งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสัมมนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสัมมนา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสัมมนา
ความหมาย เป้าหมายและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบของการสัมมนา

2 ความหมาย การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในวงการศึกษา สัมมนาเป็นวิชาที่เปิดสอนให้นักศึกษา ได้ร่วมกันศึกษาปัญหาและประชุมอภิปรายกัน ในวงการอื่นๆ เป็นการประชุมเพื่อต้องการแสวงหา แนวทางและความคิดใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

3 ความสำคัญของการสัมมนา
ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ แนวคิดประสบการณ์ โดยอาศัยการประชุม พบปะ พูดคุย เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ไข พัฒนาคน งานและทรัพยากรอื่น ๆ ความมุ่งหมายของการสัมมนา * อบรม ฝึกฝน ชี้แจง แนะนำ สั่งสอน ปลูกฝังทัศนคติ และให้คำปรึกษา ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง * พิจารณา สำรวจ ตรวจสอบปัญหา ที่หยิบยกขึ้นมา เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องที่ต้องการรู้ * . เสนอสาระน่ารู้ น่าสนใจ ที่ทันสมัย และเหมาะสมกับสถานการณ์ * แสวงหาข้อตกลงด้วยวิธีการอภิปราย ภายใต้หัวข้อที่กำหนด * การตัดสินใจ หรือกำหนดนโยบาย หรือแนวทางสำหรับนำไปปฏิบัติ

4 ประโยชน์ของการสัมมนา
สามารถจัดงานสัมมนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความรู้ แนวคิดมาปรับใช้ในการทำงานและชีวิต ผลจากการที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับจากการสัมมนา จะทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น แบ่งเบาภาระการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติงาน เป็นการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้พร้อมอยู่เสมอ เป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างความเข้าใจอันดีต่อเพื่อนร่วมงาน มีมนุษย์สัมพันธ์ เกิดความร่วมมือ สามารถทำงานเป็นทีมได้

5 เป้าหมายและวัตถุประสงค์
ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและแนวทางปฏิบัติร่วมกัน หัวใจของการสัมมนา คือ สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการความคิดเห็นและได้เสนอแนวคิดให้แก่กลุ่มเป็นสำคัญ

6 องค์ประกอบของการสัมมนา
บุคคลและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวกับการจัดสัมมนา โครงการสัมมนา วิธีการจัดสัมมนา เนื้อหาการสัมมนา บรรยากาศในการสัมมนา

7 บุคคลและกลุ่มบุคคล กลุ่มผู้จัดสัมมนา กลุ่มวิทยากร
ประธานและรองประธาน เลขานุการและผู้ช่วยฯ นายทะเบียนและคณะกรรมการฝ่ายทะเบียน กรรมการและคณะอนุกรรมการฝ่ายเอกสาร เหรัญญิกและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการฝ่ายสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ กรรมการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการฝ่ายปฏิคม กรรมการฝ่ายพยาบาล ฝ่ายประเมินผล กลุ่มผู้จัดสัมมนา กลุ่มวิทยากร กลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา

8 บุคคลและกลุ่มบุคคล กลุ่มผู้จัดสัมมนา กลุ่มวิทยากร
กลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้มาให้ความรู้ ให้ประสบการณ์แก่ ผู้เข้าร่วมสัมมนา

9 บุคคลและกลุ่มบุคคล กลุ่มผู้จัดสัมมนา กลุ่มวิทยากร
กลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้ประสบปัญหาร่วมกัน ผู้ต้องการแสวงหาแนวความคิดใหม่ร่วมกัน ผู้ที่ประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ผู้ที่ต้องการจะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

10 บทบาทของผู้เข้าร่วมสัมมนา
พูดจาสังสรรค์กัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างมีเป้าหมาย ทำงานร่วมกันอย่างมีระเบียบ ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เห็นความสำคัญของการสัมมนา รับผิดชอบและอยู่ร่วมสัมมนาโดยตลอด ร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มความสามารถ

11 โครงการสัมมนา องค์ประกอบหลักของการจัดทำแผนการสัมมนา
ผู้ปฎิบัติ : บุคคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด งบประมาณ : ค่าใช้จ่าย จากไหน เท่าไร เวลา : ระยะเวลาดำเนินการ สถานที่ : ที่จัดสัมมนา

12 องค์ประกอบของโครงการสัมมนา
ชื่อโครงการ : การตั้งชื่อควรสอดคล้องกับการสัมมนา หลักการและเหตุผลที่ต้องมีการสัมมนา วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย วิทยากร ระยะเวลา สถานที่ วิธีการสัมมนา

13 วิธีการสัมมนา การบรรยาย (Lecture of speech) การอภิปรายทั่วไป (Forum)
นำเสนอเรื่องราวปากเปล่า เป็นวิธีการที่รวดเร็วในการเสนอเรื่อง มีลำดับขั้นตอน การอภิปรายทั่วไป (Forum) ไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์เคร่งครัด เสนอเรื่อง ซักถามและตอบ การอภิปรายแบบกลุ่มย่อย (Group discussion) มีการแบ่งกลุ่มย่อย อภิปราย ตามความสนใจในหัวข้อย่อย หาลู่ทางตกลงกันเพื่อเป็นมติของกลุ่ม

