งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  THH3404 คติชนวิทยา 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว ผู้เรียน) 1. สามารถเข้าใจความเป็นมา ความหมายของคติชนวิทยา . ภาพรวมของเนื้อหา/คำอธิบายหัวข้อที่สอนประจำสัปดาห์นี้ คติชน หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่รับช่วงกันต่อๆ มา มีวิธีถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง โดยวิธีบอกเล่าเป็นข้อมูลมุขปาฐะ ปฏิบัติและจดจำกันต่อๆ มา อาจมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์หรือไม่ก็ได้ และมีลักษณะสำคัญคือไม่ทราบที่มาแน่ชัด

2 THH3404 คติชนวิทยา Folklore
NOTE: To change the image on this slide, select the picture and delete it. Then click the Pictures icon in the placeholder to insert your own image. อ.กฤติกา ผลเกิด

3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา
ความเป็นมาของคติชนวิทยา ความหมายของคติชนวิทยา ประเภทของคติชนวิทยา

4 ความเป็นมาของคติชนวิทยา
ริชาร์ด เอ็ม. ดอร์สัน (Richard M. Dorson) กล่าวว่า คติชน วิทยาปรากฏขึ้นใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 และให้ คำอธิบายว่า คติชนวิทยาเป็น สาขาวิชาที่เป็นอิสระและมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ สาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

5 ความเป็นมาของคติชนวิทยา (ต่อ)
ค.ศ จาคอบ กริมม์ (Jacob Grimm) กับวิลเฮล์ม กริมม์ (Wilhelm Grimm) สองพี่น้องชาวเยอรมัน เริ่ม ตีพิมพ์เรื่องเล่าพื้นบ้านมุข ปาฐะ และการตีความ นิทานปรัมปราของเยอรมัน (myth)

6 ความเป็นมาของคติชนวิทยา (ต่อ)
ค.ศ วิลเลียม จอห์น ธอมส์ (William John Thoms) แนะให้รู้จักคำว่า Folklore

7 ความเป็นมาของคติชนวิทยา (ต่อ)
บาร์รี โทลเคน (Barre Toelken) ยกตัวอย่างเรื่อง ตา บอดคลำช้าง มาเปรียบเทียบกับ คติชนวิทยาไว้ดังนี้ นักประวัติศาสตร์ – จะมองเห็น ลำดับเหตุการณ์สำคัญๆ และเป็น เหตุการณ์ที่ผู้คนได้รับรู้ร่วมกัน นักมานุษยวิทยา – จะเห็นการ แสดงออก แบบมุขปาฐะใน เรื่องของระบบสังคม ความหมาย ของวัฒนธรรม

8 ความเป็นมาของคติชนวิทยา (ต่อ)
นักวิชาการด้านวรรณกรรม – จะสนใจประเภทวรรณกรรมมุข ปาฐะ นักจิตวิทยา – แสวงหาเรื่องราว ที่เป็นสากล นักประวัติศาสตร์ศิลป์ – ค้นหา ศิลปะเก่าแก่ดั้งเดิม นักภาษาศาสตร์ - จะสนใจ ถ้อยคำพื้นบ้านและโลกทัศน์

9 ความสนใจด้านวิชาการในสมัยแรกๆ สรุปข้อมูลคติชน ดังนี้
ความสนใจด้านวิชาการในสมัยแรกๆ สรุปข้อมูลคติชน ดังนี้ ชาวชนบท – ไม่มีอารย ธรรม เป็นผู้ที่หลงเหลือใน ท้องถิ่น และสืบทอด จิตวิญญาณของชนชาติ

10 ความสนใจด้านวิชาการในสมัยแรกๆ สรุปข้อมูลคติชน ดังนี้
ความสนใจด้านวิชาการในสมัยแรกๆ สรุปข้อมูลคติชน ดังนี้ ข้อมูลต่างๆ ของผู้คนเหล่านี้ คือ นิทาน เพลง คำพูด ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นสิ่ง สะท้อน ให้เห็นอดีต ข้อมูล เหล่านี้คือ ปรัชญาและ วิถีการดำเนินชีวิตของคนใน สมัยโบราณ ข้อมูลและการใช้ชีวิตของคนใน สมัยโบราณนี้สามารถนำมาสร้าง ขึ้นใหม่ โดยเปรียบเทียบกับปัจจุบัน

11 การศึกษาคติชนวิทยาในประเทศไทย
Folklore คติชาวบ้าน คติชนวิทยา

12 ความเป็นมาของคติชนวิทยา
พระยาอนุมานราชธนและ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติคำ ว่า คติชาวบ้าน แทนคำว่า folklore ศ. (พิเศษ) ดร.กิ่งแก้ว อัต ถากร เสนอว่า ควรใช้ชื่อ ว่า คติชนวิทยา

13 ความหมายของคติชนวิทยา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ.2554 : คติชาวบ้าน หมายถึง น. เรื่องราวของชาวบ้าน ที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและ ประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่ว อายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่นของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.

14 ความหมายของคติชนวิทยา (ต่อ)
วิลเลียม ธอมส์ อธิบาย ว่า folklore หมายถึง คติของประชาชน และกล่าว ว่าวิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณี สิ่งที่ถือปฏิบัติ โชคลาง บทเพลง สุภาษิต ฯลฯ

15 ความหมายของคติชนวิทยา (ต่อ)
อาเชอร์ เทเลอร์ อธิบาย ความหมายของ คติชนวิทยา หรือ คติ ชาวบ้าน ว่า ได้แก่ สิ่งที่มีการถ่ายทอดทาง ประเพณี อาจโดยคำพูด หรือขนบธรรมเนียมประเพณี และปฏิบัติสืบทอดมาอย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น เพลง ชาวบ้าน นิทานชาวบ้าน ปริศนาคำทาย สุภาษิต ฯลฯ

16 สรุปลักษณะของคติชนวิทยา
เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาโดย วิธีมุขปาฐะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นเรื่องเล่าหรือปฏิบัติกันหลาย อย่าง เป็นเรื่องที่มักจะไม่ทราบผู้ที่เป็น ต้นกำเนิด เป็นเรื่องที่เป็นแบบฉบับให้คน รุ่นหลัง ปฏิบัติหรือเชื่อถือตามๆ กันมา

17 สรุปความหมายของคติชนวิทยาในยุคแรก
คติชน หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่รับช่วง กันต่อๆ มา มีวิธีถ่ายทอด จากคน รุ่นหนึ่ง ไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง โดยวิธี บอกเล่าเป็นข้อมูลมุขปาฐะ ปฏิบัติและจดจำกันต่อๆ มา อาจมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์ หรือไม่ ก็ได้ และมีลักษณะสำคัญคือไม่ ทราบที่มา แน่ชัด

18 ความหมายในยุคปัจจุบัน
การศึกษาคติชนวิทยาส่วน ใหญ่จะเน้นการเก็บข้อมูล ภาคสนาม พ.ศ มุ่งเก็บข้อมูล มุขปาฐะ (verbal folklore) พ.ศ เริ่มใช้ทฤษฎี ทางคติชนวิทยา พ.ศ – ศึกษาภาพ สะท้อนสังคมจากข้อมูลคติชน / ศึกษาคติชนในบริบทสังคม


ดาวน์โหลด ppt ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google