งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน
ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน สำหรับการทำเหมือง การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม นายอนุ กัลลประวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

2 (ร่าง) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนสำหรับการทำเหมือง การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม (ตามมาตรา 19 และ 32) หลักการ แบ่งกลุ่มการประกอบการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การประกอบการที่ไม่มีผลกระทบ (หรือมีน้อย) ไม่ต้องจัดทำ baseline ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การประกอบการที่มีผลกระทบปานกลาง ต้องจัดทำ baseline ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ในประเด็นที่จำเป็น หรือเกี่ยวข้อง (ส่วนใหญ่เป็นโครงการประเภทที่ต้องทำ EIA) การประกอบการที่มีผลกระทบสูง ต้องทำ baseline ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนแบบเต็มรูปแบบ (ส่วนใหญ่เป็นโครงการประเภทที่ต้องทำ EHIA)

3 ข้อมูลพื้นฐาน (baseline)
สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ธรณีวิทยา ดิน ตะกอนดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน อากาศ เสียง

4 ข้อมูลพื้นฐานด้านธรณีวิทยา
1. ธรณีวิทยาทั่วไป พร้อมแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 หรือละเอียดกว่า 2. ธรณีวิทยาแหล่งแร่ พร้อมแผนที่มาตราส่วน 1: 4,000 หรือละเอียดกว่า 3. ข้อมูลคุณภาพและคุณสมบัติของแร่ในแหล่ง พร้อมทั้งเพื่อนแร่ 4. ข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีของแร่ เพื่อบ่งชี้โอกาสในการปนเปื้อนของโลหะหนักหรือสารพิษจากการทำเหมือง

5 ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องดิน
สาระสำคัญ เก็บตัวอย่างดินให้ครอบคลุมชนิดของการจำแนกชุดดิน ไม่น้อยกว่า 10 ตัวอย่าง ที่ความลึก เซนติเมตร (ใน 5 + นอก 5) ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง pH โลหะหนัก จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ Arsenic, Cadmium, Lead โลหะหนัก จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ Manganese, Chromium, Mercury, Nickel, Selenium สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ Atrazine, Chlordane, 2,4-D, DDT, Dieldrin, Heptachlor, Heptachlor epoxide, Lindane, Pentachlorophenol สารอันตราย จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride ความสมบูรณ์ของดิน จำนวน 5 รายการ ได้แก่ Soil Organic Matter, Available Phosphorus, Available Potassium, Cation Exchange Capacity, Base Saturation

6 ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องตะกอนดิน
สาระสำคัญ สำรวจ/จัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนและตำแหน่งของแหล่งน้ำผิวดินที่อยู่ภายในพื้นที่โครงการและภายนอกโครงการ ในรัศมี 500 เมตร ซึ่งมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องตะกอนดิน ทั้งจากแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล เก็บตัวอย่าง 1 ตัวอย่างต่อ 1 แหล่งน้ำนิ่ง และ 3 ตัวอย่างต่อ 1 แหล่งน้ำไหล ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนของตะกอนดินได้ ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง pH โลหะหนัก 3 ชนิด ได้แก่ Arsenic Cadmium Lead โลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ Manganese, Chromium, Mercury, Nickel, Selenium สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/สัตว์ 9 ชนิด ได้แก่ Atrazine, Chlordane, 2,4-D, DDT, Dieldrin, Heptachlor Heptachlor epoxide, Lindane, Pentachlorophenol สารอันตราย 4 ชนิด ได้แก่ Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride

7 ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องน้ำผิวดิน
สาระสำคัญ สำรวจ/จัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนและตำแหน่งของแหล่งน้ำผิวดินที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายในพื้นที่โครงการและภายนอกโครงการ ในรัศมี 1 กิโลเมตร เก็บตัวอย่าง 1 ตัวอย่างต่อ 1 แหล่งน้ำนิ่ง และ 3 ตัวอย่างต่อ 1 แหล่งน้ำไหล ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนของน้ำผิวดินได้ ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ลักษณะทางกายภาพ/เคมี จำนวน 10 รายการ ได้แก่ temperature, color, pH, turbidity, electrical conductivity, Total Dissolved Solids, Suspended Solids, Total Hardness, BOD, DO โลหะหนัก จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Arsenic, Cadmium, Lead, Manganese โลหะหนัก จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ Chromium Hexavalent, Copper, Total Mercury, Nickel, Zinc สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สัตว์ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ Atrazine, Chlordane, 2,4 – D, DDT, Heptachlor, Heptachlor Epoxide, Lindane, Pentachlorophenol, Dieldrin สารอันตราย จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride คุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติม 4 รายการ ได้แก่ Salinity, Chloride, Sulfide, Sulfate

8 ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องน้ำใต้ดิน
สาระสำคัญ สำรวจ/จัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนและตำแหน่งของบ่อน้ำใต้ดินหรือบ่อน้ำบาดาลที่อยู่ภายในพื้นที่โครงการและภายนอกโครงการ ในรัศมี 3 กิโลเมตร เก็บตัวอย่างน้ำที่อยู่ชั้นหินอุ้มน้ำไร้แรงดัน ภายในพื้นที่/ภายนอกโครงการในรัศมี 1 กิโลเมตร เก็บตัวอย่างน้ำที่อยู่ชั้นหินอุ้มน้ำมีแรงดัน ภายในพื้นที่/ภายนอกโครงการในรัศมี 3 กิโลเมตร กรณีที่ไม่มีบ่อน้ำใต้ดินหรือบ่อน้ำบาดาลเดิมอยู่ให้เก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อสังเกตการณ์ หรือบ่อตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดิน ภายหลังจากที่ได้รับประทานบัตรแล้ว ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ลักษณะทางกายภาพ/เคมี จำนวน 7 รายการ ได้แก่ temperature, color, turbidity, pH, electrical conductivity, hardness, salinity โลหะหนัก จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ Arsenic, Cadmium, Hexavalent chromium, Copper, Lead, Mercury, Manganese, Nickel, Selenium, Zinc สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สัตว์ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ Total Organochlorine Pesticides, DDT, Alpha-BHC, Dieldrin, Aldrin, Phenols, Cyanide, Heptachlor, Heptachlor Epoxide สารอันตรายอื่นๆ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride

9 ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องอากาศ
สาระสำคัญ จัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ทิศทาง และความเร็วของกระแสลม ครอบคลุมทุกฤดูกาล กำหนดจุดวัดคุณภาพอากาศ 2 จุด พร้อมทั้งตรวจวัด อุณหภูมิ ความชื้น ทิศทางและความเร็วของกระแสลม ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง TSP/PM10 PM2.5 วิเคราะห์ขนาด รูปร่าง และองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง (Particulate Matter) ปริมาณก๊าซ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ CO NO2 SO2 O3 ไอตะกั่ว (Pb)

10 ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องเสียง
สาระสำคัญ กำหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน/ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน อย่างน้อย 2 จุด บริเวณขอบพื้นที่ประทานบัตรที่อยู่ใกล้บ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ใกล้ที่สุด 1 จุด บริเวณตำแหน่งของบ้านเรือนหรือชุมชนที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกไม่น้อยกว่า 1 จุด ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ระดับเสียงพื้นฐานในสิ่งแวดล้อมขณะที่ยังไม่มีกิจกรรมการทำเหมือง การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม Percentile Level 90, LA90 ตรวจวัดไม่น้อยกว่า 5 นาที วัดระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน เป็นระดับเสียงเฉลี่ย (Equivalent A-Weighted Sound Pressure Level, LAeq) ในวัน เวลา และตำแหน่งที่คาดว่าจะได้รับการรบกวน ภายหลังมีกิจกรรมการทำเหมือง การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม

11 ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน
1. ข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรับด้านสุขภาพของประชาชน (Passive Surveillance) 2. ข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) 3. ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรและตำแหน่งบ้านเรือน ในรัศมี ๕ กิโลเมตร รอบพื้นที่ 4. ความเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรับด้านสุขภาพของประชาชน (Passive Surveillance) และข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) ในพื้นที่