14 วิธีการสัมมนา (ต่อ) การปฏิบัติการ (workshop)
เน้นการลงมือทำ มีส่วนร่วมมากขึ้น จัดในกลุ่มที่มี background และความสนใจร่วมกัน ทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ ภายใต้การแนะนำของที่ปรึกษาหรือผู้รู้ การสังเกตการณ์ (observation) การสาธิต (Demonstration) การปฏิบัติการให้เห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ข้อดี ทำให้เห็นกระบวนการจริง เกิดความรับรู้ได้รวดเร็ว ข้อเสีย เหมาะเฉพาะกับกลุ่มขนาดเล็กๆ เท่านั้น

15 วิธีการสัมมนา (ต่อ) การพบปะสนทนา (session) การศึกษานอกสถานที่/ดูงาน
การพบคุยปรึกษา พูดคุยอย่างเสรีในเรื่องนั้นๆ การศึกษานอกสถานที่/ดูงาน การระดมความคิด (Brainstorming) ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี การฉายภาพยนตร์ VDO Slide การทำกลุ่มสัมพันธ์ เช่น หาปัญหามาให้แก้ไขร่วมกัน

16 องค์ประกอบของโครงการสัมมนา(ต่อ)
กำหนดการสัมมนา แสดงรายละเอียดในเรื่องเวลาและเรื่องที่จะสัมมนา งบประมาณที่ใช้ : เท่าใด ใครรับผิดชอบ รายละเอียดงบ ประเมินผล : ทำภายหลังการจัดสัมมนาแล้ว เพื่อทราบสภาพปัญหา ประสิทธิผลและการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในครั้งต่อไป แบ่งได้ 4 ส่วน คือ ตัวโครงการ, สภาพความพร้อม, การดำเนินโครงการ และสภาพเมื่อสิ้นสุดโครงการ

17 องค์ประกอบของโครงการสัมมนา(ต่อ)
1 องค์ประกอบของโครงการสัมมนา(ต่อ) ประเมินผล (ต่อ) ลักษณะการประเมินผล มี 2 ลักษณะ คือ ประเมินผลย่อย แต่ละส่วนในแต่ละโครงการ ประเมินผลรวม ทั้งโครงการ วิธีการประเมินผล สังเกต แบบสอบถาม การบันทึก จัดตั้งกลุ่มประเมิน จัดตั้งวัตถุประสงค์ร่วมกัน ประเมินตนเองในขณะทำงาน

18 องค์ประกอบของโครงการสัมมนา(ต่อ)
ผู้จัดสัมมนา : คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ

19 เนื้อหาการสัมมนา ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการสัมมนา
ได้เนื้อหาสาระต่างๆ ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจและหาทางออกหรือข้อสรุปได้

20 บรรยากาศในการสัมมนา ผู้เข้าร่วมมีโอกาสพูดจาสังสรรค์กัน
ได้ร่วมกิจกรรมอย่างมีระเบียบ ได้มีโอกาสใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเท็จจริงร่วมกัน มีทัศนคติที่ดีต่อปัญหา ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของผู้อื่น

21 ขั้นตอนในการสัมมนา ในการจัดงานสัมมนา มีกระบวนการขั้นตอนการจัด ดังนี้
การสำรวจปัญหาและความต้องการ เป็นการมองปัญหา แล้ววิเคราะห์ดูว่าองค์กรต้องการอะไร ปัญหาอะไรเกิดขึ้น 2. การวางแผนการจัดสัมมนา เป็นการวางแผนปฏิบัติงานฝึกอบรมเพื่อให้มีแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม

22 ขั้นตอนในการสัมมนา 3. การจัดทำโครงการและหลักสูตร โดยเขียนรายละเอียดเป็นแนวทางในการสัมมนา 4. การดำเนินการประสานงานก่อนสัมมนา เป็นช่วงเตรียมงานสัมมนาให้พร้อมตามรายละเอียดของโครงการ 5. การดำเนินการสัมมนา เป็นช่วงปฏิบัติการสัมมนาให้เป็นไปตามแผนโครงการ

23 ขั้นตอนในการฝึกอบรม 6. การดำเนินงานหลังฝึกอบรม เป็นการดำเนินงานหลังจากการฝึกอบรม ซึ่งเป็นงานที่จำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าช่วงอื่นๆ 7. การวิเคราะห์และการประเมินผลโครงการ เป็นอีกงานหนึ่งที่มีความจำเป็นเพื่อเป็นการหาข้อสนับสนุน และเสนอแนะได้ ในการจัดทำฝึกอบรมอื่นต่อไป

24 การดำเนินการสัมมนา การดำเนินการสัมมนาถือว่าเป็นการนำโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วมาดำเนินการจัดงานซึ่งจะต้องบริหารโครงการเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะเตรียมการ คือ การเตรียมการก่อนการจัดสัมมนาคือการเตรียมบุคลากรที่รับผิดชอบแต่และหน้าที่ประสานวิทยาวิทยากรและหน่วยงานต่างๆ 2. ระยะการจัดงานสัมมนา คือ ตั้งแต่วันแรกของการสัมมนาจนถึงวันสิ้นสุดการจัดงานโดยการติดตามงานแต่ละงานที่ได้รับมอบหมาย 3. ระยะหลังการจัดสัมมนา คือ จัดส่งหนังสือขอบคุณวิทยากร หน่วยงานที่อนุเคราะห์วัสดุอุปกรณ์ ขอบคุณผู้สนับสนุนในจัดการงาน

