ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยRosemary James ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)
2
New Public Administration
Post-Behavioralism การให้ความสนใจเรื่องที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม (relevance) การให้ความสำคัญกับค่านิยม (value) การให้ความสำคัญต่อความเสมอภาคทางสังคม (social equity) การรู้จักริเริ่มเปลี่ยนแปลง (change) และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง New Public Administration
3
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)
เป็นการบริหารที่เน้นวัตถุประสงค์ หรือผลสัมฤทธิ์ทั้งในแง่ของผลผลิต ผลลัพธ์ และความคุ้มค่าของเงิน รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพอใจแก่ผู้รับบริการ โดยนำเอาเทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้มากขึ้น
4
ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy)
Max Weber ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) - มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลและวงอำนาจไว้ชัดเจน(ตามที่กฎหมายบัญญัติ) - มีการบริหารที่ยึดกฎเกณฑ์ที่ได้มีบัญญัติไว้อย่างเป็นทางการและกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์ - การไม่คำนึงถึงตัวบุคคล : ปฏิบัติตามระเบียบ แยกเรื่องงานราชการออกจากเรื่องส่วนตัว - มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชา - เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง : ควรเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถและทุ่มเท - ระบบราชการมีลักษณะถาวร : เป็นกลไกของรัฐ มีเป้าหมายเพื่อรับใช้ประชาชน - ระบบราชการมีแนวโน้มปกปิดความรู้และเจตนาเป็นความลับไม่ให้คนนอกทราบ
5
วิสัยทัศน์ใหม่ของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
ตัวแบบระบบตลาด (Market Model) - ลดขนาดและจำกัดบทบาทของภาครัฐ - Privatization - การใช้กลไกตลาด ตัวแบบประชารัฐ (Participatory State) - การมีส่วนร่วมของประชาชน - การรวมกลุ่มเป็นชุมชนประชาคมหรือองค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society) และการสร้างเครือข่าย - ลดบทบาทภาครัฐจากการชี้นำและตัดสินใจเอง มาเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ประชาชนเข้าร่วมในการตัดสินใจ
6
ตัวแบบระบบตลาด (Market Model)
7
การลดความเป็นระบบราชการ (Reducing the Bureaucracy)
แนวโน้มทำให้ภาครัฐปรับเข้าสู่ระบบตลาด (marketization) ตัวแบบระบบตลาด (Market Model) - ลดขนาดและจำกัดบทบาทของภาครัฐ - Privatization - การใช้กลไกตลาด แนวโน้มที่ภาครัฐจะไม่ใช้รูปแบบการจัดโครงสร้างแบบราชการ
8
ยกเครื่องระบบราชการ Reinventing Government การบริหารแบบผู้ประกอบการ
9
การบริหารแบบผู้ประกอบการ
- ต้องมีการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการ - ต้องมีการให้อำนาจแก่พลเมือง - ต้องมีการเน้นเป้าหมาย และภารกิจ - ต้องไม่มุ่งเน้นกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ มากจนเกินไป - ต้องมีการให้คำจำกัดความผู้รับบริการ(ประชาชน)ใหม่ว่าเป็น “ลูกค้า” ต้องเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ - ต้องมีการป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น - วิเคราะห์ความเสี่ยง - ต้องมีการหาทางได้มาซึ่งรายได้ก่อน ไม่ใช่เอาแต่การใช้จ่าย - ต้องมีการกระจายอำนาจหน้าที่ขณะเดียวกันมีการเน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น - ต้องมีการให้ความสนใจเรื่องของ “กลไกตลาด” มากกว่า “กลไกของระบบราชการ” - ต้องมีการกระตุ้นให้ทุกภาคไม่ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งพวกอาสาสมัครร่วมกันแก้ไขปัญหาชุมชน
10
แนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อ NPA
1. เศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิค (Neo-classic Economics) - ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ มองว่ารัฐบาลเป็นอุปสรรคต่อความมีอิสระของปัจเจกบุคคลในการตัดสินใจหรือกำหนดทางเลือกของตนเอง เสนอให้ลดและจำกัดบทบาทภาครัฐ ใช้กลไกตลาด Charles Wolf Jr. เห็นว่าความล้มเหลวของภาครัฐ มีสาเหตุมาจาก ปัจจัย ดังนี้ - ยึดเป้าหมายส่วนตัว > ยึดผลประโยชน์ส่วนรวม - ความซ้ำซ้อนและต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เกิดจากขยายบทบาทภารกิจและขนาดขององค์การ - การดำเนินงานภาครัฐบางครั้งส่งส่งผลกระทบทางลบต่อภาคธุรกิจ ชุมชนและประชาชน - กระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม เป็นผลมาจากการเลือกใช้ดุลยพินิจ เอื้อประโยชน์ให้คุณให้โทษแก่บางกลุ่ม ทุจริตคอรัปชั่น 2. เศรษฐศาสตร์สถาบัน (Institutional Economics) - ทฤษฎีผู้ว่าจ้างและตัวแทน โดยมีการกำหนด Contractual Agreement ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างให้ชัดเจน 3. เศรษฐศาสตร์ต้นทุนและธุรกรรม (Transaction-Cost Economics) - ภาระต้นทุนของฝ่ายผู้ว่าจ้าง - ความเหมาะสมในการ Contract Out
11
ตัวแบบประชารัฐ (Participatory State)
12
แนวคิดประชาธิปไตยแนวทางใหม่ที่มีอิทธิพลต่อ NPA
1. แนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) - มองว่าประชาธิปไตยผ่านตัวแทนมีข้อจำกัดมาก วิธีที่ดี คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยตรงจากทุกภาคส่วน - เครื่องมือที่ใช้ คือ การปรึกษาหารือกับประชาชน (consultation) การทำประชาพิจารณ์ (public hearing) การจัดเวทีประชุมลานบ้านลานเมือง(town hall meeting) ประชาธิปไตยทางไกล (teledemocracy) 2. แนวคิดชุมชนนิยม (Communitarianism) - เน้นให้ความสำคัญต่อการสร้างศีลธรรม คุณธรรม ความเป็นพลเมืองที่ดี - เน้นการเพิ่มอำนาจ (Empowerment) โดยส่งเสริมให้มารวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจ เพื่อใช้พลังความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างประโยชน์ส่วนรวม - ก่อให้เกิดองค์กรอาสาสมัครที่ไม่หวังผลกำไร (NGO)