12 ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพประชาชน (ต่อ)
การรวบรวมและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรับด้านสุขภาพของประชาชน (Passive Surveillance) ในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลการรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลการจำแนกตามกลุ่มสาเหตุโรค ตามระบบฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เช่น รายงานผู้ป่วยนอกตามกลุ่มสาเหตุ 21 กลุ่มโรค (แบบ รง.504) หรือบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (International Classification of Diseases and Related Health Problem 10th Revision: ICD-10) เป็นต้น ข้อมูลรายละเอียดของโรคที่สำคัญ โรคประจำถิ่น และโรคที่มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการอุปโภค บริโภคและความเสี่ยงในการรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ

13 ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพประชาชน (ต่อ)
การจัดทำฐานข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) ในพื้นที่ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลตัวอย่างด้านสาธารณสุขจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง กำหนดจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการตามหลักสถิติ แบ่งพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ในรัศมี 1/3/5 กิโลเมตร โดยในพื้นที่แต่ละส่วนให้มีการเฉลี่ยในเรื่องอายุและเพศของกลุ่มตัวอย่างในสัดส่วนที่เหมาะสม ตรวจสุขภาพทั่วไปและตรวจเอ็กซเรย์ปอด พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายละเอียดของประชากรตัวอย่าง เก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ เพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) และวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนัก ได้แก่ As, Mn, Pb, Hg และตรวจการทำงานของไต โดยใช้ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายละเอียดของประชากรตัวอย่าง

14 ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพประชาชน (ต่อ)
การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรและตำแหน่งบ้านเรือน ในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบพื้นที่ประทานบัตร โดยให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ในรัศมี 1/3/5 กิโลเมตร พร้อมทั้งจัดทำแผนที่แสดงรายละเอียดและตำแหน่งที่ตั้ง เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพของประชาชนจากการทำเหมือง วิเคราะห์ และแปรผลข้อมูลด้านสุขภาพ/สาธารณสุข โดยหาความเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง Passive Surveillance และ Active Surveillance ในพื้นที่ พร้อมทั้งระบุตำแหน่งบ้านเรือนของประชากรกลุ่มตัวอย่างและจัดทำข้อมูลรายละเอียดด้านสุขภาพของประชาชนให้สอดคล้องกัน

15 การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน
(ตัวอย่าง) การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน สำหรับการทำเหมืองแร่ การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3 กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/ แร่ตะกั่ว/ แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 1. ข้อมูลพื้นฐานด้านธรณีวิทยา 1.1 ธรณีวิทยาทั่วไป/แผนที่ 1: 50,000 1.2 ธรณีวิทยาแหล่งแร่/แผนที่ 1: 4,000 1.3 คุณภาพของแร่ในแหล่ง/เพื่อนแร่ 1.4 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของแร่

16 การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3
กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/แร่ตะกั่ว/แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 2. ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องดิน 2.1 เก็บตัวอย่างดิน 10 ตัวอย่าง (ใน 5/นอก 5) 2.2 ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดิน (1) pH (2) โลหะหนัก 3 ชนิด As, Cd, Pb (3) โลหะหนัก 5 ชนิด Mn, Cr, Hg, Ni, Se (4) สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 9 ชนิดAtrazine, Chlordane, 2,4-D, DDT, Dieldrin, Heptachlor, Heptachlor epoxide, Lindane, Pentachlorophenol (5) สารอันตราย 4 ชนิด Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride (6) ความสมบูรณ์ของดิน 5 รายการ

17 การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3
กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/แร่ตะกั่ว/แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 3. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องตะกอนดิน 3.1 จำนวนและตำแหน่งของแหล่งน้ำผิวดิน ในรัศมี 500 เมตร 3.2 เก็บตัวอย่าง ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล 3.3 ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างตะกอนดิน (1) pH (2) โลหะหนัก 3 ชนิด As, Cd, Pb (3) โลหะหนัก 5 ชนิด Mn, Cr, Hg, Ni, Se (4) สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 9 ชนิดAtrazine, Chlordane, 2,4-D, DDT, Dieldrin, Heptachlor, Heptachlor epoxide, Lindane, Pentachlorophenol (5) สารอันตราย 4 ชนิด Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride

18 การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3
กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/แร่ตะกั่ว/แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 4. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องน้ำผิวดิน 4.1 จำนวนและตำแหน่งของแหล่งน้ำผิวดิน ในรัศมี 1 กิโลเมตร 4.2 เก็บตัวอย่าง ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล 4.3 ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ (1) ลักษณะกายภาพ/เคมีของน้ำ 10 รายการ (2) โลหะหนัก 4 ชนิด As, Cd, Pb, Mn (3) โลหะหนัก 5 ชนิด Cr, Cu, Hg, Ni, Zn (4) สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/สัตว์ 9 ชนิด (5) สารอันตราย 4 ชนิด Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride (6) คุณสมบัติอื่นๆ 4 รายการ Salinity, Chloride, Sulfide, Sulfate

19 การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3
กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/แร่ตะกั่ว/แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 5. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องน้ำใต้ดิน 5.1 จำนวนและตำแหน่งของบ่อน้ำใต้ดิน/บาดาล ในรัศมี 3 กิโลเมตร 5.2 เก็บตัวอย่างน้ำ โดยแบ่งเป็น 3 กรณี 5.3 ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ (1) ลักษณะกายภาพ/เคมีของน้ำ 7 รายการ (2) โลหะหนัก 10 ชนิด As, Cd, Pb, Mn, Cr, Cu, Hg, Ni, Zn, Se (3) สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/สัตว์ 9 ชนิด (4) สารอันตราย 4 ชนิด Benzo (a) pyrene, Cyanide, PCBs, Vinyl chloride

20 การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3
กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/แร่ตะกั่ว/แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 6. ข้อมูลสิ่งแวดล้อมเรื่องคุณภาพอากาศ 6.1 จัดทำข้อมูลพื้นฐาน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ทิศทาง และความเร็วของกระแสลม 6.2 กำหนดจุดตรวจวัด อย่างน้อย 2 จุด (1) TSP/PM10 (2) PM2.5 (3) วิเคราะห์ขนาด รูปร่าง และองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง (Particulate Matter) (4) ปริมาณก๊าซ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ CO NO2 SO2 O3 สำหรับโรงประกอบโลหกรรม (5) ไอตะกั่ว (Pb) สำหรับโรงประกอบโลหกรรม (หลอมตะกั่ว)

21 การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3
กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/แร่ตะกั่ว/แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 7. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องเสียง 7.1 กำหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน/ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน อย่างน้อย 2 จุด 7.2 ตรวจวัดเสียง (1) ระดับเสียงพื้นฐานในสิ่งแวดล้อมขณะที่ยังไม่มีกิจกรรมการทำเหมือง (2) วัดระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน เป็นระดับเสียงเฉลี่ย

22 การทำเหมืองประเภทที่ 2 และ 3
กรณีที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน แร่หินอุตสาหกรรม/ แร่อุตสาหกรรม แร่ถ่านหิน แร่โพแทช/ แร่เกลือหิน แร่โลหะทั่วไป แร่ทองคำ/แร่ตะกั่ว/แร่สังกะสี/ แร่โลหะที่มีอาร์ซิโนไพไรต์ 9. ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน 9.1 ข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรับด้านสุขภาพของประชาชน (Passive Surveillance) 9.2 ข้อมูลการเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) ตรวจสุขภาพทั่วไป/เอ็กซเรย์ปอด เก็บตัวอย่างเลือด/ปัสสาวะ เพื่อตรวจ CBC และวิเคราะห์หา As, Mn, Pb, Hg และตรวจการทำงานของไต 9.3 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรและตำแหน่งบ้านเรือน ในรัศมี ๕ กิโลเมตร รอบพื้นที่ 9.4 ความเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง Passive/Active Surveillance ในพื้นที่

23 Thank you for your attention
สำนักบริหารสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โทรศัพท์: โทรสาร:


ดาวน์โหลด ppt การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google