25

26 แบบสรุปความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม
วันที่ เวลา ประชุมเรื่อง สถานที่ ____________________________________________ ผู้เข้าร่วมพิจารณา 1……………….…….…….5………………….…………. 2……………….……….….6……………….……………. 3……………………………7…………….………………. 4…………………………...8…………..…………………. ระดับปัญหา

27 แนวทางการแก้ปัญหา ปัญหาที่พบจากการประชุมกลุ่ม วัตถุประสงค์ รูปแบบการสัมมนา หลักสูตรการสัมมนา

28 หลักสูตรและระดับความรู้
มอบหมายงานสัมมนา/ผู้รับผิดชอบงานส่วนต่างๆ เวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ หัวข้อปัญหาที่จะนำไปเขียนโครงการ

29 หลักและเทคนิคการเขียนโครงการสัมมนา
การเขียนโครงการสัมมนาที่ดีจะต้องมีหลักและเทคนิคการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรและวิธีการฝึกอบรมไปด้วย เพื่อให้ทราบว่าจะมีวิธีการฝึกอบรมอย่างไร แบบไหน วิทยากรควรเป็นใคร เลือกวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการสัมมนา โดยผู้สัมมนาต้องมีเทคนิคการออกแบบและการเขียนโครงการสัมมนา ดังต่อไปนี้

30 การวางแผนและการเขียนโครงการเป็นกระบวนการซึ่งบุคคลหรือองค์การทำการตัดสินใจกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินงานด้านการฝึกอบรมในอนาคตไว้ล่วงหน้า ซึ่งกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆที่เป็นชุดกิจกรรมด้านการสัมมนาที่ต่อเนื่องและเป็นระบบโดยอาศัยทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยี กำลังคน และงบประมาณที่มีอยู่ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนางานด้านการสัมมนาของสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนา ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและเขียนโครงการดังต่อไปนี้

31 1.การวางแผน (Planning) คือการจัดให้เป็นระบบ (Systematic attempt)เพื่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต เพื่อให้บุคคลหรือองค์การบรรลุผลที่ปรารถนา ซึ่งโดยทั่วไปจะตอบคำถามต่อไปนี้ จะทำอะไร (What) ทำไมต้องทำ (Why) ใครเป็นผู้กระทำ(Who) จะทำเมื่อใด(When) ทำที่ไหน(Where) และจะกระทำอย่างไร( How) 2.แผน (Plan ) คือเรื่องหรือข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติว่าจะทำอย่างไร ทำเพื่ออะไร ทำเมื่อไหร่ และทำอย่างไร เพื่อนำไปดำเนินการในอนาคต แผนอาจจะเป็นของบุคคลหรือองค์กรก็ได้ หรือหมายถึงกลุ่มโครงการที่ได้กำหนดขึ้นในลักษณะประสานสัมพันธ์เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือการตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

32 3.แผนงาน(Program) คือเป็นแผนงานอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะใช้กับองค์การที่มีลักษณะงานไม่เกี่ยวข้องกับองค์การอื่นๆมากนัก ซึ่งบางครั้งหมายถึง การรวมเข้าด้วยกันของหลายๆโครงการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน 4.โครงการ(Project)คือแผนงานอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นแผนงานระดับต่ำรองลงมาถึงขั้นปฏิบัติการ หรือโครงการคือกิจกรรมอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่กำหนดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งโครงการอาจแบ่งเป็นเป็นโครงการย่อย(Subproject)

33 ความหมายของโครงการ โครงการ หมายถึง ข้อความที่บ่งบอกรายละเอียดหรือสิ่งที่ตั้งใจจะปฏิบัติให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาหนึ่ง ด้วยเงื่อนไขปัจจัยต่างๆตามที่กำหนด โครงการ หมายถึง การกำหนดหรือการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าว่า ในปัจจุบันจะทำกิจกรรมเรื่องอะไร เพื่ออะไร ทำเมื่อใด และจะทำอย่างไรในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะมีความหมายคล้ายคลึงกับความหมายของการวางแผนโดยทั่วไป แต่เป็นการเจาะจงหรือทำให้เป็นเรื่องแคบลง

34 คุณลักษณะของผู้เขียนโครงการ
ผู้จะเขียนโครงการได้ดี ควรมีลักษณะดังนี้ 1.ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)ผู้ที่เขียนโครงการได้ดีต้องมองเห็น “ช่องว่างทางความคิด”ที่ยังไม่มีใครเคยทำหรือปฏิบัติมาก่อน เพื่อที่จะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมที่แปลกใหม่หรือแก้ปัญหาต่างๆได้แหลมคม สมเหตุสมผลกว่าผู้อื่น 2.ค้นหาปัญหาได้อย่างชาญฉลาดหรือมองเห็นปัญหา เพราะปัญหาจะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำมาเป็นประเด็นในการริเริ่มเขียนโครงการ เพื่อทำให้ปัญหานั้นหมดไปหรือบรรเทาเบาบางลง หรือช่วยแก้ปัญหานั้นบางส่วน

