ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Fungi เห็ดรา
2
เห็ดราเป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ สามารถพบได้ ทั้งภายในร่างกายและรอบ ๆ ตัวเรา
สามารถพบได้ทั้งตามพื้นดิน น้ำ อากาศ ต้นไม้ สัตว์ และ สิ่งไม่มีชีวิต แม้ว่าในปี 1991 จะมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับเห็ดราเพียง 65,000 ชนิด แต่คาดว่าจริง ๆ น่าจะมีถึง ล้านชนิด โดยเฉพาะในแถบร้อน เห็ดรามีทั้งประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตอื่น และหลายครั้งที่ เห็ดราเป็นต้นเหตุของการผุพัง เสื่อมสลายของวัตถุที่ไม่มีชีวิต
3
โรคหลาย ๆ โรคของมนุษย์มีสาเหตุมาจาก “เชื้อรา” เช่น กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุต เชื้อราในร่มผ้าและรังแค เป็นต้น แต่บทบาท การก่อโรคนี้เป็นเพียงบทบาท เล็ก ๆ ของเห็ดรา บทบาทสำคัญของเห็ดราเป็นบทบาทที่มีต่อระบบนิเวศ ไม่ว่าจะ เป็นบทบาทในการเป็นผู้ย่อยสลายในธรรมชาติ ก่อให้เกิดระบบ หมุนเวียนแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์บอน (C) ไนโตรเจน (N) ออกซิเจน (O) และฟอสฟอรัส (P) จากซากสัตว์สิ่งมีชีวิตให้ กลับคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป หรือบทบาทการเป็น “แหล่งอาหาร” ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในห่วง โซ่อาหารแบบที่เรียกว่า Detritus food chain หรือ Saprophytic food chain
4
เห็ดรามีทั้งที่เป็นเส้นใย และเป็นกลุ่มเส้นใย ถ้ามีขนาดเล็กมักถูก เรียกว่า “รา” แต่ถ้ามีขนาดใหญ่มองเห็นชัดด้วยตาเปล่ามักเรียกว่า “เห็ด” ซึ่งการพัฒนารูปร่างของเห็ดรานั้น จะแตกต่างกันไปตามชนิด ของเห็ดรา ส่วนลักษณะพิเศษของมันก็คือ สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ มันจะไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ เนื่องจากไม่มีรงควัตถุที่จะช่วย ในการสังเคราะห์แสงเหมือนกับพืช แต่เห็ดราก็มีวิธีที่จะดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการรับสารอาหารจากภายนอกในรูปแบบการเกาะกินหรือ เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเรียกว่าเป็น “ปรสิต” (Parasite) หรือเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต(Saprophyte)
5
การศึกษาด้านเห็ดราหรือวิทยาเชื้อราหรือกิณวิทยา (Mycology : Mykes (mushroom) และ logos (discource)) เป็นวิชา ที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ดราและ yeast ต่าง ๆ มนุษย์รู้จักเชื้อรามาตั้งแต่โบราณกาลนับเป็นพันๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ สร้าง fruit-body ที่มีขนาดใหญ่และเห็นได้ง่าย เช่น พวกเห็ดต่างๆ เป็นเวลานานหลายศตวรรษมาแล้วที่ชาวจีนรู้จักนำราบางชนิดมาใช้ ประโยชน์ในการผลิตอาหาร และยารักษาโรค ชาวโรมันรู้จักแยกเห็ดชนิดที่ ใช้รับประทานได้และเห็ดชนิดที่เป็นพิษ การศึกษาทางด้านราอย่างจริงจังนั้นเพิ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 200 – 300 ปีที่ ผ่านมา หลังจากที่ได้มีการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ในศตวรรษที่ 17 โดย Antony van Leewenhoek ( ) จึงมีผู้สนใจศึกษา จุลินทรีย์และราที่มีขนาดเล็กกันอย่างกว้างขวาง โดยเริ่มจากงานของ Pier’ Antonio Micheli ( ) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นบิดาแห่ง “เห็ด รา”
