ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 11 สถิติเชิงสรุปอ้างอิง
บทที่ 11 สถิติเชิงสรุปอ้างอิง วิทยาลัยการศึกษา วิทยาลัยกรศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
2
เนื้อหาในบทเรียน ความหมายของสถิติเชิงอ้างอิง ประเภทของสถิติเชิงอ้างอิง
การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ ความคลาดเคลื่อนในการตัดสินใจ ระดับความมีนัยสำคัญ ระดับความเชื่อมั่น ระดับความเป็นอิสระ บริเวณวิกฤต ประเภทของการทดสอบสมมติฐาน ขั้นตอนการทดสอบสมมุติฐาน การทดสอบเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบเกี่ยวกับสัดส่วน การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร
3
ความหมายของสถิติเชิงอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน
สถิติที่ใช้วิเคราะหข้อมูลที่ศึกษาได้จากกลุ่มตัวอย่าง แล้วอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อสรุปผลไปยังกลุ่มประชากร หรือการศึกษาค่าสถิติ (statistic) เพื่ออ้างอิงไปยังค่าพารามิเตอร์ (parameter) หากกลุ่มตัวอย่างมีความเป็นตัวแทนที่ดีแล้ว ค่าสถิติที่ศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่างน่าจะเท่ากับค่าพารามิเตอร์ของประชากร การใช้สถิติอ้างอิงทำได้ 2 ลักษณะคือ การประมาณ (estimation) ค่าประชากรหรือค่าพารามิเตอร์ และการทดสอบสมมติฐาน (hypothesis testing)
4
ประเภทของสถิติเชิงอ้างอิง
1. สถิติพาราเมตริก (Parametric statistics ) คำนึงถึงการแจกแจงของประชากรที่กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มมา มีการแจกแจงแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่พอ (n 30) มีการวัดอยู่ในมาตราอันตรภาคหรือมาตราอัตราส่วน 2. สถิตินันพาราเมตริก (Non parametric statistics ) ไม่คำนึงถึงลักษณะการแจกแจงของประชากรว่าเป็นแบบใด กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก (n < 30) มีการวัดอยู่ในมาตรานามบัญญัติหรือมาตราเรียงลำดับ
5
การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (hypothesis testing)
กระบวนการที่นำไปสู่การสรุปตัดสินใจว่าสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ เกี่ยวกับประชาชนนั้นถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ การทดสอบเริ่มจากการตั้งสมมติฐานการวิจัยแล้วแปลงไปเป็นสมมติฐานทางสถิติ และใช้เทคนิคทางสถิติแบบใดแบบหนึ่งมาทดสอบ อาศัยหลักฐานหรือข้อมูลเท่าที่มีจากกลุ่มตัวอย่างมาใช้ในการตัดสินใจ ที่จะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งขึ้น เพื่อสรุปอ้างอิง (generalization) ไปยังประชากร
6
ความคลาดเคลื่อนในการตัดสินใจ
การตัดสินใจหลังการทดสอบ H0 สถานการณ์ที่ถูกต้องของ H0 H0 เป็นจริง H0 เป็นเท็จ ยอมรับ H0 ตัดสินใจถูกต้อง หรือ ขอบเขตความเชื่อมั่น (1 – α) เกิดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 2 (β) ปฏิเสธ H0 เกิดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 (α หรือระดับนัยสำคัญ) อำนาจของการทดสอบ (1 – β)
7
ระดับความมีนัยสำคัญ (Level of significance)
ความน่าจะเป็นที่ผู้วิจัยมีโอกาสสรุปผลการวิจัยคลาดเคลื่อน ในลักษณะของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 คือ ปฏิเสธ H0 ทั้งที่ H0 ถูกต้อง แทนด้วยสัญลักษณ์ α เช่น α = .05 หมายความว่า ในการทดสอบ ผู้วิจัยยอมเสี่ยงให้เกิดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ 5 ครั้งใน 100 ครั้ง และเป็นความคลาดเคลื่อน ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญเท่านั้น หรือกล่าวได้ว่า ถ้ามีการทดสอบสมมติฐานซ้ำ 100 ครั้ง โอกาสที่จะสรุปผิด ในลักษณะที่จะปฏิเสธ H0 ทั้งที่ H0 ถูกต้อง มีอยู่เพียง 5 ครั้ง โอกาสที่จะสรุปผลได้ถูกต้องมีถึง 95 ครั้ง จาก 100 ครั้ง หากมองในแง่ระดับความเชื่อมั่น (level of confidence) กล่าวได้ว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นมีความเชื่อมั่นได้ 95%
8
ระดับความเชื่อมั่น (Level of confidence)
ความน่าจะเป็นในการยอมรับสมมติฐานศูนย์ที่ถูก (1- ) หรือเรียก สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (confidence coefficient) เช่น = .01 ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 หรือ 99%
9
ระดับความเป็นอิสระ (Degree of freedom)