35 3.มีทักษะการใช้ข้อมูลข่าวสาร(Information Literacy)ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาติดตามความเคลื่อนไหวของกระแสสังคมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับโลก มีทักษะในการเลือก การปฏิเสธ การประเมิน การบริโภคข่าวสารอย่างชาญฉลาด 4.ศึกษาระเบียบข้อบังคับ แนวปฏิบัติให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา(Regulation Study)เพราะการมีความรู้ถึงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าใช้จ่าย อัตราการจ่าย นโยบายการสนับสนุนงบประมาณ ทำให้การเขียนโครงการมีความสอดคล้องกับเกณฑ์การให้การสนับสนุนของหน่วยงาน ทำให้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนโครงการมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

36 5.มีความคิดที่เป็นระบบ(System Thinking)จะต้องรู้จักระบบความคิดของตนเองโดยจะมี “หลักคิด”ที่สามารถอธิบายที่ไปที่มาให้ผู้อื่นเข้าใจได้หรือเป็นผู้ที่มีความคิดที่มีหลักของ “ตรรกะของความคิด”ได้อย่างสมเหตุสมผล หรืออธิบายได้ภายใต้หลักของเหตุและผล 6.มีความสามารถในการสื่อสาร(Communication Skills)โดยเฉพาะความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาเขียน จะต้องใช้สำนวนภาษาที่เขียนเสร็จแล้วสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจและมองเห็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงกัน นอกจากนั้นบางครั้งจะต้องใช้ทักษะการพูด เพื่ออธิบายชี้แจงโครงการแก่คณะผู้พิจารณาโครงการด้วย

37 การปฏิบัติการเขียนโครงการ
1.กำหนดกรอบความคิดของโครงการ เมื่อจะเริ่มเขียนโครงการ สิ่งที่ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องกำหนดให้ได้ก่อนคือ กรอบความคิด(Conceptual Framework)ของโครงการ โดยอย่างน้อยจะต้องตอบคำถามหรือครอบคลุมประเด็นต่างๆต่อไปนี้ 1.1 ปัญหาที่โครงการจะต้องแก้ไขหรือทำให้ปัญหานั้นหมดหรือลดลงคืออะไร(Vision) 1.2 จะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะทำให้ปัญหานั้นนำไปสู่ปัญหา 1.3 กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการนั้นมีกิจกรรมอะไรบ้างที่อยู่ในวิสัยที่ศักยภาพของเราจะทำได้ และถ้าทำได้จะทำได้มาก-น้อยเพียงใด โดยจะต้องกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ และเป้าหมายเชิงคุณภาพให้ชัดเจน 1.4 กำหนดภารกิจ(Mission)ที่จะปฏิบัติในแต่ละกิจกรรมมีอะไรบ้าง 1.5 วิเคราะห์ปัจจัย(Input)ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละภารกิจ เช่น คน วัสดุอุปกรณ์ ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้จะคำนวณปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้เหล่านั้นอย่างสมเหตุสมผล ตรวจสอบได้อย่างมีระบบ 1.6 ผลกระทบจากโครงการนี้จะส่งผลต่ออะไรบ้าง ทั้งนี้เชิงรูปธรรม และเชิงนามธรรม

38 2.ปฏิบัติการเขียนโครงการ เมื่อกำหนดกรอบความคิดได้ชัดเจนแล้ว การลงมือเขียนรายละเอียดเพื่อสื่อความหมายรายละเอียดที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจในกรอบความคิดของโครงการอย่างถูกต้องตรงกัน โดยทั่วไปโครงการมาตรฐานมักจะมีหัวข้อที่ควรเขียนรายละเอียดดังนี้ 1.ชื่อโครงการ ควรตั้งให้สื่อความถึงลักษณะของโครงการ และควรคำนึงถึงความเรียบง่ายต่อการนำชื่อโครงการไปประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารต่อกันต่อไปด้วย 2.สถาบัน หมายถึง หน่วยงานที่จะอนุมัติงบประมาณให้กับผู้ดำเนินโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาประเภทต่างๆ 3.ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจจะมีหลายระดับ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ที่ปรึกษาผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นต้น

39 4.หลักการและเหตุผล ถ้ากำหนดกรอบความคิดเบื้องต้นในการสร้างสรรค์โครงการตั้งแต่แรก การเขียนหลักการและเหตุผลจะไม่ยุ่งยาก โดยทั่วไป 4.1 กล่าวถึง “หลักการที่ควรจะกล่าวถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับโครงการโดยมุ่งที่จะแก้ปัญหานั้นก่อนหรืออาจกล่าวได้ว่าเรื่องนั้นๆมีสภาพที่พึงประสงค์หรือสภาพที่สมบูรณ์ ว่าควรมีลักษณะอย่างไร” 4.2 ปัญหาข้อข้องใจที่เกิดขึ้นมีอะไรที่เป็นสิ่งยืนยันว่ามีปัญหา 4.3 นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหรือวิธีการที่โครงการนี้จัดขึ้นนั้นมีศักยภาพอะไรเป็นพิเศษ หรือได้รับการสนับสนุนจากองค์การใดเป็นพิเศษ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น 5.วัตถุประสงค์(Objective)ของโครงการ จะต้องเขียนข้อความในเชิงปฏิบัติการว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างระบุออกมาให้ชัดเจน จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าใจถูกต้องตรงกัน สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือคนส่วนมากมักจะสับสน นำเอาประโยชน์ของโครงการมาเขียนเป็นวัตถุประสงค์โครงการ