6
Pier’ Antonio Micheli
7
Micheli ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาเลียน นับเป็นคนแรกที่ได้นำ กล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการศึกษารา (กล้องจุลทรรศน์ในยุคนั้นมีกำลังขยาย ต่ำมาก) งานของ Micheli ที่สำคัญได้แก่ หนังสือชื่อ “Nova Plantorum Genera” ซึ่งเขียนเป็นภาษาละติน และพิมพ์ในปี 1729 ได้เขียนถึงราไว้ ประมาณ 900 ชนิด และพืชต่าง ๆ อีก 1,000 ชนิด จึงถือได้ว่า Micheli เป็นผู้ที่ศึกษาราได้อย่างละเอียดลึกซึ้งมากกว่าผู้ใดในสมัยนั้นและยังเป็นคน แรกที่อธิบายลักษณะของ ascus และ ascospore ใน lichen และ truffle Micheli ได้จัดทำคู่มือภาพประกอบคำบรรยายในการจำแนกเห็ดราจนถึง ระดับ species อีกด้วย ตัวอย่างชื่อ genus ที่ Micheli ใช้เรียกรา และยังคงใช้กันจนดึงปัจจุบันได้แก่ Mucor, Aspergillus, Botrytis, Lycoperdon,Geastrum และ Tuber เป็นต้น
8
หนังสือ Nova Plantorum Genera
9
นอกจากจะทำการศึกษาราที่มีขนาดใหญ่ เช่น พวกเห็ดต่าง ๆ ดังกล่าว มาแล้ว Micheli ยังอาจนับได้ว่าเป็นคนแรกที่พยายามเลี้ยงเชื้อรา และแสดงให้เห็นว่าในอากาศมีสปอร์ของรากระจายอยู่ โดยทำการ ทดลองนำผล squash มาผ่าเป็น 2 ซีก แล้วโรยด้วยสปอร์ของรา Botrytis จากนั้นนำครอบแก้ว (bell jar) มาครอบชิ้นส่วน หนึ่งไว้ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งวางไว้โดยไม่มีอะไรปิด เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 วัน เขาพบว่าชิ้นส่วนที่ถูกครอบไว้นั้นมีรา Botrytis เจริญปกคลุม เพียงชนิดเดียวเท่านั้น แต่ชิ้นที่ไม่ได้ครอบนอกจากจะพบรา Botrytis แล้ว ยังพบราชนิดอื่น ๆ เช่น Mucor และ Rhizopus เจริญปะปนอยู่ด้วย ซึ่ง Micheli ได้อธิบายว่าเป็น เพราะมีสปอร์ของราอื่นในอากาศมาตกลงบนชิ้น squash ที่ไม่ได้ ครอบด้วยครอบแก้ว
10
ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับรากันมาก ทั้งใน ด้านวงจรชีวิต สรีรวิทยา ลักษณะการสืบพันธุ์ทาง เพศ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ultrastructure เซลล์วิทยา การผลิตสาร ปฏิชีวนะ และสารพิษต่าง ๆ ของรา รวมถึงการนำรา ไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การควบคุมศัตรูพืช และการใช้เป็นอาหาร เป็นต้น
11
ศัพท์ที่ใช้เรียกรานั้นได้แก่ คำว่า Fungus ซึ่ง เป็นเอกพจน์ ส่วนคำว่า Fungi เป็นพหูพจน์
Fungus เดิมมีความหมายว่า Mushroom แต่ในปัจจุบันความหมายจะ กินความไปถึงราทั้งหมด ไม่ใช่แต่เฉพาะเห็ด หรือMushroom เท่านั้น
12
ลักษณะพื้นฐานของราโดยทั่วไป
13
