ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Knowledge Sharing
ดร.สุภาว์ อาวสกุลสุทธิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ ๒ สระบุรี
2
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมา จากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
3
ชั้นของความรู้เป็นอย่างไร?
4
ชั้นของความรู้เป็นอย่างไร?
ข้อมูล (Data) เป็นกลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการ ประมวลผลโดยรวบรวมและสังเคราะห์เอาเฉพาะข้อมูลที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่องานที่ทำ ความรู้ (Knowledge) เป็นผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้ สารสนเทศ โดยมีการจัดระบบความคิด เสียใหม่ให้เป็น “ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง”
5
ชั้นของความรู้เป็นอย่างไร?
ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) การนำเอาความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ ต่อการทำงานในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เชาวน์ปัญญา (Intelligence) เป็นผลจากการปรุงแต่ง และจดจำความรู้ รวมทั้งใช้ความเฉลียวฉลาดต่าง ๆ ในสมอง ทำให้เกิดความคิดที่รวดเร็วและฉับไว
6
ประเภทของความรู้ 1. ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวบุคคล ยากที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร ความรู้ประเภทนี้สามารถพัฒนาและแบ่งปันได้ และเป็นความรู้ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เป็นเหตุและผล สามารถเขียนบรรยายหรือถ่ายทอดมาเป็นตัวอักษร ข้อความ กฎเกณฑ์ สูตร นิยาม หรือลักษณะตัวแบบทางคณิตศาสตร์ได้ *** ความรู้โดยนัยมีมากกว่าความรู้ที่ชัดแจ้ง คือมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 80 : 20 หากเปรียบความรู้ชัดแจ้งเป็นภูเขาน้ำแข็งที่มีน้ำแข็ง โผล่พ้นน้ำอยู่ 20% ความรู้โดยนัยจะเปรียบได้กับส่วนของน้ำแข็ง ที่อยู่ใต้น้ำซึ่งมีอยู่ถึง 80%
7
ความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
Explicit Knowledge Tacit Knowledge วิชาการ หลักวิชา ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ทฤษฎี (Theory) ปฏิบัติ (Practice) ประสบการณ์ มาจากสังเคราะห์ วิจัย มาจากวิจารณญาณ ใช้สมอง ใช้ปฏิภาณ (intelligence) เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ เป็นเทคนิคเฉพาะตัว ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์ เป็นลูกเล่นของแต่ละคน
8
ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
อธิบายได้ แต่ยังไม่ถูกนำไปบันทึก ( 1 ) อธิบายได้ แต่ไม่อยากอธิบาย ( 2 ) ( 3 ) บรรยาย ภาพลักษณะของภูเขาน้ำแข็ง เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit K.) และ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit K.) เน้นว่า Tacit K. มีลักษณะที่ฝังซ่อนเร้นอยู่ในตัวคน เหมือนกับภูเขาน้ำแข็งที่ฝังซ่อนอยู่ในทะเล ซึงจะมีอยู่ 3 ลักษณะ - อธิบายได้ แต่ยังไม่ถูกนำไปบันทึก ให้เป็น Explicit K. - อธิบายได้ แต่ไม่อยากอธิบาย เพื่อนำมาทำให้เป็น Explicit K. ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากวัฒนธรรมองค์กร หรือพฤติกรรมส่วนบุคคล รวมถึงความพร้อมของคนๆนั้น - อธิบายไม่ได้ อันเนื่องมาจากเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวที่เป็นพรสวรรค์ หรือเป็นทักษะ ประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน ซึงจะไม่สามารถถ่ายทอด ด้วยการอธิบาย ออกมาทั้งหมดแล้วทำให้เป็น Explicit K.ได้เลย อาจจะต้องถ่ายทอดด้วยการสร้างคนให้มี Tacit K.แบบนี้เหมือนกันขึ้นมาอีกคน อธิบายไม่ได้ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) Tomohiro Takahashi
9
ตัวอย่างเครื่องมือและกระบวนการ
สมุดหน้าเหลือง Explicit Knowledge ความรู้ชัดแจ้งจับต้องได้ เอกสารวิจัย ฐานความรู้, Intranet, Internet Best Practice Database Story Telling ชุมชนแห่งการ เรียนรู้ (CoP) การหมุนงาน Tacit Knowledge ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน ทีมงาน ข้ามสายงาน IQCs เครื่องมือที่ช่วย “เข้าถึง” ความรู้ เครื่องมือที่ช่วย “ถ่ายทอด” ความรู้ ระบบพี่เลี้ยง สัมมนาเรื่อง ความรู้ต่าง ๆ (Knowledge Forum) ตัวอย่างเครื่องมือและกระบวนการ
10
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
Explicit Knowledge เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ Tacit Knowledge
12
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Knowledge Sharing ?????