40 6.ดัชนีเป้าหมาย(Target Index)เป็นตัวกำหนดมาตรฐานของโครงการว่าแต่ละภารกิจที่จะกระทำนั้นจะต้องมีผลผลิต(Output)หรือผลงานอะไรออกมาบ้าง และจะแจกแจงนับออกมาเป็นปริมาณได้เท่าใด นอกจากนั้นยังอาจกำหนดเป้าหมายออกมาเป็นเชิงคุณลักษณะหรือเชิงคุณภาพด้วยก็ได้ ซึ่งดัชนีเป้าหมายจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าโครงการนี้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ จะสะดวกต่อการประเมินโครงการด้วย 7.ระยะเวลาการดำเนินการของโครงการจะต้องระบุวันที่ เดือน ปี ที่เริ่มโครงการและวันที่ เดือน ปี ที่ที่สิ้นสุดโครงการอย่างชัดเจน กรอบระยะเวลาจะต้องสมเหตุสมผลกับปริมาณ 8.สถานที่ปฏิบัติงานตามโครงการ จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะต้องไปปฏิบัติการที่ใดบ้าง ซึ่งจะสื่อความถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาด้วย จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ที่ใด

41 9.ขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละภารกิจหรือกิจกรรมจะต้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจนว่าลำดับขั้นตอนการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมมีอะไรบ้าง ใช้ระยะเวลาแต่ละขั้นตอนนานเท่าใด 10.ประมาณค่าใช้จ่าย จะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานแต่ละภารกิจออกมาให้ชัดเจน ควรจะแยกรายการงบประมาณให้เห็นว่าแต่ละภารกิจมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอะไรบ้าง และพึงระลึกเสมอว่า การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายใดๆจะต้องสมเหตุสมผลอธิบายได้ 11.ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ สิ่งที่จะต้องระบุคือผลกระทบ(Impact) ที่จะเกิดขึ้นแต่ละภารกิจของโครงการ มีผลกระทบต่อใครหรือองค์กร หรือปัญหาใดบ้างและส่งผลกระทบในลักษณะใด 12.การประเมินผล เป็นขั้นวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลของความสำเร็จจากการฝึกอบรมในแต่ละครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน แบบสอบถาม ควรกำหนดขึ้นเป็น 12 ข้อ 15 ข้อ และ 25 ข้อ

42 หลักและวิธีการเขียนโครงการ
1.ชื่อโครงการ (โครงการอะไร) ชื่อโครงการเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยเชื่อมโยงไปถึงวัตถุประสงค์หลักของโครงการ และควรมีความกะทัดรัดชัดเจน ซึ่งชื่อโครงการที่ชัดเจน ชี้เฉพาะเจาะลงทำให้ผู้อ่านเข้าใจและทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น โครงการฝึกทักษะการเป็นผู้นำนันทนาการ 2. สถาบัน หมายถึง หน่วยงานต้นสังกัดที่เป็นเจ้าของงบประมาณและอนุมัติเงินงบประมาณเพื่อให้บุคลากรที่มีความประสงค์จะจัดการอบรมโดยเขียนโครงการเพื่อนำเสนอก่อนการจัดการอบรมต่อหน่วยงานต้นสังกัด 3.ผู้รับผิดชอบ(ใครทำ) การดำเนินการใดๆต้องมีผู้รับผิดชอบ จึงต้องระบุชื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการหรือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงการเพื่อผู้พิจารณาอนุมัติโครงการ 4.หลักการและเหตุผล เป็นการกล่าวถึงความจำเป็นหรือสภาพปัญหาที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในการเขียนหลักการและเหตุผลจะต้องนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการวิเคราะห์ อาจเป็นสถิติหรือตัวเลขที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มาอ้างอิง อธิบายให้เหตุผลอย่างกระจ่างชัดเจนว่าทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไร และหากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายเรียงความทั่วๆไป มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปได้ดังนี้

43 ย่อหน้าที่ 1 (คำนำ) เกริ่นถึงนโยบาย/ปัญหา/สภาพทั่วๆไปที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มจัดทำโครงการ
ย่อหน้าที่ 2(เนื้อเรื่อง) อธิบายถึงรายละเอียด เชื่อมโยงให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงการ อาจอ้างถึงผลกระทบถ้าไม่จัดทำโครงการนี้ ย่อหน้าที่ 3 (สรุป) สรุปให้เห็นถึงความจำเป็น ที่ต้องดำเนินการตามย่อหน้าที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหาหรือให้เป็นตามเหตุผลในย่อหน้าที่ 1 ทั้งนี้หากเนื้อหามีน้อย อาจรวมย่อหน้าที่ 1 และ 2 ให้เป็นย่อหน้าเดียวกัน และย่อหน้าสุดท้ายเป็นการสรุป

44 5.วัตถุประสงค์ (ทำอะไรบ้าง,ทำแล้วได้อะไร)เป็นการกำหนดจุดหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการดำเนินการ หรือการปฏิบัติงานในปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด เช่น โครงการการฝึกทักษะการเป็นผู้นำนันทนาการด้านการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความสามารถที่จะลงมือปฏิบัติจริงได้ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับประสบการณ์ตรงจากการฝึกอบรมในรูปแบบของการลงมือกระทำจริง 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเอาหลักการและวิธีการจากการอบรมไปปรับใช้ตามโอกาสที่เหมาะสมต่อไป