1. เซลล์เป็นแบบ Eukaryotic cell (มีเยื่อหุ้ม นิวเคลียส) ที่อาจพบว่าในหนึ่งเซลล์มีมากกว่าหนึ่ง นิวเคลียส 2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงดำรงชีวิตแบบ Heterotroph โดยดูดซับสารจากสิ่งแวดล้อม อาจเป็นผู้ย่อยสลาย สารอินทรีย์ หรือเป็นปรสิต หรือ Symbionts 3. ผนังเซลล์ประกอบด้วย เซลลูโลส (Cellulose) (พบ เฉพาะใน Zygomycota) หรือ เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) หรือ ไคติน (Chitin) อย่างใด อย่างหนึ่ง
14
4. มีทั้งเซลล์เดี่ยว (Yeast) และเป็นเส้นใยเล็กที่ เรียกว่าไฮฟา (Hypha/Hyphae) หรือเส้นใย รวมกลุ่ม ที่เรียกว่าไมซีเลียม (Mycelium/Mycelia) ลักษณะของเส้นใย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (Septate hypha) 4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (Nonseptate hypha หรือ Coencytic hypha)
15
ซ้าย เส้นใยราแบบมีผนังกั้น ขวา เส้นใยราแบบไม่มีผนังกั้น
16
ราเส้นใยเดี่ยวหรือเส้นใยแตกแขนงจะเรียกว่า mold
ส่วนราที่เส้นใยรวมเป็นมัด fruiting body จะ เรียกว่า mushroom ส่วนยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แต่อาจมีการต่อกัน เป็นสาย เรียกว่า Pseudomycelium หรือ Pseudohyphae
17
รูปร่างของเห็ดรา
19
หากพิจารณาเส้นใยของราในช่วง Somatic phase (Vegetative phase) และ Reproductive
phase จะพบว่าเส้นใยราในระยะ Somatic phase จะมีผนัง เซลล์ห่อหุ้ม ยกเว้นในราชั้นต่ำบางชนิดอาจมีเซลล์เพียงเซลล์เดียว และไม่มี cell wall ห่อหุ้ม Thallus (หมายถึง ตัวของราทั้ง หน่วย) ราส่วนใหญ่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เอง (non-motile) สำหรับราพวก Ascomycetes หรือราชั้นสูง ผนังที่กั้นหรือ Septum นั้น ไม่ปิดทึบหมด แต่มีช่องหรือรูเปิดอยู่ตรงกลาง ทำ ให้ออร์แกเนลบางอย่างเคลื่อนที่ข้ามจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง ได้
20
เส้นใยของราหลายชนิดมีสีใสหรือไม่มีสี (Hyaline) แต่รา บางชนิดมีเส้นใยสีดำ ซึ่งเกิดจากการสะสมของเม็ดสี melanin ที่ผนังเส้นใย เส้นใยอาจมีความหนาเท่ากันตลอด หรืออาจค่อย ๆ เรียวเล็กลง จากส่วนที่ใหญ่ไปหาส่วนที่เล็กกว่า ความหนาของเส้นใยมี แตกต่างกันไปตั้งแต่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 0.5 μm จนถึง ใหญ่กว่า 100 μm (เช่น ในพวก Saprolegniales บาง ชนิด) และอาจมีความยาวเพียง 2-3 μm จนกระทั่งเจริญสร้าง เป็นแผ่นหรือรวมกันเป็นเส้นใหญ่ (Hyphal strand) ที่ ยาวหลาย ๆ เมตร ในเส้นใยเดียวกัน อาจมีการแตกกิ่งหรือไม่แตกกิ่ง
21
เส้นใยได้รับอาหารจากภายนอกโดยการดูดซึมสารผ่านเข้าทางผนัง ของเส้นใย
ส่วนปลายสุดของเส้นใยเป็นส่วนที่สำคัญเกี่ยวของกับการ เจริญเติบโตของรา ผนังของเส้นใย (Hyphal wall) ในราส่วนใหญ่ประกอบด้วย Microfibril ของไคติน มีราบางพวกเท่านั้นที่พบว่า ผนังของ เส้นใยประกอบด้วยเซลลูโลส โครงสร้างของไคติน คือ N- acetyl D-glucosamine จับต่อกันเป็น Polymer ส่วน ของเซลลูโลส เป็น Polymer D-glucose
22
โครงสร้างของเซลลูโลสและไคตินนั้น มีลักษณะใกล้เคียง กันมากหากแต่มีความแตกต่างกันที่ ไคตินมี N-acetyl group จับกับ Carbon ในตำแหน่งที่ 2 แทนที่จะเป็น OH group อย่างในเซลลูโลส ปริมาณไคติน ที่พบในผนังเส้นใยของรามีประมาณ 2.6 – % ของน้ำหนักแห้งของผนัง สารอื่น ๆ ที่พบนอกจากนี้ก็มีพวก Protein Glycan และ Polysaccharide อื่น ๆ อีกหลายชนิด