จำนวนหรือค่าที่แสดงถึงระดับความเป็นอิสระของการผันแปรได้ตาม เกณฑ์ใดกฏเกณฑ์หนึ่ง จากการแจกแจงภายใต้โอกาสความน่าจะเป็นของแต่ละครั้งที่มีการสุ่มตัวอย่างขึ้นมาศึกษา ลักษณะของผลการแจกแจงจะผูกพันกับจำนวนกลุ่มตัวอย่าง หรือข้อมูลที่สุ่มได้ หรือบางลักษณะขึ้นอยู่กับจำนวนรูปแบบของการจัดประเภทของข้อมูล
10
บริเวณวิกฤต (Critical region) หรือ เขตปฏิเสธ (reject region)
ขอบเขตที่กำหนดตามระดับนัยสำคัญ ถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่ในขอบเขตนี้ จะถือว่าการทดสอบมีนัยสำคัญ (significance) นั่นคือ ความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างกับประชากร มีมากเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ จึงถือว่าเป็นความแตกต่างที่แท้จริงและไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
11
ประเภทของการทดสอบสมมติฐาน
1. การทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One tailed test) : ทางซ้าย
12
1. การทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One tailed test) : ทางขวา
13
2. การทดสอบสมมติฐานแบบสองทาง (Two tailed test)
14
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
1. กำหนดสมมติฐานโดยใช้สถิติโดยแปลงมาจากสมมติฐานการวิจัย ทั้งสมมติฐานที่เป็นกลาง (H0) และสมมติฐานที่เป็นทางเลือก (H1) 2. กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ (α) 3. กำหนดสถิติที่จะใช้ในการทดสอบ 4. หาค่าวิกฤต (critical value) 5. คำนวณค่าสถิติ เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับค่าวิกฤตแล้วจึงตัดสินใจเกี่ยวกับการทดสอบ
15
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
6. สรุปผลการทดสอบ เพื่ออ้างอิงไปยังประชากร ถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่ในเขตวิกฤติ หรือเขตปฏิเสธ H ก็จะปฏิเสธ H0 ยอมรับ H1 ถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่นอกเขตวิกฤติหรือยอมรับ H ก็จะสรุปได้ว่ายอมรับ H0
16
การทดสอบเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย
การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากร แบ่งเป็น 3 กรณี 1.การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว 2.การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม 3.การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม
17
1. การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว
ทราบ 2 ของประชากร ไม่ทราบ 2 ของประชากร ไม่ทราบ 2 ของประชากร n 30 n 30 n < 30 สถิติ Z–test สถิติ Z–test สถิติ t–test
18
2. การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม
2.1 ข้อมูล 2 ชุดมีความเป็นอิสระต่อกัน (independent samples) แจกแจงเป็นโค้งปกติ ไม่ทราบการแจกแจง ไม่ทราบการแจกแจง ทราบ 12 และ 22 ทราบ 12 และ 22 ไม่ทราบ 12 และ 22 สถิติ Z–test n1 30 และ n2 30 สถิติ Z–test สถิติ Z–test
19
2. การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม
2.1 ข้อมูล 2 ชุดมีความเป็นอิสระต่อกัน (independent samples) แจกแจงเป็นโค้งปกติ แจกแจงเป็นโค้งปกติ ไม่ทราบ 12 และ 22 ไม่ทราบ 12 และ 22 12 = 22 12 ≠ 22 n1 และ n2 < 30 n1 และ n2 < 30 สถิติ t–test สถิติ t–test
20
2.2 ข้อมูล 2 ชุดไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (dependent samples)
, 2.2 ข้อมูล 2 ชุดไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (dependent samples)
21
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
(Analysis of Variance : ANOVA) ทดสอบเกี่ยวกับความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากรที่มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป โดยทดสอบหลายกลุ่มไปพร้อม ๆ กันครั้งเดียวซึ่งจะให้ผลดีกว่าและถูกต้องกว่าการทดสอบโดย เปรียบเทียบเป็นคู่ ๆ หลายครั้ง ใช้การทดสอบค่าเอฟ (F-test) คือ เพื่อทดสอบความแปรปรวน 2 ตัว คือ ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (between-group variance) กับความแปรปรวนภายในกลุ่ม (within-group variance) ว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด เป็นกี่เท่าของกัน
22
การทดสอบเกี่ยวกับสัดส่วน
กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม
23
การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร
24
Thank You!
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.