งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์
โดย นางนันทิกาญจน์ ธนากรวัจน์ ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑ โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

2 บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์
องค์ประกอบของนาฏศิลป์ บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์ ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับชีวิตประจำวัน

3 องค์ประกอบของนาฏศิลป์
นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย เนื้อร้องและทำนองเพลง จังหวะ การแต่งกายและการแต่งหน้า เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง อุปกรณ์การแสดง

4 นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย
เป็นลักษณะท่าทางการรำของตัวละครที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ เพื่อสื่อความหมายของการแสดงที่ชัดเจนและสวยงาม ที่มาของภาพ

5 เนื้อร้องและทำนองเพลง
การแสดงนาฏศิลป์จะต้องมีความสอดคล้องกับบทเพลงจะต้องกับบทเพลงจะต้องถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของการแสดงได้ตรงตามเนื้อหาของเพลงและเนื้อเรื่องให้ผู้ชมเข้าใจการแสดง

6 จังหวะ จังหวะเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะจังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัดการแสดงนากศิลป์ไทย ผู้แสดงต้องรำให้ถูกต้องตรงตามจังหวะ การแสดงจึงจะสวยงาม

7 การแต่งกายและการแต่งหน้า
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้แสดงมีความสวยงาม และยังเป็นสิ่งที่บอกลักษณะของตัวละครนั้นด้วย เช่น

8 การแสดงระบำชาวนาจะสวมชุดทำนา
ที่มาของภาพ

9 การแสดงระบำไก่ ผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบไก่
ที่มาของภาพ

10 เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง
เครื่องดนตรีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการแสดงเพราะใช้บรรเลงจังหวะ ทำนอง และยังสามารถสร้างบรรยากาศของการแสดงได้ เช่น การบรรเลงจังหวะช้า ทำนองอ่อนหวาน เป็นการแสดงฟ้อน การบรรเลงจังหวะเร็ว ทำนองสนุกสนาน เป็นการแสดงเซิ้ง เป็นต้น

11 อุปกรณ์การแสดง การแสดงนาฏศิลป์บางชุดจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบ เช่น ฟ้อนเล็บต้องใส่เล็บ ฟ้อนเทียนต้องใช้เทียน ระบำชาวนาต้องใช้เคียวและรวงข้าว เป็นต้น

12 การแสดงฟ้อนเล็บ ที่มาของภาพ

13 การแสดงฟ้อนเทียน ที่มาของภาพ

14 การแสดงระบำชาวนา ที่มาของภาพ

15 บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์
ผู้ฝึกซ้อมการแสดง ผู้แสดง ผู้ดูแลเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า ผู้ดูแลอุปกรณ์ประกอบการแสดง ฉาก แสง สี เสียง ผู้บรรเลงดนตรีประกอบการแสดง

16 ผู้ฝึกซ้อมการแสดง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางนาฏศิลป์ เป็นบุคคลที่ทำให้การแสดงมีความสวยงาม พร้อมเพรียงอาจเป็นครู อาจารย์ในการสอนการแสดงนาฏศิลป์ หรือผู้ที่สามารถดูแลการแสดงได้

17 ผู้แสดง ผู้ที่ได้รับบทบาทในการแสดง ผู้แสดงจะต้องมีบุคลิกลักษณะที่ดี รูปร่างดี เหมาะสมกับการแสดง และต้องรำได้สวยเพราะการแสดงนาฏศิลป์เป็นศิลปะที่มีความอ่อนช้อยงดงาม

18 ผู้แสดงรับบทเป็นพระราม
ต้องมีรูปร่างสมส่วน ลักษณะองอาจ มีความเป็นผู้นำ ที่มาของภาพ

19 ผู้แสดงรับบทเป็นทศกัณฐ์
ต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ ดูแข็งแรง มีอำนาจ ที่มาของภาพ

20 ผู้แสดงรับบทเป็นนางสีดา
ต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ ดูแข็งแรง มีอำนาจ ที่มาของภาพ

21 ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับชีวิตประจำวัน
นาฏศิลป์มีความสัมพันธ์กับชีวิตของคนไทยมาช้านาน เพราะนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งจะเห็นได้จากการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคต่าง ๆ ที่ผูกพันอยู่คู่กับคนไทยอย่างเห็นได้ชัด

22 การแสดงนาฏศิลป์เป็นการช่วยผ่อนคลายความเครียด ความเหน็ดเหนื่อย และยังใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น เซิ้งบั้งไฟในงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมวจะมีการฟ้อนรำ การแสดงต่างๆ เพื่อให้ฝนตก เป็นต้น

23 การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคเหนือ
ที่มาของภาพ การฟ้อนดาบ มีที่มาจากศิลปะการต่อสู้ของชายชาวล้านนาแต่โบราณ

24 การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มาของภาพ เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรม ที่เกี่ยวกับการขอฝน

25 การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคกลาง
ที่มาของภาพ รำกลองยาว เป็นประเพณี การเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง สันนิษฐานว่าเป็นของพม่า

26 การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคใต้
มโนราห์ หรือโนรา เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม ที่มาของภาพ

27 นอกจากนี้ การแสดงนาฏศิลป์ยังเกี่ยวข้องกับงานรื่นเริงต่างๆ เช่น งานวันเกิดมีการรำอวยพร งานประจำปีโรงเรียน มีการแสดงรำวงมาตรฐาน เป็นต้น จะเห็นได้ว่า นาฏศิลป์ช่วยสร้างความสุข สนุกสนาน และสร้างความบันเทิงให้กับมนุษย์

28 ที่มา : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) (2552, หน้า ). ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.6. กรุงเทพฯ. " วิพิธทัศนา " โดย สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่

29 จบการนำเสนอ นางนันทิกาญจน์ ธนากรวัจน์ ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑
นางนันทิกาญจน์ ธนากรวัจน์ ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑ โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ธนากรวัจน์


ดาวน์โหลด ppt บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google