งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(On-Line Analytical Processing)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(On-Line Analytical Processing)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (On-Line Analytical Processing)
OLAP (On-Line Analytical Processing) การประมวลผลเชิงวิเคราะห์ออนไลน์

2 On-Line Analytical Processing (OLAP)
วิวัฒนาการเทคโนโลยีฐานข้อมูล ความหมาย แนวคิดหลักของ OLAP การเก็บข้อมูลของ OLAP ชนิดของ OLAP หลักการทำงานของ OLAP  การดำเนินการกับ OLAP ขั้นตอนการพิจารณาข้อมูล ระบบ OLTP และ OLAP การประยุกต์ใช้งาน สรุป

3 วิวัฒนาการเทคโนโลยีฐานข้อมูล
1960 1970 1980 1990-ปัจจุบัน เริ่มพัฒนามาจาก file processing การค้นคว้า และพัฒนาระบบ มีมาเรื่อย ๆ การเก็บข้อมูล ในรูปแบบตาราง มีการปรับปรุงและพัฒนา ในการหาระบบจัดการ ที่มีศักยภาพมากขึ้น นำข้อมูลทั้งหมดมา รวมและจัดเก็บไว้ใน รูปแบบเดียวกัน เรียกว่า Data Warehouse

4 On-Line Analytical Processing (OLAP)
ความหมาย... On-Line Analytical Processing (OLAP) คือ เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ประเภทหนึ่งที่ทำให้นักวิเคราะห์และผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถช่วยแปลงข้อมูลให้สามารถมองได้ในหลายมิติและหลายแง่มุม

5 On-Line Analytical Processing (OLAP)
สำหรับโครงสร้างของข้อมูล OLAP นั้นเป็นแบบลำดับชั้น (Hierarchical) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจภาพรวมและความเกี่ยวข้องของข้อมูลในองค์กรได้ง่าย ส่วนฟังก์ชัน OLAP นั้นก็สนับสนุนการวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) การเจาะลึกข้อมูลในระดับรายละเอียดที่มีความซับซ้อน ความสามารถในการสรุปข้อมูล และความสามารถในการเปรียบเทียบข้อมูลในมุมมองต่างๆ อีกด้วย

6 On-Line Analytical Processing (OLAP)

7 On-Line Analytical Processing (OLAP)
Online Analytical Processing (OLAP) เป็นการใช้คำค้น (query) เพื่อค้นหาข้อมูลในคลังข้อมูลเหมือนในฐานข้อมูล เหตุผลที่เราไม่ค้นในฐานข้อมูล แต่มาทำในคลังข้อมูลแทนมีสองสาเหตุคือ ความเร็ว ความครอบคลุมของข้อมูลทั้งบริษัทที่มีอยู่ในคลังข้อมูล

8 แนวคิดหลักของ OLAP Fast คือ มีความรวดเร็วในการใช้งาน
Analyze คือ มีการวิเคราะห์ Share คือ การใช้ร่วมกัน Multi-dimensional คือ มีหลายมิติ Information คือ ต้องจัดการกับข้อมูล ที่ใช้ในการตัดสินใจ

9 การเก็บข้อมูลของ OLAP
เชิงอธิบาย (descriptive) เชิงตัวเลข (quantitative)

10 ชนิดของ OLAP MOLAP (Multidimentional OLAP) เป็นซอฟท์แวร์ที่ใช้ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลหลายมิติ (Multidimentional Database) ROLAP (Relational OLAP) เป็นซอฟท์แวร์ที่สามารถดึงข้อมูลจาก data warehouse DOLAP (Desktop OLAP) ทำงานบนเครื่อง Client สามารถคำนวณข้อมูลทางธุรกิจและนำเสนอออกมาหลายมิติ HOLAP (Hybrid OLAP) ผู้ผลิต OLAP พยายามให้ซอฟต์แวร์ของตนมีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล เชิงสัมพันธ์ และฐานข้อมูลหลายมิติได้

11 หลักการทำงานของ OLAP  ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ใน Data warehouse ที่ OLAP สามารถเรียกใช้ได้มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เป็นการจัดเก็บข้อมูลโดยทั่วไปอยู่แล้วซึ่งอาจจะมีโครงสร้างแบบรูปดาวหรือแบบเกล็ดหิมะก็ได้ ฐานข้อมูลหลายมิติ (Multidimensional Database) เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บเรียงกันในรูปของ Array ฐานข้อมูลที่เก็บไว้ที่ Client ในลักษณะของ file (Client-base files) ในประเภทนี้จะยอมให้ผู้ใช้ดึงข้อมูลบางส่วนออกมาเพื่อนำมาประมวลแบบกระจาย