23
เส้นใยของฟังไจอาจเปลี่ยนแปลงแปลงรูปร่างเพื่อทำ หน้าที่พิเศษ ได้แก่
Haustorium พบในราที่เป็นปรสิต ราจะแทง เส้นใยเข้าเซลล์เจ้าบ้าน เพื่อดูดอาหารจากเซลล์เจ้า บ้าน Rhizoid มีลักษณะคล้ายรากพืชยื่นออกจากไมซี เลียม เพื่อยึดให้ติดกับผิวอาหารและช่วยดูดซึมอาหาร ด้วย เช่น ราขนมปัง
24
Haustorium ของรา
25
Rhizoid ของรา
26
การสร้าง Fungus garden ของมด ปลวก
เส้นใยราบางชนิดมีความจำเพาะ และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต บางอย่าง ทำให้เกิดการมีชีวิตอยู่ร่วมกันที่เป็นรูปแบบเฉพาะขึ้น การสร้าง Fungus garden ของมด ปลวก การอยู่ร่วมกันระหว่างรากพืชกับราที่เรียกว่า Mycorrhizas (มาจากภาษากรีก แปลว่า fungus root) เช่น Truffle ซึ่งเป็น ราในกลุ่ม Ascomycetes จะสร้างเส้นใยราโอบล้อมขนราก ของพืชพวกโอ๊คและบีช เส้นใยราเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถใน การดูดซึมเกลือแร่ และอาจให้สารบางอย่างที่จำเป็นต่อต้นไม้ ขณะเดียวกันต้นไม้ก็ให้สารบางอย่างแก่ราเช่นกัน นอกจากพวกโอ๊ค แล้ว Mycorrhizas ยังพบได้ที่รากของกล้วยไม้ทั่ว ๆ ไปอีกด้วย
27
Fungus garden ของปลวก
28
Mycorrhiza ของ Truffle
ที่รากของต้นโอ๊ค Truffle
29
เส้นใยราบางชนิดถูกนำมาใช้ประโยชน์ในเชิง Biological control เช่นใช้ในการจำจัดหนอนตัว กลม และแมลงศัตรูพืชบางชนิด
30
5. อาหารสะสมของรา (Storage nutrient) พบได้ในรูป ของ Glycogen และ Lipid เท่านั้น (Glycogen เป็น อาหารสะสมที่พบใน Cytoplasm ของราและสัตว์ แต่จะไม่ พบในเซลล์ของพืชเลย) 6. การสืบพันธุ์ (Reproductive system)
31
6.1 Fragmentation เกิดจากเส้นใยหักเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วน เรียก oidia สามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ได้ 6.2 Budding (การแตกหน่อ) เป็นการสืบพันธุ์ที่พบได้ในยีสต์ ทั่วไป เกิดจากเซลล์ตั้งต้นแบ่งเซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์ตั้งต้น แบ่งออกเป็นสองนิวเคลียส นิวเคลียสอันหนึ่งจะเคลื่อนย้ายไปเป็น นิวเคลียสของเซลล์ใหม่ที่มีปริมาณไซโทพลาซึมน้อยกว่า (เซลล์ใหม่ จะเล็กกว่าและติดอยู่กับเซลล์ตั้งต้นเรียกเซลล์หรือหน่อนี้ว่า Blastospore) เมื่อเซลล์ใหม่เจริญเต็มที่จะคอดเว้าขาดจากเซลล์ ตั้งต้น และเจริญต่อไปได้ 6.3 Binary fission การแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วนที่เท่า ๆ กัน แต่ละ เซลล์จะคอดเว้าตรงกลางและหลุดออกจากกันเป็น 2 เซลล์พบในยีสต์ บางชนิดเท่านั้น
32