45 6.เป้าหมาย (ทำแค่ไหน) เป็นการคาดหวังล่วงหน้าถึงผลที่จะได้รับเมื่อได้ดำเนินการตามโครงการเสร็จสิ้นลงแล้ว และเป็นสิ่งที่โครงการต้องการจะให้เกิดขึ้นในปริมาณที่แน่นอนชัดเจน และตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งในการเขียนเป้าหมายจะต้องระบุให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้พิจารณาทราบว่าโครงการต้องการผลสัมฤทธิ์อะไร ปริมาณเท่าใด ให้บอกทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในด้านปริมาณอาจจะแสดงตัวเลขก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการที่จัดทำ เช่น โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการใช้เกมและเพลงในการฝึกอบรม”มีเป้าหมายเพื่อ 1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเกมและเพลง 2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้เกมและเพลงในการฝึกอบรม 3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของผู้นำเกม เพลง

46 7. ระยะเวลาดำเนินการ(ทำเมื่อไหร่)เป็นการกำหนดช่วงเวลาของการปฏิบัติโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ โดยระบุตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินการจนถึงวันสิ้นสุดโครงการ 8. สถานที่ดำเนินงาน(ทำที่ไหน)เป็นการระบุสถานที่ที่จะใช้ปฏิบัติงานตามโครงการเพื่อให้ทราบว่ามีการปฏิบัติงาน ณ จุดใด 9. วิธีดำเนินงาน(ทำอย่างไร)เป็นการกำหนดวิธีการ จะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายปลายทาง เป็นกำหนดแผนหรือกิจกรรมที่ต้องทำตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการ จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการโดยจะต้องเขียนระบบกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจน ว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้รับโครงการนำไปปฏิบัติแล้วสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ซึ่งนิยมนำเสนอในรูปของแผนภูมิ แกรนท์ ชาร์ต(Gantt Chart)เพราะช่วยให้เกิดความชัดเจนถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานและระยะเวลาที่กำหนดไว้ ดังตัวอย่าง 2 ระบบ ดังนี้

47 9.1 ตารางที่ 1 กำหนดการปฏิบัติงานเดือนมกราคม-เมษายน 2560

48 - ค่าบำรุงจากหน่วยงาน 2.ค่าใช้จ่ายรวม………….………..บาท แยกเป็น
10.งบประมาณ(ได้จากแหล่งใดและใช้เท่าใด)เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการ เป็นสิ่งสะท้อนถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ในการเขียนต้องเขียนโดยประมาณการรายจ่าย ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แยกเป็นหมวดให้ชัดเจน กำหนดให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และควรระบุแหล่งที่มาของเงินทุน ดังตัวอย่างการเขียนงบประมาณ งบประมาณ 1.แหล่งเงินทุน - ค่าบำรุงจากหน่วยงาน 2.ค่าใช้จ่ายรวม………….………..บาท แยกเป็น - ค่าวัสดุ…………………บาท - ค่าใช้สอย………………บาท - ค่าตอบแทน……………บาท

49 11.ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ทำแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง)เป็นการคาดหวังถึงผลการดำเนินการตามโครงการ ในการเขียนต้องคาดคะเนเหตุการณ์ว่าเมื่อได้ดำเนินการไปจนสิ้นสุดโครงการแล้วใครได้รับประโยชน์อะไร และได้มากน้องเพียงใด ผลที่ได้รับจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากมีหลายประเด็นให้ระบุเป็นข้อๆตามลำดับ 12.การประเมินผล(บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายหรือไม่)เป็นการบอกวิธีการตรวจสอบความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ โดยจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ซึ่งในการเขียนจะต้องระบุว่าใครเป็นผู้ประเมินผล ประเมินอย่างไร และประเมินเมื่อใด มีการประเมินผลหลายวิธี เช่น การสังเกต การสอบถาม และการสำรวจ เป็นต้น

50 13. หัวข้อการบรรยาย จะต้องให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับวิทยากรที่จะมาบรรยายโดยผู้จัดการฝึกอบรมจะต้องคัดเลือกหัวข้อการบรรยายให้ตรงกับความสำคัญและความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อจะได้ก่อประโยชน์ให้กับองค์การและหน่วยงานที่จัดการฝึกอบรมในแต่ละครั้ง 14. รายชื่อวิทยากร การจัดฝึกอบรมในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องคัดเลือกวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ ที่จะบรรยายและถ่ายทอดความรู้เทคนิคทักษะให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยจะต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาที่จะบรรยาย

51 15. รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้จัดการฝึกอบรมจะต้องพิมพ์รายชื่อผู้รับการฝึกอบรมทั้งหมด เช่นถ้าหน่วยงานมีพนักงาน คนก็จะต้องพิมพ์ทั้งหมด ทั้งนี้หน่วยงานที่จัดฝึกอบรมจะจ่ายงบประมาณเป็นรายหัวโดยแบ่งเป็นค่าอาหาร 50 ต่อคนต่อมื้อและ เบรค 25 บาทต่อคนต่อมื้อ โดยเฉลี่ย 16. กำหนดการผู้จัดฝึกอบรมจะต้องจัดวางเนื้อหาหลักสูตรให้เหมาะสมกับหลักสูตรในแต่ละช่วงเวลาซึ่งจะต้องใช้คำว่า กำหนดการแต่จะไม่ใช้คำว่าหมายกำหนดการ แต่ถ้าใช้คำว่าหมายกำหนดการจะใช้กับราชวงศ์ ถ้าประชาชนจะใช้คำว่า กำหนดการ