12 การดำเนินการกับ OLAP Roll up / Consolidation การปรับระดับความละเอียดของข้อมูล จากระดับที่ละเอียดขึ้นมาสู่ข้อมูลที่หยาบขึ้น Drill Down การปรับระดับความละเอียดของข้อมูล จากระดับที่หยาบไปสู่ที่ข้อมูลละเอียดมากขึ้น Slice การเลือกพิจารณาผลลัพธ์บางส่วนที่เราสนใจ โดยเลือกเฉพาะค่าที่ถูกกำกับด้วยข้อมูลบางค่าของแต่ละมิติเท่านั้น Dice กระบวนการพลิกแกนหรือมิติของข้อมูล ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน

13 On-Line Analytical Processing (OLAP)
การประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพื้นฐานหลายอย่าง ประกอบไปด้วย การรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว (Consolidation) การรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียวจะเกี่ยวข้องกับการรวมกันของข้อมูล เกี่ยวข้องกับการจับกลุ่มที่ซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ภายในข้อมูล การเจาะลึก (Drill – Down) OLAP สามารถเข้าไปในทิศทางตรงกันข้าม (Reverse Direction) และแสดงรายละเอียดของข้อมูลโดยอัตโนมัติ ที่เรียกว่า เจาะลึก

14 On-Line Analytical Processing (OLAP)
การแบ่งส่วนและการสุ่ม ( Slicing and Dicing) การแบ่งส่วนและการสุ่ม อ้างอิงถึงความสามารถในการตรวจดูฐานข้อมูลจากจุดตรวจสอบที่แตกต่างกัน ในการแบ่งส่วนออกหนึ่งส่วนของฐานข้อมูลในการขายอาจจะแสดงรายการขายของสินค้าประเภทที่อยู่ในขอบเขตทั้งหมด ในการแบ่งส่วนอื่นๆ อาจจะมีการแสดงรายการขายจากช่องทางการขายของสินค้าแต่ละประเภททั้งหมด มักจะใช้เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและการค้นหารูปแบบ

15 ขั้นตอนการพิจารณาข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ใน OLAP ได้มาจากแหล่งอื่น ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นแยกไว้ต่างหากที่รู้จักดีคือ Data Warehouse และ Data Mart การที่ต้องมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนด้วยเหตุผลดังนี้ ความรวดเร็วในการประมวลผล เมื่อ OLAP ต้องการข้อมูลก็จะสามารถดึงข้อมูลมาใช้ทำให้มีความรวดเร็วในการประมวลผล ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง OLAP ต้องการข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นมีระบบการจัดเก็บที่แตกต่างกัน ฉะนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนให้มาอยู่ในระบบเดียวกัน ก่อนเพื่อลดความซับซ้อนของข้อมูลลง

16 ขั้นตอนการพิจารณาข้อมูล
ขจัดข้อผิดพลาดของข้อมูล ปกติการประมวลผลของระบบงานมักจะมีความผิดพลาดของข้อมูลรวมอยู่ด้วย ฉะนั้นจำเป็นต้องขจัดข้อผิดพลาดของข้อมูลนั้นเสียก่อน การปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เหมาะสมก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์แต่ต้องไม่มีผลกระทบกับการประมวลผลระบบ transaction ความทันสมัยของข้อมูล ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง แต่ละแหล่งของข้อมูล ก็จะทำการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยในช่วงเวลาที่ต่างกัน

17 ขั้นตอนการพิจารณาข้อมูล
ข้อมูลในอดีต ส่วนใหญ่แล้วการประมวลผลของ OLAP จะมีมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยโดยใช้สถิติ time series analysis มาวิเคราะห์ สรุปข้อมูล โดยปกติข้อมูลการทำงานประจำวันต้องการรายละเอียดมาก แต่ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจต้องการเพียงการสรุปผล การปรับปรุงข้อมูล ข้อมูลทำงานประจำวันต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลาแต่ OLAP ต้องการข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพราะจะทำให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาด จึงจำเป็นต้องมีที่จัดเก็บข้อมูลจากงานประจำวัน