13
- การกระจายอำนาจ - การมีส่วนร่วมของประชาชน - ประชาพิจารณ์ - ประชามติ - การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
14
“ 3 Es ” Economy : การประหยัด Efficiency : ความมีประสิทธิภาพ
Effectiveness : ความมีประสิทธิผล การมุ่งเน้นประสิทธิผล หรือ ผลสัมฤทธิ์
15
Economy : การประหยัด การใช้เวลาน้อย การลงทุนน้อย การใช้กำลัง แรงงานน้อย โดยไม่ต้องเพิ่มทรัพยากรทางการบริหาร แต่ได้ผลผลิตตามที่คาดหวัง ประหยัด : บุคลากร งบประมาณ วัสดุและเทคโนโลยี และการใช้เวลา
16
Efficiency : ความมีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ เป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการ มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในขณะดำเนินการก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ มีประสิทธิภาพ เน้นไปที่กระบวนการ (Process) การใช้กลยุทธ์และเทคนิควิธีต่าง ๆ ที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด
17
Effectiveness : ความมีประสิทธิผล
ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ตรงตามจุดมุ่งหมาย เช่น มีความรู้ความสามารถ มีทักษะเพิ่มขึ้น รวมทั้งการคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับ เน้น ผลผลิต (Outputs)
18
ผลสัมฤทธิ์ (result) = ผลผลิต (output) + ผลลัพธ์ (outcome)
จากสมการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าองค์กรจะบริหารงานได้ผลสัมฤทธิ์หรือไม่ จะต้องสร้างทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ให้เกิดขึ้น โดยจะให้ความสำคัญเฉพาะต่อผลผลิตในระยะสั้นเท่านั้นไม่ได้ แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้วย เช่น การให้บริการแก่ประชาชน จะให้ความสำคัญเฉพาะการลดรอบระยะเวลาในการให้บริการแก่ประชาชนให้สั้นลงเท่านั้นไม่ได้ แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ คือ การที่ประชาชนได้รับความพึงพอใจจากการรับบริการ เป็นต้น
19
ธรรมาภิบาล (Good Governance)
Government Governance (การปกครอง) (การบริหารจัดการ)
20
หลักการสำคัญของธรรมาภิบาล
GG หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักความตรวจสอบได้ (Accountability) หลักคุณธรรม (Merit System) หลักความประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน(Public Participation)
21
JONATHAN BOSTON - การบริหารงานมีลักษณะที่เป็นสากล ไม่มีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญระหว่างการบริหารงานของภาคธุรกิจเอกชนและการ บริหารงานของภาครัฐ - ปรับเปลี่ยนจาก process accountability มาเน้น accountability for results แทน - ให้ความสำคัญต่อเรื่องทักษะการบริหารมากกว่าการที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายแต่เพียงอย่างเดียว - ให้ความสำคัญต่อการมอบอำนาจการควบคุมของหน่วยงานกลาง (devolution of centralized power) ไปให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติ - เน้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานราชการใหม่ให้มีขนาดเล็กลงในรูปแบบของหน่วยงานอิสระในกำกับ แยกส่วนระหว่างภารกิจงานเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ออกจากกัน
22
JONATHAN BOSTON - เน้นการแปรสภาพกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (privatization) และให้มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก (outsourcing) การแข่งขันประมูลงาน (competitive tendering) - ปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจ้างบุคลากรของภาครัฐให้มีลักษณะเป็นระยะ สั้นและกำหนดเงื่อนไขข้อตกลงให้ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ - เลียนแบบวิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชน เช่น การวางแผน กลยุทธ์ performance agreement การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานการจ้างบุคคลภายนอกให้เข้ามาปฏิบัติงานชั่วคราว การพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหารงาน และการสร้าง corporate image - สร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนในรูปของตัวเงิน (monetary incentives) มากขึ้น - สร้างระเบียบวินัยและความประหยัดในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดย พยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิต
23
“หลักการบริหารราชการสมัยใหม่”
Rhodes “หลักการบริหารราชการสมัยใหม่” 1. ต้องมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการ ไม่ใช่มุ่งเน้นไปที่นโยบาย 2. ขณะเดียวกันมีการประเมินผลการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพ 3. เน้นการใช้ระบบกึ่งตลาด และการจ้างเหมาบริการภายนอกให้หน่วยงานในภาคเอกชนดำเนินการ 4. ลดต้นทุนการบริหาร 5. เน้นลักษณะการบริหารที่จูงใจด้วยเงินและการมีอิสระในการบริหารจัดการ
24
4 กระแสที่มีอิทธิพลต่อ New Public Management
1. เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค (Neo-classic Economics) = Marketization - Efficiency - Value for Money 2. การจัดการนิยม (Managerialism) - Effectiveness - Quality - Accountability - Participatory - Transparency - Responsiveness - Decentralization 3. แนวคิดรัฐศาสตร์ยุคใหม่ (Participatory State) 4. แนวคิดกฎหมายมหาชน (Rule of Law) - Rule of Law - Fairness - Impartiality
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.