52 ตัวอย่าง

53 สำหรับหน่วยราชการ สำหรับเอกชน 1.ชื่อโครงการ 2. สถาบัน 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ 4. หลักการและเหตุผล

54 5. วัตถุประสงค์ 1………………………………………… ………………………………………… 3………………………………………… 4………………………………………… 5…………………………………………… 6. เป้าหมายของโครงการ 7. สถานที่ปฏิบัติกิจกรรม

55 8. วัน และ เวลาดำเนินการ 9. ลักษณะของการดำเนินการ ก. เตรียมการระหว่างเดือน 1………………………………………… ………………………………………… 3………………………………………… 4………………………………………… 5…………………………………………… 6.…………………………………………… ข. ดำเนินการระหว่างงันที่

56 10. งบประมาณค่าใช้จ่ายงบประมาณได้รับการสนับสนุนจาก. จำนวนเงิน
10. งบประมาณค่าใช้จ่ายงบประมาณได้รับการสนับสนุนจาก จำนวนเงิน บาท ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. หมวดค่าวัสดุ 1………………………………………… บาท 2………………………………………… บาท 3………………………………………… บาท 4………………………………………… บาท 5…………………………………………… บาท รวม______________บาท (__________________)

57 2. หมวดค่าใช้สอย 1………………………………………… บาท 2………………………………………… บาท 3………………………………………… บาท 4………………………………………… บาท 5…………………………………………… บาท รวม______________บาท (__________________) 3. หมวดค่าตอบแทน ค่าตอบแทนวิทยากร คนๆ ละ เป็นเงิน บาท( ) รวมทั้งสิ้น____________บาท

58 11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1………………………………………… ………………………………………… 3………………………………………… 4………………………………………… 5…………………………………………… 12. การประเมินผล 13. หัวข้อการบรรยาย

59 14. รายชื่อวิทยากร 1………………………………………… ………………………………………… 3………………………………………… 15. รายชื่อผู้เข้ารับการอบรม (………… ) ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ ผู้อนุมัติโครงการ

60 วันเสาร์ ที่.....สิงหาคม 2560 ตัวอย่างกำหนดการ โครงการ……………………….
วันที่ วันเสาร์ ที่.....สิงหาคม 2560 ลงทะเบียน พิธีเปิด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ บรรยายเรื่อง วิทยากรโดย Coffee Break บรรยายเรื่อง พักรับประทานอาหารกลางวัน บรรยายเรื่อง วิทยากรโดย Coffee Break บรรยายเรื่อง ,.. การประเมินผลมอบวุฒิบัตร

61 การประเมินผลโครงการ ประเภทของการประเมินผลโครงการ
การประเมินผลโครงการเป็นกระบวนการที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพหรือคุณค่าของโครงการซึ่งเป็นกระบวนการที่จะวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนั้นๆว่าดีมีประสิทธิภาพและได้ผลมากน้อยเพียงใด ประเภทของการประเมินผลโครงการ โดยทั่วไปแล้ว การจำแนกประเภทของการประเมินผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1.การจำแนกโดยใช้เวลาเป็นหลัก แบ่งเป็น 1.1 การประเมินผลก่อนเริ่มโครงการ(Pre-evaluation)เป็นการประเมินผลสภาพความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความจำเป็นของโครงการ เป็นการประเมินผล เพื่อความคาดหวังผลงานว่าเมื่อใดได้ดำเนินแล้วจะเกิดความสำเร็จและประโยชน์มากน้อยเพียงใด 1.2 การประเมินผลขณะดำเนินโครงการ (Ongoing หรือ Operational evaluation)เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานขณะดำเนินโครงการ โดยตรวจสอบว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนหรือไม่ มีความก้าวหน้า มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง 1.3 การประเมินผลหลังการดำเนินโครงการ(Post- evaluation)เป็นการประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำเนินโครงการแล้วว่า บรรลุวัตถุประสงค์ตามทิศทางที่วางไว้มากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร สมควรดำเนินต่อไปอย่างไร โดยมีลักษณะเป็นการประเมินผลสรุปโครงการ

62 2. จำแนกประเภทโดยใช้วิธีการและรูปแบบของการประเมินผลเป็นหลัก แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 2.1 การประเมินผลตามวัตถุประสงค์ เป็นการประเมินผลที่มุ่งพิจารณาเฉพาะผลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ 2.2 การประเมินผลระบบ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานในลักษณะเป็นระบบ คือ การประเมินผลเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า กระบวนการผลิต หรือกระบวนการให้บริการ ผลผลิตหรือบริการ และผลกระทบของการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องประเมินส่วนประกอบเหล่านี้ให้ครบทั้งระบบ