18 ระบบ OLTP และ OLAP ระบบ OLTP และ OLAP นี้จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลธุรกรรมเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกันมากในกระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับข้อมูล หากพบว่าการอ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลมาประมวลผลมีช่วงเวลาโต้ตอบ (response time) ช้ามากและต้องการปรับการเก็บโดยการจัดทำดัชนีเพิ่มเติมให้การค้นคืนข้อมูลได้สะดวกขึ้น ก็จะส่งผลให้การบันทึกข้อมูลกลับต้องช้าลงเพราะต้องเสียเวลาดำเนินการกับดัชนีมากขึ้นกว่าระบบเดิม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะปรับระบบทั้งสองให้มีสมรรถนะดีมากขึ้นพร้อมกัน

19 ระบบ OLTP และ OLAP ปัจจุบันนี้แนวทางแก้ไขปัญหาก็คือการแยกระบบ OLTP และระบบ OLAP ออกจากกันให้เป็นคนละระบบ โดยให้ ระบบ OLTP สามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ระบบ OLAP ก็สามารถค้นคืนและวิเคราะห์ข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว

20 On-Line Analytical Processing (OLAP)
ผู้ใช้ในระดับของผู้บริหารหรือหน่วยงานในองค์กร ที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในระดับสูง OLAP ช่วยงานการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบ การนำเสนอในมุมมองเฉพาะ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังและคาดการณ์ข้อมูลในอนาคตตามโมเดลการตอบคำถามแบบ "What-If"

21 On-Line Analytical Processing (OLAP)
OLAP นับเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เนื่องจากความซับซ้อนที่มากขึ้น และเวลาที่น้อยลงสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ OLAP จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะจุดเด่นที่สำคัญของ OLAP ประกอบด้วย การตอบสนองต่อการคิวรีของผู้ใช้ที่กินเวลาไม่มาก การทำงานที่ไม่ขึ้นกับขนาดและความซับซ้อนของฐานข้อมูล แอพพลิเคชัน

22 การประยุกต์ใช้งาน บริษัทมาสเตอร์การ์ดอินเตอร์เนชันแนล ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ OLAP ที่เรียกว่า Market Advisor ซึ่งสมาชิกสามารถเรียกดูข้อมูลจากโกดังข้อมูลและเจาะลึกลงไปในข้อมูลข่าวสารในการวิเคราะห์สำหรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและการทำงานแบบออนไลน์ ด้านการวิเคราะห์เงิน การวิเคราะห์ทางด้านการเงินเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะทำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อธุรกิจเพราะเมื่อเราได้วางแผนทางการเงินที่ดีจะทำให้เราประสบผลสำเร็จทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี

23 สรุป          การประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วในความต้องการที่ซับซ้อนของผู้จัดการและนักวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการจัดการ สนับสนุนการตัดสินใจ หรือบริหารระบบสารสนเทศ ซึ่ง OLAP นั้นมีการปฏิบัติการดังนี้ สามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากได้ เช่น ข้อมูลการขายภายในโกดังข้อมูลในหลายปีที่ผ่านมา

24 สรุป วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของธุรกิจ เช่น การขาย ผลิตภัณฑ์ เขตพื้นที่ ผลรวมของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลค่าการขาย งบประมาณ และค่าใช้จ่ายภายในเขตพื้นที่ การเปรียบเทียบข้อมูลการทำงานตามช่วงระยะเวลา ทุกเดือน ทุกไตรมาส ทุกปี มีการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วให้กับผู้ใช้งานที่ต้องการ ดังนั้นผู้จัดการหรือนักวิเคราะห์สามารถติดตามการวิเคราะห์หรือการตัดสินใจได้ตลอดขั้นตอนการทำงาน

25 แหล่งที่มา 1

26 รายชื่อผู้จัดทำ นางสาวกิ่งกาญจน์   แสงกุล รหัส      นางสาวปาริชาติ   ศรีพลราช รหัส      นางสาวศิริวิไล   แสนสีลา รหัส       นางสาวอมรรัตน์   แพงสร้อย รหัส    นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ชั้นปีที่ 3


ดาวน์โหลด ppt (On-Line Analytical Processing)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google