6.4 การสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual sporulation) เป็นการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่พบมากที่สุด สปอร์แต่ละชนิดจะมีชื่อและวิธี สร้างที่แตกต่างกันไป เช่น - Conidiospore หรือ conidia เป็นสปอร์ที่ไม่มีสิ่งหุ้ม เกิดที่ปลาย เส้นใยที่ทำหน้าที่ชูสปอร์ (Conidiophore) ที่ปลายของเส้นใยจะมี เซลล์ที่เรียกว่า Sterigma ทำหน้าที่สร้าง Conidia เช่น Aspergillus sp. และ Penicillium sp. - Sporangiospore เป็นสปอร์ที่เกิดจากปลายเส้นใยพองออกเป็น กระเปาะ แล้วต่อมามีผนังกั้นเกิดขึ้นภายใน กระเปาะจะมีผนังหนาและเจริญ เป็นอับสปอร์ (Sporangium) นิวเคลียสภายในอับสปอร์จะมีการ แบ่งตัวหลาย ๆ ครั้ง ก่อนที่จะมีการแบ่งไซโทพลาซึมมาโอบล้อมนิวเคลียส และสร้างผนังหนามาหุ้มกลายเป็นสปอร์ที่เรียกว่า Sporangiospore จำนวนมากมาย
33
Sporangiospore
34
Conidiospore
35
6.5 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์และมีการ รวมตัวของนิวเคลียส ซึ่งรวมแล้วเป็น diploid (2n) และมีการแบ่งตัวใน ขั้นตอนสุดท้ายแบบ meiosis เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงเป็น haploid (n) ตามเดิม วิธีในการรวมของนิวเคลียสมี 3 ระยะ ดังนี้ # Plasmogamy เป็นระยะที่ไซโตพลาสซึมของทั้งสองเซลล์มารวมกันทำ ให้นิวเคลียสในแต่ละเซลล์มาอยู่รวมกันด้วย นิวเคลียสในระยะนี้มี โครโมโซมเป็น n # Karyogamy เป็นระยะที่นิวเคลียสทั้งสองมารวมกัน ในฟังไจชั้นต่ำจะ เกิดการรวมตัวของนิวเคลียสอย่างรวดเร็วในทันทีที่มีนิวเคลียสทั้งสองอันอยู่ ในเซลล์เดียวกัน ในฟังไจชั้นสูงจะเกิดการรวมตัวของนิวเคลียสช้ามาก ทำให้ เซลล์ระยะนี้มีสองนิวเคลียส เรียกว่า Dikaryon # Haploidization หรือไมโอซิส (Meiosis) นิวเคลียสซึ่งมีโครโม โซมเป็น 2n จะแบ่งตัวแบบไมโอซิส เพื่อลดจำนวนโครโมโซมเป็น n
36
การสืบพันธุ์แบบมีเพศในเห็ดราแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า Gametangium ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ (Gamete) เพศผู้และเพศเมีย เห็ดราที่ Gametangium ซึ่งสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศ เมียอยู่ในไมซิเลียมเดียวกันและสามารถผสมพันธุ์กันได้ เรียกว่า Monoecious แต่เห็ดราที่มี Gametangium สร้างเซลล์ สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างไมซีเลียมกันเรียกว่า Dioecious ในการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเห็ดราต่าง ๆ นี้ จะมีการสร้างสปอร์ เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน สปอร์ที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีขนาด เล็กและจำนวนน้อยกว่า เช่น Ascospore Basidiospore Zygospore และ Oospore
37
Zygospore Ascospore Basidiospore
38
การเปรียบเทียบรากับสิ่งที่มีชีวิตชนิดอื่น
เห็ดรามีความแตกต่างจากพืชชั้นสูงอย่างเด่นชัดหลายประการเช่น Vegetative body หรือ Thallus ของเห็ดรา ไม่มีการ Differentiate เป็นลำต้น (Shoot) ราก (Root) และท่อสำหรับลำเลียงน้ำและอาหาร (Vessel) นอกจากยังไม่มี Chlorophyll รวมไปจนถึงการสังเคราะห์อาหารด้วยแสง เห็ดราจึงไม่สามารถนำ CO2 มาใช้เป็นแหล่งของ Carbon ได้ จึงต้องการ Organic carbon จาก ภายนอก เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพืชชั้นต่ำ (Sporophyta) หรือ Cryptogam เช่น เฟิร์น มอส และ Algae อาจมีข้อโต้แย้งในความแตกต่างได้ไม่มาก เพราะพืชเหล่านี้สร้าง