63 หลักการประเมิน ผลของการประเมินผลโครงการ จำนำไปใช้ในการตัดสินใจว่าจะปรับปรุงหรือยุติโครงการ ดังนั้นจึงต้องประเมินอย่างรอบคอบ มีระบบ เป็นไปตามข้อมูลที่เป็นจริง โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1.ประเมินผลอย่างถูกต้อง โดยกำหนดวัตถุประสงค์ภาวะประเด็นที่จะประเมินให้ชัดเจนข้อมูลที่นำมาประเมินต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและเชื่อถือได้ ทันเหตุการณ์ และมีปริมาณเพียงพอมีการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน มีการสรุปผลโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2.ประเมินอย่างเชื่อถือได้ โดยมีการดำเนินการประเมินผลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่ได้มีความเที่ยงตรง แม้ว่าจะมีการตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีกในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันภายใต้เงื่อนไขเดียวกันก็ยังให้ผลเช่นเดิม จึงถือว่าการประเมินผลนั้นเชื่อถือได้ 3.ประเมินอย่างยุติธรรม โดยผู้ประเมินต้องปราศจากอคติในการทำการประเมินผลต้องมีใจเป็นกลาง และประเมินความรู้พื้นฐานของข้อมูล และไม่บิดเบือนความจริง

64 การประเมินโครงการในด้านต่างๆ
การประเมินโครงการในด้านต่างๆ นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการทราบว่าโครงการที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถแก้ไขปัญหาทางด้านคุณภาพได้จริงหรือไม่ แก้ไขได้มากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอะไร และจะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่ หรือจะมีการปรับปรุงในส่วนใด วิธีการประเมินผลจะใช้รูปแบบใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมินในแต่ละครั้ง องค์ประกอบในการประเมินผล ในการประเมินผลโครงการในด้านต่างๆนั้น ควรมีปัจจัยหรือองค์ประกอบที่จะต้องพิจารณาดังนี้ 1.ประสิทธิภาพ เป็นการประเมินผลที่ได้รับว่าคุ้มค่ากับการดำเนินโครงการหรือไม่ การวัดประสิทธิภาพมีจุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานและทบทวนความก้าวหน้าของโครงการโดยพิจารณาถึงผลที่ได้รับกับความเหมาะสมของแผนปฏิบัติการ วิธีดำเนินงาน กำลังคน และทรัพยากร เช่น พิจารณาว่าวิธีดำเนินงานโนโครงการใช้การแก้ปัญหาหรือไม่ งบประมาณที่ใช้คุ้มค่าและมีการประหยัดมากน้อยเพียงใด สถานที่จัดดำเนินโครงการมีความเหมาะสมหรือไม่

65 2.ประสิทธิผล เป็นการพิจารณาการดำเนินกิจกรรมเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการ การประเมินประสิทธิผลมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงโครงการ และเพื่อกำหนดหน้าที่และโครงสร้างของการดำเนินกิจกรรม การประเมินประสิทธิผลทำได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการคำนวณประสิทธิผลเชิงปริมาณได้แก่ - อัตราส่วนระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไป= ทรัพยากรที่ใช้ไป x 100 กับทรัพยากรที่กำหนดไว้ ทรัพยากรที่กำหนด - อัตราส่วนของการจัดกิจกรรม= จำนวนของกิจกรรมที่จัดแล้วได้ผล x 100 จำนวนกิจกรรมที่จัดทั้งหมดในเวลาเดียวกัน - อัตราส่วนระหว่างกิจกรรมที่ทำได้ = วัตถุประสงค์ที่ทำได้ x 100 กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ - อัตราส่วนระหว่างกิจกรรมที่ทำได้ = กิจกรรมที่ทำได้ x 100 กับกิจกรรมที่กำหนดไว้ กิจกรรมที่กำหนดไว้ ส่วนการประเมินผลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การใช้กลุ่มวิจารณ์ การสัมภาษณ์ ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เป็นการประเมินผลการดำเนินโครงการที่มีต่อสังคมหรือชุมชน เป็นต้น

66 3.ความเหมาะสม เป็นการพิจารณาถึงความเหมาะสมของโครงการกับการแก้ไขปัญหาด้านการจัดกิจกรรมของนิสิตที่เรียนวิชานั้นมา การที่เขาดำเนินการไปแล้วมากน้อยเพียงใดครอบคลุมเนื้องานของกิจกรรมมากน้อยเท่าใด เหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้การประเมินความเหมาะสมอาจพิจารณาในแง่ของความจำเป็น ความสำคัญและการยอมรับในการจัดทำกิจกรรมต่างๆขึ้นมา 4.ผลกระทบ เช่น การพิจารณาถึงผลดีและผลเสียของโครงการที่มีต่อสังคมหรือชุมชน เช่น เมื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆแล้วทำให้มีผลกระทบในการลดปัญหาหรือไม่ 5.ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน เป็นการประเมินผลโดยพิจารณาว่า การดำเนินกิจกรรมต่างเป็นไปตามแผนหรือไม่ เป็นการเปรียบเทียบกิจกรรมกับตารางเวลา รวมทั้งหาสาเหตุและเหตุผลของการดำเนินการได้ตามแผนหรือไม่ได้ตามแผนที่กำหนด เป็นการติดตามกำกับซึ่งมีขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการเพื่อช่วยในการควบคุมและนิเทศติดตามการดำเนินงาน 6.ความเกี่ยวข้อง โดยพิจารณาการประเมินว่า โครงการมีประโยชน์ต่อสังคมหรือชุมชนจริงหรือไม่ สามารถแก้ปัญหาสำคัญในลำดับแรกๆได้หรือไม่ ตลอดจนตรงกับความต้องการของชุมชนและนโยบายในระดับสูงหรือไม่


ดาวน์โหลด ppt ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสัมมนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google