภกิจ มูลประมุข
2
อัตราส่วนทอง (Golden Ratio)
อัตราส่วนทอง (Golden Ratio) ในทางคณิตศาสตร์และศิลปะนั้น มีมาตั้งแต่สมัย Euclid หรือ Euclid of Alexandria เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่ประมาณ พ.ศ.218 แต่เรียกมันว่า Extreme and Mean Ratio โดยเน้นความหมายของมันในด้านคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ความงาม Golden Section เป็นชื่อที่ ตั้งขึ้นในสองพันปีให้หลัง ในศตวรรษที่15 โดย Luca Pacioli และ Leonardo Da Vinci เรียกว่า Divine Proportion (สัดส่วนศักดิ์สิทธิ์) คำว่า “Golden” ถูกนำมาใช้หลังจากนั้นอีก คือในปี 1835 ในหนังสือของ Martin Ohm นักคณิตศาสตร์ และยิ่งเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในนวนิยาย The Da Vinci Code ของ Dan Brown คำนี้เรียกได้หลายอย่าง เช่น Golden Proportion, Golden Ratio, Golden Number หลังจากที่ Luca Pacioli พบ ความลับของ Golden Section สัดส่วนทองคำนี้ก็เฟื่องฟูในศาสตร์สัญลักษณ์ในวงการศิลปะ, สถาปัตยกรรม เช่น พีระมิดอียิปต์ (The Great Pyramid), วิหารกรีก (The Parthenon), ดนตรี, ปีกผีเสื้อ, เปลือก หอย, เกลียวของสัปปะรด, หลุมดำ, ซุปเปอร์โนวา (supernova) ฯลฯ
3
เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ หรือ Golden Section คือ สี่เหลียมผืนผ้าที่มีอัตราส่วนด้านยาวต่อ ด้านสั้นเท่ากับอัตราส่วนทองคำ หรือ phi นั่นเอง ความพิเศษของสี่เหลี่ยมทองคำก็คือถ้าเรา แบ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส และส่วนที่สอง เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็จะพบว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันเล็ก ที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังคงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทองคำเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าเรายังแบ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ ที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ก็จะได้สี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ ที่มีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ ซ้ำไปซ้ำมาจนไม่รู้ จบ ชาวกรีกเชื่อว่ามันเป็นสัดส่วนพื้นฐานของความงามของสรรพสิ่งในจักรวาล และกฎแห่ง ธรรมชาติ ปัจจุบันยังมีคนที่ศึกษาและพยายามโยงหา Golden Section จากทุกๆสิ่งใน ธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ปีกผีเสื้อ เปลือกหอย
4
มหาวิหารพาร์ธีนอนในกรุงเอเธนส์ที่มีสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำซ่อนอยู่อย่างไม่รู้จบ ซึ่งส่งผลให้มหาวิหารแห่งนี้ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่มีความสมมาตรและสวยงามมาก จนกลายเป็นต้นแบบให้กับสิ่งก่อสร้างใน ภายหลังอีกหลายแห่ง
5
สี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำที่ปรากฏอยู่บนใบหน้าและส่วนต่างๆของ โมนาลิซาซึ่งเป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงมาก ที่สุดรูปหนึ่งของโลก ที่วาดขึ้นโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี
6
นาฬิกา Panerai Luminor ถือกำเนิดในปี คศ
นาฬิกา Panerai Luminor ถือกำเนิดในปี คศ.1860 จากเมือง Florence ประเทศ Italy จัดได้ ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ออกแบบที่เป็นเลิศด้านการออกแบบทั้งศาสตร์และศิลปะ ซึ่งจากสัดส่วนเห็นได้ชัดเจนว่า ได้ประยุกต์กฏของสัดส่วนทองคำในการออกแบบ
7
สถาปนิกชั้นนำของโลก Le Corbusier- Charles-Edouard Jeanneret ได้คิดค้นระบบของสัดส่วน ของการออกแบบทางสถาปัตยกรรม เรียกว่า Le Modulor คือระบบการวัดสัดส่วนในวานออกแบบที่สามารถ ใช้เป็นมาตรวัดตั้งแต่ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กๆ ไปถึงขนาดของอาคารจนกระทั่งสัดส่วนของเมืองทั้งเมืองโดยมี นัยยะสำคัญว่าสัดส่วนของงานออกแบบทั้งหลาย นั้นสัมพันธ์กับสัดส่วนการใช้สอยและการมองเห็นของมนุษย์อย่าง มากที่สุดนอกจากนี้ยังเป็นสัดส่วนที่สามารถ ปรับเข้าใช้กับผู้ใช้ทั่วโลก
8
ทฤษฎี Le Modulor ได้มาจากปัจจัย 5 ประการ คือ1
2. ความที่มนุษย์ไม่เคยเห็นความงามมากได้เท่าที่เคยได้ยินมาจากเสียงดนตรีที่ละเอียดและไพเราะ ซึ่งสามารถรวบรวมไว้ ด้วยมิติ ซึ่งมีความก้าวหน้าและมีความกลมกลืนกันอย่างยิ่ง ซึ่งในอดีตชาวกรีกอาจจะเคยรู้จริงในข้อนี้จึงสามารถสร้างสรรค์ งานที่เป็นอมตะขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่สามารถCodifiedได้ ซึ่งต่างกับดนตรีซึ่งถูก Codified ได้ตั้งแต่สมัยของ Bach 3. ความจริงที่ยอมรับกันมาในอดีตแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของสัดส่วน เช่น สัดส่วน 8 ต่อ 3 ซึ่งถือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ดูน่า พอใจ หรือสัดส่วนที่เรียกว่า Golden Section ซึ่งมีด้านยาวเท่ากับเส้นทะแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เกิดจากด้านสั้น ของมัน ซึ่งสัดส่วนเหล่านี้ทำให้เกิดความพอใจเมื่อได้เห็น ไม่วาจะเป็นกรอบรูป กรอบหน้าต่าง รูปด้านของอาคาร หรือแม้แต่ จัตุรัสใจกลางเมือง 4. ความจริงซึ่งมนุษย์สามารถสร้างสัดส่วนที่สวยงามได้และได้เคยสร้างมาแล้ว เช่น สัดส่วนสมบูรณ์ลักษณ์ ล้วนเป็น จุดเริ่มต้นซึ่งสามารถหาชุดอนุกรมของสัดส่วน ซึ่งค่อยๆใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ในทางตรงข้าม ซึ่งแต่ละสัดส่วนจะมีความสัมพันธ์ กัน กลมกลืนกันในลักษณะตรงที่ว่า สัดส่วนที่ใหญ่กว่าสามารถนำเอาสัดส่วนที่เล็กกว่าหลายๆชั้น บรรจุลงได้ 5. สัดส่วนนั้นควรจะสามารถบรรจุสัดส่วนที่เกี่ยวกับมนุษย์ได้ เช่น คนยืนชูแขน คนนั่ง คนยืน โดยสัดส่วนได้นั้นมาจากมนุษย์ ทั้งสิ้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.