สปอร์เพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ได้เช่นเดียวกับเห็ดรา และ Algae บางชนิดก็ไม่มี Chlorophyll และใช้ Organic carbon ในการดำรงชีวิตเช่นกัน สิ่งที่แตกต่าง ระหว่างเห็ดรา และพืชรวมถึงโปรติสต์ต่าง ๆ น่าจะเป็นลักษณะการหาอาหารเนื่องจากเห็ด ราจะใช้การปล่อยเอนไซม์ออกจากเซลล์เพื่อย่อยสารอินทรีย์ต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลงก่อน นำเข้าสู่ร่างกาย (Extracellular digestion) ซึ่งโปรติสต์ส่วนใหญ่จะย่อยอาหาร ในเซลล์ (Intracellular digestion) และพืชจะดูดซึมสารอาหารที่ผู้ย่อยสลาย ย่อยให้แล้ว
39
เห็ดราจัดเป็นพวก Eukaryote จึงแตกต่างไปจากพวก แบคทีเรีย และ blue green algae ซึ่งเป็นพวก Prokaryote เห็ดรามี Chromosome และ Nuclear membrane ที่เด่นชัด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้สามารถแยก Actinomycetes ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะคล้ายเส้นใย ของราออกจากราได้ เนื่องจากActinomycetes ไม่เพียงแต่ จะเป็น Prokaryote เท่านั้น ยังมีลักษณะอื่น ๆ ของ แบคทีเรีย เช่น ผนังเซลล์ประกอบด้วย Glycosaminopeptide complex มีความไวต่อสาร ปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลิน และเตตราไซคลิน อีกทั้งยังเป็นเจ้า บ้านของ bacteriophage ได้อีกด้วย
40
เมื่อเปรียบเทียบเห็ดรากับสัตว์ชั้นต่ำพวก Protozoa จะเห็นได้ว่า Protozoa ก็มีลักษณะ เป็น heterotrophic เช่นกัน นอกจากนี้ protozoa หลายชนิดยังมีลักษณะทางสัณฐาน วิทยา และความเป็นอยู่ใกล้เคียงกับรา แต่ราแตกต่าง ไปจากพวกสัตว์โดยที่ Thallus ของรามีผนังเซลล์ ห่อหุ้มประกอบด้วย ไคตินและ/ หรือเซลลูโลส
41
Phylogeny การศึกษาความสัมพันธ์ทาง Phylogeny และการ คาดคะเนต้นกำเนิดของเห็ดราทำได้ยากกว่าที่ทำการศึกษา ในพวกพืชชั้นสูงหรือสัตว์ เพราะหลักฐานทาง Fossil ของรามีน้อยมาก เป็นไปได้ว่ามีราหลายพวกที่สูญพันธุ์ไป แล้ว โดยไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็นได้เลยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมีลักฐานบางอย่างเกี่ยวกับต้นกำเนิด (Ancestor) ของรา ที่แสดงให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นพวก Algae ที่สังเคราะห์แสงได้ เข้าใจกันว่าราที่จัดอยู่ในต่าง พวก (Class) กัน ได้มีวิวัฒนาการแยกสายกันคือ มาจาก Algae ที่ต่างพวกกันนั่นเอง
42
เห็ดราชั้นต่ำส่วนใหญ่ จะสร้างสปอร์ที่เคลื่อนที่ได้และมี Flagellum เส้นเดียวหรือ 2 เส้นกล่าวโดยทั่วไปแล้ว รา ที่จัดอยู่ในพวกชั้นต่ำได้แก่ พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำ (Aquatic fungi) หรืออย่างน้อยก็ต้องการ สภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้น ราที่อยู่บนบก (Terrestrial fungi) จัดเป็นพวกที่มีวิวัฒนาการสูงกว่า ในราบางพวก เช่น Oomycetes อาจสังเกตเห็นว่า มีลักษณะทาง สัณฐานวิทยา นิเวศวิทยาของการเจริญที่บ่งถึงการ เปลี่ยนแปลง จากการอาศัยอยู่ในน้ำ มาเป็นอาศัยอยู่บนบก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.