13
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน มารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจ หรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
16
อยู่ที่มุมมอง ....... สิ่งที่เห็นย่อมแตกต่าง
ทัศนคติ ต่างกัน ทำให้ เรามี มุมมอง ต่างกัน แม้เรามีดวงตา เหมือน ๆ กัน
26
เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Knowledge sharing Tools
27
เครื่องมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Knowledge sharing Tools
ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP) การทบทวนหลังปฏิบัติการ หรือ การถอดบทเรียน (After action review : AAR) การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect) เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard storytelling) เวทีเสวนา (Dialogue) เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer assist) การเรียนรู้ โดยการปฏิบัติ (Action learning) มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) อื่น ๆ (Others) จากหนังสือ “KM Tools : เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้” โดย ดร.พิเชฐ บัญญัติ. (2555). O C A M R B L S D P Mapping โดย ดร.สุภาว์ อาวสกุลสุทธิ ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี
28
เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อื่น ๆ
บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson learned) การค้นหาสิ่งดีรอบตัว (Appreciative inquiring) การสอนงาน (Coaching) การศึกษาดูงาน (Study tour) แฟ้มงาน (Portfolio)
29
ผู้เล่าเรื่องและผู้ฟังที่ดี
Storytelling ฝึกเป็น ผู้เล่าเรื่องและผู้ฟังที่ดี
30
หลักการเล่าเรื่อง CAR Technique
C = Content A = Action R = Result
31
C = Content เตรียมเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะเล่า ลำดับเหตุการณ์
ตัวละคร (ผู้ที่เกี่ยวข้อง) แง่คิด ฯลฯ
32
A = Action การเล่าเรื่อง เล่าจากประสบการณ์จริง
ลำดับขั้นตอนชัดเจนให้รู้ว่าเกิดอะไร? ใครทำอะไร? ที่ไหน? อย่างไร? สะท้อนอารมณ์เรื่องราว ตามความรู้สึกของผู้เล่า ใช้ภาษาง่ายๆ / สนุกสนานบ้าง น้ำเสียง จังหวะ ลีลา ท่าทาง อารมณ์ขันเพื่อคลายเครียด
33
เทคนิคการเล่าเรื่อง ยกเพียงขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่งของการทำงาน
ที่ภูมิใจมาเล่าก็ได้ ไม่จำเป็นต้องยกมาทั้งหมด เล่าสั้นๆ กระชับ จำเสมอว่าไม่เคยมีใคร เล่ารายละเอียดเรื่องใดได้หมดในเวลาจำกัด เล่าโดยไม่ตีความแต่ให้ผู้ฟังตีความเอง
34
ผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างตั้งใจ (Active listening /deep listening)
เปิดใจกว้าง อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า “ฉันรู้แล้ว” ลองคิดในมุมที่ท่านไม่เคยคิดดูบ้าง อย่าปิดกั้นความคิดตัวเอง เมื่อไรที่ใจเป็นอิสระ ความคิดแปลกใหม่ มักจะผุดขึ้นมากลางใจในขณะนั้น
35
ข้อห้ามระหว่างฟังเรื่องเล่า
พูดกับคนอื่นไม่สนใจเรื่องเล่า แนะนำผู้เล่าว่าควรทำอย่างนั้น ควรทำอย่างนี้ ตั้งคำถามที่เห็นขัดแย้ง พูดจาตัดพ้อ ทำนองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ไม่น่าจะสำคัญอะไรมากนัก
36
การจัดการความรู้ คือ “การศึกษาทางเลือก” เป็นการเรียนในรูปแบบที่ไม่ตายตัว เรียนแบบ “ติดดิน” การเรียนรู้ที่ขลุกอยู่กับงาน การจัดการความรู้ที่ทรงพลังนั้น แท้จริงคือ การขยายผลสิ่งดี ๆ ที่ทุกคนมีอยู่ในตัวนั่นเอง
37
Mind Map นำมาประยุกต์ใช้
38
การทำแผนที่ความคิด (Mind Map)
การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และ การโยงใย แทนการจด ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
43
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จการดำเนินงาน คลินิก DPAC
เป้าหมายของงาน/จุดเริ่มต้น/แรงบันดาลใจ ผลการปฏิบัติ/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง (โดยสรุป) งาน/ขั้นตอนที่ทำได้ดี งาน/ขั้นตอนที่ทำได้ไม่ดี อุปสรรค/ข้อจำกัด/ข้อขัดข้อง ที่พบในระหว่างการปฏิบัติงาน ประเด็นที่ได้เรียนรู้
44
ความสุขอยู่แค่เอื้อม ด้วยการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้...........การทำงาน
45
ขอบคุณแหล่งข้อมูล การจัดการความรู้ KM คืออะไร. สืบค้นจาก
egister.utcc.ac.th/KM2552/DATA/Document/KM.ppt. คณะทำงาน KM กองวิจัย. การเขียนแผนผังความคิด. สืบค้นจาก จิตเจริญ ไชยาคำ. เอกสารประกอบคำบรรยาย KM. สืบค้นจาก พิเชฐ บัญญัติ. (2555). “KM Tools : เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้”. สืบค้นจาก วิจารณ พานิช. (2547). “สถานศึกษากับการจัดการความรูเพื่อสังคม” สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. บริษัท พิมพดี จํากัด สุรพงษ์ มาลี. การจัดการความรู้ แนวคิดและกลยุทธ์ในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้. สืบค้นจาก php.diw.go.th/secretary/wp-content/uploads/2013/09/Concept....ppt.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.